ระบบห้องตรวจแพทย์

   1. ข้อมูลพื้นฐาน และ คุณลักษณะทั่วไป

1.1 สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ป่วยที่บัตรถูกส่งมายังห้องตรวจ

1.2 สามารถบันทึกการย้ายผู้ป่วยจากห้องตรวจหนึ่งไปยังอีกห้องตรวจหนึ่ง

1.3 สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ป่วยนัดของแต่ละห้องตรวจ

1.4 สามารถบันทึกและแก้ไขรหัสโรคต่างๆเพื่อใช้ในการวินิจฉัยผู้ป่วย

1.5 สามารถตรวจสอบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจทางรังสีและการตรวจทางพยาธิ

1.6 สามารถตรวจสอบผลการวินิจฉัย ยาที่ได้รับกลับบ้านในผู้ป่วยที่เคยรับไว้นอนใน รพ.

1.7 หน้าจอห้องตรวจแพทย์ สามารถแสดงจำนวนคนไข้รอตรวจ รายชื่อผู้ป่วยที่พยาบาลหน้าห้องตรวจส่งเข้ามา 

1.8 หน้าจอห้องตรวจแพทย์ สามารถแสดงสถานะ การ request, accept, result ของ lab x-ray, pt, drug

1.9 หน้าจอการบันทึกโรค สามารถแสดงโรคที่ใช้บ่อยๆของ รพ.นั้นๆ โดยจะเชื่อมกับระบบโรคมาตรฐาน ICD-10

1.10 หน้าจอการสั่งการรักษาแบบ RE-MED ซึ่งเป็นการให้ยาเหมือนเดิมและโรคเดิมอย่างสะดวกในปุ่มเดียว ประกอบด้วยประวัติการรักษา (order no., date, time) ประวัติการสั่งยา (reqno., date, time) และรายละเอียดการสั่งยา สามารถเลือกรายการผลการวินิจฉัยที่เคยกำหนดไว้ (Re-Diagnosis) มาใช้ได้

1.11 หน้าจอการใช้สูตรการรักษา ที่มีการตั้งไว้แล้ว เช่น สูตรรักษาโรคไข้หวัด โรคเบาหวาน เป็นต้น

1.12 หน้าจอการใช้ข้อความที่บันทึกไว้แล้วมาช่วยในการบันทึกอาการเบื้องต้น หรือ การตรวจร่างกาย เพื่อความสะดวกและไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์เข้าเครื่องทุกครั้ง เช่น investigate and prescription, physicalExamination, history taking , diagnosis ในแง่ต่างๆ เช่น opd , ipd หรือ template , mark , picture , hidden

1.13 หน้าจอการใช้รูปในการลงรายการรักษา สามารถตั้งค่ารูปไว้ได้ เช่น รูปของร่างกาย รูปของอวัยวะต่างๆของร่างกาย พร้อมทั้งสามารถบันทึกเป็นข้อความเข้าไปได้ด้วย

1.14 เรียกดูประวัติการรักษาย้อนหลังได้

1.15 รองรับระบบ EMR เต็มรูปแบบ และ สามารถ Scan ใบสั่งยาและประวัติการรักษาเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเรียกดูประวัติการจ่ายยา การตรวจรักษา

1.16 สามารถส่ง Request Lab, X-Ray และอื่นๆ

1.17 สามารถบันทึกข้อมูลภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยได้

1.18 สามารถบันทึกรายการค่ารักษาพยาบาล และกิจกรรมพยาบาล จากระบบผู้ป่วยนอกและระบบห้องตรวจแพทย์ เข้าสู่ระบบการเงินผู้ป่วยนอกได้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ระบบสามารถรองรับทั้งกิจกรรมที่มีราคาและไม่มีราคา

2. การตรวจรักษา

2.1 สามารถรับผู้ป่วยเข้าคลินิก

2.2 สามารถแสดงรายชื่อผู้ป่วยที่ส่งมายังแต่ละห้องตรวจโรค/คลินิกและทำการเรียกผู้ป่วยมาทำการตรวจรักษาได้

2.3 มีระบบจัดลำดับคิวของผู้ป่วยที่มารอรับบริการ/นัดมาตรวจได้ และรองรับการเรียกผู้ป่วยเข้าห้องตรวจ

