ผู้เขียน หัวข้อ: ขอแชร์การเชื่อมต่อผลแลปเข้า HOSxP ระหว่างแบบ LIS กับ Interface และข้อกำหนดของสภา  (อ่าน 5741 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ cherd101

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ขอแชร์ความเห็นเกี่ยวกับ LIS และ Interface หน่อยครับ


ผมเองก็เป็น Programmer พอดีได้มีโอกาสเข้ามาทำการเชื่อมต่อผลแลปจากเครื่องแล้วรายงานผลเข้าทั้งระบบโรงพยาบาล ก็ทำมาทั้ง HOSxP และ Hospital OS ซึ่งแรกๆๆก็จะอยากหน่อยเพราะเชื่อมต่อเข้าฐานข้อมูลโดยตรง พอทำได้ก็ OK แล้ว  ที่เหลือนี้คือต้องอ่าน Space ของเครื่องแต่ละเครื่องครับซึ่งอันนี้ถ้าเครื่องไหนเคยทำกับ OK ครับแป๊ปเดียวเสร็จ แต่ถ้าเครื่องใหม่นี้ก็ต้องเหมือนเริ่มนับ 1 ครับ (นี้คือสาเหตุหลักเลยครับที่ทำให้ Cost สูง เพราะต้องไปทำที่หน้างานครับ ยิ่งเครื่อง Chem ที่ให้ใส่ Barcode แล้วสั่งตรวจเลยนี้ต้องบอกสุดยอดครับ แตต่ถ้าพวกรับผลอย่างเดียวอย่าง CBC นี้ก็ง่ายหน่อย) นี้ทำมาก็ 2 ปีกว่าแล้ว

กลับเข้าเรื่องครับ ผมเองก็ทราบดีนะครับว่าที่ทำกันอยู่นี้มี 2 แบบ คือ

1. ระบบห้องแลป (LIS)
แบบนี้คือ เป็นการลงระบบห้องแลปใหม่เลย เจ้าหน้าที่ห้องแลปจะไม่ใช้งานระบบห้องแลปของ HOSxP แต่จะไปใช้ระบบ LIS แทน และการเชื่อมต่อผลแลปเข้า HOSxP ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบนี้ ซึ่งระบบนี้จะเป็นระบบที่ใหญ่ การ Implement ก็คือต้องทำทั้งห้อง Lab ไม่สามารถแยกเจ้าใดเจ้าหนึ่งทำได้ (โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าส่วนนี้ ถ้าจะให้ถูกต้องน่าจะให้เป็นของโรงพยาบาล คือ ต่อให้เจ้าของเครื่องที่วางอยู่ย้ายออกไปก็ไม่มีผลกระทบใดๆๆ ยังใช้ LIS ต่อไปได้ เพียงแต่เจ้าที่เข้ามาใหม่ก็ต้องเชื่อมต่อให้ได้)



2. ระบบเชื่อมต่อผลจากเครื่องเข้าระบบ HOSxP (Interface หรือ Data Link)
แบบนีคือ ทางโรงพยาบาลยังใช้ระบบแลปของ HOSxP เหมือนเดิม ทำงานเหมือนเดิมทุกอย่าง โดยจะมีความสะดวกในการทำงานเพิ่มขึ้นมาก็คือ เมื่อผลตรวจที่เครื่องออกมา เช่น CBC ตัวโปรแกรม Interface จะเอาผลแลปเข้าไปใส่ในระบบของ HOSxP ให้ เจ้าหน้าที่เพียงเข้าไปตรวจาสอบอีกครั้งว่าตรงกับที่ Print ออกมาจากเครื่องไหม แล้วก็ยืนยันผลเข้าระบบ HOSxP ตามปกติ ซึ่งอย่าง Case ของ CBC จะมีผลจากเครื่องประมาณ 20 กว่าค่า แต่ส่วนใหญ่ก็จะรายงานผลประมาณ 10 กว่าค่าเท่านั้น ซึ่งก็จะช่วยลดงานการคีย์ข้อมูลลงได้เยอะเหมือนกัน






