คุณสมบัติระบบงานห้องผ่าตัด

1. สามารถลงทะเบียนสั่งผ่าตัดผู้ป่วยเองได้

2. สามารถเพิ่มและดูรายละเอียดรายการนัดผ่าตัดที่มีการ set ไว้

3.สามารถคีย์ค่าใช้จ่าย ค่ายา

บันทึกข้อมูลการผ่าตัด

ข้อมูล set ผ่าตัด

1.  สามารถแก้ไขข้อมูล Set ผ่าตัด หรือ Set ผ่าตัด โดยมี ผู้สั่งผ่าตัด, วันที่สั่ง, เวลาที่สั่ง, ความเร่งด่วน, ชนิด, เวร, สั่งผ่าตัดวันที่, เวลาที่ผ่าตัด, ห้องผ่าตัด, แผนก

2.  สามารถเพิ่มกำหนดรายการสั่งผ่าตัดได้ หรือแก้ไข

     ลงชื่อการผ่าตัด  สามารถเลือกชื่อการผ่าตัด หรือ ถ้าไม่ทราบชื่อผ่าตัด สามารถ พิมพ์ลงไปเองได้ โดยเอาที่ ติ๊กAuto ออก และใส่ตำแหน่งที่ผ่าตัด และ ด้านที่ผ่าตัดสามารถลง Diag วินิจฉัยก่อนการผ่าตัดได้

3.   สามารถคัดกรองก่อนการผ่าตัดได้

     การคัดกรองก่อนผ่าตัด จะลงข้อมูลในช่อง NPO Date Time, เวลา ,โรคประจำตัว (ถ้าคนไข้มีโรคประจำตัวก็สามารถลงได้ แต่ถ้าไม่มีก็ว่างไว้ได้), ความดันโลหิต, อุณหภูมิ, RR, HR, BW และ Provision Diagnosis

4.   สามารถลงข้อมูลก่อนเข้าห้องผ่าตัดได้

      การลงข้อมูลในช่องต่างๆ สามารถลงข้อมูลย้อนหลังได้หลังจากที่ทำการผ่าตัดเสร็จข้อมูลภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่แต่ละคน

5.  Nursing Record

     สามารถลงข้อมูล Last Meal คือ รับประทานอาหารครั้งสุดท้ายเมื่อกี่ชั่วโมงที่แล้วและมีช่องให้ใส่อาการผู้ป่วย

– Preoperative คือ อาการก่อนผ่าตัด

– Perioperative คือ อาการระหว่างผ่าตัด

– Postoperative คือ อาการ หลังการผ่าตัด

6.  Disease

สามารถลงโรคภัยไข้เจ็บของคนไข้ได้

7.  Pre-med

สามารถลงข้อมูลยาที่คนไข้ได้รับก่อนผ่าตัดได้

8.   ประวัติการเลื่อนผ่าตัด

สามารถดูประวัติการเลื่อนผ่าตัดได้หากมีการลงข้อมูล

9.  สามารถลบการผ่าตัดได้

สามารถยกเลิกรายการผ่าตัดได้ โดยข้อมูลการยกเลิกจะให้ใส่เหตุผล

งานวิสัญญี

ข้อมูลวิสัญญี

1.   สามารถกำหนดทีมวิสัญญีได้จะเป็นการลงข้อมูลรายการวิสัญญี ประเภท, เวลาเริ่ม, เวลาเสร็จ และกดปุ่ม เพิ่มรายการ สามารถเพิ่มรายการได้มากกว่าหนึ่งรายการ ส่วนที่ 2 จะเป็นการลงข้อมูลของทีมวิสัญญีว่ามีใครบ้าง ทำหน้าที่ หรือ ตำแหน่งอะไร และ ภาระงาน

