แนวคิดในการเก็บข้อมูลของโรงพยาบาล กับ PCU จะแตกต่างกันนิดหน่อยครับ เนื่องจาก รพ. เน้นการให้บริการเชิงรับ ดังนั้นข้อมูลส่วนใหญ่ที่บันทึกเอาไว้จะครอบคลุมเฉพาะข้อมูลเชิงรับ ส่วน PCU จะเน้นที่ข้อมูลทั้งเชิงรับและเชิงรุก ครับ
ข้อมูลที่ส่งออกเป็น 18 แฟ้ม ที่ประกอบไปด้วยข้อมูลเชิงรับและเชิงรุก จะไม่มีปัญหาหากแหล่งที่เก็บข้อมูลเก็บข้อมูลไว้ครบถ้วน (PCU) แต่หากจะนำข้อมูลจากระบบ รพ. มาส่งออกเป็น 18 แฟ้ม โดยไม่ใด้ใช้ระบบเก็บข้อมูลเชิงรุก ก็จะต้องมีการแปลงข้อมูลนิดหน่อย ซึ่งในการแปลงข้อมูลนี้ ก็อาจจะมีความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลเกิดขึ้นได้ครับเช่น
ข้อมูลในแฟ้ม person ความหมายดั้งเดิมของแฟ้มนี้ก็คือข้อมูลของประชากรทั้งหมดในเขตรับผิดชอบ แต่หากต้องส่งออกจากระบบ รพ. ต้องใช้วิธีการกรองที่อยู่ของผู้ป่วยที่มารับบริการในเขตที่อยู่ของ รพ. ซึ่งก็อาจจะยังไม่ครบ เนื่องจากมีเฉพาะผู้ที่มารับบริการ
ข้อมูลในแฟ้ม anc คือ หญิงตั้งครรภ์ทุกคนที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบที่มาฝากครรภ์
ข้อมูลในแฟ้ม fp คือ หญิงวัยเจริญพันธ์ทุกคนที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ
และอื่นๆ ซึ่งหากสังเกตุจะต้องมีกลุ่มเป้าหมาย ก็คือประชากรในเขตรับผิดชอบ ซึ่งในระบบเดิม (hosxp) ไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลในกลุ่มนี้เอาไว้ เนื่องจากเน้นที่งานเชิงรับ
คราวนี้ พอ สปสช. ต้องการให้ รพ. ส่งข้อมูลออกมาเป็น 12 + 8 แฟ้ม
( 12 คือ ข้อมูล DRGs ผู้ป่วยใน / นอก และ 8 แฟ้ม (บางส่วนจาก 18 แฟ้ม) )
ในส่วนของ 12 แฟ้ม ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะมีมานานแล้ว แต่ในส่วนของ 8 แฟ้ม ถ้าแนวคิดในการบันทึกข้อมูลไม่ใช่งานเชิงรุก ข้อมูลที่จะสังเคราะห์ออกมาอาจจะได้ไม่ครบทุกรายการครับ เพราะส่วนใหญ่จะนำมาจากข้อมูลงานบริการส่งเสริมสุขภาพ
จึงเป็นที่มาของระบบงานใหม่ของ HOSxP PCU ที่ระบบถูกออกแบบให้รองรับการทำงานทั้งงานเชิงรับ (ใช้ระบบเดียวกับ HOSxP ) และงานเชิงรุกที่ออกแบบใหม่ทั้งหมด สามารถใช้งานได้ทั้งที่สถานีอนามัย และ ที่ รพ. ที่สถานีอนามัยจะใช้ HOSxP PCU ที่ รพ.จะมีระบบนี้อยู่ใน HOSxP แล้ว ดังนั้นหาก รพ. เปิดใช้ระบบบันทึกข้อมูลในระบบใหม่ที่นำมาจากระบบ PCU จะสามารถส่งออกข้อมูลในระบบ 18 แฟ้มได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องครับ
แต่ก็ยังมีอีก 1 ปัญหาตามมา นั้นก็คือ มาตรฐานของข้อมูล ซึ่งน่าแปลกใจที่ สปสช. กำหนดให้ส่งออกข้อมูลในรูปแบบของ Text file แทนที่จะใช้รูปแบบ DBF เหมือนระบบ 12 แฟ้ม ในระบบ Text file จะไม่มีชื่อ field กำกับ ทำให้ต้องตรวจสอบข้อมูลจากลำดับข้อมูลในในแฟ้ม ซึ่งคั่นด้วยเครื่องหมาย comma หรือ | ซึ่งมันอาจจะไม่มีปัญหาหากใช้รูปแบบเดียวกัน แต่ก็ยังมีปัญหาตรงที่ มาตรฐานที่ สปสช. ประกาศใช้ กับมาตรฐานที่ระบบ PROVIS ใช้ มีบางแฟ้มที่มีข้อมูลสลับตำแหน่งกัน ทำให้บางแฟ้มที่ส่งไป PROVIS ได้ จะไม่สามารถส่งไปยัง สปสช. ได้ ที่ผ่านมาบางท่านอาจจะให้ความเห็นว่าให้ทำตัวส่งออกทั้งแบบ สปสช. และ แบบ PROVIS แต่ในความเห็นจากผู้พัฒนา (ผมเอง) อยากให้เป็นแบบเดียวกัน ในเมื่อระบบ DRGs ทำได้ แต่ทำไมระบบ PCU จะทำไม่ได้เหมือน DRGs
แบบเดียวกันไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานของตัวข้อมูลเอง หรือมาตรฐานของแฟ้มที่ส่งออก