แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - decha

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
251
จะว่าเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนก็ว่าได้นะครับ แต่ก็ทำเป็นคู่มือไว้ให้สำหรับ admin มือใหม่ ที่กำลังหาข้อมูลการส่งออก 18 แฟ้มว่าจะทำอย่างไรดี ลองเอาไปดูประกอบเป็นแนวทางครับ ส่วนผลจริงๆคงต้องรอดูตอน สปสช.แจ้งผลการตรวจสอบนะครับ ผิดถูกอย่างไรช่วยแนะำนำเพิ่มเติมด้วย

เครดิตเรืื่องนี้ มอบให้คุณหน่อย รพร.บ้านดุง จ.อุดรธานีครับ

252
ปล.กำลังทำคู่มืองานวางแผนครอบครัว การเงิน และระบบอื่นๆให้เพิ่มเติมครับ
ดีเลยค่ะ อ. เดชา เพิ่ม EPI ด้วยนะคะ เพราะว่ากำลังมีปัญหากับวัคซีนหญิงตั้งครรภ์ ระบบบัญชี 2  แต่ก็หาทางออกโดยใช้ระบบ One stop service แทน
ปล. รอนะคะคู่มือ

ที่ว่าให้เพิ่ม EPI มีปัญหากับวัคซีนหญิงตั้งครรภ์ ระบบบัญชี 2 ปัญหายังไงครับ..

253
เนื่องจากไฟล์คู่มือจะมีภาพประกอบค่อนข้างเยอะนะครับ ไฟล์อาจจะใหญ่สักหน่อย ผมเลยแบ่งออกเป็นคู่มือ ฝากครรภ์,คลอด เยี่ยมหลังคลอด โหลดไปแล้วอยากให้ช่วยสอบถามผู้ใช้ด้วยนะครับว่าอ่านแล้วเข้าใจหรือไม่ หรือเนื้อหายังไม่ชัดเจนตรงไหน จะได้ช่วยกันปรับปรุงเนื้อหาเพื่อให้ admin ใช้เป็นคู่มือประกอบการชี้แจงผู้ใช้ครับ

ปล.กำลังทำคู่มืองานวางแผนครอบครัว การเงิน และระบบอื่นๆให้เพิ่มเติมครับ 

http://www.4shared.com/file/ivxVm2XE/_HOSxP.html

254
Development / Re: ปัญหาแฟ้ม Service ใน 18 แฟ้ม
« เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2010, 18:01:44 PM »
มารบกวน อ. Mn อีกแล้วครับ
หลังจากที่คุยกันที่ โรงแรม Vasidtee เมื่อวันวาน (อังคารที่ 18/5/53)
วันนี้เลยกลับมาดูข้อมูลที่ส่งออก 18 แฟ้มเพิ่มเติมครับ
พบว่ามีหลาย record ในแฟ้ม service มีค่าใช้จ่ายเป็น 0 เลยตามหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ถ้ามาตรวจรักษาที่ ร.พ. ต้องมีค่าใช้จ่ายบ้างแหละ อย่างน้อยก็ค่าบริการตรวจรักษาใน/นอกเวลาราชการ 50 บาท
ดู ovst ก็ไม่บอกว่ามาตรวจที่แผนกไหน (main_dep) ไม่มี
ก็ลองตรวจสอบไปเรื่อย ๆ จึงพบว่าข้อมูล service record นี้ ไม่ใช่การมารับบริการที่ ร.พ. แต่เป็นการลงภาวะโภชนาการในเด็ก 0-1 ปี ซึ่งนำข้อมูลที่ไปตรวจวัดที่บ้านมากรอกที่ ร.พ. (บัญชี 4) จึงทำให้ไม่เกิดค่าใช้จ่ายขึ้น และโปรแกรมได้ใสรหัส Z001 ให้โดยอัตโนมัติ

เลยอกยากเสนอว่า
1. ถ้าเป็นการบันทึกภาวะโภชนการในบัญชี 4 ไม่ต้องเพิ่ม visit ให้
2. หากเพิ่ม visit ให้อยากให้นำราคาค่าใช้จ่าย (ค่าบริการตรวจรักษาใน/นอกเวลาราชการ 50 บาท : DF) มาส่งออกใน 18 แฟ้มให้ด้วยครับ

ถ้าทำตามข้อ 1 คือ เราได้ปริมาณ visit ใน service ตามจริง (น้อยลง) แต่จะไม่ติด error กรณีไม่มีค่าใช้จ่าย

ช่วยกัน Vote ว่าจะให้อ.mn ปรับเป็นแบบไหน ระหว่างข้อ 1 กับข้อ 2 ครับ
ไม่ต้องส่ง SMS ไม่ต้องโทร.มา ไม่ต้องส่ง e-mail  ;D ;D ;D ;D

กรณีงานส่งเสริมการนับยอดเป็นผู้รับบริการ และไม่ให้คิดค่าบริการตรวจรักษาใน/นอกเวลาราชการ 50 บาท  ผมจึงไม่แน่ใจว่าควรจะเพิ่มรายการนี้หรือไม่ เพราะเท่าที่ตรวจสอบ 18 แฟ้ม อย่างกรณีของ FP หากมีรายการยานอกเหนือจากเวชภัณฑ์คุมกำเนิด หรือมีค่าบริการตรวจรักษาใน/นอกเวลาราชการ 50 บาทโปรแกรมตรวจสอบก็จะแจ้ง error เช่นเดียวกันครับ  เลยไม่แน่ใจว่าควรจะให้เป็น 0 บาท หรือเพิ่มรายการอย่างที่ว่าดี

255
ขอบคุณมากๆนะค อ.เดชา สำหรับผลของ Lab ของ ANC
แต่มีปัญหานิดนึงค่ะ พอดีที่ รพ.ใช้ HCT /1 และ HCT /2  Lab_items_code ตัวเดียวกัน ทำให้มีปัญหาเวลารายงานผลค่ะ ซึ่งการตรวจ HCT ครั้งที่ 1 ฝากครรภ์ครั้งแรก และ HCT /ครั้งที่ 2  อายุครรภ์  32 สัปดาห์  แต่ยังไม่ไม่ได้ตรวจครั้งที่ 2เลยค่ะ ผลก็โชว์ตามภาพ ทำไงดีคะ
 

ความเห็นส่วนตัวนะครับ ทำรายการ Lab เป็น HCT1 และ HCT 2 เวลาสั่งก็เลือกสั่งให้ตรง แต่อาจจะมีแนวทางอย่างอื่นอีกนะครับ ลองดูความเห็นท่านต่อไป

256
ขอบคุณครับอาจารย์  ;D ;D ;D ;D ;D

257
ขออนุญาตดันไว้อีกรอบนะครับ  ;D

258
ถ้า รพ.หลัก  และ PCU ที่อยู่ใกล้เคียง ใช้ Database เดียงกัน  ใน version ปัจจุบัน ยังไม่สามารถส่งออก ข้อมูล 16+9 file แยกระหว่าง รพ. กับ PCU/สอ." ให้จากกันได้ ข้อมูล จะรวมกันไปหมด   ทำให้ไม่สามารถ ประมวลข้อมูล PCU ไม่ชัดเจน

ข้อมูล PCU / สถานีอนามัย  --> ส่งข้อมูล  มายัง ---> สสจ. ----> ส่งข้อมูล มายัง    สปสช. ........1

ข้อมูล งานบริการที่ รพ. ---> สปสช. ------- 2

ช้อมูลจาก 1 และ 2 ไป ชนกัน ที่ สปสช. ( เนื่องจากไม่ได้ แยกกัน ) -----> สปสช ตัด ข้อมูล PCU / สอ.

