อยู่ที่ใหนก็ให้บริการผู้ป่วยได้ ไม่ได้ใช้ teamviewer นะครับ
ใช้งานจริงแล้ว กว่า 1 ปีที่ รพ.สารภีเชียงใหม่ ใช้ระบบ IP จริง up/down 4/2 MB การทำงานอาจช้านิดหน่อย แต่พอทำงานได้ คนไข้ NCD ,รับยาเดิมจะให้ไปรับยาที่ รพ.สต. สอ. แต่ลงทะเบียน online มายัง รพ.สารภี คิดแล้วสะดวกต่อผู้รับบริการที่ไม่ต้องมาแออัดที่ รพ. เดินทางไม่ไกลด้วย ไม่ต้องเสียเงินค่าเดินทาง รอไม่นาน
รพ.สารภี มีหน่วยบริการย่อยแยกออกไปอีก 3 จุด
จุดที่ 1 หน้าที่ว่าการอำเภอ ห่างจาก รพ. 4 กิโลเมตร
จุดที่ 2 ศูนย์ฟื้นฟูสมรรภภาพผู้ป่วย อยู่ห่าง รพ. 2 กิโลเมตร
จุดที่ 3 ศูนย์บริการแพทย์ทางเลือกครบวงจร แพทย์แผนไทย อยู่ห่างจาก รพ. 7 กิโลเมตร
จุดที่ 4 5 6.... เจ้าหน้าที่เอางานที่ทำไม่เสร็จที่ รพ. หมดเวลาทำงาน กลับบ้านแต่งานยังไม่เสร็จ ก็แค่เปิดเครื่องคอมที่บ้าน เข้าใช้งาน HOSxP ได้เลย
รพ.เสียค่าอินเตอร์เน็ต 4 MB ของ CAT เดือนละ 14,000 บาท ถามว่าแพงไหม คุ้มค่าไหม
ผมมองในมุมมองของการบริหารจัดการ ลองคิดดู
ผู้รับบริการ 1 คน ถ้าเดินทางไป รพ. จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไร สมมุติ ระยะทาง 10 กิโลเมตร
1.เสียค่าเดินทางเป็นค่าน้ำมันรถ ค่าโดยสารรถประมาณ 50 บาท ถ้าเป็นพื้นที่บนดอยสูง ระยะทาง กว่า 30 ก.ม
ราว 300-500 บาท ถ้าเป็นผู้สูงอายุต้องมีคนมาส่งอีก
2.เสียเวลา ผู้ป่วย เบาหวานไปตรวจ FBS ที่ ร.พ. ต้องตื่น 03.00 น. เสียเวลาเดินทางอีก 1 ชั่วโมง เพื่อจะได้คิว
ต้น ๆ คิวที่ ไม่เกิน 10 มารอรับคิว 04.00 น. เจาะเลือดแล้วต้องรอ screen และที่สำคัญรอแพทย์ตรวจอีกอย่าง
น้อย 2 ชั่วโมง กว่าจะได้ถึงกลับบ้าน ราว 15.00 น.
3.เสียเงินค่าอาหารเพิ่ม อย่างน้อย มื้อละ 25 บาท มา รพ. อย่างน้อยต้องรอหมอนาน มาเช้ากลับ บ่าย รวมค่าอาหาร
2 มื้อ อย่างน้อย 50 บาท
4.เสียเวลาทำงาน อย่างน้อย ถ้าเป็นข้าราชการ ลูกจ้าง บริษัท ต้องลางาน 1 วัน
รวมเสียค่าใช้จ่ายราว 100 -500 บาท ต่อคน ผมคิดแค่คนละ 100 บาท วันนี้มีผู้ป่วยมา รพ. 200 คนต่อวัน ดังนั้น
คิดเป็นเงินราว 20,000 บาทต่อวัน คุณ 22 วันทำการ ตกราว เดือนละ 440,000 บาท
แล้ว รพ. ลงทุนเพียงเดือนละ 14,000 บาท คุ้มค่าไหมครับ
ถ้าใช้ระบบ online ที่ผมทำอยู่
ผู้รับบริการ 1 คน ถ้าเดินทางไป รพ.สต. จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไร สมมุติ ระยะทาง 1-2 กิโลเมตร
1.ขี่จักรยาน มอเตอร์ไชด์มา ค่าน้ำมันราว 5 บาท
2.มา สอ.สาย ๆ หน่อย ถ้าเป็น เจาะ FBS มาถึงราว 07.00 น. ก็ไม่ต้องรอคิวนานก็ได้เจาะเลือด
3.อาหารอาจเตรียมมาจากที่บ้าน บางคนบ้านอยู่ไม่ไกล อาจกลับไปทานที่บ้านได้
4.เสียเวลาตรวจไม่เกิน 30 นานพบแพทย์ได้เลย แพทย์มีเวลาตรวจคนไข้มากขึ้น
รวมเสียค่าใช้จ่ายราว 20บาท ต่อคน ถ้ามารพ.สต รวมกัน 5 แห่ง 200 คนต่อวัน ดังนั้น
คิดเป็นเงินราว 1,000 บาทต่อวัน คุณ 22 วันทำการ ตกราว เดือนละ 22,000 บาท
ของผมประหยัดกว่าและเร็วของพี่เอกนะครับ
ต้องประหยัดและดี คติประจำใจ
ผมใช้ระบบ bis wirelss 30 km ระหว่าง รพ.สต.บ้านไทรทอง กับ รพ.
