สับสนจริงๆครับ
แต่ในความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมคิดว่า วันนอน มี 2 เป้าหมาย
1. LOS สำหรับคิดคำนวน DRG
2. วันนอนสำหรับคิดคำนวน ค่าห้อง ค่าเตียง ค่าอาหาร
เราคงต้องแยกกันก่อน ว่า เราหมายถึง ข้อไหน
ตอนนี้น่าจะมีมากกว่า 2 ครับ
1. LOS ตามการคำนวณทางเวชสถิติ ใช้ LOS = datedsc - dateadm + 1 ครับ
2. LOS เพื่อการคำนวณทาง DRGs เรียกใหม่เพื่อป้องกันการสับสนกับข้อ 1 ว่า CalLOS = calculated LOS (ปรับเปลี่ยนตั้งแต่ version 3 เป็นต้นมา) ใช้ CalLOS = datedsc - dateadm ไม่มีการบวกค่าใด ๆ เข้าไป
3. LOS เพื่อการคิดค่าห้อง+อาหาร
ตามนิยามของ กบก. คือ 24+6
ต่อมา กบก. โดย สกส. มีการกำหนด leave day เพิ่มเข้าไปอีก ดังนี้ ข้อ 2 และ 3 ต้องเอา leave day ไปลบออกอีก ซึ่งจริง ๆ แล้วข้อ 1 ก็ควรลบด้วย leave day ด้วยเช่นกัน (แต่ยังไม่มีใครพูดถึง...ใคร=หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถิติของโรงพยาบาล เช่น สนย.)
สำหรับผู้ป่วย UC การคิดค่าห้องน่าจะเป็นระบบเดียวกันกับข้าราชการ เพราะ สปสช. ใช้ DRGs เหมือนกัน คือ สองระบบอิงกันตลอด ทั้งเรื่องระบบข้อมูล และการจ่ายเงิน (ผ่านทาง สกส.) จริง ๆ ต้องบอกว่า กบก. อิง สปสช. เพราะ สปสช. เป็นคนออกเงินทำ DRGs
แต่ที่ว่า 4 ชั่วโมง น่าจะเป็นอย่างที่คุณหมออนุกูลว่าครับ
เพียงแต่ สปสช แบ่งการเบิกจ่าย ให้ชัดเจนขึ้นว่า รายใดจะให้เบิกจาก IPD รายใดเบิกเป็น OPD โดยดูจากชั่วโมงที่ นอนรพ. (ต้องดูประเภทการจำหน่ายด้วย)
สำหรับอันนี้
สำหรับการคิดค่าห้องของกล่มบัตรทอง หรือประกันสังคม ผมคิดว่า เค้ายังไม่เข้ามากำหนด เพราะมันนอกเหนือสิทธิประโยชน์ (ผป.จ่ายเอง) ดังนั้น รพ.ไหนคิดยังไง ในส่วนที่เกิน 24 ชม. ก็คงทำตามเดิมได้ แต่สำหรับ กรมบัญชีกลางซึ่ง มีค่าห้อง ค่าอาหาร รวมในสิทธิประโยชน์ด้วย เค้าจึงต้องกำหนดให้ชัดเจนขึ้นในเรื่องการคำนวนวัน กรณีเรียกเก็บค่าห้อง
ผมว่าน่าจะเป็นการคิดเงินค่าห้อง+อาหารด้วยหลักเกณฑ์เดียวกันสำหรับ
ผู้ป่วยทุกรายของโรงพยาบาลครับ เพื่อความเป็นธรรมของผู้ป่วยครับ (พูดถึงการ
นับวันเพื่อคิดค่าห้อง+อาหารนะครับ...แต่การ charge เท่าไร ก็แล้วแต่ครับ)