ผล คือ ผลงานแผนก  PCU , สสอ. น้อยลง  ได้ point น้อยลง

รบกวน อ. MN  พิจารณา อีกที ครับ


ไม่รู้ผมเข้าใจถูกหรือเปล่านะครับ..
ข้อมูลที่ รพ.ส่ง ข้อมูลโรงพยาบาลส่งตรงไปที่ สปสช. และ สสจ. โดย สสจ.จะมีโปรแกรมรวมอีกที เท่าที่ทราบเขาพิจารณาข้อมูลอย่างนี้นะครับ
-ส่วนของโรงพยาบาล สปสช.จะดูเฉพาะข้อมูลที่ส่งตรงไปให้ สปสช.และพิจารณาจัดสรรจากข้อมูลส่วนนี้
-ส่วนของ สอ./PCU ที่ส่งข้อมูลไปรวมที่ สสจ. เื่พื่อให้เป็นภาพรวมในระดับจังหวัด และเมื่อ สสจ.ส่งไป สปสช. เขาจะตัดส่วนของโรงพยาบาลออก ไม่ได้นำไปพิจารณาในการจัดสรรหรือเปล่าครับ
..

259
แลกเปลี่ยนกันดูครับ..
ต้องยอมรับว่าคนทำงานไอทีของโรงพยาบาลในปัจจุบันมาจากคน 2 กลุ่มหลักๆ..

กลุ่มหนึ่ง เป็นคนที่อยู่ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุข มีความสนใจ/ชอบ หรือมีความสามารถพิเศษด้านไอที กลุ่มนี้ค่อนข้างโชคดีเพราะมีทุนความรู้ระบบงานสาธารณสุข บวกเสริมเติมความสามารถทางด้านไอที และที่สำคัญมักจะเข้าใจเกี่ยวกับบริบทงานในโรงพยาบาล ความแตกต่างของแต่ละวิชาชีพ ทำให้จัดการ หรือพัฒนาระบบงานไอทีของโรงพยาบาลให้สามารถใช้งานได้ค่อนข้างดี..

ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มที่จบทางด้านคอมพิวเตอร์มาโดยเฉพาะ มีความรู้ความเข้าใจในงานคอมพิวเตอร์ที่เรียนมาดี แต่มีความรู้ความเ้ข้าใจในงานสาธารณสุขน้อย หรือถ้าจะให้มีก็ต้องใช้เวลาเรียนรู้อีกพอสมควร..

กลุ่มแรกมีข้อดี แต่ก็มีข้อเสีย เพราะเรียนมาด้านหนึ่งแต่ดันได้รับผิดชอบงานอีกด้านหนึ่ง จนบางคนหาความก้าวหน้าในสายงานเดิมไม่มี.. เรียกว่าถูกกระทำไปแบบตกกระไดพลอยโจน ผู้บริหารไว้วางใจให้ทางงานแต่ความก้าวหน้าก็งั้นๆ ค่าตอบแทนพิเศษก็ไม่มีทั้งๆที่ทำงานนี้ควรมีบุคลากรไอทีมาดูแล โรงพยาบาลไหนมีคนกลุ่มเป็น Admin ถือว่าโชคดีไปครับได้ 2เ้ด้ง

ส่วนกลุ่มที่สอง มักเป็นกลุ่มที่ถูกคาดหวังจากคนในโรงพยาบาลตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานทั่วไปว่า admin จะต้องทำได้ทุกอย่าง จ้างมาแล้วต้องใช้งานให้คุ้ม อะไรๆที่เกี่ยวกับไอที แม้กระทั่งพวกเครื่องเสียง อุปกรณ์ไฮเทคอะไรใหม่ๆ มีความเชื่อกันอย่างฝังใจว่าคนทำงานไอทีต้องรู้..ต้องใช้เป็น.. Software ทุกโปรแกรมต้องทำเป็น ประมาณว่าถ้าคนไอทีไม่รู้แล้ว..ใครจะรู้..

กลุ่มนี้น่าเห็นใจตรงที่ว่า งานหนัก เงินน้อย..ด้อยโอกาส  ขาดความก้าวหน้า แถมยังต้องเจอปัญหาและรองรับอารมณ์ของเหล่าวิชาชีพสาธารณสุขทั้งหลาย พูด/แนะนำอะไรไปคนไม่ค่อยฟัง ไม่ยอมปรับวิธีทำงาน ดันทุรังจะให้ปรับแต่ software อย่างเดียว การมอบหมายงานให้คนกลุ่มนี้มักถูกให้ทำงานผิดประเภท การทำงานแต่ละวันอยู่อย่างเซ็งกะตาย พิมพ์งาน ซ่อมเครื่องแก้ปัญหาเล็กๆน้อยๆ รายวันไม่ท้าทาย บวกกับรายต่ำ..อยู่ทำงานในองค์กรได้ไม่ดี และอยู่ได้ไม่นาน

เป็นแนวคิดที่ดีนะครับ ถ้าหากจะช่วยกันส่งเสริมและพัฒนา ความรู้และเข้าใจการทำงานของคนไอทีมากขึ้น
ซึุ่งรวมถึงการพิจารณาค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับภาระงานด้วย..
คนส่วนใหญ่มักจะบอกว่าเข้าใจ แต่ในใจลึกๆ ก็ยังมองคนทำงานไอทีว่าทำงานสบาย งานง่ายๆ ไม่ได้หนักอะไร

ยินดีนะครับที่จะมีส่วนร่วมช่วยผลักดันความก้าวหน้าของบุคลากรกลุ่มไอที

แต่ก็อยากให้คนทำงานไอที ได้ศึกษา เรียนรู้ อดทนทำงานที่รับผิดชอบให้เห็นผลด้วยครับ..

ฝีมือไม่ดี มือไม่ถึง จะให้เขาเพิ่มค่าตอบแทนให้ก็กระไรอยู่นะ..





260
ยินดีต้อนรับ / Re: เบื่อ
« เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2010, 13:51:48 PM »
ติดต่อโรงพยาบาลโดยตรง น่าจะได้รับคำตอบนะครับ  ;D

261
ทำคู่มือไว้ให้เจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานสำหรับลงบันทึกข้อมูล แจกให้ลองเอาไปอ่านดูครับพอเป็นแนวทาง หากมีข้อผิดพลาดตรงไหนช่วยแจ้งมาด้วยนะครับจะได้แก้ไขให้ถูกต้อง..


คู่มือฝากครรภ์ดาวน์โหลดไม่ได้ครับ
อัพโหลดให้ใหม่แล้วครับ ลองโหลดตามลิงค์ดูอีกครั้่งนะครับ

262
ทำคู่มือไว้ให้เจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานสำหรับลงบันทึกข้อมูล แจกให้ลองเอาไปอ่านดูครับพอเป็นแนวทาง หากมีข้อผิดพลาดตรงไหนช่วยแจ้งมาด้วยนะครับจะได้แก้ไขให้ถูกต้อง..

