ไม่ทราบโรงพยาบาลไหนทำ HA แล้วเขาให้หาค่า
information systems downtime (%) เป็นรายปี
information systems response time (sec)
IT use satisfaction
knowledge asset created
ประมาณนี้ครับ ช่วยอธิบายหน่อยได้มั้ยครับ
ระบบล่ม บ่อยครั้งแค่ไหน ในรอบปี
สามารถกู้ระบบกลับได้ภายในกี่นาทีหลังระบบล่ม
สถิติการใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศ
ไม่แน่ใจเรื่องการให้ความรู้หรือพัฒนา HRD ด้านสารสนเทศ
ดูใน บทที่ 4 ของ ฉบับ HA ปี 2010
แลกเปลี่ยนรู้เรียนด้วยครับ ขอคุยด้วย
ประเด็น IT ของมาตรฐาน HA น่าสนใจมากครับ
แต่ละโรงพยาบาลที่ผ่าน HA แล้ว มีบริบทที่แตกต่างกัน (ต้นทุนไม่เท่ากันครับ เช่น จำนวนคนไข้ จำนวนตึก และจำนวนเงินงบประมาณสนับสนุนด้านIT )
แต่ก็มักจะเจอปัญหา IT เหมือนๆกัน และก็จะมีแนวทางแก้ไขปัญหาคล้ายๆกัน
การแก้ไขปัญหา สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ เรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาของรพ.อื่นๆที่มีขนาดของโรงพยาบาลที่่ใกล้เคียงกันได้ครับ
เช่น การป้องกันไม่ให้ Server ล่ม (ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลาทั้งปีทั้งชาติ ห้ามดับ ถ้าไฟฟ้าดับต้องมีไฟฟ้าสำรองใช้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ) ของผมUPS ก็ทำได้แค่ 15 นาที อยากได้นานเป็นชั่วโมง ยังไม่มีงบซื้อ
เพราะเครื่องปั่นไฟเขาประกันเวลาไว้ที่ จ่ายไฟจากเครื่องปั่น 10 วินาที มีน้ำมันสำรอง 200 ลิตรอยู่ได้นาน 12 ชั่วโมง มีเครื่องปั่นไฟ 2 เครื่อง แต่เครื่องปั่นไฟจะทำงานอัติโนมัติก็ต่อเมื่อ ไฟฟ้าจากภายนอกของการไฟฟ้าภูมิภาคไม่จ่ายกระแส
แต่ปัญหาที่ผมเจอคือ ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าจ่ายกระแสปกติ เครื่องปั่นไฟจึงไม่จายไฟฟ้าภาย เพราะไฟฟ้าซ๊อคภายในอาคาร ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในอาคารตัดกระแสไฟฟ้าไม่จ่ายมาห้องserver ภายในอาคารชั้นอื่นๆมีกระแสไฟฟ้าจ่าย แต่ไฟดับเฉพาะชั้นที่มี Server อยู่ UPS ก็อยู่ได้แค่ 15 นาที ต้องแก้ไขปัญหาตามบริบทแบบนี้
เครื่องคอมพิวเตอร์Client อยู่ครบ คนไข้ทุกจดรอเพรียบ แต่ Server ล่มเพราะไฟฟ้าไม่จ่ายมา
แนวทางแก้ไข (แบบไม่ปัญญา ซื้อUPS สำรองไฟฟ้าได้นานๆเพราะงบITน้อยๆ)
1. เตรียมปลํ๊กพ่วงสะพานไฟ ยาวๆ พ่วงไฟจาก แหล่งอื่นๆ ที่มีไฟฟ้า มาใช้
2. อุ้ม Server ไปเสียบ ห้องอื่นๆ ที่ไฟไม่ดับ เชื่อมต่อ เข้าวง LAN
3. หากทำตามข้อ 1 และ ข้อ 2 ไม่ได้ ก็ประกาศ ภาวะฉุกเฉินด้าน IT ใช้แผนสำรองฉุกเฉิน กับไปใช้
ระบบ ดังเดิม คือ เขียนกระดาษ OPD_card ใบสังยาด้วยมือ แล้วนำมาKey IN ย้อนหลังเมื่อเหตุการณ์ปกติ
ตัวชี้วัด
เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบแม่ข่ายไม่พร้อมใช้งาน(ล่ม) ควรดูว่ามีความถี่ที่จะเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน
ถ้าระบบที่ดีไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย (0 ครั้ง หรือ ไม่พบ) หน่วยนับเป็นควรจะตัังเป็น ครั้ง
เหตุการณืนี้ควรจะเฝ้าระวังเป็น วัน หรือ สัปดาห์ หรือเป็น เดือน หรือเป็น ปี
ที่เคยเห็นของที่อื่นๆ เขาเขียนว่า ไม่พบจำนวนอุบัติการณ์เกิดเหตุระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายไม่พร้อมใช้ หน่วยนับ ครั้ง/ปี
จึงไม่ต้องคิดเป็น ร้อยละ แต่จะใช้จำนวนครั้งของเหตุการณ์ เป็นตัวชี้วัดว่า คุณภาพของระบบแม่ข่ายดีตามมาตรฐานหรือไม่ ไม่เกิดเลยก็เยี่ยม เกิดบ่อยก็มีโอกาสได้พัฒนาแก้ไขต่อไป
ข้อเท็จจริงมันเกิดขึ้นได้ครับ ห้ามไม่ให้เกิดก็หาทางป้องกันให้ดีที่สุด หากต้องใช้ทุนแต่ทุนไม่ถึง ก็ต้องลูกทุ่งแบบบ้านนอกละครับ
ของผมเกิดบ่อยครับ แต่ก็เรียนรู้แก้ไขปัญหาไปเรื่อยๆ นำมาเขียนเป็นแนวทางป้องกัน
ตอนนี้ยังแย่เลย(เปลี่ยนคำพูดใหม่ เกือบดีละ)