2.4 สามารถค้นหาและตรวจสอบรายชื่อผู้รับบริการที่เข้ารับการรักษาเป็นลำดับคิวได้

2.5 สามารถค้นหาผู้รับบริการที่อยู่ในลำดับคิวตามรหัส และชื่อสกุลได้

2.6 สามารถระบุความเร่งด่วนในการขอตรวจได้

2.7 ระบบเชื่อมโยงกับระบบเวชระเบียน เพื่อเรียกใช้ข้อมูลประวัติผู้ป่วยและข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

2.8 สามารถบันทึกรับแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วย ที่เวชระเบียนส่งมาให้ได้ โดยระบบต้องปรับสถานะแฟ้มเป็นอยู่ที่ห้องตรวจนั้นๆ

2.9 ค้นหาผู้ป่วยจากเลขประจำตัวผู้ป่วย หรือชื่อ-นามสกุล หรือเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาได้

2.10 มีระบบค้นหาข้อมูลผู้ป่วยเพื่อดูประวัติผู้ป่วย, ประวัติการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ของผู้ป่วย, สิทธิการรักษาพยาบาล เป็นต้น

2.11 สามารถค้นหาและแสดงข้อมูลประวัติผู้ป่วย และประวัติการรักษาจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย แฟ้มผู้ป่วยนัด และแฟ้มประวัติการรักษาได้

2.12 สามารถเรียกดูข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยได้

2.13 สามารเรียกดูประวัติการตรวจย้อนหลังได้แก่ ประวัติการมารับบริการ การวินิจฉัย การสั่งจ่ายยา การสั่ง Lab/X-Ray การตรวจร่างกาย การนัดหมาย การ admit การ refer เป็นต้น

2.14 สามารถแสดงข้อมูลจำเพาะของผู้ป่วย เช่น ข้อมูล Vital Sign, กรุ๊ปเลือด, เลขที่บัตรประจำตัวประชาชนได้

2.15 สามารถแสดงข้อมูล Social Data ของผู้ป่วย, รูปผู้ป่วย, สิทธิการรักษาพยาบาล, BMI ฯลฯ ในทุกหน้าจอ เพื่อเป็นการ Identify ผู้ป่วย

2.16 สามารถเรียกดูข้อมูลการตรวจร่างกายเบื้องต้นได้

2.17 ระบบสามารถ alert ข้อมูลคนไข้ที่สำคัญ และข้อมูลอื่นๆจากทุกระบบได้ ให้ผู้เกี่ยวข้องพึงระวังได้ หรือ ดูแลผู้ป่วยเป็นพิเศษ / VIP / ด่วน

2.18 สามารถบันทึกข้อมูล Screen และ สามารถบันทึกข้อมูลสัญญาณชีพ (Vital Sign) ได้ เช่น น้าหนัก ส่วนสูง อุณหภูมิ รอบเอว อัตราเต้นชีพจร อัตราหายใจ ความดันโลหิต FBS เป็นมากี่วันแล้ว BMI (คำนวณให้อัตโนมัติ) และบันทึกอาการสำคัญ / Chief complaint (CC) History of present illness (HPI) Past medical history (PMH) Family history (FH) Social history (SH) Review of system (ROS) ระบุได้ว่าเป็นผู้ป่วยกาลังตั้งครรภ์ เป็นต้น พร้อม visual indicator เป็นสีเขียวกรณีปกติ สีเหลืองกรณีสูง สีแดงกรณีวิกฤติ และระบบป้องกันการบันทึกผิดพลาดด้วยช่วงค่าปกติที่เป็นไปได้ และรองรับการใส่รายละเอียดการตรวจเฉพาะทางได้

2.19 สามารถบันทึกอาการสำคัญ, ประวัติ และการตรวจร่างกายของผู้ป่วยทางการพยาบาลได้

2.20 การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับโรคประจำตัว และข้อมูลประจำตัวที่แพทย์ควรทราบ เช่น เป็นเบาหวาน, เป็นโรคหัวใจ หรือว่า เหนื่อยง่ายเป็นต้น

2.21 สามารถบันทึกข้อมูลตามโครงสร้างคำถาม (Chief Complain) ที่สร้างขึ้นมาใช้งานตามความเหมาะสม ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ภายหลัง

2.22 มีเครื่องมือช่วยในการบันทึกข้อมูลของแพทย์ ซึ่งเป็นข้อความสำเร็จรูปที่ถูกกำหนดขึ้นมา จะเป็นอีกตัวหนึ่งที่สามารถกำหนดรูปแบบการบันทึกข้อมูลได้ในเบื้องต้น

