BMS-HOSxP Community

HOSxP => นอกเรื่อง => ข้อความที่เริ่มโดย: nan_it ที่ ธันวาคม 16, 2011, 16:58:02 PM

หัวข้อ: คำนวณ downtime
เริ่มหัวข้อโดย: nan_it ที่ ธันวาคม 16, 2011, 16:58:02 PM
ไม่ทราบโรงพยาบาลไหนทำ HA แล้วเขาให้หาค่า
information systems downtime (%) เป็นรายปี
information systems response time (sec)
IT use satisfaction
knowledge asset created
 ประมาณนี้ครับ ช่วยอธิบายหน่อยได้มั้ยครับ
หัวข้อ: Re: คำนวณ downtime
เริ่มหัวข้อโดย: เกื้อกูล ครับ.. ที่ ธันวาคม 16, 2011, 18:04:45 PM
ระบบล่ม บ่อยครั้งแค่ไหน ในรอบปี
สามารถกู้ระบบกลับได้ภายในกี่นาทีหลังระบบล่ม
สถิติการใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศ
ไม่แน่ใจเรื่องการให้ความรู้หรือพัฒนา HRD ด้านสารสนเทศ

ดูใน บทที่ 4  ของ ฉบับ HA  ปี 2010
หัวข้อ: Re: คำนวณ downtime
เริ่มหัวข้อโดย: มนตรี บอยรักยุ้ยคนเดียว ที่ ธันวาคม 17, 2011, 12:51:00 PM
ระบบล่ม บ่อยครั้งแค่ไหน ในรอบปี
สามารถกู้ระบบกลับได้ภายในกี่นาทีหลังระบบล่ม

ระบบล่มไม่เกินปีละ 1 ครั้ง (ทำระบบมา 6 ปี ระบบล่มไป 4 ครั้งใน 2 ปีแรกหลังจากนั้นไม้เคยเกิดปัญหาแต่ต้องมีระบบสำรองที่ดีนะครับ ป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าเกิดแล้วตามมาแก้นะครับ)
ระบบ down ไม่เกิน 5 นาที (ทำมา 3 ปีแล้วเคยเจอปัญหา 1 ครั้งที่ทำไม่ได้เนื่องจากระบบเครื่อปั่นไฟเกิดปัญหาน้ำมันหมด  )

ทุกปัญหาเป็นบทเรียนแล้วนำมาแก้ไข ปัญหาเขามีไว้ให้แก้นะครับ

งานสารสนเทศ ผมได้มา 4.5 ครับ ติดหลายอย่างที่ต้องแก้ปัญหาเรื่องงานการพยาบาล
หัวข้อ: Re: คำนวณ downtime
เริ่มหัวข้อโดย: เกื้อกูล ครับ.. ที่ ธันวาคม 17, 2011, 13:49:26 PM
วันหน้า...อ. บอย...ช่วยให้คำชี้แนะด้วยครับ..เพราะผมคงรอ..อยู่ที่ ขั้น 2 อีกหลายปี... 8) 8) 8)
หัวข้อ: Re: คำนวณ downtime
เริ่มหัวข้อโดย: nan_it ที่ ธันวาคม 17, 2011, 13:53:54 PM
แล้วจะคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซน และ วินาที อย่างไรครับ หรือเอาเวลาทั้งปีมาหารเวลาที่ระบบล่ม
หัวข้อ: Re: คำนวณ downtime
เริ่มหัวข้อโดย: TRIPAK ที่ ธันวาคม 17, 2011, 13:54:43 PM
วันหน้า...อ. บอย...ช่วยให้คำชี้แนะด้วยครับ..เพราะผมคงรอ..อยู่ที่ ขั้น 2 อีกหลายปี... 8) 8) 8)
ขอด้วยครับ
หัวข้อ: Re: คำนวณ downtime
เริ่มหัวข้อโดย: tangkeaw ที่ ธันวาคม 17, 2011, 13:56:07 PM
แล้วถ้าไฟดับ แต่ server เราไม่ล้ม แต่ติดต่อ network ไม่ได้เนื่องจากไฟดับ อย่างงี้เขานับรวมไหมครับ
เพราะที่ รพ.ผมหม้อแปลงไฟ ระเบิดประจำ ครับ ครั้งล่าสุดก็กระรอกมันดื้อ ดันไปโดนหม้อแปลง ฟิวระเบิด ไฟดับทั้งโรงพยาบาล แต่เรามีระบบสำรอง ครับ แต่ส่วนใหญ่ระบบ ไฟสำรองไม่ได้ต่อเข้ากับสวิชฮัป ครับ
หัวข้อ: Re: คำนวณ downtime
เริ่มหัวข้อโดย: เกื้อกูล ครับ.. ที่ ธันวาคม 17, 2011, 14:06:55 PM
แล้วถ้าไฟดับ แต่ server เราไม่ล้ม แต่ติดต่อ network ไม่ได้เนื่องจากไฟดับ อย่างงี้เขานับรวมไหมครับ
เพราะที่ รพ.ผมหม้อแปลงไฟ ระเบิดประจำ ครับ ครั้งล่าสุดก็กระรอกมันดื้อ ดันไปโดนหม้อแปลง ฟิวระเบิด ไฟดับทั้งโรงพยาบาล แต่เรามีระบบสำรอง ครับ แต่ส่วนใหญ่ระบบ ไฟสำรองไม่ได้ต่อเข้ากับสวิชฮัป ครับ


