กรณีฉีดวัคซีนแรกเกิด BCG และ HB1 ที่ รพ.ให้ห้องคลอดเป็นผู้ฉีด ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นนอกเขตหรือว่าในเขตรับผิดชอบและก็ให้บริการตามปกติ ถ้า PCU มีเวลาพอก็ตามเก็บมาลงความครอบคลุมในระบบบัญชี 3 หรือไม่ก็ตอนไปเยี่ยมหลังคลอด ภายใน 7 วัน โดยแก้ไข VISIT เก่า หรือเมื่อเด็กได้ 2 เดือนมารับวัคซีน DTPHB กรณีไปคลอดที่อื่นแล้วกลับมาอยู่บ้านและขึ้นสิทธิ์ที่เรา (ได้ครอบคลุม แต่Point ไม่ได้) (เฉพาะในเขตรับผิดชอบ) เพราะว่านอกเขตรับผิดชอบก็ให้ สอ.นำเอาข้อมูลไปเพิ่ม VISIT การให้บริการ การได้รับวัคซีนอยู่แล้ว....
ผมหมายถึงกรณี admit ครับว่าถ้าเราเพิ่มการฉีดในบัญชี 3 มันจะไปเพิ่ม visit ในระบบผู้ป่วยนอกให้อัตโนมัติทั้งๆที่สถานะผู้ป่วยยังเป็นผู้ป่วยในครับ กรณีแบบนี้มันจะขัดแย้งกันหรือไม่
ส่วนกรณีการเพิ่ม visit การให้บริการในบัญชี 3 เพื่อให้ได้ความครอบคลุม (ลงข้อมูลย้อนหลัง) ในระบบมันจะเพิ่มข้อมูลการรับบริการด้วย เช่น คนไข้วันที่ 01/02/2553 เคยมีจำนวน 100 ราย แล้วเราทำการลงข้อมูลวัคซีนย้อนหลังสัก 1 ราย ยอดผู้รับบริการจะเพิ่มขึ้นเป็น 101 ครับ
และแม้จะลงย้อนหลังโดยแก้ไข visti เก่าก็ไม่ถูกต้องอยู่ดี เช่น เด็กเกิดวันที่ 01/02/2553 นอน รพ.2วัน พยาบาลห้องคลอดฉีดวัคซีนวันที่ 03/02/2553 visit ที่มีให้แก้ไขได้คือ visit วันที่ 01/02/2553 ซึ่งเป็นวันที่คลอดเพราะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยนอกก่อน admit ดังนั้นข้อมูลการฉีดวันที่จะไม่ตรงตามความเป็นจริงครับ แต่ถ้าเราเพิ่มวันที่ฉีดจริง คือ วันที่ 03/02/2553 โปรแกรมจะเพิ่ม visit ให้อัตโนมัติ ทั้งๆ ที่สถานะผู้ป่วยยังเป็นผู้ป่วยในอยู่
กรณีของคุณ Kanda ฐานข้อมูล PCU คงไม่ได้ใช่ร่วมกับฐาน HOsXp ของ โรงพยาบาลใช่หรือเปล่าครับ
อ.เดชาคะ.... ทาง รพ.ก็ใช้ฐาน Hosxp ร่วมกันค่ะ
ตอบข้อที่ 1 ไม่เพิ่มแน่นอนค่ะ ถ้าระบบของ PCU ทำตามขึ้นตอนที่แนบเรียนมาพร้อมนี้ แต่กรณีคนไข้ admit ถ้าเพิ่ม VISIT ใหม่ขัดแย้งกันแน่นอนค่ะ
ตอบข้อ 2 แน่นอนค่ะ ยอดคนไข้เพิ่มแน่นอน เพราะว่าระบบ PCU ถ้าจะให้ทำงานแบบ One stop service คงเป็นไปไม่ได้เพระว่าออกหมู่บ้านกลับมาก็หมดเวลาทำงานแล้ว
ตอบข้อ 3 ก็ให้พยาบาลฉีดวัคซีนแรกคลอดเลยซิคะ เพราะว่าเคยเข้าห้องคลอดร่วมกับพยาบาลพอเด็กคลอด หลังจากให้บริการเช็ดเนื้อเช็ดตัวก็ฉีดวัคซีนให้เลยค่ะ....
หรือว่าดิฉันจะไม่ได้ใช้หลักการอะไร หรือว่าจะมั่วทำตามความเข้าใจของตัวเองคะนี่.....อิอิอิอิ ขอให้ผู้รู้ฟันธงด้วยนะคะ..........
