USP คืออะไร UPS ย่อมาจาก (Uninterruptible Power Suppy) หมายถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้า
สำรองให้กับเครื่องใช้ ไฟฟ้า ในช่วงเวลาที่แหล่งจ่ายกำเหนิดไฟฟ้าไม่สามารถให้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อความต้องการของเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์
ประเภทของ USP ยูพีเอสที่พบอยู่ในตลาดคอมพิวเตอร์ในเมืองไทย แบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่
Stand By UPS (Passinve Standby UPS)
Line Interac tive UPS
On Line UPS (Double Conversion UPS)
แต่ละรุ่นจะมีหลัก
การทำงาน และราคาที่แตกต่างกันไปด้วย
ความเหมาะสมของยูพีเอสกับระดับการใช้งาน
Stand By UPS เหมาะกับการใช้งานกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วๆ ไป ซึ่งบริเวณการใช้งานอยู่ในที่ไม่ค่อยมีปัญหาด้านคลื่นสัญญาณไฟฟ้าบ่อยนัก Stand By UPS นี้สามารถป้องกันปัญหาด้านแรงดันไฟฟ้าและสำรองไฟให้เท่านั้น
Line Interac tive UPS เหมาะกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญของข้อมูล หรือ Server จำเป็นต้องสำรองข้อมูลไว้ เพราะแก้ปัญหาแรงดันไฟฟ้าได้ดีกว่าแบบ Stand By UPS แต่ต้องใช้ในพื้นที่ที่มี ปัญหาเรื่องความถี่สัญญาณ และความเพี้ยนของรูปสัญญาณ
On Line UPS เหมาะกับการใช้สำรองไฟให้กับคอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญๆ มากๆ เช่น คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Data Server) ของระบบธุระกิจอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์สื่อสาร เพราะจำเป็นต่อความต้องการคุณภาพของพลังงานไฟฟ้าที่สมบูรณ์ เพื่อใช้ในการทำงานและเก็บสำรองข้อมูล สามาารถใช้งานได้ททุกพื้นที่ เพราะสามารถ แก้ปัญหาของระบบไฟฟ้า ได้ทุกชนิด
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกซื้อ UPS
การ นำยูพีเอสไปใช้กับอุปกรณ์ชนิดใด เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณา เพราะความต้องการของอุปกรณ์แต่ละชนิดต่างกัน เช่น ถ้าใช้กับคอมพิวเตอร์เครือข่าย อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์การสื่อสาร ระบบควบคุมอิเลคทรอนิคส์ต่างๆ จำเป็นต้องใช้ Online UPS แต่ถ้านำมาใช้ที่บ้านหรือที่ทำงานก็ควรเลือกใช้ชนิด Line Interac tive UPS หรือStand By UPS ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของพลังงานไฟฟ้าที่จะนำไปใช้ด้วย
กำลังไฟสำรองที่ยูพีเอสรองรับ ควรเลือกขนาดกำลังไฟของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดที่จะนำไปต่อกับยูพีเอส โดยขนาดกำลัง
ไฟ สำรองของยูพีเอสต้องมีค่ามากกว่าขนาดกำลังไฟที่อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องการ เพื่อป้องกันสภาวะ Overload โดยการรวมค่า การใชพลังงานไฟฟ้าในหน่วยของ VA เช่น ถ้าอุปกรณ์ทุกชนิดแล้วได้ 500VA ก็ควรเลือกซื้อยูพีเอสที่สามารถสำรองไฟได้ 525VA และให้ระม้ดระวังเรื่องการใช้ไฟเกิน ถ้าเป็น Stand By UPS จะหยุดทำงานทันที
เวลาในการสำรองไฟของยูพีเอส ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนของแบตเตอรี่
แบตเตอรี่ ควรเลือกเบตเตอรี่ที่มีคุณภาพ เพราะอาจทำให้คุณภาพการสำรองไฟลดลง และอายุการใช้งานแบตเตอรี่ลดลง
ชื่อเสียงของยูพีเอสและตัวแทนจำหน่าย ชือผู้ผลิตและการบริการหลังการขาย เพราะเมื่อมีปัญหาสามารถหาอะไหล่เปลี่ยนได้