2.23 สามารถบันทึกข้อมูลเป็นข้อความ (Free Text) ตามที่แพทย์ต้องการบันทึก

2.24สามารถบันทึกข้อมูลการซักประวัติและตรวจร่างกายได้

2.25 สามารถบันทึกข้อมูลการตรวจร่างกาย (Physical Exam), การวาดรูป, การถ่ายรูปผู้ป่วยได้ GA HEENT HEART LUNG Ab Ext Neuro PE Text

2.26 สามารถนำเข้ารูปถ่ายจาก webcam, scanner, digital camera ได้

2.27 สามารถบันทึก / Capture รูปภาพผู้ป่วย และแก้ปัญหาการวาดภาพของแพทย์โดยสามารถนำภาพกราฟิกเข้าสู่ระบบเพื่อให้แพทย์สามารถบรรยายประกอบการรักษาหรือการใช้การถ่ายภาพประกอบการบรรยายได้

2.28 สามารถบันทึกข้อมูลการตรวจร่างกายโดยการวาดรูปได้

2.29 สามารถเรียกดูรายชื่อผู้รับบริการ ที่ได้รับการตรวจรักษาเสร็จแล้วได้

2.30 สามารถบันทึกรายการค่าตรวจรักษาพยาบาลได้จากในห้องตรวจแพทย์ได้

2.31 สามารถตรวจสอบจำนวนผู้ป่วยที่แพทย์ให้บริการในแต่ละวันได้ทันที

2.32สามารถบันทึก ผลการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ข้อมูลการรักษา ความเห็นแพทย์ และสั่งให้พิมพ์ใบรับรองแพทย์แบบต่างๆ ได้หลายรูปแบบ ออกจากระบบได้ โดยอาศัยข้อมูลการตรวจรักษาที่บันทึกไว้ได้และเชื่อมโยงกับทะเบียนข้อมูลแพทย์

2.33 สามารถบันทึก Note เกี่ยวกับผู้ป่วยได้ โดยสามารถระบุจุดที่ต้องการให้แสดง วันที่หมดอายุ หรือ กลุ่มผู้ใช้งานที่ต้องการให้แสดง Note

2.34 สามารถบันทึกข้อมูลการช่วยเหลือบรรเทาอาการได้ เช่น แสดงข้อมูลนั่งพักวัด BP ซ้ำ (กรณีที่มีการบันทึกข้อมูลจากหน้าข้อมูลทั่วไป) ส่ง Tepid sponge ให้ยา (ระบุชื่อยา และวิธีใช้ยา) อื่นๆ

2.35 สามารถบันทึกข้อมูลการให้คำแนะนำผู้ป่วยได้ เช่น การใช้ยา การปฎิบัติตัวให้เหมาะสมกับโรค การรับประทานอาหาร การมาตรวจตามนัด การออกกาลังกาย การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การผิดปกติมาพบแพทย์ อื่นๆ

2.36 สามารถบันทึกการวินิจฉัย ทั้งในรูปแบบข้อความทั่วไป และในรูปของรหัสโรคและรหัสหัตถการได้

2.37 สามารถบันทึกรหัสโรคและชื่อโรค โดยใช้รหัส ICD ขององค์การอนามัยโลก (WHO) และของประเทศไทย

2.38 มีระบบ ICD Code Map และมีระบบช่วยกำหนดรหัสโรคที่วินิจฉัยบ่อย หรือบันทึกแบบข้อความทั่วไปได้

2.39 ทำการบันทึกโรคที่เกิด โดยใช้ ICD Code

3. การสั่งทาหัตถการ

3.1 สามารถระบุ ชื่อแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้ทำเวลาเริ่มและเวลาสิ้นสุดได้

3.2 กำหนดเวลาเริ่มต้นที่จะเริ่มทำหัตถการ

3.3 แสดงราคาของการทำหัตถการได้

3.4 สามารถบันทึกผลการทำหัตถการและค่าทำหัตถการ พร้อมจัดเก็บได้

3.5 สามารถแสดงผลการทำหัตถการ พร้อมรหัสมาตรฐาน

4. การ Refer

4.1 สามารถบันทึกข้อมูลการ Refer ได้ โดยระบุข้อมูลดังนี้ สถานพยาบาลที่ส่งต่อ เหตุการณ์ส่งตัว การวินิจฉัยขั้นต้น การวินิจฉัยหลัก แพทย์ผู้สั่ง จุดส่งต่อ แผนก สาเหตุ การรักษาที่ให้ไว้ พยาบาล refer หรือ รถ Ambulance ประเภทการส่งต่อ วันที่สิ้นสุดการส่งต่อ

