คงต้องให้อาจารย์เพิ่มอีก 1 ตัวครับ
ACCESS_Secret_CLINIC
โดยจะตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลของคนไข้ที่ต้องการปกปิดข้อมูล
ฝากท่าน udomchok คิดต่อครับว่า
จะปกปิดข้อมูลอะไรบ้าง หน้าจอไหน จุดไหนบ้าง
เพื่ออาจารย์จะได้ช่วยพัฒนาได้ง่ายขึ้นนะครับ
ที่ รพ.ก็อยากได้เหมือนกันครับ
ตอนนี้ที่ รพ.นาแห้ววางแผนดังนี้
1.เมื่อผู้รับบริการมารับบริการให้ไปที่คลินิคเฉพาะเลย และให้ จนท.คลินิค มาค้นบัตร ผู้ป่วยเอง ส่ง lab เอง เจาะเลือดเอง รับยาเอง ทำเป็น one stop service (คิดว่าน่าจะได้ระดับหนึ่ง แต่โดยส่วนตัวแล้วในทางปฏิบัติมันปกปิดไม่ได้หรอกครับ ผู้รับบริการเดินเข้าห้องให้คำปรึกษาพิเศษ จนท.ก็รู้แล้ว)
2.แยกประวัติที่มารับบริการคลินิคพิเศษ ออกจาก OPD card ปกติ
( แต่ประวัติใน hosxp จะจำกัดสิทธิการดู Patient EMR ยังไง เพราะบางครั้ง จนท.ห้องบัตรก็จำเป็นต้องเข้าดูข้อมูลเพื่อยืนยันตัวบุคคลในกรณี คนไข้มีชื่อนามสกุลเดียวกัน)
ที่อื่นมีแนวทางอย่างไรครับ
ยังไงช่วย ๆ แชร์กันนะครับว่าแต่ละที่ทำอย่างไร ในคนไข้กลุ่มนี้
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ
ของผม one-stop-service เหมือนกันครับ แยก HN ครับ ชื่อ-นามสกุล ใช้เลขรหัสจากคลินิคพิเศษ(เลขNAP จาก program napha พยาบาลในคลินิคบอกว่างั้น) ชื่อจริง-นามสกุลจริง จะอยู่ใน opdcard ของคลินิคซึ่งแยกต่างหากจากห้องบัตรครับ
ผู้ป่วยมาตรวจโรคทั่วไป อื่นๆ ก็ใช้ hn ที่มีชื่อนามสกุล จริง ตามปกติ เหมือนคนไข้ทั่วไปอื่นๆ
เนื่องจากระยะแรกๆ ที่ขึ้นระบบ เจ้าหน้าที่ยังไม่ค่อยเข้าใจครับ ว่าปกปิดยังไง ขนาดไหน วิธีปฏิบัติควรทำอย่างไร
พอดีมีโรงพยาบาลอื่น มาดูงาน แล้วเจ้าหน้าที่เปิด patient-emr ของผู้ป่วย ให้ดู เจอ diag z21 b24 (ซึ่งถ้าทำตามที่กล่าวมา จะไม่สามารถเห็นประวัติการรักษาในคลินิค HIV ได้) admin งานเข้าเลยครับ ผอ.สั่งลบประวัติในส่วนที่ diag เป็น hiv ออกให้หมดเลยครับ
แต่ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมา ก็ยังมีปัญหาตรงที่ คลินิค hiv ส่งไปตรวจห้องอื่น จนท.ห้องตรวจนั้นๆ ก็จะรู้อยู่ดี ว่า เคส นี้ hiv แต่จะไม่รู้ ชื่อ-นามสกุล จริง (ยกเว้นว่ารู้มาก่อนแล้ว หรือบ้านอยู่ใกล้กัน ประมาณนี้)
แต่ไม่รู้ว่าจะทำให้เกิดกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนหรือปล่าว ในกรณีที่มีผู้ป่วยในคลินิคเยอะ(ของผมไม่เยอะ)
ยังไงรบกวนชี้แนะด้วยครับ