มีคำถามเพิ่มเติมครับ พอเราเลือกที่ "คลีนิกความดัน" แต่ตรง "ประเภทโรค" ไม่แสดงรายการให้เลือกครับ
... ความดันโลหิตสูง ในระบบคลีนิคพิเศษ น่าจะ ไม่มีรายการประเภทโรคเหมือนกับเบาหวานครับ
ซึ่งในเบาหวาน จะมี ชนิดพึ่งอินซูลิน กับ ไม่พึ่งอินซูลิน ... ...
มีคำถามเพิ่มเติมครับ ................................
พยาบาลต้องการลงทะเบียนคนไข้ DM-HT ครับ
ในตาราง clinic_subtype มันมีอยู่ 2 รายการให้เลือกดังภาพอ่ะครับ แต่พยาบาลต้องการลงทะเบียนคนไข้ dm-ht ซึ่งไม่มีให้เลือก หรือว่าให้เพิ่มรายการ dm-ht เข้าไปครับ?
... ให้พยาบาลทำความเข้าใจครับว่า
คนไข้ DM-HT ก็คือผู้ที่ถูกขึ้นทะเบียนเบาหวานและทะเบียนความดันโลหิตสูงครับ ก็คือ ถ้าคนไข้เป็นทั้งเบาหวานและความดัน ก็ต้องไปบันทึกขึ้นทะเบียนผู้ป่วยทั้ง 2 ทะเบียนครับ ... ...
ไม่นะครับพี่ขวด กรณีของความดันจะแบ่งออกเป็น primary hypertension กับ secondary hypertension ครับ โดย
ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ (primary hypertension) หรือความดันโลหิตสูงแบบไม่ทราบสาเหตุ
(essential hypertension)
ความดันโลหิตสูงโดยทราบสาเหตุ เรียกว่าความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ
(secondary hypertension) หรือความดันโลหิตสูงแบบมีสาเหตุ
reference
http://www.pharm.chula.ac.th/clinic101_5/article/Radio97.pdfส่วนประเภทเบาหวานแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ
- โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกหลังจากมีอาการของภาวะน้ำตาลสูงเกิดในเลือดมาไม่นาน ผู้ป่วยมักมาด้วยน้ำตาลในเลือดสูงและเลือดเป็นกรด มีอาการหอบลึก คลื่นไส้อาเจียนและปวดท้อง ซึมลงได้ สาเหตุเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันไปทำลายเซลล์ของตับ จนทำให้ความสามารถในการสร้างอินสุลินเพื่อลดน้ำตาลในเลือดลดลง ผู้ป่วยจะมีลักษณะที่สำคัญ คืออายุน้อย และรูปร่างผอม ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องใช้ยาอินสุลินฉีดเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus) เป็นผลจากพยาธิปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ ร่วมกัน ได้แก่ ภาวะดื้ออินสุลิน และภาวะขาดอินสุลินสัมพัทธ์ ซึ่งหมายถึง ความบกพร่องในการหลั่งอินสุลินเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยภาวะดื้ออินสุลิน โดยที่ผู้ป่วยอาจมีภาวะใดภาวะหนึ่งเด่นกว่าอีกภาวะหนึ่งก็ได้ มักพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานทั้งหมด พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ลักษณะทางคลินิกที่สำคัญ ได้แก่ ผู้ป่วยมักอ้วน หรือถ้าไม่อ้วนก็มักมีไขมันที่ท้องมาก เบาหวานประเภทนี้รักษาได้ด้วยการรับประทานยาค่ะ
- โรคเบาหวานชนิดที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ (other specitic type diabetes mellitus) เช่น
1) สาเหตุจากความผิดปกติของพันธุกรรมของเซลล์ของตับอ่อน ส่วนใหญ่พบในคนอายุน้อย และไม่มีอาการรุนแรง สามารถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
2) สาเหตุจากความผิดปกติของพันธุกรรมจากการออกฤทธิ์ของอินสุลิน
3) สาเหตุจากโรคตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ การผ่าตัดตับอ่อน หรือ มะเร็งตับ เป็นต้น
4) สาเหตุจากโรคทางต่อมไร้ท่อ เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเหล่านี้จะมีผลต่อการทำงานของเบต้าเซลล์หรือตับอ่อน และการควบคุมอินสุลินของร่างกาย
- โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus [GDM]) ซึ่งในขณะตั้งครรภ์ พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงกว่าปกติ หรือความทนต่อกลูโคสผิดปกติ เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เพราะการตั้งครรภ์แต่ละครั้งต้องอาศัยฮอร์โมนช่วยในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และฮอร์โมนเหล่านี้มีฤทธิ์ในต้านการออกฤทธิ์ของอินสุลินทำให้เบต้าเซลล์ต้องทำงานมากกว่าปกติ เพื่อผลิตอินสุลินให้เพียงพอต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้เกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์และมารดา และมักจะพบว่าหญิงตั้งครรภ์มักเป็นโรคเบาหวานได้ง่าย ที่สำคัญนอกจากนี้การตั้งครรภ์ในแต่ละครั้งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายด้วย ส่งผลให้เกิดความเครียดทางด้านจิตใจ ผลที่ตามมาคือ การทำงานของอินสุลินที่ผิดปกติไปด้วย