สาเหตุหลักที่เลือก Solution ที่ 2 คือ

 1. ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลในระดับ อำเภอ ซึ่งมองว่า Function ระบบห้องแลปของ HOSxP นั้นเพียงพอสำหรับการใช้งานแล้ว (ก็คือ คุณตรวจแล้วก็รายงานผลกลับเข้าระบบโรงพบาบาล) และก็ใช้งานดีอยู่แล้ว
 2. การทำ Interface สามารถแยกกันทำได้ คือ มีเครื่องวางในห้องแลปหลายเครื่อง หลายบริษัท ดังนั้น หากบริษัทไหนพร้อมก็สามารถทำได้เลย (ไม่ต้องรอให้ทุกบริษัทพร้อม) และไม่กระบทกะเทือนกัน (บริษัท A จ้างทำตัว Interface สำหรับเครือง CBC มาแล้ว ก็สามารถเอามาใช้ได้เลย ซึ่งถ้าบริษัทซื้อเหมามาก็จะได้ราคา / จุดที่ถูก) แล้วราคาที่ LIS คิดกับบริษัทที่วางเครื่องทำ Interface เข้าระบบ LIS ก็ไม่ได้ถูก (ก็ออกแนวๆๆกีดกัน แบบว่าอยากวางเครื่องคนเดียวทั้งห้องแลป)
 3. โดยปกติเจ้าหน้าที่ก็แค่เปิดตัว Interface ไว้ แล้วก็ทำงานใน HOSxP ตามปกติ เว้นแต่ในกรณีที่อยากจะมาดูผลผลค่าอื่นๆที่รับมาจากเครื่องแล้วไม่ได้รายงานผลเข้า HOSxP  หรือ ต้องการดูผล LAB ที่รับจากเครื่องย้อนหลังเท่านั้น
 4. การทำ Interface สามารถทำราคาที่ถูกกว่าระบบ LIS เยอะ และไม่ต้องการเครื่อง Server เพียง PC ตัวเดียวก็เพียงพอ (ขอแค่มี Com Port พอ ซึ่งไม่มีปัญหาสามารถใช้ USB2RS232 ได้)
 5. นอกนั้นก็จะเป็นลูกเล่นเพิ่มเติม เช่น เมื่อผลแลปเสร็จก็จะแสดงเสียงให้ทราบว่าแลปเสร็จแล้วเจ้าหน้าที่จะได้ทราบ และหากมีค่าวิกฤตในผลแลปก็จะแสดงเสียงที่แตกต่างเพือให้ทราบว่ามีค่าวิกฤต


ด้วยแนวคิดนี้หลายๆๆที่ที่ผมทำให้ลูกค้าก็ใช้งานมาตามปกติ บางที่ก็ทำทั้งห้องเชื่อมต่อทั้งห้อง LAB เลย บางทีก็ทำบางเครื่องเท่านั้นเอง และบางทีก็จะมีตัว Interface ของหลายๆเจ้าอยู่รวมกัน อาจจะ 2 - 3 เจ้า

ปัญหาก็คือว่า มันจะมีการประเมินห้องแลป แล้วก็มี Spec ของสภาเทคนิคการแพทย์มาตรวจ ซึ่งก็มีทั้งที่ไม่มีปัญหาและทีที่มีปัญหา โดยความเข้าจะของผมแล้วน่าจะเกิดจาก

 กรณีที่เป็นแบบ LIS  แน่นอนครับว่าควรจะตรวจตาม Spec เต็ม 100% (โดยผมยังมองว่า Space นั้นที่ใช้ประเมินควรจะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่จำเป็น และส่วนไม่จำเป็นเป็นเพียง Option เท่านั้น และถ้าแยกประเมินสำหรับโรงพยาบาลขนาดใหญ่และโรงพยาบาลขนาดเล็กก็ยิ่งดี)

 กรณี Interface  อันนี้ควรจะประเมินจากตัว HOSxP + Interface เพราะทั้ง 2 ตัวนี้ทำงานร่วมกันและมันก็คือระบบห้องแลป (LIS) ของโรงพยาบาล โดยตัว Interfaแe เองจะมาช่วยให้การประเมินผ่านเพิ่มขึ้น 2 ข้อ คือ ในส่วนของ