ผมทำรวมไว้ 3 ไฟล์ มีคู่มือบันทึกฝากครรภ์ บันทึกการคลอด และเยี่ยมหลังคลอด
โหลดได้ที่ลิงค์นี้นะครับ

http://www.uploadfile.biz/file/?i=EWEDMEIEIZWVDW

263
ถ้าถามว่า "ทำไม"..คนที่เกี่ยวข้องก็คงมีเหตุผลมากมายที่จะตอบเช่นเดียวกันครับ..
 :)

264
น่าจะเป็นตาราง opdrent มั้งครับ..เดาเอา
 ;D

265
ลองดูในตาราง anc_lab ครับ

266
ลองดูเป็นแนวทางครับ 
เอ่อ..แต่เสียงไม่เกี่ยวนะครับ ขออภัย ดันลืมปิดไมค์... T T

http://www.youtube.com/watch?v=qtOCXNqDf8s

267
ยกสองมือสนับสนุนครับ..

268
 :o :o :o
ผมทดสอบการลงบันทึกข้อมูล ตั้งแต่การฝากครรภ์ คลอด และหลังคลอด ความเชื่อมโยงของบัญชี 2 และบัญชี 3 ยิ่งทำก็ยิ่งสนุกดีครับ มีหลายจุดที่น่าสนใจ สัปดาห์หน้าจะประชุมกับทีมแพทย์ พยาบาล เภสัช และ PCU ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อขอความเห็นและขั้นตอนการลงบันทึกให้ชัดเจน มีผลสรุปอย่างไรจะนำมาเสนอ อ.ชัยพร และสมาชิกในบอร์ดให้ร่วมกันแลกเปลี่ยนอีกครับ..
ตอนนี้ก็ขอดันอีกรอบ..

269
ที่ยกเลิกการใช้ HOSxP นี่ัยังไม่เคยเจอครับ มีแต่ที่กำลังจะใช้ HOSxP อบรมเจ้าหน้าที่ อบรม Admin เรียบร้อยแล้วแต่ผู้บริหารเปลี่ยนคนใหม่ มารักษาการก็นำระบบโปรแกรมเดิมที่เคยใช้จาก รพ.เดิมมาให้ใช้เลย  ส่วนแห่งอื่นๆเท่าที่เคยเจอ พบว่ามีปัญหาเรื่องการใช้งาน ความไม่เข้าใจ ไม่รู้วิธีการใช้ และที่สำคัญคือ ไม่ปรับวิธีการทำงานให้เหมาะสม ทำให้การใช้งาน HOSxP มีปัญหา

ตอนนี้้ถ้า รพ.แห่งไหนมีปัญหา และเดินทางไปไม่ไกลมากหรือมีระบบที่สามารถรีโมทไปได้ ก็พยายามไปช่วยกันครับ น่าเสียดายครับหากจะเลิกใช้ HOSxP เพราะไม่เข้าใจการใช้งานหรือวางระบบยังไม่เหมาะสม ทั้งที่ในปัจจุบันผมคิดว่า  HOSxP เป็นโปรแกรมที่ดีมากโปรแกรมนึง



270
โอ.. คารวะท่านผู้อาวุโส.

271
ตามขั้นตอนของ อ.ชัยพร จากการทดสอบ การกำหนดหมู่ที่ ในบัญชี 1 ต้องเป็น หมู่ 1,2,3,... หากกำหนดหมู่ที่ เป็น 01,02,03... พบว่าไม่มีการโอนคนไข้จาก Patient to Person ครับ

272
ขออนุญาตดันอีกครั้งนะครับ ทดสอบใน Version 3.53.3.31 แล้วยังเหมือนเดิมครับ

273
นอกเรื่อง / Re: ทายซิ...ใครเอ่ย
« เมื่อ: มีนาคม 29, 2010, 05:40:57 AM »
ปีศาจป่วนบ้าน..ป่วนเมืองครับ  ;D

274
version 3.53.3.26 ยังเหมือนเดิมครับ

276
คงเป็นปัญหาเหมือนกันทุกที่แหละครับ โดยเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินที่มารับบริการที่ ER ซึ่งผู้ป่วยมาในสภาพนั่ง นอน บนรถเข็น จนท.คงต้องประมาณน้ำหนัก ส่วนสูงเอาเอง ข้อมูลตรงนี้มีความสำคัญต่อความสมบูรณ์ของเวชระเบียนด้วย บางทียิ่งเราเพิ่มระบบ lock หรือให้ติ๊กเพิ่ม เข้าไป   มองในด้านหนึ่งก็ดูเหมือนว่าจะยืดหยุ่นในการปฏิบัติได้ดี แต่มองอีกด้านก็ทำให้เพิ่มภาระในการคลิ๊ก การติ๊ก เพิ่มอีก  (แค่มีให้ลงในปัจจุบันก็ยังลงไม่ค่อยจะครบเลย) แต่การบังคับให้ลงแล้วก็เฝ้าสังเกตดูเงียบๆ พยาบาลเขาก็เก่งนะครับหาทางออกในการลงข้อมูลนอกจากการเดาได้หลายวิธี.. เช่น ดูจากบัตรประชาชน ,วัดจากความยาวของเตียงที่นอน หรือบางทีก็เ่ล่นทายน้ำหนักกันซะเลยว่าใครจะแม่นกว่ากัน..
แต่ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอครับ..

277
ผมไม่แน่ใจว่าโปรแกรมยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา หรือสามารถโอนข้อมูลได้ครบถ้วนแล้ว แต่เท่าที่ทดสอบการอัพเดตข้อมูลการคลอดยังพบว่ามีการโอนข้อมูลไปเฉพาะบางส่วนครับ ทำให้ไม่สะดวกที่ในการลงบันทึกข้อมูลของเจ้าหน้าที่
ตามภาพนะครับ และอีกจุดหนึ่งที่อยากเพิ่มเติมคือ ข้อมูลการฉีดวัคซีน BCG และ HB ที่มีการติ๊กถูกที่ระบบงานห้องคลอดแล้ว โปรแกรมมีให้ค้นหา HN ของทารกด้วย ซึ่งคิดว่า อ.คงเอาไว้เชื่อมกับข้อมูลของเด็ก ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการคีย์ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ได้เยอะทีเดียวครับ

278
ตาราง anc_lab เชื่อมกับตาราง lab_item      โดยจะต้องกำหนดค่า lab_item_code 
ซึ่งการกำหนดค่าที่ตารางนี้เมื่อผู้รับบริการมาฝากครรภ์ จนท.สั่งแลป และ ห้องแลปรายงานผลจะทำให้ผล Lab
ไปแสดงที่รายการ lab ของการฝากครรภ์โดยอัตโนมัติครับ

อีกส่วนคือ การกำหนดค่าที่
ตาราง Lab_labour เชื่อมกับ ตาราง anc_lab โดยจะต้องกำหนดค่า anc_lab_id และ lab_item_code
การกำหนดค่าตารางนี้ จะทำให้ผล Lab จากการฝากครรภ์ แสดงทีระบบงานของห้องคลอดด้วย

ยังมีข้อสงสัยเช่นเดียวกันกับผลครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งดูเหมือนว่าจะต้องออกแบบรายงานแลป เช่น VDRL ให้มีครั้งที่
1 และ ครั้งที่ 2 ครับ เพื่อให้เลข  Lab_item_code ไม่ซ้ำกัน

279
แฟ้ม WOMEN เป็นแฟ้มสะสมที่ไม่ใช่งานบริการ จะทำการประมวลผล point ในเดือน กค.-กย.53
ดังนั้นการตรวจสอบในช่วงนี้จึงทำให้เลือกว่าจะตรวจสอบ D_UPDATE หรือไม่ ถ้าตอบ Yes ข้อมูลจะ error 100% เพราะไม่อยู่ในเดือนที่ประมวลผล แต่สามารถข้ามการตรวจสอบโดยเลือก No โปรแกรมจะทำการตรวจสอบข้อมูลส่วนอื่นๆ ในแฟ้ม WOMEN แต่ไม่ตรวจสอบ D_UPDATE ทำให้ข้อมูลผ่านมากขึ้น แต่ไม่มีผลกับ point ในช่วงนี้

อ้างอิงจาก http://op.nhso.go.th/op/

280
ได้หรือยังครับ ถ้ายังไม่ได้พรุ่งนี้จะช่วยรีโมทไปดูให้

281
ลองเอาไปดูเป็นแนวทางครับ..