มี ระบบ User Interface ยูพีเอสรุ่นใหม่ๆ จะมีโปรแกรมเพื่อช่วยในการควบคุม รายงานผล และทดสอบการทำงานเพื่อให้พราบการทำงานรวมถึงปัญหาต่างๆ
มาตรฐานของยูพีเอสที่ได้รับ มาตรฐานของผู้ผลิด เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราทราบถึงคุณภาพของยูพีเอสได้ เช่น ISO 9001 , มอก. ฯลฯ
พังก์ชั่นพิเศษ ในแต่ละยี่ห้อก็จะมีจุดเด่นเฉพาะตัว ควรพิจารณาถึงความจำเป็นและงบประมาณด้วย
ปัจจุบัน มีผู้เข้าใจว่า การเลือกซื้อ UPS นั้น พิจารณาเพียงขนาด (VA), ระยะเวลาสำรองไฟ (Backup Time) และราคา ก็น่าจะครบถ้วนแล้ว แต่ในความเป็นจริง ยังมีปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาประกอบการเลือกซื้อ UPS อีกหลายข้อ เนื่องจาก UPS ในตลาด IT ของประเทศไทยตอนนี้ มีหลากหลายยี่ห้อ และแต่ละยี่ห้อก็มีหลายรุ่นด้วยเช่นเดียวกัน ยังมีทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้า นอกจากนี้ยังมีการผลิตสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้ผู้ซื้อมีทางเลือกมากขึ้น
ในขณะ เดียวกัน ก็สามารถสร้างความยุ่งยากในการตัดสินใจเลือกซื้ออยู่ไม่น้อย เพราะ UPS แต่ละยี่ห้อต่างก็ระบุ Specification หรือคุณสมบัติต่างๆ ที่ไม่ค่อยแตกต่างกัน ทั้งในเรื่อง ขนาด (VA), ระยะเวลาสำรองไฟ (Backup Time) หรือแม้แต่ราคาก็เช่นเดียวกัน
คุณจะไม่ยุ่งยากลำบากใจในการ เลือกซื้อ UPS อีกต่อไป หลังจากได้อ่านบทความนี้ (ขอแนะนำว่า ผู้อ่านควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีของ UPS เสียก่อน เพื่อให้เข้าใจรายละเอียดอันเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกซื้อ UPS ได้ง่ายขึ้น)
1. นำ UPS ไปใช้ในการป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทใด มีความไวต่อคุณภาพของกระแสไฟฟ้ามากน้อยขนาดไหน และมีความสำคัญเพียงไร?
* อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทที่มีความไวต่อคุณภาพของกระแสไฟฟ้า หรือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญมาก เช่น เครื่องมือวัด, เครื่องมือแพทย์, Computer Server เป็นต้น ควรเลือกใช้ UPS ชนิด True on line UPS
* อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทที่ไม่มีความไวต่อคุณภาพของกระแสไฟฟ้า หรือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญไม่มาก เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานภายในบ้าน หรือสำนักงาน ควรเลือกใช้ UPS ชนิด Online Protection UPS หรือ Line Interactive UPS with Stabilizer
2. คุณภาพของกระแสไฟฟ้าในสถานที่ที่จะนำ UPS ไปใช้งานมีลักษณะเป็นอย่างไร?
* หากสถานที่ที่จะนำ UPS ไปใช้งานมีปัญหาเรื่องความแปรปรวนของกระแสไฟฟ้ามากๆ ควรเลือกใช้ UPS ชนิด True on line UPS
* หากสถานที่ที่จะนำ UPS ไปใช้งานไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพของกระแสไฟฟ้ามากนัก ควรเลือกใช้ UPS ชนิด Online Protection UPS หรือ Line Interactive UPS with Stabilizer
3. ขนาดกำลังไฟฟ้า (VA) ที่อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทดังกล่าวใช้เป็นเท่าไร?
* ขนาดกำลังไฟฟ้าที่อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ จะต้องไม่สูงกว่ากำลังไฟฟ้าที่ UPS สามารถจ่ายได้ เช่น คอมพิวเตอร์ และจอสี 17 นิ้ว ใช้กำลังไฟประมาณ 300 VA ดังนั้น ควรเลือกใช้ UPS ขนาดกำลังไฟ 300 VA ขึ้นไป
4. ลักษณะการติดตั้งของอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นอย่างไร?
* หากทำการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใกล้เคียงกันในพื้นที่ไม่กว้างนัก มีพื้นที่จำกัด ควรเลือกใช้ UPS ขนาดใหญ่เพื่อที่จะสามารถต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าได้พร้อมกันหลายๆ เครื่อง เพื่อเป็นการประหยัดพื้นที่ และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน
* หากทำการติดตั้งของอุปกรณ์ไฟฟ้าห่างไกลกัน ควรเลือกใช้ UPS ขนาดเล็กต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าแบบหนึ่งต่อหนึ่ง คือ นำอุปกรณ์ไฟฟ้าหนึ่งเครื่องต่อเข้ากับ UPS ขนาดเล็กหนึ่งเครื่อง
5. ต้องการให้ UPS จ่ายพลังงานสำรองได้นานเท่าไร? (Backup Time)
* โดยทั่วไป Backup Time จะมีความสัมพันธ์กับขนาดกำลังไฟฟ้าของ UPS และขนาดกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น UPS ขนาด 350 - 500 VA ซึ่งใช้แบตเตอรี่ 7 Ah จะสามารถจ่ายไฟให้กับคอมพิวเตอร์ และจอสี 15 นิ้ว 1 จอ ได้นาน 15 - 30 นาที และหากเป็น UPS ที่ใช้แบตเตอรี่ชนิด High-Rate จะสามารถสำรองไฟฟ้าได้ 25 - 40 นาทีเลยทีเดียว (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งาน)
6. มีซอฟต์แวร์พิเศษหรือไม่?
* ซอฟต์แวร์พิเศษสำหรับ UPS นี้มีไว้เพื่อตรวจสอบสภาวะทางไฟฟ้าและการทำงานของ UPS โดยการสื่อสารระหว่าง UPS กับคอมพิวเตอร์ จะมีสายข้อมูลเชื่อมต่อกัน โดยทั่วไป ผู้ใช้มักไม่ค่อยใส่ใจกับเรื่องซอฟต์แวร์พิเศษนี้ เพราะอาจจะไม่ทราบถึงประโยชน์ ดังนั้น จะขอยกตัวอย่าง เช่น กรณีเกิดไฟดับเป็นระยะเวลานานจนพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ของ UPS หมด โดยที่ไม่สามารถ Shutdown คอมพิวเตอร์ได้ ถ้ามีซอฟต์แวร์พิเศษนี้จะช่วยบันทึกข้อมูลสำคัญไว้ (Auto Save) และทำการ Shutdown คอมพิวเตอร์ของคุณให้ก่อนที่แบตเตอรี่ของ UPS จะหมดลง
7. ชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิตและการบริการหลังการขาย
* ความมุ่งมั่นและระยะเวลาในการทำธุรกิจ จะเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความจริงจังในการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี บริษัทที่มีความตั้งใจอันแน่วแน่และมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจใดๆ ย่อมจะต้องนำเสนอแต่สินค้าที่มีคุณภาพดี และให้บริการที่มีมาตรฐาน ตลอดจนมีการพัฒนาด้านคุณภาพสินค้า, ระบบการผลิต และการบริการอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า
8. มาตรฐานสากลที่บริษัทผู้ผลิตได้รับ และหน่วยงานที่ให้การรับรองมาตรฐานสากลนั้นๆ
* เนื่องจากการได้รับมาตรฐานสากลไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะได้มาโดยง่าย โดยเฉพาะสำหรับผู้ผลิตภายในประเทศที่สามารถทำให้หน่วยงานที่ให้การรับรอง มาตรฐานในระดับนานาชาติยอมรับได้นั้น ผู้ผลิตจะต้องพัฒนาขีดความสามารถของตัวเองเป็นอย่างมาก เพื่อให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกับบริษัทชั้นนำของโลก
9. เงื่อนไขการรับประกัน