        > 2.4.3.   สามารถส่งผงลกลับไปยังระบบ HIS ได้
        > 3.2.   สามารถเชื่อมโยงกับระบบโรงพยาบาลได้โดย HL7 หรือ ASTM standard  (ข้อนี้ต้องแล้วแต่เครื่องที่วางครับ ถ้าเป็นเครื่่อง Chem รุ่นใหม่ๆก็จะมี ASTM standard ส่วนเครื่องอืนๆที่เล็ก เช่น เครื่อง ABBORT CELL-DYN 3500 / 3700, Sysmex SF-3000, DIRUI H-500 ก็จะไม่ Support หรือแม่แต่เครื่อง CBC รุ่น Pentra 60 มีรูปแบบกการเชื่อมต่อหลายแบบและ Support ASTM standard ด้วย แต่ว่าผมก็เลือกใช้แบบอื่นๆที่สั่นและกระชับกว่า ASTM จริงแล้ว ASTM ควรจะใช้กับเครื่อง Chem ที่เลือกได้ว่าจะตรวจอะไรบ้างและควรพิมพ์ Barcode ติดหลอดแล้วเอาไปใส่ลงในเครื่องกด Start มันจะรู้เองว่าตรวจอะไร ซึ่งจะช่วยลดงานลงได้เยอะมากๆๆๆ ไม่ต้องไปคีย์ข้อมูลการสั่งแลปที่หน้าเครื่อง Checm อีก แต่กับ CBC ที่ไม่มีการเลือกว่าจะตรวจอะไร ASTM ก็จะไม่เหมาะ)   ดังนั้นในข้อนี้ ผู้ประเมินต้องดูตามความเป็นจริงด้วย


 ;D ;D ผมคิดว่าที่เกิดปัญหาในการประเมินนี้ผมมองว่าน่าจะเกิดจาก
 
  1. การที่คุณบอกกับทางผู้ประเมินว่าคุณได้ติดตั้ง LIS ทั้งๆๆที่คุณทำ Interface  หรือ
  2. การประเมินออกมาโดยใช้ HOSxP + Interface ได้คะแนนออกมาไม่ครบ 100% ตามที่ประเมิน ก็เลยมาบังคับเอากับ Interface  ให้เจ้ากลายร่างเป็น LIS ซะ ฉันจึงจะได้ได้คะแนนเพิ่ม (ซึ่งเท่าที่เข้าไปดูในหลายๆที่ต่อให้เป็น LIS มันก็ไม่ได้ครบทั้ง 100% หรอก) หรือ
  3. เกิดจากผู้ประเมินเองที่ดันเอาเกณฑ์ของ LIS มาประเมินตัว Interface แทนที่จะประเมินจาก HOSxP + Interface

ก็ขอแชร์แนวคิดกับทุกคนครับว่าตกลงแล้วนี้แนวคิด Interface ยัง OK อยู่ไหม
จริงๆๆผมอยากฟังจากในส่วนของผู้ใช้มากเลย เพราะว่าที่ผมรู้มาก็คือ ราคา LIS นี้ก็หลายแสนอยู่แล้วก็ต้องมา + เครื่อง Server + ค่าเชื่อมต่อ / เครื่องอีก


ตอนนี้ผมก็ต้องเปลี่ยนไปใช้ LIS Gayway ของทาง HOSxP ซึ่งมีทั้งค่า  ค่า LIS Gayway แรกเข้า + ค่า MA รายปี (ซึ่งค่า MA ผมมองว่าสูงเกินไปมันเกือบ 50% ของค่า LIS Gayway แรกเข้า) โดยปกติ MA โปรแกรมมันควรจะประมาณ 10 - 20% และราคาเป็นราคาเดียวกับระบบ LIS ซึ่งในระยาวผมก็คงต้อง Up ขึ้นไปเป็น LIS แน่นอน ไม่งั้นไม่คุ้มและอยู่ลำบาก เพราะผมดูๆๆแล้วเมื่อรวมส่วน MA ของ LIS Gayway + ของผมเองที่ต้องดูแลการเชื่อมต่อกับตัวเครื่องแต่ละเครื่องแล้ว ราคามันสูงกว่าค่าใช้จ่ายของระบบโรงพยาบาล (HIS) ซะอีก