4.2 สามารถบันทึกข้อมูลการ refer และสามารถพิมพ์แบบใบ/ฟอร์ม Refer ผู้ป่วย โดยมีข้อมูลพื้นฐานซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลยา, โรคที่เป็น, โรคประจำตัว, แพทย์ผู้ Refer , ผลการตรวจ สามารถสืบค้นย้อนหลังและสามารถเลือกผลการตรวจเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการสั่งพิมพ์ใบ Refer ได้

4.3 สามารบันทึกการจำหน่ายผู้ป่วย และระบุประเภทของการจำหน่ายเมื่อสิ้นสุดการรักษา (discharge) จากหน่วยตรวจนั้นๆ เช่น รับไว้เป็นผู้ป่วยใน กลับบ้าน, Observe, Death, Refer เป็นต้น

4.4 สามารถสั่ง admit ผู้ป่วยนอกเป็นผู้ป่วยในได้

5. การขอ Consult

5.1 สามารถระบุรายชื่อแพทย์/ทันตแพทย์ที่ต้องการส่งปรึกษาผู้ป่วย (Consult) โดยระบุแผนก และความเร่งด่วน พร้อมแสดงข้อมูล

5.2 สามารถบันทึกข้อมูลการ Consult โดยมีช่องสำหรับการบันทึกคำถามและคำตอบสำหรับการ Consult

5.3 สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ป่วยที่ได้รับ consult

6. การนัดหมาย

6.1 สามารถตรวจสอบการนัดหมายของตนเองได้

6.2 สามารถบันทึกการนัดหมายผู้ป่วยลงในรายการนัด และพิมพ์ใบนัดผู้ป่วยให้โดยอัตโนมัติ และสามารถแก้ไข ยกเลิก เลื่อนวันที่ เวลานัดผู้ป่วยได้ เมื่อผู้ป่วยมาตรวจตามนัดระบบต้องจบรายการนัดหมายนั้นเมื่อบันทึกรับผู้ป่วยเข้าตรวจ และสามารถบันทึกปรับปรุงสถานะนัดหมายออก กรณีผู้ป่วยไม่มาตามนัด

6.3 สามารถบันทึกนัดหมายโดยระบุวันที่นัดหมาย หรือระบุเป็นสัปดาห์ หรือระบุเป็นเดือนได้

6.4 สามารถทาการนัดได้หลายๆ แผนก ในการมา visit 1 ครั้ง

6.5 สามารถระบุสาเหตุการนัดหมายได้ พร้อมทั้งแจ้งการปฏิบัติตัวในการมารับการรักษาครั้งต่อไปได้

6.6 มีระบบเตือนเมื่อทาการนัดหมายตรงกับวันหยุดต่างๆ ตามที่กำหนดไว้

6.7 สามารถบันทึกข้อมูลการสั่ง Lab และ X-Ray ล่วงหน้าได้

7. การพิมพ์

7.1 สามารถพิมพ์ใบรับรองแพทย์แบบต่างๆ ได้ เช่น ใบรับรองแพทย์แบบตรวจสุขภาพปกติ, ใบรับรองแพทย์แบบขอลาป่วย, ใบรับรองแพทย์สมัครงาน, ใบรับรองแพทย์ ร.ด., ใบรับรองแพทย์แรงงานต่างด้าว, ใบรับรองแพทย์ กท.16/1 ใบรับรองแพทย์ กท.16/2 เป็นต้น

7.2 สามารถพิมพ์ใบสั่งยา

7.3 สามารถพิมพ์ใบตรวจรักษา (OPD CARD)

7.4 สามารถพิมพ์ใบส่งต่อรักษาสถานพยาบาลอื่นๆ (ส่ง Refer)

7.5 สามารถพิมพ์ใบตอบกลับการรักษาสถานพยาบาลอื่น (ตอบกลับRefer)

7.6 สามารถพิมพ์ใบนัดหมาย

7.7 สามารถสั่งพิมพ์ สติ๊กเกอร์ ได้