2.   สามารถเพิ่มรายการเวชภัณฑ์ได้และสามารถนำเวชภัณฑ์จากสูตรมาใช้ได้

3.   สามารถลงข้อมูลของหัตถการ โดยสามารถลงข้อมูลหัตถการ, เจ้าหน้าที่, วันที่เริ่ม, วันที่เสร็จ, ราคา

4.   สามารถลงข้อมูลของ Complication/Nurse Note

      เป็นการลงข้อมูลที่มีความแทรกซ้อนและการแก้ปัญหาของคนไข้ จะมีให้กรอก 3 ช่วง

        1. Pre Operation คือ ก่อนผ่าตัด

        2. Intra Operation คือ ระหว่างผ่าตัด

        3. Post Operation คือ หลังผ่าตัด

5.   สามารถลงข้อมูลของ Airway Problem เป็นการลงข้อมูลส่วนที่เป็นปัญหาทางเดินหายใจ และ วิธีการแก้ปัญหา

6.   สามารถลงข้อมูลของ Agent (รายการเวชภัณฑ์) รายการเวชภัณฑ์ที่ใช้ในการผ่าตัด (ถ้าไม่ลงข้อมูลในแถบที่ 2 ก็สามารถมาลงในแถบ Agent ได้)

7.   สามารถลงข้อมูล Blood Giveเป็นการลงข้อมูลของของการลงรายการขอเลือด

8.   สามารถลงข้อมูลของ Recovery Room (ห้องพักฟื้นหลังการผ่าตัด) เป็นการลงข้อมูลในส่วนหลังการผ่าตัด ที่มาอยู่ในห้องพักฟื้นหลังการผ่าตัด

การลงข้อมูลงานผ่าตัด

 การลงข้อมูลการผ่าตัดโดยการกดปุ่มเพิ่มรายการผ่าตัด  จะมี 2 ส่วน ที่ให้ลงข้อมูล ส่วนที่ 1 จะเป็นการลงข้อมูลการผ่าตัด และ ส่วนที่ 2 จะเป็นการลงข้อมูลในส่วนเจ้าหน้าที่ ที่ทำการผ่าตัดครั้งนี้ว่ามีใครบ้าง ตำแหน่งอะไร พอลงข้อมูลเสร็จแล้ว กดปุ่มบันทึกจะขึ้นรายการผ่าตัดที่ลงข้อมูลไว้ สามารถเพิ่มรายการผ่าตัดได้มากกว่าหนึ่ง

สามารถแสดงข้อมูลทีมแพทย์ผ่าตัด ที่ได้ลงข้อมูลในหน้าจอข้อมูลการผ่าตัด

         สามารถลงข้อมูลรายการชิ้นเนื้อประเภท, จำนวน, ราคา

         สามารถลงข้อมูลของรายการเวชภัณฑ์และรายการยา และสามารถเลือกสูตรที่กำหนด

         สามารถ Note รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการผ่าตัดของคนไข้ หรือ อาการของคนไข้

         สามารถเก็บรูปไว้ได้ อาจจะเป็นรูปเกี่ยวกับการผ่าตัด หรือ รูปของคนไข้ โดยสามารถนำ 

         รูปมาเก็บไว้ได้ 2 วิธี  วิธีที่ 1 คือ คลิ๊กขวาที่ช่องว่างแล้วเลือกคำว่า Load แล้วเลือก File   

         ภาพ  วิธีที่ 2 คือ กดปุ่ม เพิ่มรูป แล้วก็เลือก File ภาพที่ต้องการ และสามารถ Note   

         ข้อความที่เกี่ยวกับรูปภาพที่นำมาเก็บ

สามารถสั่ง Lab ให้กับคนไข้ได้โดยการเลือก Visit ที่เป็นปัจจุบัน แล้วกดปุ่ม ตกลง ก็จะได้หน้าจอสั่ง LAB

สามารถสั่ง X-Ray ให้กับคนไข้ได้

สามารถเลือกพิมพ์เอกสารในต่าง ๆ ได้

สามารถลงนัดให้กับคนไข้