Medical Coding Professional
คุณภาพของการให้บริการทางการแพทย์ขึ้นอยู่กับการได้มาของข้อมูลทางการแพทย์ที่มีความถูกต้องและทันเวลา ผู้ให้รหัสทางการแพทย์มืออาชีพ (Medical coding professionals) จึงเป็นผู้ที่เติมเต็มและมีความสำคัญในการทำงานเกี่ยวกับดูแลผู้ป่วย
ผู้ให้รหัสทางการแพทย์มืออาชีพ (หรือผู้ให้รหัส) เป็นผู้ที่มีหน้าที่แปลคำวินิจฉัยโรคและหัตถการเป็นรหัสโรค (ICD-10) และรหัสหัตถการ/การผ่าตัด (ICD-9) ทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลในเวชระเบียนที่เกี่ยวข้องกับคำวินิจฉัยโรคและหัตถการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย รวมทั้งการให้รหัสจะต้องแน่ใจว่าได้มาจากคำที่ถูกต้องและให้รหัสได้ถูกต้อง
ผู้ให้รหัสมืออาชีพ ต้องมีความเข้าใจเนื้อหาในเวชระเบียนและสามารถหาข้อมูลสนับสนุนเพื่อให้รหัสได้อย่างถูกต้องและมีความเฉพาะเจาะจง (specific) ผู้ให้รหัสทางการแพทย์ระดับประกาศนียบัตร เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาวิชาสรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์, กระบวนการของการเกิดโรค, สาเหตุการเกิดโรค, พยาธิสภาพ, อาการ, อาการแสดง, การวินิจฉัยโรคและหัตถการ, แนวทางการรักษา และการพยากรโรคและขั้นตอนการทำหัตถการ เพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาให้รหัส เป็นการใช้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการการเกิดโรคและเทคนิคการทำหัตถการที่ถูกต้องมาประยุกต์ใช้ในการให้รหัสได้อย่างถูกต้อง ผู้ให้รหัสทางการแพทย์จึงเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่นำไปสู่ความสำเร็จในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีคุณภาพมากที่สุด
ที่มา
http://www.ahima.org/coding/profession.aspxสำหรับในประเทศไทยผู้ให้รหัสควรจะต้องมีความรู้เพิ่มเติมดังนี้
1. ระบบ DRGs ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชยในหลายกองทุน เช่น สปสช., สกส.(กรมบัญชีกลาง), ปกส. เป็นต้น
2. หลักการให้รหัสมาตรฐานตาม Standard coding guideline ของ สนย.ฯ ได้กำหนดมาตรฐานให้ผู้ให้รหัสให้รหัสตามการบันทึกของแพทย์ ถ้ามีความเห็นแตกต่างจากแพทย์ให้ส่งเวชระเบียนให้แพทย์พิจารณาเห็นชอบและบันทึกลายมือชื่อก่อนจะนำกลับมาให้รหัส
3. การให้รหัสตามเอกสารแนะนำของ สปสช. ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์การให้รหัสว่าจะต้องมีหลักฐานบันทึกไว้ในเวชระเบียนและถูกต้องตามข้อกำหนดที่กำหนดไว้ในเอกสารแนะนำเป็นหลัก ถ้าไม่มีการสรุปโรคหรือหัตถการโดยแพทย์ผู้ให้รหัสสามารถให้รหัสได้แต่ต้องมีหลักฐานสนับสนุนและถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด (ตามเกณฑ์การประเมิน SA & CA)