ไม่น่าจะนับครับ...อันนั้นมันเรื่อง  ENV  ไม่ใช่สารสนเทศหลักแกนกลางมีปัญหา  :)
หัวข้อ: Re: คำนวณ downtime
เริ่มหัวข้อโดย: มนตรี บอยรักยุ้ยคนเดียว ที่ ธันวาคม 17, 2011, 14:33:16 PM
แล้วถ้าไฟดับ แต่ server เราไม่ล้ม แต่ติดต่อ network ไม่ได้เนื่องจากไฟดับ อย่างงี้เขานับรวมไหมครับ
เพราะที่ รพ.ผมหม้อแปลงไฟ ระเบิดประจำ ครับ ครั้งล่าสุดก็กระรอกมันดื้อ ดันไปโดนหม้อแปลง ฟิวระเบิด ไฟดับทั้งโรงพยาบาล แต่เรามีระบบสำรอง ครับ แต่ส่วนใหญ่ระบบ ไฟสำรองไม่ได้ต่อเข้ากับสวิชฮัป ครับ
ระบบนี้ผมแก้แล้วครับ ถ้าไฟฟ้าดับไม่เกิน 8 ชั่วโมงจะมีระบบทั้ง 5จุดที่ทำไว้สามารถทำงานได้ครับ
OPD ,ER,DRUG ,DIAG,IPD  ที่สามารถทำงานงานได้ต่อเนื่อง
ถึงระบบเครื่องปั่นไฟฟ้าไม่ทำทำงาน ส่วนระบบในห้อง Server อยู่ได้ที่ 24 ชั่วโมง โดยที่ไม่มีไฟฟ้าจากภายนอกห้องมาจ่าย ครับ ข้อนี้ตอบโจทย์ อ.HA ไป 6 เดือนแล้ว
ที่ระบบ สวิชฮัป  มีระบบสำรองทุกจุดแต่ สำรองไว้ที่ 8-10 ชั่วโมง 
วันหน้า...อ. บอย...ช่วยให้คำชี้แนะด้วยครับ..เพราะผมคงรอ..อยู่ที่ ขั้น 2 อีกหลายปี... 8) 8) 8)
ขอบคุณนะครับ พอดีผมต้องรอหน่วยงานอื่นพัฒนาตามมา ระบบส่วนใหญ่ แพทย์ประธานสารสนเทศที่ รพ.
เป็นที่ปรึกษาและพูดคุยกับผู้บริหารให้ครับ ส่วนผมเป็นเพียงผู้ปฏิบัติงานนะครับ เรื่อง HA สามารถปรึกษา พ.ประวัติ ประธานสารสนเทศที่ รพ.ด่านมะขามเตี้ย ได้นะครับ

หัวข้อ: Re: คำนวณ downtime
เริ่มหัวข้อโดย: อู๋kokha50 ที่ ธันวาคม 17, 2011, 18:24:36 PM
ไม่ทราบโรงพยาบาลไหนทำ HA แล้วเขาให้หาค่า
information systems downtime (%) เป็นรายปี
information systems response time (sec)
IT use satisfaction
knowledge asset created
 ประมาณนี้ครับ ช่วยอธิบายหน่อยได้มั้ยครับ
ระบบล่ม บ่อยครั้งแค่ไหน ในรอบปี
สามารถกู้ระบบกลับได้ภายในกี่นาทีหลังระบบล่ม
สถิติการใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศ
ไม่แน่ใจเรื่องการให้ความรู้หรือพัฒนา HRD ด้านสารสนเทศ

