สำหรับ
มุมมอง Re-admission เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล (ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บเงิน)
Re-admission หมายถึง การที่เราให้การรักษาผป. แล้ว อาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลง จนทำให้ผป.ต้องกลับมานอนรพ.อีกครั้ง ด้วย
ปัญหาเดิม ( แม้ว่า ครั้งใหม่ Diagnosis จะเป็นคนละอันกับการนอนรพ.ครั้งแรก ) และที่สำคัญ คือ ไม่นับในผป.ที่แพทย์ได้วางแผน หรือคาดการณ์ไว้แล้ว ว่าต้องมานอนรพ.ใหม่ เช่น หอบหืดที่รุนแรง ด้วยอาการของโรค ยังไงก็ต้องกลับมาแน่ๆ แม้ว่าเราจะรักษาอย่างดี รวมถึงการป้องกันอย่างดีแล้ว
นอกจากนั้น Re-admission ยังมี parameter ที่เกี่ยวข้องด้วย ที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง คือ จำนวนวัน
หมายถึงว่า ทีมที่ต้องการนำข้อมูลนี้มาใช้ประโยชน์ ต้องการข้อมูลแค่ไหนถึงจะเรียกว่า re-admission เช่น ทีมอายุรกรรม ขอ re-admission 7 วัน แต่ทีมสูตินรี ต้องการ 14 วัน
จำนวนวันที่ re-admission ยังขึ้นกับ ฝีมือการรักษาของทีมด้วย เช่น ทีมที่ดูแลผป.ได้ดี อัตราการ re-admission ต่ำอยู่แล้ว ถ้ายังใช้ re-admission 14 วัน ก็จะไม่ค่อยมีผป.ให้มา review หรือทบทวนขั้นตอนการรักษา (งานเบาเกิน) ผู้เยี่ยมสำรวจ (Surveyor) มักจะถามว่า แล้วทำไมไม่ลองหากลุ่มผป.ที่ re-admission 7 วันดูหล่ะ เป็นการหาโอกาสพัฒนา แต่ถ้าทีมที่ยังมีปัญหาในการให้การักษาอยู่ re-admission 14 วัน ก็มีผป.มากมายรอให้ทบทวนแล้ว คงไม่ต้องดิ้นรนไปดูข้อมูล re-admission 7 วันหรอกครับ
จะเห็นว่า ตัวชี้วัด ดังกล่าว เป็น
ข้อมูลเชิงคุณภาพ (มากกว่าเชิงปริมาณ) ทำให้การนำข้อมูลดิบๆ จาก database มาเลย จะเป็นข้อมูลที่ใช้งานยาก เพราะผป.ที่ได้ทั้งหมด อาจจะรวมกลุ่มที่วางแผนล่วงหน้าว่าจะมานอนรพ.อีก หรือ อาการของโรครุนแรงมากอยู่แล้ว ตามที่ทีมคาดไว้ ผป.เหล่านี้มิได้กลับมานอน เนื่องจากฝีมือการรักษาของเรา จึงไม่ควรต้องนำมาทบทวนอีก (เสียเวลา)
การจะให้โปรแกรมช่วยดึงข้อมูลเชิงคุณภาพ น่าจะใช้วิธีเก็บมือ เป็นรายๆ ไป หรืออาจจะต้องหา ฟิลด์ ที่ว่างๆ ไม่ได้ใช้งานมากรอกรหัสลงไป เพื่อที่เราจะได้ ดึงข้อมูลที่ต้องการมาได้ แต่สุดท้ายก็ต้องให้คน เป็นคนระบุว่า ผป.รายนี้ใช่ ในเงื่อนไขที่ตกลงกันหรือไม่ คงจะหาวิธีดึงข้อมูลโดยตรงยากนะครับ