ก็คงประมาณ 100 - 300 M งบประมาณ 30,000-50,000 บาท แต่ไม่มีรายเดือน
ได้ความคิดจาก สสจ.บุรีรัมย์ แต่ผมคงทำเอง โดย อ.ขวด เป็นที่ปรึกษา
ส่วน สอ.อื่นที่ ไม่มีภูเขา บังคงจะได้เริ่มอีก
ส่วน สสอ. ก็คงใช้ระบบเป็น G.SHDSL down 100 M up 11.2-22.4 M แค่นี้คงพอ สำหรับ 2 km
งบประมาณ 20,000 บาท
internet ก็ 10M/1M 1 สาย+4M/1M 1 สาย(IP จริง)
ระบบที่กำลังจะเป็น 32M/2M ~ 20,000กว่า
ไม่ได้ใช้ teamviewer แน่นอนครับ ผมว่าใช้แล้วช้า ขนาดผมตอนนี้ใช้ AMMYY_Admin เร็วกว่า
ระบบที่คีย์จากบ้านผมคงต้องบอกว่าง่ายแสนง่ายกว่าที่พี่คิดซะอีก
พอดีต้องลงค่า GPS และถ่ายภาพบ้านลงเลย
ไม่อยากให้ สอ.เขาเหนื่อยมานั่งทำ offline
พอดี Server ของ สอ. ก็แรม 8 Gb
internet ก็ 4M/1M แล้ว ทำให้การพัฒนาระบบง่ายกว่าแต่ก่อน
ยังติด สอ. 3 แห่ง ที่ใช้เป็น จานดาวเทียม
กำลังดูว่าจะเชื่อมเป็น bis wirelss ได้อีก 2 แห่งเลยหรือเปล่า
สงสัยผมอาจจะต้องเป็นกรรมกรขึ้นเสาวิทยุหรือเปล่า คราวนี้
แล้วเสาจะรับ น้ำหนักได้เท่าไรกัน(เป็นห่วงว่าถ้าเสาหักงบคงจะเสียมากกว่าเก่า งบบานปลายแน่เลยถ้า...)
ผมอิจฉา รพ. ระหว่าง สอ. ที่ไม่มีภูเขาบัง
cup หนองหาน เริ่มทำแล้วครับประมาณการ 2 เดือนใช้ทั้ง cup
เป็นระบบ datacenter หรือเปล่าพี่ ที่หนองหาน หรือระบบอย่างอื่นครับ อยากเชื่อมโยงระหว่าง รพ. กับ รพ.สต.และ สอ. ของบลงทุนขอทำระบบ datacenter กับ อ.MN แล้ว รอ... ตังค์
ก็ทดสอบใช้อยู่ 6 เืดือนแล้ว datacenter ระดับ CUP
เชื่อมระบบกับ รพ. กับ รพ.สต.และ สอ. หมดแล้ว
ส่ง 506 ผ่าน web แล้ว 2 เดือน
refer online และ ตอบกลับ กับ รพ.สต. ส่วนใบส่งต่อก็พิมพ์เลย
ระบบที่ทำใหม่ไม่ใช่ datacenter นะครับ