ส่วนตัวคิดว่า รพ.ขนาดใหญ่ กับ รพช. อาจจะต่างกันบ้างนะครับ ผมขออธิบายในส่วนของรพ.ทั่วไป แล้วกันนะครับ
ในการลง refer out ของมะการักษ์ เรามีวัตถุประสงค์ เพื่อนำมาสรุปผล ตัวชี้วัด refer in / refer out และจะนำผลมาหาโอกาสพัฒนาศักยภาพของรพ. เป็นหลัก นะครับ (ไม่ได้ใช้ในแง่ของการตามจ่าย เพราะการตามจ่าย จังหวัดกาญจนบุรีมีกองทุนกลางของจังหวัด สำหรับตามจ่ายให้อยู่แล้วครับ จังหวัดอื่นอาจไม่เหมือนกัน)
ดังนั้น สิ่งที่เราต้องการจากระบบ เพื่อให้เห็น
โอกาสพัฒนาศักยภาพ คือ เรา refer out มากน้อยแค่ไหน เพราะอะไร
ในความเป็นจริง เวลามีผป.นอกหรือในก็ได้ 1 ราย เช่น ผป.อุบัติเหตุทางตา ตามัวลง แพทย์สงสัย มี injury ต่อ optic nerve แต่จำเป็นต้องแยกระหว่าง 1. Fracture orbit --> กระดูกมากด optic nerve หรือ 2.มี inflammation ของ orbit จนทำให้ optic nerve บวม แต่ไม่มีกระดูกแตก .... แพทย์จะส่งผป.ไปทำ CT orbitก่อน (ปกติเราจะส่งรพ.เอกชนในจังหวัด) ถ้าผลออกมา เป็น 1 --> Refer ต่อไปยัง โรงเรียนแพทย์เพื่อพิจารณาผ่าตัด แต่ถ้าผลเป็น 2 --> เรารักษาต่อเองโดยให้ Steroid
กรณีข้างต้นนี้ ทำให้ รพ.มะการักษ์ เก็บข้อมูลการ refer out เป็น 2 ครั้ง (ในกรณีที่ 1) คือ refer ครั้งแรก ไปทำ CT , refer ครั้งที่ 2 เพื่อรักษาต่อ
ถามว่า ทำไมต้องเก็บครั้งแรกที่ส่งไปทำ CT ทีมบริหารของรพ.ต้องการทราบว่า รพ.มะการักษ์จำเป็นต้องลงทุนซื้อเครื่อง CT หรือไม่ ตอบไม่ได้ครับ ถ้าไม่มีข้อมูลที่มากพอ เราจึงต้องเก็บทุกครั้งที่เราต้องส่งผป.ไป ตรวจ , วินิจฉัย ,ทำหัตถการ หรือเครื่องมือไม่พอ หรือ ความสามารถไม่พอ
กรณีผป.ในก็เช่นกัน อาจจำเป็นต้องส่งผป.เพื่อไป ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม แล้วกลับมารักษาต่อ ยังไม่ d/c แต่ต่อมาจำเป็นต้องส่งไปรักษาที่อื่นจริงๆ ทำให้อาจจะต้องเก็บ refer หลายครั้งได้ใน 1 Admission ครับ
แต่ส่วนตัว ผมก็คิดว่า ในรพ.ชุมชน อาจพบกรณีข้างต้น ไม่มาก นานๆ ครั้ง ส่วนใหญ่ถ้าจะส่งก็ส่งไปเลย (มิได้ว่าแพทย์ที่รพช.นะครับ เพราะผมก็เคยอยู่รพช.หลายปีเช่นกัน ทราบดีถึงขีดความสามารถ โดยเฉพาะทุกวันนี้มีความเสี่ยงเรื่องฟ้องร้องมาก)
อยากฟังหลายๆ ความเห็นครับ