วันที่ 1 กพ. 53 ได้มีโอกาสติดตามไปฟังประชุม เรื่อง .. อะไรจำไม่ได้แล้ว ชื่อมันยาว
.. ที่ Royal River ซึงจัดโดยกรมบัญชีกลาง
มีหัวข้อการประชุม
1. พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ...
2. การตรวจสอบการเบิกจ่าย เงินสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ฉบับที่ 2 (Medical Audit)
3. อัตราฐานและการจัดกลุ่มโรงพยาบาลในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
4. การคำนวณค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในที่จัดสรรตามระบบ DRG
5. สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ระบบเบิกจ่ายผู้ป่วยนอก ปี 2553
ผมขอเล่าเฉพาะที่ผม ไม่หลับ นะครับ
1. พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. ... (ยังไม่ใส่ พ.ศ. เพราะยังเป็นร่าง ..อยู่)
ผู้บรรยายแจ้งว่า ยังเป็นร่าง...จะเข้า ครม. วันนี้ (2 กพ 53) คงไม่มีปัญหาอะไรที่ต้องปรับแก้ เพราะเป็นวาระ เพื่อทราบ
คงผ่านอยู่แล้ว ก็จะประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา รออีก 180 วัน ก็ได้ใช้แล้ว
กฏหมายนี้ มีสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น คร่าว ๆ ดังนี้
- ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค --> สำหรับผู้มีสิทธิ และ บุคคลในครอบครัว
- รักษาใน รพ.เอกชน (ผู้ป่วยใน) โดยไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน --> จ่ายตามระบบ DRGs (นำร่อง) เฉพาะ รพ.ที่ทำข้อตกลงกับกรมบัญชีกลาง
- ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัว พ้นสภาพยังเบิกได้ในครั้งนั้น --> ส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยใน ให้เบิกได้จนกว่าจะออกโรงพยาบาล
- สิทธิซ้ำซ้อน --> เลือกสิทธิ (สิทธิหลัก-รอง)
- ประกันสุขภาพ / ชีวิต --> เบิกได้ทั้ง 2 ทาง (ไม่เกินค่ารักษาจริง)
ขยายความ
มาตรา 4
การรักษาพยาบาล (แหม.. รักษาแต่พยาบาล .. เจ้าหน้าที่อื่นไม่รักษาหรืองัย .. อันนี้ล้อเล่นครับ
)
- ให้บริการด้านการแพทย์ และสาธารณสุขโดยตรงแก่ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว
- เพื่อการรักษาโรค การตรวจวินิจฉัย การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
- รวมถึง การตรวจสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุข
- ทั้งหมดทั้งปวง ก็ต้องอาศัยท่านนี้ครับ คือ ... ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
- ไม่รวมถึงการเสริมความงาม นะครับ ... พี่น้อง
มาตรา 8
การเข้ารักษาในโรงพยาบาล 1. รพ.รัฐ OP + IP
2. รพ.เอกชน IP (DRG)
3. รพ.เอกชน IP (กรณีถึงชีวิต)
4. รพ.เอกชน OP (ส่งต่อ)
เหมือนข้างบน .. ต้องตามหลักเกณฑ์ ประเภท และอัตราที่ กระทรวงการคลัง กำหนด
หัวข้อนี้ผมฟังไม่ค่อยได้ยิน .. รร. มีปัญหาเรื่องระบบเสียง
มาตรา 9
ขยายสิทธิ กรณีพ้นสภาพ- เข้ารักษาประเภทผู้ป่วยใน
- ผู้มีสิทธิหมดสิทธิ หรือ บุคคลในครอบครัวพ้นสภาพ
- สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้จนกว่าจะออกจาก รพ.
มาตรา 10
สิทธิซ้ำซ้อน- สิทธิหลัก - สิทธิรอง --> (หลัก-หลัก, หลัก-รอง, รอง-รอง)
-
กค. (กระทรวงการคลัง) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกสิทธิ
* สิทธิหลัก --> สิทธิที่เกิดจากตนเอง (เจ้าของสิทธิ)
* สิทธิรอง --> สิทธิที่เกิดจากการเป็นบุคคลในครอบครัว (ผู้อาศัยสิทธิ)
ขยาย สิทธิหลัก - หลัก (เจ้าของสิทธิ - เจ้าของสิทธิ)
- ผู้มีสิทธิเลือกว่าจะใช้สิทธิจากหน่วยงานใด
- เลือกสิทธิจากหน่วยงานอื่นแล้ว ให้หมดสิทธิตาม พรฎ. นี้
- การเลือก การเปลี่ยนแปลงสิทธิเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่ กค. กำหนด
ขยาย สิทธิหลัก - รอง (เจ้าของสิทธิ - ผู้อาศัยสิทธิ)
- ต้องใช้สิทธิในฐานะเจ้าของสิทธิ (ใช้สิทธิหลัก)
- เลือกสิทธิไม่ได้
- หากค่ารักษาที่ได้รับต่ำกว่า พรฎ. นี้ สามารถเบิกส่วนที่ขาดอยู่จาก
สิทธิได้ (ตรงนี้ผมหลับ ..
)
ขยาย สิทธิรอง - รอง (ผู้อาศัยสิทธิ - ผู้อาศัยสิทธิ)
- ใช้สิทธิตาม พรฎ. นี้ได้ (ไม่ต้องเลือก)
มาตรา 11
เบิกประกัน- สัญญาประกันภัยคุ้มครองค่ารักษาผู้มีสิทธิ และบุคคลในครอบครัว
- เบิกค่ารักษากับบริษัทประกัน และตาม พรฎ. นี้ได้ (รวมกันไม่เกินยอดค่ารักษาจริง)
- ตามหลักเกณฑ์ที่ กค. กำหนด
มาตรา 15
บทลงโทษ (อันนี้เป็นการให้อำนาจ กรมบัญชีกลาง อย่างชัดเจน)
- ผู้มีสิทธิ หรือโรงพยาบาลส่งคืนเงิน ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ กค. กำหนด
- กรณีโรงพยาบาลทุจริต ให้ กค. เรียกคืนเงินและระงับการเบิกตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ กค. กำหนด
พอแค่นี้ก่อนครับ ... งานเข้า
เดี๋ยวมาต่อ ....