กำลังศึกษาวิธีใช้ การคิดค่าบริการส่วนเกินอยู่ครับ รู้สึกว่า คุณ tanoy จะใช้อยู่ อยากปรึกษาเพราะลองให้ทางทีมห้องผ่าตัดดูแล้วพบว่า ยังไม่แน่ใจว่า จะยาก สับสนเกินไปหรือไม่ ดังนี้ครับ
.. หลักการของ HOSxP คือ ราคา Price เป็น ค่าตั้งต้น แล้วนำส่วนเกินมาหักออก ที่เหลือ คือ ลูกหนี้สิทธิ ถูกต้องมั๊ยครับ เช่น ค่าข้อเข่าเทียม ราคา 40,000 บาท สิทธิประกันสังคม เบิกได้ 25,000 บาท สิทธิเบิกได้ เบิกได้ 30,000 บาท เราไปตั้งค่า ส่วนเกินสิทธิประกันสังคม = 15,000 บาท และตั้งส่วนเกินสิทธเบิกได้ = 10,000 บาท
..เมื่อมีการสั่งเบิกได้ ข้อเข่าเทียม จะคิดเงิน ลูกหนี้สิทธิ 30,000 + ส่วนเกิน(เบิกไม่ได้) 10,000 รวมเป็น 40,000 บาท
..เมื่อมีการสั่งประกันสังคม ข้อเข่าเทียม จะคิดเงิน ลูกหนี้สิทธิ 25,000 + ส่วนเกิน(เบิกไม่ได้) 15,000 รวมเป็น 40,000 บาท
ก็ใช้ได้ครับ แต่พบปัญหาที่เจอบ่อยๆ คือ ราคา Price เปลี่ยนแปลง จากบริษัทที่ขาย เช่นปีที่แล้ว 40,000 ปีนี้ 42,000 บาท โดยที่ สิทธิในการเบิก (ใช้สิทธิได้) คงเดิม จึงทำให้ ส่วนเกิน ต้องปรับใหม่ตามราคาด้วย ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนราคา
ข้อเสนอ ครับ
..การตั้งค่า เปลี่ยนจาก ราคาส่วนเกินที่เบิกไม่ได้ ต้องชำระเอง ในแต่ละสิทธิ ---> เป็น ราคาที่สิทธินี้ใช้ได้ (ครอบคลุม)
เช่น เบิกได้ สามารถเบิกได้จริง (ลูกหนี้สิทธิ) .... 20,000 บาท
.......ประกันสังคม ,, ,, ,, ,, .... 15,000 บาท
แล้วโปรแกรมก็นำค่าดังกล่าวไปคำนวน หาส่วนเกินที่ต้องชำระเอง (เบิกไม่ได้) โดยนำ price - ราคาสิทธิที่เบิกได้ของสิทธินั้น จะทำให้เวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาวัสดูการแพทย์ต่างๆ จนท.ไปแก้ไขที่เดียว คือราคา price ไม่ต้องไปแก้ไขที่ส่วนเกินด้วย ยกเว้นว่า สิทธินั้นมีการเปลี่ยนแปลง ราคาที่สามารถเบิกใช้สิทธิได้
พอดี รพ.ขนาดใหญ่จะมีปัญหามาก โดยเฉพาะ ห้องผ่าตัดกระดูก ซึ่งราคาเปลี่ยนแปลงบ่อย ครับ
ขอบคุณมากครับ