คงเข้าใจไม่ตรงกันนะครับ ข้อ 1 นี่ถ้าทำตามขั้นตอนที่คุณ Kanda ว่า ตรงนี้ visit ไม่เพิ่มจริงครับ เพราะว่าก่อน admit เราต้องส่งตรวจจะมีข้อมูล visit เป็นผู้ป่วยนอกอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาครับ เช่น ข้อมูลตัวอย่างของคุณ Kanda admit วันที่ 22 ก.พ.53 แต่ถ้าฉีดในวันที่ 22 กพ.53 ไม่มีปัญหาครับ ใช้ visit เดิมที่มี แต่ถ้าฉีดจริงวันที่ 23 ก.พ.53 แล้วไปใช้ข้อมูล visit วันที่ 22 กพ.53 ข้อมูลวันที่มันก็ไม่ตรงกันใ่ช่ไหม๊ครับ
ถ้าจะให้ห้องคลอดฉีดวัคซีนให้เด็กเลยตามคำแนะนำของคุณ kanda
พบว่าเหตุผลในทางปฏิบัติเพราะว่า รพ.บางแห่ง คลอดวันละ 1-2 คน อาจจะไม่คุ้มค่าวัคซีน เขาเลยเลือกที่จะรอให้มียอดเด็กรอฉีดวัคซีนให้คุ้มค่าการเปิดใช้ครับ ประเด็นที่เราแลกเปลี่ยนกันคิดว่าไม่ใช้ขั้นตอนการทำงานครับ ตรงนี้เข้าใจว่าวิธีการเหมือนกันอยู่แล้ว แต่ผมแลกเปลี่ยนในทางปฏิบัติว่า หากต้องเพิ่มเป็น visit OPD ในกรณีที่ผู้ป่วยยัง admit อยู่ คือ
การฉีดวัคซีนในวันถัดจากวันที่คลอด ซึ่งจะทำให้ข้อมูลวันที่ฉีดตรงตามความเป็นจริงนั้น ถูกต้องหรือจะมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือไม่ เพราะคนไข้ admit แล้วจะมีประวัติ OPD visit ได้อย่างไร ซึ่งหลายท่านก็ให้ความเห็นว่า ถ้าเป็น OPD visit และเป็นประเภทผู้รับบริการ น่าจะเป็นไปได้
ของผมก็มีปัญหานี้เหมือนกันมานานตั้งแต่ขึ้น hosxp แรกๆแล้ว
ก็หาวิธีแก้ปัญหามาเรื่อย ตอนแรกก็ยอมให้เพิ่ม visit ตอน admit ก็โดนเวช ด่ามา บิดามารดาสะดุ้งเลย
เลยแก้ปัญหาตอนนี้ก็วันที่เด็ก และ แม่จะกลับบ้าน ก็ให้ห้องหลังคลอด ส่งไปให้ห้องเวชระเบียนออก visit ผู้ป่วยนอก ทั้งแม่ และลูก ให้หลังจาก discharge แล้ว ลงข้อมูลเยี่ยมหลังคลอดครั้งที่ 1 ทั้งแม่และเด็ก และลงวัคซีนเด็กด้วย ตอนนี้ปัญหานี้ก็เงียบๆไป ok ทุกฝ่าย ห้องหลังคลอดอาจจะบ่นเล็กน้อย
แต่ก็เพื่อเงิน รพ. ทุกฝ่ายก็ต้องยอมครับ
แนวทางนี้ก็น่าสนใจนะครับ
ยังมีอีกกรณีนึงที่ผมสนใจ คือ กรณีที่คนไข้ที่รับวัคซีนมาจากที่อื่น และรายชื่ออาจจะขึ้นทะเบียนไว้กับบัญชี 3 ของสถานบริการ การลงข้อมูลย้อนหลังให้ได้ความครอบคลุมตรงนี้ ไม่น่าจะเพิ่ม visit นะครับ เพราะการเิพิ่ม visit ที่เราต้องลงข้อมูลเหมือนการมารับบริการให้ครบ เหมือนว่าเราเป็นผู้ให้บริการเองซึ่งข้อมูลตรงนี้เข้าใจว่าจะออกเป็นผลงานไปด้วย ทั้งๆที่จริงๆไม่ใช่ ผมไม่แน่ใจว่าเวลาที่ สปสช.เขารวมข้อมูลมีการตัดออกตรงนี้หรือไม่อย่างไรนะครับ