โรคเรื้อรังที่ สปสช.กำหนดมีด้วยกัน 17 กลุ่มโรค 25 กลุ่มโรคย่อย เราต้องลงข้อมูลชื่อโรคใน ตาราง clinic
และกำหนดค่าใน ฟิวด์ chronic ='Y' และลง ICD10 ของกลุ่มโรคในฟิวด์ ICD10 ด้วย
ตามรูปตัวอย่างช่องที่ 1 ของผมที่ทำใว้จะกำหนดกลุ่มโรคย่อยอีก ในตาราง clinic_subtype ตามรหัส ICD10 ตามกระทู้นี้
http://hosxp.net/index.php?option=com_smf&Itemid=28&topic=5929.0ส่วนคลินิกอื่นๆ ที่เราตั้งขึ้นมาเอง ก็กำหนดค่าใน ฟิวด์ chronic ='N' และไม่ต้องกำหนด ICD10 ก็ได้
ตามรูปตัวอย่างช่องที่ 2แต่ปัญหาคือว่าข้อมูลรายบุคคลเราต้องลงทะเบียนเข้าคลินิกโรคเรื้อรังตาม 25 โรคของ สปสช.ด้วย เอาละ และจะคีย์ข้อมูลไหวหรือไม่ OPD card ก็เก็บเข้าตู้หมดแล้วและจำนวนคนไม่ใช่น้อยๆ บาง ร.พ ไม่ได้ ลงข้อมูลส่วนนี้ด้วย ทำเฉพาะ เบาหวาน ความดัน HIV
จริงๆ แล้วก็มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่เป็นโรคเรื้อรัง แต่ไม่ได้ลงทะเบียนเข้าคลินิกโรคเรื้อรัง ส่วนนี้ก็จะไม่ถูกดึงเข้าไปในตาราง 18 แฟ้ม chronic ด้วย (และมีจำนวนมากเสียด้วย) และถ้าเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการในโปรแกรม hosxp
แต่ไม่ได้ลงข้อมูลในส่วน hosxp-pcu ก็จะไม่ถูกดึงมาอีก ทำให้ข้อมูลที่ออกมาเป็น 18 แฟ้ม ตาราง chronic น้อยลงไปอีก (ดูตามคู่มือที่ อ.ชัยพร ให้ download)
จึงขอแสดงความคิดเห็นว่า
1. ในส่วนโปรแกรม HOSxP เมนูTooL-> ส่งออก 18 แฟ้ม สปสช ของ hosxp ให้แก้ไขตาม structure ใหม่
ของ สปสช ด้วย ตาราง 18 แฟ้ม chronic น่าจะดึงข้อมูลมาจาก ovstdiag มาด้วยเพราะบางคนไม่ได้
ลงทะเบียนคลินิกโรคเรื้อรัง แต่มี diag ใน ovstdiag แล้ว (บางคนเป็นมา 2 ปียังไม่ได้ลงทะเบียนก็มีครับ)
2. คำว่า
ในเขตรับผิดชอบของ 18 แฟ้ม ในส่วนของโรงพยาบาล น่าจะหมายถึง ผู้รับบริการทั้งหมด
ทั้งอำเภอ เพราะต้องให้ บริการผู้ป่วยทั้งอำเภออยู่แล้ว ดังนั้นในส่วนการส่งออก 18 แฟ้มน่าจะใช้ข้อมูลใน
โปรแกรม HOSxP ทั้งหมดร่วมกับ HOSxP-PCU ครับ
ส่วน ในเขตรับผิดชอบของ 18 แฟ้ม ในส่วนของ PCU/สอ น่าจะหมายถึง ผู้รับบริการทั้งหมด ของตำบล
นั้น สามารถใช้ข้อมูล จากโปรแกรม HOSxP-PCU