ดูใน บทที่ 4  ของ ฉบับ HA  ปี 2010

แลกเปลี่ยนรู้เรียนด้วยครับ  ขอคุยด้วย

ประเด็น IT ของมาตรฐาน HA น่าสนใจมากครับ 

แต่ละโรงพยาบาลที่ผ่าน HA แล้ว มีบริบทที่แตกต่างกัน (ต้นทุนไม่เท่ากันครับ เช่น จำนวนคนไข้ จำนวนตึก และจำนวนเงินงบประมาณสนับสนุนด้านIT )

แต่ก็มักจะเจอปัญหา IT เหมือนๆกัน และก็จะมีแนวทางแก้ไขปัญหาคล้ายๆกัน
การแก้ไขปัญหา สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ เรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาของรพ.อื่นๆที่มีขนาดของโรงพยาบาลที่่ใกล้เคียงกันได้ครับ

เช่น การป้องกันไม่ให้ Server ล่ม (ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลาทั้งปีทั้งชาติ ห้ามดับ ถ้าไฟฟ้าดับต้องมีไฟฟ้าสำรองใช้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ )  ของผมUPS ก็ทำได้แค่ 15 นาที อยากได้นานเป็นชั่วโมง ยังไม่มีงบซื้อ
เพราะเครื่องปั่นไฟเขาประกันเวลาไว้ที่ จ่ายไฟจากเครื่องปั่น 10 วินาที มีน้ำมันสำรอง 200 ลิตรอยู่ได้นาน 12 ชั่วโมง มีเครื่องปั่นไฟ 2  เครื่อง  แต่เครื่องปั่นไฟจะทำงานอัติโนมัติก็ต่อเมื่อ ไฟฟ้าจากภายนอกของการไฟฟ้าภูมิภาคไม่จ่ายกระแส
       แต่ปัญหาที่ผมเจอคือ ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าจ่ายกระแสปกติ เครื่องปั่นไฟจึงไม่จายไฟฟ้าภาย เพราะไฟฟ้าซ๊อคภายในอาคาร ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในอาคารตัดกระแสไฟฟ้าไม่จ่ายมาห้องserver ภายในอาคารชั้นอื่นๆมีกระแสไฟฟ้าจ่าย  แต่ไฟดับเฉพาะชั้นที่มี Server อยู่ UPS ก็อยู่ได้แค่ 15 นาที ต้องแก้ไขปัญหาตามบริบทแบบนี้
      เครื่องคอมพิวเตอร์Client อยู่ครบ คนไข้ทุกจดรอเพรียบ แต่ Server ล่มเพราะไฟฟ้าไม่จ่ายมา

แนวทางแก้ไข (แบบไม่ปัญญา ซื้อUPS สำรองไฟฟ้าได้นานๆเพราะงบITน้อยๆ)
1. เตรียมปลํ๊กพ่วงสะพานไฟ ยาวๆ พ่วงไฟจาก แหล่งอื่นๆ ที่มีไฟฟ้า มาใช้
2. อุ้ม Server ไปเสียบ ห้องอื่นๆ ที่ไฟไม่ดับ   เชื่อมต่อ เข้าวง LAN
3. หากทำตามข้อ 1 และ ข้อ 2 ไม่ได้ ก็ประกาศ ภาวะฉุกเฉินด้าน IT ใช้แผนสำรองฉุกเฉิน กับไปใช้
   ระบบ ดังเดิม คือ เขียนกระดาษ OPD_card ใบสังยาด้วยมือ แล้วนำมาKey IN ย้อนหลังเมื่อเหตุการณ์ปกติ

ตัวชี้วัด
         เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบแม่ข่ายไม่พร้อมใช้งาน(ล่ม) ควรดูว่ามีความถี่ที่จะเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน
ถ้าระบบที่ดีไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย (0 ครั้ง หรือ ไม่พบ) หน่วยนับเป็นควรจะตัังเป็น ครั้ง
        เหตุการณืนี้ควรจะเฝ้าระวังเป็น วัน หรือ สัปดาห์ หรือเป็น เดือน หรือเป็น ปี

ที่เคยเห็นของที่อื่นๆ เขาเขียนว่า ไม่พบจำนวนอุบัติการณ์เกิดเหตุระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายไม่พร้อมใช้ หน่วยนับ ครั้ง/ปี
  จึงไม่ต้องคิดเป็น ร้อยละ แต่จะใช้จำนวนครั้งของเหตุการณ์ เป็นตัวชี้วัดว่า คุณภาพของระบบแม่ข่ายดีตามมาตรฐานหรือไม่   ไม่เกิดเลยก็เยี่ยม เกิดบ่อยก็มีโอกาสได้พัฒนาแก้ไขต่อไป
 