282
ไม่เข้าใจว่าแบบไม่ต้องลงทะเบียน หมายถึง ผู้ป่วยที่ไม่ได้ลงทะเบียนประวัติแพ้ยา ,หรือไม่ได้ลงทะเบียนส่งตรวจครับ (งง)

ปกติประวัติแพ้ยาถ้ามีการซักประวัติการแพ้ยาและลงบันทึกในฐานข้อมูลผู้ป่วยแพ้ยา สามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้จากเมนูนี้ครับ

: ระบบห้องยา- - ->รายชื่อผู้ที่แ้พ้ยา  คลิกที่ปุ่มเพิ่ม/แก้ไข โปรแกรมจะให้ค้นหารายชื่อครับ ซึ่งหลังจากเลือกชื่อผู้ป่วยแล้วจะแสดงรายละเอียดเช่นเดียวกับหน้าจอที่เภสัชซักประวัติตอนแพ้ยาครับ


283
ยินดีต้อนรับ / Re: การฉีควัคซีน BCG และ HB
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2010, 10:45:50 AM »
อ้างถึง
.พอดีเรื่องประเด็ดเรื่อง admit   หรือเพิ่ม Visit ที่ OPD เรายังไม่เคยเจอปัญหา เพราะว่าได้ทำตามแนวทางที่วางระบบขั้นตอนไว้ค่ะ
พอจะมีแนวทางปฏิบัติ หรือ WI เรื่องนี้ไหมครับ
ขอหน่อย  ครับ
ประเด็นนี้ คุณ kanda เขาหมายถึง ให้พยาบาลที่ห้องคลอดฉีดวัคซีน หรือลงข้อมูลการให้วัคซีนในวันที่ admit นะครับ เพราะในวันที่ admit จะมี opd visit อยู่แล้วสามารถแก้ไข visit นั้นและเพิ่มข้อมูลการฉีดวัคซีนเข้าไปได้เลย
อ้างถึงคุณ decha

ยังมีอีกกรณีนึงที่ผมสนใจ คือ กรณีที่คนไข้ที่รับวัคซีนมาจากที่อื่น และรายชื่ออาจจะขึ้นทะเบียนไว้กับบัญชี 3 ของสถานบริการ การลงข้อมูลย้อนหลังให้ได้ความครอบคลุมตรงนี้ ไม่น่าจะเพิ่ม visit นะครับ เพราะการเิพิ่ม visit ที่เราต้องลงข้อมูลเหมือนการมารับบริการให้ครบ เหมือนว่าเราเป็นผู้ให้บริการเองซึ่งข้อมูลตรงนี้เข้าใจว่าจะออกเป็นผลงานไปด้วย ทั้งๆที่จริงๆไม่ใช่ ผมไม่แน่ใจว่าเวลาที่ สปสช.เขารวมข้อมูลมีการตัดออกตรงนี้หรือไม่อย่างไรนะครับ

พอดีพึ่งไปประชุมเรื่อง PP/OP มา ทาง สปสช.ได้ตอบมาแล้วว่า ปีนี้เค้ายังไม่ได้ตรวจสอบเรื่องการรับบริการหลายๆสถานบริการ  ซึ่งหมายความว่า คนไข้ไปรับบริการ 2 แห่ง สถานบริการที่ลงข้อมูลก็ได้ Point ทั้ง 2 แห่ง
เพราะ point ให้แยกตามรหัสสถานพยาบาล/service ครับ ไม่ได้ตรวจสอบว่า คนนี้ได้ให้บริการที่ไหนมาแล้วหรือไม่

ขอบคุณ sornkung ครับที่ให้ข้อมูล

284
น่าจะมีการกำหนดไว้ใน system setting นะครับ รายการไม่อนุญาตให้เพิ่ม visit จากระบบงานเชิงรุกครับ

285
ยินดีต้อนรับ / Re: การฉีควัคซีน BCG และ HB
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2010, 12:25:20 PM »
กรณีฉีดวัคซีนแรกเกิด BCG และ HB1 ที่ รพ.ให้ห้องคลอดเป็นผู้ฉีด ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นนอกเขตหรือว่าในเขตรับผิดชอบและก็ให้บริการตามปกติ   ถ้า PCU มีเวลาพอก็ตามเก็บมาลงความครอบคลุมในระบบบัญชี 3  หรือไม่ก็ตอนไปเยี่ยมหลังคลอด ภายใน 7 วัน โดยแก้ไข VISIT เก่า หรือเมื่อเด็กได้ 2 เดือนมารับวัคซีน DTPHB กรณีไปคลอดที่อื่นแล้วกลับมาอยู่บ้านและขึ้นสิทธิ์ที่เรา (ได้ครอบคลุม แต่Point ไม่ได้)  (เฉพาะในเขตรับผิดชอบ)   เพราะว่านอกเขตรับผิดชอบก็ให้ สอ.นำเอาข้อมูลไปเพิ่ม VISIT การให้บริการ  การได้รับวัคซีนอยู่แล้ว.... ;D ;D ;D

ผมหมายถึงกรณี admit ครับว่าถ้าเราเพิ่มการฉีดในบัญชี 3 มันจะไปเพิ่ม visit ในระบบผู้ป่วยนอกให้อัตโนมัติทั้งๆที่สถานะผู้ป่วยยังเป็นผู้ป่วยในครับ กรณีแบบนี้มันจะขัดแย้งกันหรือไม่

ส่วนกรณีการเพิ่ม visit การให้บริการในบัญชี 3 เพื่อให้ได้ความครอบคลุม (ลงข้อมูลย้อนหลัง) ในระบบมันจะเพิ่มข้อมูลการรับบริการด้วย เช่น คนไข้วันที่ 01/02/2553 เคยมีจำนวน 100 ราย แล้วเราทำการลงข้อมูลวัคซีนย้อนหลังสัก 1 ราย ยอดผู้รับบริการจะเพิ่มขึ้นเป็น 101 ครับ

และแม้จะลงย้อนหลังโดยแก้ไข visti เก่าก็ไม่ถูกต้องอยู่ดี เช่น เด็กเกิดวันที่ 01/02/2553 นอน รพ.2วัน พยาบาลห้องคลอดฉีดวัคซีนวันที่ 03/02/2553  visit ที่มีให้แก้ไขได้คือ visit วันที่ 01/02/2553 ซึ่งเป็นวันที่คลอดเพราะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยนอกก่อน admit ดังนั้นข้อมูลการฉีดวันที่จะไม่ตรงตามความเป็นจริงครับ แต่ถ้าเราเพิ่มวันที่ฉีดจริง คือ วันที่ 03/02/2553 โปรแกรมจะเพิ่ม visit ให้อัตโนมัติ ทั้งๆ ที่สถานะผู้ป่วยยังเป็นผู้ป่วยในอยู่

