ขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงโปรแกรม เพื่อความสะดวกในการดำเนินงานระบบ medication reconciliation ดังนี้
เนื่องจากระบบ medication reconciliation คือการต่อเนื่องของข้อมูลของผู้ป่วยซึ่งใช้ยาต่อเนื่อง ดังนั้นจึงควรมีความต่อเนื่องทั้งระบบบริการผู้ป่วยนอก ระบบบริการผู้ป่วยใน รวมถึงช่วงรอยต่อของ 2 ระบบดังกล่าวด้วย เคยเห็นมีผู้เสนอให้ปรับฐานข้อมูลยาให้มีช่องการใช้ยาต่อเนื่อง แต่โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยนัก เพราะยาบางรายการสำหรับผู้ป่วยบางคนต้องใช้ต่อเนื่อง แต่บางคนไม่ต้องใช้ เช่น Bcomplex หรือ B1-6-12 ในผู้ป่วยเบาหวานอาจต้องให้ต่อเนื่องแต่ผู้ป่วยทั่วไปอาจให้เป็นบางครั้งคราว เป็นต้น จึงขอเสนอปรับปรุงระบบดังนี้
1. ปรับจากหน้าต่างการสั่งยา ดังรูปข้างล่าง (ตัวอย่างเป็นหน้าต่างจากการพิมพ์รายการยาจากห้องยา)โดย เพิ่มช่องให้ติ้กว่าจะใช้ต่อเนื่อง ซึ่งควรมีทั้งหน้าต่างการสั่งยาจากห้องตรวจ และหน้าต่างพิมพ์รายการจากห้องจ่ายยา รวมถึงการสั่งยาจากผู้ป่วยใน(โดยเฉพาะหน้าต่างสั่งยาผู้ป่วยกลับบ้าน)
2. การเรียกรายการเดิมเพื่อสั่งยาใหม่ (RM) สำหรับการสั่งยาผู้ป่วย OPD
- วันที่ที่สามารถดูประวัติและเลือกเป็น RM ได้ควรปรากฏวันที่ผู้ป่วยในกลับบ้านด้วย เพราะบางครั้งแพทย์ปรับยาประจำของผู้ป่วยก่อนกลับจากโรงพยาบาล และนัดมาติดตามการรักษาหรือรับยาต่อเนื่องวันนี้ ซึ่งทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งยาได้ง่าย
- เพิ่มช่องให้สามารถเลือกรายการที่จะ RM ได้ (ปัจจุบันออกทุกรายการทั้งค่าบริการ lab และยา) ได้แก่ ยาหรือ labต่อเนื่อง(สัมพันธ์กับหน้าต่างสั่งยาครั้งก่อน) ยาอื่น (ไม่ได้กำหนดต่อเนื่อง) เวชภัณฑ์มิใช้ยา ส่วนค่าบริการหรือ lab อื่น มักไม่ได้ต่อเนื่องอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องระบุ RM
3. ควรจะมีหน้าต่างสรุป medication reconciliation ของผู้ป่วยโดยเฉพาะ เป็นการสรุปรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับต่อเนื่องทั้งหมด ที่หน้าต่าง Patient EMR เพื่อสะดวกในการดูรายการยาที่ผู้ป่วยรับต่อเนื่องทั้งหมดไม่แยกวันที่ (ผู้ป่วยอาจมารับยาต่อเนื่องจากหลายคลินิกบริการในต่างวันกันซึ่งจะค้นหารายการยาในแต่ละวันที่มารพ.ก็ไม่สะดวกและอาจตกหล่นข้อมูลได้) ดังตัวอย่าง
4.ตรงรายการวันที่ที่มารับบริการ ที่ RM สำหรับผู้ป่วย Admit อยากให้เป็นสีแดงครับ