สวัสดีครับ เมื่อกี้ผมไปกินข้าว แล้วแวะไปยืนอ่านหนังสือในร้านหนังสือแพร่พิทยาที่เซ็นทรัลลาดพร้าว เผอิญไปอ่านนิตยสารไมโครคอมพิวเตอร์ฉบับเดือนนี้ มีคอลัมน์หนึ่งที่น่าสนใจจะเอามาเล่าให้ฟัง คอลัมน์นี้มีชื่อว่า เศรษฐศาสตร์ของโอเพ่นซอส ของฟรีไม่มีในโลก สิ่งที่น่าสนใจคือการสะท้อนให้เห็นถึงความจริงว่าแท้ที่จริงแล้ว OpenSource ก็มิใช่ของฟรีซะทีเดียว เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ก็ต้องอาศัยทุนในการพัฒนา ในทางเศรษฐศาสตร์นั่น ซอฟท์แวร์ถือว่าเป็น non - rival good (ไปหาอ่านความหมายแล้วกันครับ) ถามว่าทีมพัฒนาจะหาทุนได้อย่างไร ก็มีการสรุปออกเป็นสามแนวทางคือ
1. Dual License ก็คือมีสองลิขสิทธิ์ครับ เขายกตัวอย่าง Redhat ครับ ที่มี Fedora Project เป็นของฟรี และ RedHat Enterprise เป็นของเสียเงิน ซึ่งก็เห็น ๆ ครับ Fedora ไม่สมบูรณ์ การจะนำมาใช้คุณต้องมีการปรับปรุงต่ออีกหลังจากติดตั้งแล้ว จึงจะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะนี้ของเสียเงินอย่าง RedHat Enterprise จะสมบูรณ์มาเรียบร้อยแล้ว
2.Cell Phone Companies คือเอาหลักการของ Cell Phone Companies ที่แจกโทรศัพท์หรือขายเครื่องราคาถูกกว่าท้องตลาดให้กับลูกค้า โดยทำสัญญากับลูกค้าให้ต้องใช้เครือข่ายนั่น ๆ ในกรณีนี้ก็ยกตัวอย่าง JBoss ครับ ซึ่งความเห็นของผม oracel 10g express edition ก็เข้าค่ายแบบนี้ครับ เขาให้ใช้แต่ให้ใช้ฟีเจอร์แบบพื้นฐานแค่พอทำงานได้ หรือสำหรับพัฒนาโปรแกรมได้ แต่ถ้าเราต้องการใช้ฟีเจอร์ที่สูงขึ้นหรือใช้สำหรับงานระดับ enterprise ใหญ่ ๆ คุณต้องหันไปใช้ของเสียเงิน และ
3.Ecosystem ก็คือการร่วมกันเป็นพาร์ทเนอร์ครับ ยกตัวอย่างการที่ RedHat จับมือกับ Oracle ประมาณว่าคุณซื้อ Oracle เขาก็เสนอให้คุณต้องลงบน Redhat เท่านั่นจึงจะเข้ากันได้ ถามว่าแล้ว distribute อื่น ๆ ละอย่าง suse, mandreke ทำไมถึงลงไม่ได้ หรือไม่แนะนำ
คราวนี้คงเริ่มเข้าใจแล้วใช่ไหมครับ ว่าของฟรีไม่มีในโลกครับ ยิ่งกับพวกฝรั่งด้วยแล้ว เขาไม่ทำอะไรฟรี ๆ หรอกครับ สิ่งที่ผมจะถามต่อว่าแล้วชุมชนของเราจะเป็นแบบไหนครับ (อย่าบอกนะว่าเป็นแบบที่ 4 องค์กรการกุศลที่ไม่หวังผลประโยชน์ใด ๆ จากนี้และตลอดไป) ขอโทษนะครับผมไม่ได้สร้างภาพลบแต่อย่างไรนะครับ แต่สิ่งที่ผมอยากบอกคือ โอเพ่นซอส ในมุมมองผมคือการแบ่งปัน คือการร่วมมือกัน ร่วมมือกันพัฒนา คล้าย ๆ กับโครงการ seti@home ของนาซ่าที่ต้องการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก แต่การประมวลผลสัญญาณวิทยุนั่นต้องใช้ supercomputer ขนาดใหญ่ แทนที่นาซ่าจะต้องลงทุน และการศึกษานี้ก็ถือว่าเป็นการศึกษาที่มีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ การส่งข้อมูลไปให้เครื่องคอมส่วนบุคคลกว่าสี่ล้านเครื่องช่วยประมวลผลให้แล้วส่งผลลัพท์กลับไปยังนาซ่า นี้คือความร่วมมือกันครับ ซึ่งผมมองว่านี้คือสัญลักษณ์ของโอเพ่นซอสจริง ๆ