กรณีของคุณ Kanda ฐานข้อมูล PCU คงไม่ได้ใช่ร่วมกับฐาน HOsXp ของ โรงพยาบาลใช่หรือเปล่าครับ


  :P :P  อ.เดชาคะ.... ทาง รพ.ก็ใช้ฐาน Hosxp ร่วมกันค่ะ
ตอบข้อที่ 1 ไม่เพิ่มแน่นอนค่ะ ถ้าระบบของ PCU ทำตามขึ้นตอนที่แนบเรียนมาพร้อมนี้ แต่กรณีคนไข้ admit ถ้าเพิ่ม VISIT ใหม่ขัดแย้งกันแน่นอนค่ะ
ตอบข้อ 2 แน่นอนค่ะ ยอดคนไข้เพิ่มแน่นอน  เพราะว่าระบบ PCU ถ้าจะให้ทำงานแบบ One stop service คงเป็นไปไม่ได้เพระว่าออกหมู่บ้านกลับมาก็หมดเวลาทำงานแล้ว
ตอบข้อ 3 ก็ให้พยาบาลฉีดวัคซีนแรกคลอดเลยซิคะ เพราะว่าเคยเข้าห้องคลอดร่วมกับพยาบาลพอเด็กคลอด หลังจากให้บริการเช็ดเนื้อเช็ดตัวก็ฉีดวัคซีนให้เลยค่ะ....
 ;D ;D  หรือว่าดิฉันจะไม่ได้ใช้หลักการอะไร หรือว่าจะมั่วทำตามความเข้าใจของตัวเองคะนี่.....อิอิอิอิ ขอให้ผู้รู้ฟันธงด้วยนะคะ..........

คงเข้าใจไม่ตรงกันนะครับ  ข้อ 1 นี่ถ้าทำตามขั้นตอนที่คุณ Kanda ว่า ตรงนี้ visit ไม่เพิ่มจริงครับ เพราะว่าก่อน admit เราต้องส่งตรวจจะมีข้อมูล visit เป็นผู้ป่วยนอกอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาครับ เช่น ข้อมูลตัวอย่างของคุณ Kanda admit วันที่ 22 ก.พ.53 แต่ถ้าฉีดในวันที่ 22 กพ.53 ไม่มีปัญหาครับ ใช้ visit เดิมที่มี แต่ถ้าฉีดจริงวันที่ 23 ก.พ.53 แล้วไปใช้ข้อมูล visit วันที่ 22 กพ.53 ข้อมูลวันที่มันก็ไม่ตรงกันใ่ช่ไหม๊ครับ

ถ้าจะให้ห้องคลอดฉีดวัคซีนให้เด็กเลยตามคำแนะนำของคุณ kanda พบว่าเหตุผลในทางปฏิบัติเพราะว่า รพ.บางแห่ง คลอดวันละ 1-2 คน อาจจะไม่คุ้มค่าวัคซีน เขาเลยเลือกที่จะรอให้มียอดเด็กรอฉีดวัคซีนให้คุ้มค่าการเปิดใช้ครับ

ประเด็นที่เราแลกเปลี่ยนกันคิดว่าไม่ใช้ขั้นตอนการทำงานครับ ตรงนี้เข้าใจว่าวิธีการเหมือนกันอยู่แล้ว แต่ผมแลกเปลี่ยนในทางปฏิบัติว่า หากต้องเพิ่มเป็น visit OPD ในกรณีที่ผู้ป่วยยัง admit อยู่ คือ การฉีดวัคซีนในวันถัดจากวันที่คลอด ซึ่งจะทำให้ข้อมูลวันที่ฉีดตรงตามความเป็นจริงนั้น ถูกต้องหรือจะมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือไม่ เพราะคนไข้ admit แล้วจะมีประวัติ OPD visit ได้อย่างไร ซึ่งหลายท่านก็ให้ความเห็นว่า ถ้าเป็น OPD visit และเป็นประเภทผู้รับบริการ น่าจะเป็นไปได้

ของผมก็มีปัญหานี้เหมือนกันมานานตั้งแต่ขึ้น hosxp แรกๆแล้ว
ก็หาวิธีแก้ปัญหามาเรื่อย ตอนแรกก็ยอมให้เพิ่ม visit ตอน admit ก็โดนเวช ด่ามา บิดามารดาสะดุ้งเลย
เลยแก้ปัญหาตอนนี้ก็วันที่เด็ก และ แม่จะกลับบ้าน ก็ให้ห้องหลังคลอด ส่งไปให้ห้องเวชระเบียนออก visit ผู้ป่วยนอก ทั้งแม่ และลูก ให้หลังจาก discharge แล้ว ลงข้อมูลเยี่ยมหลังคลอดครั้งที่ 1 ทั้งแม่และเด็ก และลงวัคซีนเด็กด้วย ตอนนี้ปัญหานี้ก็เงียบๆไป ok ทุกฝ่าย ห้องหลังคลอดอาจจะบ่นเล็กน้อย
แต่ก็เพื่อเงิน รพ. ทุกฝ่ายก็ต้องยอมครับ

แนวทางนี้ก็น่าสนใจนะครับ  ;D

ยังมีอีกกรณีนึงที่ผมสนใจ คือ กรณีที่คนไข้ที่รับวัคซีนมาจากที่อื่น และรายชื่ออาจจะขึ้นทะเบียนไว้กับบัญชี 3 ของสถานบริการ การลงข้อมูลย้อนหลังให้ได้ความครอบคลุมตรงนี้ ไม่น่าจะเพิ่ม visit นะครับ เพราะการเิพิ่ม visit ที่เราต้องลงข้อมูลเหมือนการมารับบริการให้ครบ เหมือนว่าเราเป็นผู้ให้บริการเองซึ่งข้อมูลตรงนี้เข้าใจว่าจะออกเป็นผลงานไปด้วย ทั้งๆที่จริงๆไม่ใช่ ผมไม่แน่ใจว่าเวลาที่ สปสช.เขารวมข้อมูลมีการตัดออกตรงนี้หรือไม่อย่างไรนะครับ

286
ยินดีต้อนรับ / Re: การฉีควัคซีน BCG และ HB
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2010, 05:58:55 AM »
อ้างถึง
ผมตรวจสอบดูการส่งตรวจอัตโนมัติ กรณีที่ให้บริการแบบนี้ พบข้อมูลไม่สมบูรณ์อีกเล็กน้อยครับ ถ้าสามารถออก visit อัตโนมัติ เลือกแผนกเป็น อื่นๆ และประเภทคนไข้ได้ถูกต้อง น่าจะช่วยตอบปัญหานี้ได้ ทุกวันนี้ต้องกลับมาส่งตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อลงบันทึกข้อมูลให้สมบูรณ์
;D ;D ;D อันนี้เห็นด้วยครับ ปัจจุบันต้องไปตามน้ำเหมือนป๋าโก้กับหมออนุกูลเหมือนกัน ;D ;D ;D