    ข้อเท็จจริงมันเกิดขึ้นได้ครับ ห้ามไม่ให้เกิดก็หาทางป้องกันให้ดีที่สุด หากต้องใช้ทุนแต่ทุนไม่ถึง ก็ต้องลูกทุ่งแบบบ้านนอกละครับ

    ของผมเกิดบ่อยครับ  แต่ก็เรียนรู้แก้ไขปัญหาไปเรื่อยๆ นำมาเขียนเป็นแนวทางป้องกัน
    ตอนนี้ยังแย่เลย(เปลี่ยนคำพูดใหม่ เกือบดีละ)
หัวข้อ: Re: คำนวณ downtime
เริ่มหัวข้อโดย: มนตรี บอยรักยุ้ยคนเดียว ที่ ธันวาคม 18, 2011, 17:22:41 PM
แนวทางแก้ไข (แบบไม่มีปัญญา ซื้อUPS สำรองไฟฟ้าได้นานๆเพราะงบITน้อยๆ)

ผมก็ไม่มี งบไอที ที่มากนักแต่พอดีปรึกษา เพื่อนที่มีความรู้เล็กน้อย ที่ทำ QC ที่ บริษัทรถยนต์ที่ญี่ปุ่น
นานๆมานั่งดื่มกัน เลยได้ข้อเสนอแนะมาพอสมควร งบที่ผมใช้ที่ Server ก็ไม่เกิน 15,000 บาทต่อจุด ใช้ได้ 2-3 ปีครับ ใช้มานาน ระบบไฟฟ้าก็มีทั้งตก เกินและดับ วันก็ร่วม 10-20 ครั้ง/วัน
รพช.ก็ทำระบบตามประสา รพช.ที่มีงบประมาณน้อยแต่แค่มีคุณภาพที่มาตราฐานสากล ก็พอแล้ว
ปัญหาเกิดน้อยก็สบาย ADMIN และเสียงบ่นจาก User ทั้งหลาย ครับ
หัวข้อ: Re: คำนวณ downtime
เริ่มหัวข้อโดย: อู๋kokha50 ที่ ธันวาคม 18, 2011, 17:33:15 PM
ผมก็ไม่มี งบไอที ที่มากนักแต่พอดีปรึกษา เพื่อนที่มีความรู้เล็กน้อย ที่ทำ QC ที่ บริษัทรถยนต์ที่ญี่ปุ่น
นานๆมานั่งดื่มกัน เลยได้ข้อเสนอแนะมาพอสมควร งบที่ผมใช้ที่ Server ก็ไม่เกิน 15,000 บาทต่อจุด ใช้ได้ 2-3 ปีครับ ใช้มานาน ระบบไฟฟ้าก็มีทั้งตก เกินและดับ วันก็ร่วม 10-20 ครั้ง/วัน
รพช.ก็ทำระบบตามประสา รพช.ที่มีงบประมาณน้อยแต่แค่มีคุณภาพที่มาตราฐานสากล ก็พอแล้ว
ปัญหาเกิดน้อยก็สบาย ADMIN และเสียงบ่นจาก User ทั้งหลาย ครับ


น่าสนใจมากครับ ของถูกและดี พอจะถ่ายทอดเทคโนโลยี และแบ่งปันประสบการณ์ให้ที่อื่นเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ได้ไหมครับ 
หัวข้อ: Re: คำนวณ downtime
เริ่มหัวข้อโดย: มนตรี บอยรักยุ้ยคนเดียว ที่ ธันวาคม 18, 2011, 19:09:47 PM
น่าสนใจมากครับ ของถูกและดี พอจะถ่ายทอดเทคโนโลยี และแบ่งปันประสบการณ์ให้ที่อื่นเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ได้ไหมครับ 

ผมกำลังซ่อม UPS ของ รพ.ค่ายสุรสีห์ ที่ซื้อมา 49,000 บาท แต่ส่งซ่อมบริษัทแล้วแจ้งว่าเสีย ซ่อมไม่ได้
ผมเลยให้เพื่อนซ่อมให้เปลี่ยน
-ตัว IC ไปตัวก็ใช้ได้แล้วครับ เสียค่าซ่อมไป 20 บาท
-แล้วก็เปลี่ยนแบตไปให้ก็ใช้ได้แล้ว
ทดสอบใช้มา 2 อาทิตย์แล้ว