* เรื่องของเงื่อนไขการรับประกัน มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยอื่นๆ เพราะนั่นหมายถึง ผู้ผลิตได้ให้ความคุ้มครองและดูแลผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของตนมากน้อยเพียงใด หากลองพิจารณา UPS ที่มีจำหน่ายในตลาด IT แต่ละยี่ห้อ จะมีระยะเวลารับประกันไม่เท่ากัน 1 ปี, 2 ปี หรือมากกว่านั้น ผู้ใช้สามารถนำ UPS ส่งซ่อมได้เวลาที่เกิดปัญหาขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ผลิต UPS มีการประกันภัยคุ้มครองความเสียหายสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ ไฟฟ้าที่ต่อโดยตรงกับ UPS ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เกิดความมั่นใจมากยิ่งขึ้นขณะใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ ก็ตามที่ต่ออยู่กับ UPS นั้น
10. ศูนย์บริการระดับมาตรฐาน
* ในการเลือกซื้อ UPS นั้น ปัจจัยในด้านศูนย์บริการหลังการขาย ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะผู้ใช้จะสามารถวางใจได้ว่า UPS จะได้รับการบำรุงรักษา หรือแก้ปัญหาด้วยช่างผู้ชำนาญ พร้อมด้วยอุปกรณ์อะไหล่ที่ได้มาตรฐานจากบริษัทผู้ผลิต
การคำนวณขนาดของ UPS
การคำนวณขนาดกำลังจ่ายของ UPS ที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้ปฏิบัติดังนี้
1. ทำรายการอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต่อพ่วงกับระบบ UPS ทั้งหมด เช่น คอมพิวเตอร์, จอ, โมเด็ม, สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ
2. อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะมีป้ายแสดงค่าพิกัดกำลัง (Nameplate) เพื่อระบุถึงแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าที่ต้องการสำหรับใช้งาน โดยทั่วไปจะอยู่ที่ด้านหลังของเครื่อง
* ให้คำนวณค่า VA โดยคูณค่า Volt และ Amps เข้าด้วยกัน
* อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดอาจให้ค่ามาในรูปของพลังงานไฟฟ้าในหน่วยวัตต์ (Watt-W)
ให้แปลงกลับเป็นค่า VA โดยการคูณค่าวัตต์ด้วย 1.4
3. รวมค่า VA ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดในรายการที่จะต่อพ่วงกับระบบ UPS
4. เลือก UPS ที่จะสามารถจ่ายไฟได้พอเพียงต่อระดับค่า VA ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด
ตัวอย่างการคำนวณ
ต้องการคำนวณขนาดของ UPS ที่สามารถใช้กับ คอมพิวเตอร์ ขนาด 220 V 1.5 A, เครื่องพิมพ์ Inkjet ขนาด 50 Watt และโมเด็ม ขนาด 20 Watt
จากสูตร
จะได้ว่า
+ VA ของคอมพิวเตอร์ ขนาด 220 V 1.5 A = 220 x 1.5 = 330 VA
+ VA ของเครื่องพิมพ์ Inkjet ขนาด 50 Watt = 50 x 1.4 = 70 VA
+ VA ของโมเด็ม ขนาด 20 Watt = 20 x 1.4 = 28 VA
VA รวม = 330 + 70 + 28 = 428 VA
ดังนั้น
ขนาดของ UPS ที่สามารถต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย คือ 428 VA ขึ้นไป
หมาย เหตุ: โดยทั่วไปหากเลือก UPS ที่มีกำลัง VA เท่ากับค่า VA รวมของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะนำไปต่อพ่วงทั้งหมด UPS จะจ่ายไฟที่ Full Load และจะทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองได้ประมาณ 5 นาทีเท่านั้น หากต้องการระยะเวลาการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองที่เพิ่มขึ้น ต้องขยายค่า VA ของ UPS หรือเพิ่มจำนวนแบตเตอรี่ให้มากขึ้น
วิธีการเลือกซื้อ UPS แบบง่ายๆ