ป๋าตื่นแต่เช้าเหมือนกันนะครับนี่  ;D ;D

287
แจ้งปัญหา / ขอความช่วยเหลือ / Re: มีปัญหาmapping ครับ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2010, 05:57:49 AM »
พยายามทำความเข้าใจกับปัญหาตรงนี้เหมือนกันครับ ตอนนี้ก็เลือกใส่ข้อมูลเท่าที่พอจะแก้ปัญหาได้ไปก่อน

288
ยินดีต้อนรับ / Re: การฉีควัคซีน BCG และ HB
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2010, 05:47:45 AM »
เห็นด้วยเช่นกัน กับการออก visit OPD ไปเพื่อทำงานได้  แต่การนับยอดผป.นอก ต้องระวัง กลุ่มให้บริการไม่นับรวมกับผู้ป่วยนอกทั่วไป เช่น EPI ANC  ต้องแยกออกมาก่อน แล้วไปรวมอยู่ในกลุ่มผู้รับบริการ (ไม่ใช่ผู้ป่วย)

ผมตรวจสอบดูการส่งตรวจอัตโนมัติ กรณีที่ให้บริการแบบนี้ พบข้อมูลไม่สมบูรณ์อีกเล็กน้อยครับ ถ้าสามารถออก visit อัตโนมัติ เลือกแผนกเป็น อื่นๆ และประเภทคนไข้ได้ถูกต้อง น่าจะช่วยตอบปัญหานี้ได้ ทุกวันนี้ต้องกลับมาส่งตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อลงบันทึกข้อมูลให้สมบูรณ์

289
ยินดีต้อนรับ / Re: การฉีควัคซีน BCG และ HB
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2010, 12:07:22 PM »
กรณีฉีดวัคซีนแรกเกิด BCG และ HB1 ที่ รพ.ให้ห้องคลอดเป็นผู้ฉีด ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นนอกเขตหรือว่าในเขตรับผิดชอบและก็ให้บริการตามปกติ   ถ้า PCU มีเวลาพอก็ตามเก็บมาลงความครอบคลุมในระบบบัญชี 3  หรือไม่ก็ตอนไปเยี่ยมหลังคลอด ภายใน 7 วัน โดยแก้ไข VISIT เก่า หรือเมื่อเด็กได้ 2 เดือนมารับวัคซีน DTPHB กรณีไปคลอดที่อื่นแล้วกลับมาอยู่บ้านและขึ้นสิทธิ์ที่เรา (ได้ครอบคลุม แต่Point ไม่ได้)  (เฉพาะในเขตรับผิดชอบ)   เพราะว่านอกเขตรับผิดชอบก็ให้ สอ.นำเอาข้อมูลไปเพิ่ม VISIT การให้บริการ  การได้รับวัคซีนอยู่แล้ว.... ;D ;D ;D

ผมหมายถึงกรณี admit ครับว่าถ้าเราเพิ่มการฉีดในบัญชี 3 มันจะไปเพิ่ม visit ในระบบผู้ป่วยนอกให้อัตโนมัติทั้งๆที่สถานะผู้ป่วยยังเป็นผู้ป่วยในครับ กรณีแบบนี้มันจะขัดแย้งกันหรือไม่

ส่วนกรณีการเพิ่ม visit การให้บริการในบัญชี 3 เพื่อให้ได้ความครอบคลุม (ลงข้อมูลย้อนหลัง) ในระบบมันจะเพิ่มข้อมูลการรับบริการด้วย เช่น คนไข้วันที่ 01/02/2553 เคยมีจำนวน 100 ราย แล้วเราทำการลงข้อมูลวัคซีนย้อนหลังสัก 1 ราย ยอดผู้รับบริการจะเพิ่มขึ้นเป็น 101 ครับ

และแม้จะลงย้อนหลังโดยแก้ไข visti เก่าก็ไม่ถูกต้องอยู่ดี เช่น เด็กเกิดวันที่ 01/02/2553 นอน รพ.2วัน พยาบาลห้องคลอดฉีดวัคซีนวันที่ 03/02/2553  visit ที่มีให้แก้ไขได้คือ visit วันที่ 01/02/2553 ซึ่งเป็นวันที่คลอดเพราะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยนอกก่อน admit ดังนั้นข้อมูลการฉีดวันที่จะไม่ตรงตามความเป็นจริงครับ แต่ถ้าเราเพิ่มวันที่ฉีดจริง คือ วันที่ 03/02/2553 โปรแกรมจะเพิ่ม visit ให้อัตโนมัติ ทั้งๆ ที่สถานะผู้ป่วยยังเป็นผู้ป่วยในอยู่

กรณีของคุณ Kanda ฐานข้อมูล PCU คงไม่ได้ใช่ร่วมกับฐาน HOsXp ของ โรงพยาบาลใช่หรือเปล่าครับ


290
ยินดีต้อนรับ / การฉีควัคซีน BCG และ HB
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2010, 23:29:04 PM »
สวัสดีครับทุกท่าน
   ผมลองทดสอบ HOSxP เวอร์ชั่น 3.53.2.18 และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกับผู้ใช้และ admi่ื่ืืn หลายๆท่าน มีคำถามที่น่าสนใจจากผู้ใช้ว่า กรณีลงข้อมูล BCG และ HB ในเด็กแรกเกิดลงอย่างไร? ข้อมูลเบี้องต้นที่สอบถามจากผู้ใช้มีดังนี้ครับ
   1.บาง รพ.เด็กแรกเกิด - - ->admit --->และให้วัคซีนในวันสุดท้ายก่อนจำหน่าย โดยพยาบาล ward เป็นผู้ฉีดให้
     (ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเด็กยัง Admit อยู่)
   2.บาง รพ.จำหน่ายเด็กแรกเกิดให้กลับบ้านไปก่อน และนัดมาฉีดรวมกันทุกวันจันทร์ ซึ่งบางวันก็จะมีเด็กที่ยัง admit
      อยู่ได้ีฉีดวัคซีนไปพร้อมกันๆด้วย)
   3.และพบว่า บาง รพ.เด็กแรกเกิดที่ยัง admit อยู่ จะไปฉีดวัคซีนที่  PCU 

ที่นี้ในส่วนของระบบบัญชี ทาง PCU มีความต้องการเก็บความครอบคลุมของวัคซีนด้วย ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเก็บข้อมูลวัคซีนตั้งแต่ BCG และ HB1 ที่อาจจะฉีดหรือไม่ได้ฉีดเอง ผมจึงทดสอบด้วยการลงทะเบียนเด็กเกิดใหม่ - - ->admit เข้าไปในตึก และสมมุติว่าทาง ward ได้มีการแจ้งรายชื่อเด็กไปให้ทาง PCU ทราบเพิ่อทำการขึ้นทะเบียนเด็กในบัญชี 1 และบัญชี 3 จำนวน 2 คน

ทดสอบกับเด็กคนที่ 1 โดยลงบันทึกข้อมูลการฉีดวัคซีนที่ เมนูผู้ป่วยใน คือ ลงรายการวัคซีนที่ฉีดใน drug profile ผลที่ได้คือ ข้อมูลที่ลงในระบบผู้ป่วยใน ไม่มีผลกับข้อมูลการได้รับวัคซีนในบัญชี 3 (ก็มันยังไม่มีการเชื่อมกันนี่นา)