โดยส่วนตัวแล้ว

  1. Interface ผมก็ยังอยากเก็บไว้ ให้กลุ่มโรงพยาบาลที OK กับระบบห้องแลปของ HOSxP อยู่ และต้องการ Save Cost ในส่วนของห้องแลปลง (เก็บเงินจากบริษัทที่วางเครื่่องก็จริงแต่สุดท้ายก็ต้องไป + ที่ค่าน้ำยาที่ขายให้โรงพยาบาลอยู่ดี) โดยตัวนี้ผมคิดว่าถ้าซื้อ License LIS Gayway ให้เป็นของโรงพยาบาลไปเลย แล้วทาง HOSxP ลดค่า MA รายปีลง โดยคิดประเมินรวมๆ หากเทียบกับ MA ของระบบโรงพยาบาล ส่วนนี้ผมคิดว่าตัวนี้น่าจะ OK กับโรงพยาบาลขนาดเล็กและก็บริษัทที่วางเครื่องก็ไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายมากเกินไป (เพราะถ้ามีวางซัก 10 เครื่องนี้ ทำแค่เครื่องแรกที่ต้องเหมือนนับ 1 ใหม่ เครื่องที่ 2 - 10 นี้คือไม่ต้องทำอะไรแล้ว ดังนั้นราคาจะลดลงเยอะครับ)

 2. ตัว LIS คงต้องทำ เพื่อให้รองรับความต้องการ แต่ดูแนวโน้มแล้วทั้งราคา Software เริ่มต้น และ MA รายปีคงสูง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2013, 15:09:27 PM โดย cherd101 »
 

ออฟไลน์ เกื้อกูล ครับ..

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,611
  • Respect: +169
    • ดูรายละเอียด
    • โรงพยาบาลปากท่อ
ผมก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจนักครับ...แต่กำลังทำความเข้าใจ  ทราบแน่ชัดเพียง ท้ายสุด Cost ใด ๆ ที่เพ่ิมจากบ.น้ำยาหรือ LIS ท้ายสุด ก็มากลายเป็นรายจ่ายต่อ test ใน รพ.อยู่ดี  เชื่อเถอะครับ..ไม่มีใด ๆ ฟรีหรอก  หรือไม่ก็กลายเป็นเครืองที่ต้องขยัน Flushing ก่อนใช้งานทุก test หรือ 4 circle calibration กว่าจะใช้งานกับ test จริงในแต่ละวัน นั่นคือมียอด volume การสั่งน้ำยาประเภทต่าง ๆ  ท่วมทั้น จนทำให้ราคาตรวจทางห้องปฏิับติการ แม้แต่ รพช. เล็ก ๆ ก็อาจต้องปรับราคาใหม่อีก 20-40 % ในที่สุด คนที่ลำบาก ก็คือ ประชาชนผู้รับบริการที่ต้องชำระเงิน หรือ สำรองจ่ายนั่นเอง.... กรรม..ของ ระบบเทคโนโลยีสุขภาพ  ??? ??? ???
Implement  HOSxP  Start 2548 ---> NOW!
Station : 140 Client   V.3 Version  3.67.7.8
Server  : CENTOS 7 +MySQL maria 10.x.x

ออฟไลน์ cherd101

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ผมทำ Interface ผมไม่เคยบังคับลูกค้าทำ MA ครับ เป็นแค่ทางเลือก โดยปกติปีแรกก็ Support ฟรีครับ
เกือบ 100% ลูกค้าผมจะดูว่าปีแรกมีปัญหาอะไรไหม พอมันไม่มีปัญหาเรื่องการรายงานผล ในปีถัดไปลูกค้าก็จะไม่ MA ครับ

แต่จะเลือกว่าถ้ามีปัญหาค่อย เรียกเป็นครั้งๆไป จะ Save Cost กว่า