ถ้าคิดว่าข้างบนมันยุ่งยากไปให้ลองมาดูวิธีเลือก UPS ที่เหมาะสมแบบง่ายๆอีกวิธีนึงครับ
การ เลือกซื้อ UPS ว่าควรจะใช้ซักกี่ V/A นั้น ให้ลองประมาณว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั้นกินไฟฟ้าซักกี่ Watts แล้วเอาค่า Watts ที่คุณต้องใช้ไปหารด้วยค่า Power Factor จะได้เป็นค่า VA ที่พอดีกับ UPS ที่ต้องซื้อออกมา
กรณีที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป เช่น TV จะมีบอกขนาด Watts ให้รู้เลย แต่ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ คุณก็ต้องเดาแล้วล่ะ
วิธีที่ผมมักจะใช้ประจำคือดูค่า Watt จาก Power Unit ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เช่น
คอมพิวเตอร์ของผมใช้ Power Unit 450Watt ก็เอามัน 450Watt นี่ล่ะครับมาคำนวน เพราะจะไม่เกินนี้แน่นอน
ความ จุของ UPS นั้นจะบอกเป็น V/A ซึ่งทำให้เราสับสนเพราะไม่สามารถคำนวนได้ว่ามันจุเท่าไหร่ วิธีการที่จะใช้ดูความสามารถของ UPS โดยการดูที่ Power Factor ซึ่งแทบทุก
ยี่ห้อจะบอกไว้ในคู่มือ
เมื่อเราได้ค่า Power Factor ของ UPS ตัวนั้นแล้วให้นำมาคูณกับค่า V/A จะทำให้ได้หน่วยเป็น Watt ที่ UPS ตัวนั้นๆสามารถรองรับได้
เช่น
UPS ยี่ห้อหนึ่งขนาด 500 V/A มี Power Factor 0.6 UPS ตัวนี้จะสามารถรองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ 500 x 0.6 = 300 Watt
หรือ
UPS ยี่ห้อหนึ่งขนาด 500 V/A มี Power Factor 0.8 UPS ตัวนี้จะสามารถรองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ 500 x 0.8 = 400 Watt
หรือ
Computer ใช้ Power Unit 450 Watt คอมพิวเตอร์ตัวนี้สมควรใช้ UPS ขนาดไม่ต่ำกว่า 450 / 0.8 = 562 V/A
ก่อนที่จะเลือกซื้อควรทราบถึงระบบไฟฟ้า
สาเหตุของปัญหา ก่อนที่จะนำมาใช้งานกับคอมพิวเตอร์ของเรา
ระบบไฟฟ้าที่ใช้ทั่วๆ ไป ระบบไฟฟ้าที่มีใช้ทั่วๆ ไปจะมีรูปสัญญาณ Sine และวงจรระบบไฟฟ้าจะเป็นชนิดเฟสเดียว
ซึ่งใช้สำหรับที่พักอาศัย หรืออาคารพาณิชย์ทั่วๆ ไป
ความถี่ของระบบไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า จะมีความถี่ในระบบไฟฟ้า ความถี่คือ จำนวน
ลูกคลื่นใน1 วินาที โดย 1 ลูกคลื่นหมายถึง คลื่น บวก และคลื่นลบ อย่างละ 1 ลูก ความถี่ (Frequency) มีเป็นหน่วย Hertz
(Hz) ประเทศไทยการจ่ายไฟฟ้าที่ความถี่ 50 Hz
ปัญหาและข้อผิดลาดไฟฟ้า ปัญหาและการรบกวนไฟฟ้าเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากแหล่งจ่ายพลังงาน
ไฟฟ้า จากปรากฎการณ์ธรรมชาติ จากผลกระทบของการทำอุปกรณ์รอบๆ รวมถึงวิธีหรือพฤติกรรมในการใช้พล้งงานไฟฟ้า เช่น
คอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์พ่วงต่อ รวมถึงอุปกรณ์สื่อสารเป็นต้น
สาเหตุของปัญหาด้านไฟฟ้า
1. จากระบบภายในของไฟฟ้า (Internal) ปัญหาที่เกิดจากภายในสายไฟที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ โดยรวมถึงแหล่งกำเหนิดไฟฟ้า (Generator) ระบบสายส่ง (Transmission) การรบกวนทางไฟฟ้า (Distribution) การใช้พลังงานไฟฟ้า (Load) การแทรกสอด