ทดสอบกับเด็กคนที่ 2 โดยเข้าไปเพิ่มข้อมูลการฉีดวัคซีนในบัญชี 3 โดยเปลี่ยนวันที่ของการฉีด เป็นวันที่ถัดไปอีก 2 วันเหมือน และทำการเพิ่มข้อมูลการฉีดวัคซีน BCG และ HB พบว่ามีข้อมูลการฉีดวัคซีนในบัญชี 3 และมีรายการเวชภัณฑ์ซึ่งเป็นผลมาจากการเชื่อมฐานข้อมูลในตาราง wbc_vaccine เพิ่มให้อัตโนมัติ

และจากการตรวจสอบพบว่า มีการเพิ่ม visit ในระบบผู้ป่วยนอกของเด็กคนที่ 2 เป็น OPD CASE และมีค่าใช้จ่ายเป็นรายการวัคซีนและค่าบริการที่เกี่ยวข้อง ทั้งๆที่ความจริงคือ เด็กยังอยู่ในระบบผู้ป่วยใน

โดยสรุป..
- กรณีที่ฉีด BCG และ HB1 หลังจากจำหน่าย ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรเพราะจะเข้าเป็นระบบ OPD CASE ตามปกติ
- กรณีที่ฉีด BCG และ HB1 ขณะที่ยัง admit เป็นไปได้ไหม๊ว่า การเพิ่มข้อมูล OPD VISIT สามารถทำได้ขณะที่ผู้ป่วยยัง admit อยู่ ให้ถือว่าเป็นผู้รับบริการ ไม่ใช่ผู้ป่วยสามารถมีข้อมูลบริการเพิ่มได้ โดยไม่ขัดแย้งกับข้อมูลที่ admit

อาจารย์ และเพื่อนๆสมาชิกมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ


291
แก้ไขในตารางนี้ครับ ipt_labour_place

292
ปกติพยาบาลหน้าห้องตรวจเขารับ order จากแพทย์โดยตรงอยู่แล้วบางอย่างก็ไม่ต้องสั่งผ่านระบบก็ได้ครับ ที่จุดคัดกรองและห้องตรวจแพทย์มีเมนูให้ลงหัตถการ แค่แพทย์แจ้งพยาบาลหน้าห้องตรวจ (หรือมีใบนำทางเล็กก็ได้ ) นำไปยื่นที่ห้องทำหัตถการ OPD พยาบาลที่ทำหัตถการและลงข้อมูลผ่านหน้าจอคัดกรอง ถ้าระบบเตือนจากห้องแพทย์กรณีมีห้องทำหัีตถการที่ OPD ยังไม่เห็นเหมือนกันนะครับเท่าที่ดูมีเฉพาะ ER

293
หมายถึงสั่งจากห้องแพทย์- - ->ไปทำหัตถการที่ ER ใช่ไหม๊ครับ
ลองดูตามรูปครับ ที่หน้าจอห้องตรวจแพทย์ เมื่อแพทย์สั่งบันทึกโปรแกรมจะแสดงหน้า pop up ให้เลือกยืนยันการบันทึกข้อมูล จะมีปุ่ม รายการที่ ER ถ้าเลือกปุ่มนี้จะแสดงข้อมูลให้สั่งหัตถการครับ และส่งต่อไปที่ ER

เมื่อเจ้าหน้าที่ ER เรียกชื่อผู้ป่วยขึ้นมาจะแสดง pop up ดังรูปที่ 2 แจ้งว่ามีหัตถการส่งจากห้องแพทย์ครับ


294
ลองค้นหาดูจากเมนู รายงาน---รายงานระบบ OPD-->ค้นหาจำนวนผู้ป่วยนอก ซึ่งสามารถกำหนดเงื่อนไขได้เองครับ

295
อ.บอย กล่าวไว้ถูกทีเดียวครับ เรื่องการที่จะแนะนำให้ลงข้อมูลได้สมบูรณ์เป็นเรื่องที่สอนยาก เพราะสาเหตุจากเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ หรือโครงสร้างของข้อมูลในแต่ละปี  และโดยเฉพาะ HOSxP เวอร์ชั่นใหม่ๆ แม้จะมีเมนูการใช้งานที่ตอบสนองต่อผู้ใช้มากขึ้น แต่ก็มีความซับซ้อนที่ต้องเรียนรู้การจัดการฐานข้อมูลให้เชื่อมโยงกันให้ดีก่อน บางครั้ง Admin ทีไม่มีพื้นฐานของระบบงานโรงพยาบาลจะเป็นเรื่องที่เข้าใจยากพอสมควร
ความสมบูรณ์ของข้อมูล 18 แฟ้มเป็นปลายทางครับ คำแนะนำที่พอจะให้ได้คือ
1.พยายามลงข้อมูลในแต่ละจุดให้สมบูรณ์ ให้มากที่สุดครับ
2.ถ้าข้อมูลบางตัวในมาตรฐานโครงสร้างกำหนดไว้ ให้ศึกษามาตรฐานและโครงสร้างที่เกี่ยวข้องโดยดูจากโครงสร้างของ สปสช.หรือ สนย.ประกอบและตั้งค่าให้ถูกต้อง
3.เรียนรู้ขั้นตอนการลงบันทึกข้อมูลในแต่ละโมดูลให้ถูกต้อง

ถ้าฐานข้อมูลตั้งไว้ถูกต้อง ลงข้อมูลครบถ้วน การส่งออกค่อนข้างตรงไปตรงมาครับว่า 18 แฟ้ม จะได้สมบูรณ์
แต่บางทีระหว่างทางที่เราได้เรียนรู้ พัฒนา ทำงานร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ สำคัญกว่า ....ปลายทางของจุดหมายครับ สปสช.มักใช้เงินมาล่อให้พวกเราอยู่ในเกมส์ของเขาตลอด แต่ถ้าจุดหมายของการพัฒนาระบบสารสนเทศของเรา คือ การมีข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ เป็นปัจจุบัน ตอบสนองต่อความต้่องการของทีมงานในโรงพยาบาล มีความสุขและสนุกกับการใช้งานไอทีคงจะดีกว่ามั้งครับ
ลงข้อมูลสมบูรณ์ ...ข้อมูลเชื่อถือได้ นำมาใช้ประโยชน์ได้จริง 18 แฟ้ม ก็จะเป็นผลพลอยได้ที่ตรงไปตรงมาครับ

296
อืม.. ไม่มีใครเจอปัญหาเหมือนผมบ้างเลยหรือครับเนี่ย  ^______^

297
สวัสดีครับ
   ผมมีข้อสงสัยและยังไม่ค่อยเข้าใจนักเกี่ยวกับเรื่อง ดังนี้ครับ
1.ความครอบคลุมของวัคซีน
   ในข้อมูลบัญชี 3 การประมวลผลความครอบคลุมของวัคซีนคิดอย่างไรครับ?
   : เท่าที่ผมทดสอบโดยกำหนดวันที่มารับบริการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์อายุที่กำหนดไว้ในตาราง wbc_vaccine  พบว่ากรณีการฉีดวัคซีน DTP และ HBV หากมีการลงข้อมูลวัคซีน 2 ตัวนี้ ครบตามเกณฑ์ข้อมูลเปอร์เซนต์ความครอบคลุมจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าลงข้อมูลการฉีดเป็น DTPHB เปอร์เซนต์ความครอบคลุมจะลดลง ซึ่งในช่วงแรกเกิดถึง -3 เดือนเปอร์เซนต์ความครอบคลุมจะเป็น 100 แต่พอช่วงที่ได้รับวัคซีน DTP และ HBV (ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่จะฉีด DTPHB แทน) การลงที่ถูกต้องก็ต้องลงตามวัคซีนที่ฉีดจริงคือ DTPHB แต่ความครอบคลุมลดลงครับ
   : ผมลองค้นกระทู้เก่าๆ มีการพูดถึงตารางวัคซีนรวม คือ vaccine_combination ผมได้ทดสอบกำหนดวัคซีนในกลุ่มวัคซีนรวมดังนี้ครับ
  vaccine_code                vaccine_combine_code
..............................................................................
    DTPHB1                                 DTP1
    DTPHB1                                 HBV2
    DTPHB2                                 DTP2
    DTPHB2                                 HBV3
    DTPHB3                                 DTP3
...............................................................................
    ผลปรากฏว่า ข้อมูล แสดงสรุปการให้วัคซีนจะมีข้อมูล ดังนี้ครับ
    BCG,DTP1,DTP2,DTP3,HBV1,HBV2,HBV3,OPV1,OPV2,OPV3

