ไอ้ที่ตอบง่าย ๆ แบบนี้นี่แหละที่มัน Error มากมายในปี 53 แล้วคนรับกรรมคือคนส่งข้อมูล สงสัยสปสช.จะฟัน(ธง)ไม่เป็นนะผมว่า เป็นผมนะพ่อจะฟัน(ธง)ให้เหลือคำตอบเดียวจะได้ไม่คาใจคนส่งข้อมูลไม่ต้องมานั่งคิดต่อว่าจะเลือกแบบไหนแล้วยังไม่รู้ว่าไอ้ที่เลือกไปมันถูกหรือยัง เฮ้อ...คำถามเดิม ๆ พี่แกตอบมาตั้งแต่ก่อนตุลาฯป่านนี้ยังไม่เคลียร์ ดีใจที่ไม่เคยเข้าบอร์ดสปสช.ให้ปวดหัวยึดตาม Flow ตรวจสอบแล้วตามเก็บข้อมูลในบอร์ด HOSxP นี่แหละว่าไงว่ากัน
ไปประชุมที่เชียงใหม่ ป๋าเอาธงไปด้วยนะครับ ..ตอนพูดเรื่องวัคซีน ฟันธง ฉับๆๆ
ผมว่ามันเรื่องที่ึคิดยากอยู่เหมือนกันนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง OP PP คนไข้ในเขต นอกเขต หรือแม้กระทั่งการเก็บข้อมูลใน patient และ person ที่ยังมีจุดดีที่แตกต่างกันอยู่ ซึ่งตอนนี้หลายๆที่ที่ใช้ HOSxP เต็มระบบผู้ใช้ก็เริ่มมีความต้องการระบบงานที่ตอบสนองต่องานตัวเองมากขึ้น หรือแม้กระทั่งงานรักษาพยาบาลซึ่งแต่เดิมทีมรักษามองข้อมูลอยู่ในระบบ patient แค่ข้อมูลประวัติการเจ็บป่้วยเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีความต้องการข้อมูลเชิงลึก ทีมีอยู่ใน person ซึ่งก็น่าสนใจนะครับว่าทิศทางในอนาคตจะทำอย่างไร..
อย่างกรณี PP ผมไม่ได้มองว่าแค่เรื่องการส่งข้อมูลของคนไข้ในเขตเท่านั้น แต่การเก็บข้อมูลงานส่งเสริมทั้ง anc epi fp ใช้ประโยชน์ได้ทั้งคนไข้ในเขตและนอกเขตซึ่งตรงนี้มันหาที่เก็บไม่ได้ใน patient ถ้าไม่โอนเข้ามาใน person
ผมว่าที่จริง สปสช.เขาก็เจตนาดีนะครับที่อยากให้ผลงานตาม workload เพราะถ้าเอาข้อมูลเฉพาัะในเขตรับผิดชอบมันก็อาจจะน้อยเกินไป บางสถานบริการประชากรน้อยแต่รับให้บริการคนนอกเขตเยอะมากเป็น workload ที่ควรได้สำหรับคนที่ทำงานหนัก แต่พอจะเอามาจัดสรรมันก็คิดยากว่าจะใช้ข้อมูลอย่างไรให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
แต่ที่สำคัญคือมันมีคนที่ใช้ข้อมูลต่างกันอยู่ 2 หน่วยงาน คือ สนย. และ สปสช.นี่แหละ ทั้งเกณฑ์ ทั้งวิธีการส่งที่สร้างความวุ่นวายให้กับผู้ปฏิบัติไม่น้อย