2. ปัญหารบกวนจากภายนอกระบบไฟฟ้า (External) เช่น ฟ้าผ่า ซึ่งเมื่อเกิดฟ้าผ่า อาจก่อให้เกิดพลังงานในระบบไฟฟ้า (สายไฟฟ้า) ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งแบบตรงและแบบ อำนาจเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า คือเมื่อฟ้าผ่าจะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ไปเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในสาย
ปัญหาต่างๆ ของระบบไฟฟ้า
ไฟฟ้าดับ (Blackouts) หมายถึง แหล่งจ่ายไฟสูญเสียการจ่ายพลังงานไฟฟ้าอย่างสิ้นเชิง ทำให้ไม่มีพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่
อุปกรณ์ไฟฟ้าเลย โดยอาจจะมาจากสาเหตุ การใช้พลังงานไฟฟ้ามากจนเกินไป ทำให้ฟิวส์ขาด หรือขาดการจ่ายไฟฟ้าจาก
แหล่งพลังงานไฟฟ้า เช่นการไฟฟ้าตัดไฟ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้หรืออุบัติเหตุ
เสร์จ (Surge) แรงดันไฟฟ้าที่มีค่าสูงเกินข้อจำกัดของมาตรฐานไฟฟ้า โดยเกิดช่วงระยะเวลาสั้นๆ ส่วนมากเกิดจาก
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องใช้พลังงานไฟมากในตอนเริ่มการทำงาน เช่น มอเตอร์ เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องซักผ้า เมื่อผู้ใช้ปิด
อุปกรณ์เหล่านี้ จะมีพลังงานไฟฟ้าส่วนหนึ่งเหลืออยู่ ในมอเตอร์ จะไหลกลับเข้าไปในสายส่งพลังงานไฟฟ้า ทำให้เกิด
แรงดันไฟฟ้าในช่วงเวลาสั้นๆ
แรงดันไฟเกิน (Over Voltage) หมายถึงการเพิ่มขึ้นของแรงดันไฟฟ้า ในสายส่งไฟฟ้า โดยแรงดันไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นนั้นจะเพิ่ม
สูงกว่าปกติ และ ยังคงค้างอยู่นาน ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นนาทีหรือมากกว่าสาเหตุมักเกิดจากสถานีจ่ายไฟฟ้าพยายามที่จะรักษา
ความสม่ำเสมอของแรงดันในทุกๆ พื้นที่ แต่เมื่อมีการใช้พลังงานไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน ทำให้ระบบไม่สามารถปรับแรง
ดันไฟฟ้า ให้มีความสม่ำเสมอทันได้
แรงดันไฟตก คือ "แรงดันไฟลงลด" แบ่งเป็น 2 กรณี
1. แรงดันไฟตกในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เกิดจาก เกิดจากการที่มีการทำงานอุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างที่ใช่ขับเครื่องจักร เช่น ลิฟท์ มอเตอร์ต้องการกระแสไฟมากเป็นพิเศษตอนเริ่มต้นทำงาน เมื่อเริ่มต้นทำงาน ทำให้แรงดันในสายไฟลดลง
2. แรงดันไฟตกในช่วงระยะเวลานานๆ เกิดจากแหล่งกำเหนิดไฟฟ้าห่างจากตำแหน่งที่มีการใช้งาน และมีความต้องการ ใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก หรือขนาดสายไฟที่ใช้ในการจ่ายพลังงานไม่เหมาะสม
" ทั้งสองกรณีนี้มักพบบ่อยในเมื่องไทย "
ไฟกระชาก (Spike) เกิดจากการเพิ่มแรงดันไฟฟ้าสูงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แบ่งเป็น 3 อย่างคือ
1. ไฟกระชากในทิศทางเดียว Unidirectional Impulse เกิดได้หลายสาเหตุเช่น ฟ้าผ่า
2. ไฟกระชากที่มีลักษณะแกว่ง (Oscillatory Impulse) เกิดจากระบบไฟฟ้ามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อ Surge เพราะคุณสมบัติของระบบไฟฟ้า
3. ไฟกระชากแบบ Repetitive Impulse เป็นลักษณะของ Surge ซึ่งเกิดซ้ำๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง สาเหตุโดยมากมักเกิดจากการกระทำของอุปกรณ์ประเภท SCR
พออ่านจบแล้วคิดว่าคงจะได้ความรู้ในการนำไปเลือกซื้อ UPS มากขึ้นนะครับ