ตอนนี้ประเด็นไม่ใช่อยู่ที่ว่า ทำไม ไม่ตรงกัน เพราะอะไรแล้ว
แต่ก้าวมาถึงว่า จะใช้อะไร โดยชอบด้วยระเบียบ
เพราะต่างฝ่ายต่างไม่ยอม แต่กรมมีหนังสือคำสั่งยกเลิก เล่มแดง
แล้วเหตุเกิดแล้วที่ รพ ใน สมุทรปราการ ที่ กรม บ/ช เข้ามาตรวจแบบ สตง แล้วมีคำสั่งตักเตือน
ล่าสุด(ไม่แน่ใจว่าจริงหรือไม่) ที่ กรมเรียกเงินคืน ล้านกว่าบาท
ประเด็นที่คิด คือ จะไปทางไหน โดย ร.พ. ไม่กระทบ ทั้ง ผิดวินัย หรือ การฐานะการเงินของ รพ
จริง ๆ แล้ว รพ. จะคิดเงินกับผู้ป่วยเท่าไรก็ได้ แต่ไม่เกินระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ (ยึดตามเล่มแดงได้)
ส่วนการเบิกจ่ายเป็นเรื่องของกองทุนต่าง ๆ เช่น ข้าราชการ ก็ต้องไปดูระเบียบกระทรวงการคลัง ประกันสังคมก็ไปดูระเบียบจาก สปส. เป็นต้น
ดังนั้นการคิดเงินกับการเรียบเก็บหรือเบิกจ่าย เป็นคนละเรื่องกัน
หาก ร.พ. คิดเกินกว่าที่จะเรียกเก็บหรือเบิกจ่ายได้ แต่ไม่เกินอัตราที่ระเบียบกำหนดก็ไม่ผิดครับ แต่จะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติเท่านั้นเอง อาจเกิดความเดือดร้อนกับผู้มาใช้บริการ ต้องมีการจ่ายส่วนเกิน ที่เบิกไม่ได้ เพราะ ร.พ. คิดกับผู้รับบริการมากกว่าที่จะไปเบิกคืนได้
เช่น FBS ร.พ. คิดเงิน 60 บาท แต่กรมบัญชีกลางให้เบิกได้ 40 บาท หากเป็นเช่นนี้ผู้รับริการก็นำใบเสร็จไปเบิกได้เพียง 40 บาท อีก 20 บาท ก็เบิกไม่ได้ (กรณีนำใบเสร็จไปเบิก) คราวนี้หากเป็นข้าราชการในสถานที่ทำงานนั้น (ร.พ.) จะเกิดปัญหาหรือไม่ ซี่งโดยส่วนใหญ่ไม่อยากให้เกิดปัญหาแน่ คือไม่อยากมีส่วนเกิน เดี๋ยวผู้รับบริการเดือนร้อน (รวม จนท. รพ. ด้วย) ก็เลยคิดที่อัตราของกรมบัญชีกลางซะ จะได้ไม่มีใครเดือดร้อน
หากเป็นการเบิกจ่ายในระบบจ่ายตรง(ข้าราชการ)ในปัจจุบัน ยังไม่มีการตรวจสอบตรงนี้ครับ เพราะปัจจุบันส่งเบิกเป็นหมวดค่าใช้จ่าย กับเป็นรายการยา(บาง ร.พ.[168 แห่ง]) ซึ่งตรงนี้อาจหลุดรอดไปได้ จึงจำเป็นต้องมีทีมงานเข้าไปตรวจสอบเรื่องค่าใช้จ่ายครับ
สมัยนั้น (เมื่อปี 2006 ที่เจ้าของกระทู้ถาม) คงเป็นการตรวจสอบผลงานการเบิกจ่ายของผู้ป่วยใน ก่อนเริ่ม DRG มั้งครับ
http://somdej17.moph.go.th/pricerate