    ซึ่งดูเหมือนว่าโปรแกรมจะแยกรายการวัคซีนออกมาให้ตามวัคซีนรวมที่กำหนดและมีการฉีด แต่เปอร์เซนต์ความครอบคลุมของวัคซีนก็ยังต่ำอยู่ครับ ไม่เหมือนกับการลง DTP และ HBV โดยตรง

2. การนำเข้าประชากรนอกเขต
    คำถาม คือ กรณีโรงพยาบาลที่มี PCU อยู่ในโรงพยาบาลและมีการให้บริการตรวจรักษา ส่งเสริมด้วย ข้อมูลคนไข้นอกเขตของ PCU มีการถูกดึงมาในหมู่บ้านนอกเขตอัตโนมัติหลังการส่งออกข้อมูล 18 แฟ้ม และรายชื่อก็จะไปรออยู่ที่ทะเบียนรายชื่ออัตโนมัติในแต่ละบัญชี การทำงานของโปรแกรมใช้หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขอย่างไรในการดึงคนไข้ไปอยู่ทะเบียนนอกเขตครับ

อาจารย์ชัยพร และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน มีข้อคิดเห็นอย่างไรช่วยเสนอแนะด้วยครับ

298
นอกเรื่อง / Re: อยากได้ Notebook รุ่นนี้จังเลย
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2010, 08:32:21 AM »
แบบนี้เขาเรียก Notebox ครับ ไม่ใช่  Notebook  ^__________^

299
สวัสดีครับ อ.ชัยพร และเพื่อนสมาชิก HOSxP
     ผมมีประเด็นที่อยากแลกเปลี่ยนกับทุกท่านในเรื่องเกี่ยวกับข้อมูล 12 และ 18 แฟ้ม กรณีที่โรงพยาบาลมี PCU ในโรงพยาบาลและใช้ฐานข้อมูลเดียวกันกับ HOSxP ของโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะออกแบบระบบคล้ายๆกันคือ
   - PCU ตรวจรักษา+งานส่งเสริม ให้บริการคนไข้ในและนอกเขตพื้นที่รับผิดชอบ
   - PCU ทำเฉพาะงานส่งเสริมป้องกัน ให้บริการคนไข้ในและนอกเขตพื้นที่รับผิดชอบ
     โดยในกรณีคนไข้นอกเขตรับผิดชอบ  PCU ทำหน้าที่เป็นฝ่ายส่งเสริมของโรงพยาบาลไปด้วยในตัว

     ดังนั้นในกรณีที่ผู้รับบริการมาใช้บริการยกตัวอย่างเช่น งานฝากครรภ์ ถ้าเป็นคนไข้ในเขตไม่มีปัญหาครับ ก็ลงทะเบียนบัญชี 1 และบัญชี 2 เวลาส่งออกข้อมูลก็จะเป็นข้อมูล 18 แฟ้มของ PCU

     คำถาม คือ กรณีที่คนไข้นอกเขตรับผิดชอบของ PCU มารับบริการ เช่นงานฝากครรภ์/ฉีดวัคซีน/วางแผนครอบครัว ซึ่งในความเป็นจริงก็ถ้า รพ.แห่งนั้นไม่มี PCU มีแต่ฝ่ายส่งเสริมในโรงพยาบาล ผู้รับบริการจะนับเป็นข้อมูลของโรงพยาบาลใช่หรือไม่?
    ประเด็นที่ผมสนใจ คือ กรณีของ รพ.ที่มี PCU ในโรงพยาบาล และให้บริการ เช่น งานฝากครรภ์/ฉีดวัคซีน/วางแผนครอบครัวกับผู้รับบริการนอกเขตรับผิดชอบของ PCU  (ซึ่งก็คือคนผู้รับบริการปกติของโรงพยาบาล) เวลาส่งข้อมูล 18 แฟ้ม จะพบว่ามีข้อมูลบัญชี 1  ในหมู่บ้านนอกเขตเพิ่มขึ้น และบัญชีอื่นๆก็จะมีผู้รอลงทะเบียนเพิ่มขึ้นด้วย

    คำถาม คือ ข้อมูลให้บริการนอกเขตของ PCU ที่ใช้ฐาน HOSxP ร่วมกับโรงพยาบาลอย่างนี้ควรลงทะเบียนเป็นคนไข้นอกเขตของ PCU หรือไม่ และเวลาส่งผลงานนับเป็นผู้รับบริการนอกเขตของ PCU หรือควรนับผลงานผู้รับบริการปกติของโรงพยาบาล (ในความเป็นจริงนอกเขต PCU ก็คือ ผลงานของโรงพยาบาล)

ข้อสังเกต
   
กรณี รพ.ที่มี PCU แยกออกมาต่างหาก หรือแยก serverเก็บฐานข้อมูลต่าง ข้อมูลการให้บริการค่อนข้างชัดเจนว่าข้อมูลเป็นผู้รับบริการนอกเขตของ CPU แต่ก็มีประเด็นให้คิดต่ออีกว่าแล้วแต่ละที่จัดระบบบริการอย่างไร
    1. ผู้รับบริการเข้าไป regis ลงทะเบียนที่ PCU โดยตรงเลย และนับเป็นข้อมูลบริการนอกเขตของ PCU
    2.  ผู้รับบริการเข้าไป regis ลงทะเบียนที่ ห้องบัตรของโรงพยาบาลก่อน และส่งต่อไปรับบริการที่ PCU เจ้าหน้าที่ที่ PCU ลงข้อมูลในฐานของ HOSxP รพ.ให้ ข้อมูลนับเป็นข้อมูลของโรงพยาบาล
    3. คล้ายกับข้อ 2 โดยแต่ต่างกันว่า PCU ลงเป็นข้อมูลในฐาน HOSxP ของโรงพยาบาลให้ด้วย และลงในฐาน HOSxP PCU ซ้ำอีกด้วยเพื่อเก็บผลงาน (ซึ่งกรณีนี้คนไข้จะมี 2 visit ในการรับบริการเดียวกัน)
   
    คำถามอาจจะยาวและซับซ้อนหน่อยนะครับ แต่อยากให้ อาจารย์ เพื่อนสมาชิกช่วยแสดงความเห็นและเสนอแนะด้วยครับ

300
ลองดูตรงที่การจำหน่ายผู้ป่วยนะครับ ว่าติ๊กตรงนี้ห้ามแก้ไข ตามรูปไว้หรือเปล่า

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9