ผู้เขียน หัวข้อ: การทำงาน 4 โหมดของ Acces Point  (อ่าน 14366 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ kwithaya

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 112
  • All 4 Network By me
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การทำงาน 4 โหมดของ Acces Point
« เมื่อ: ธันวาคม 20, 2007, 22:24:47 PM »
0
เอาบทความเรื่องความรู้เกี่ยวกับการทำงานของ AP มาฝากนะครับ เวลาไปสั่งซื้อหรือไปซื้อมาใช้จะได้เข้าใจครับ
ราคาสำหรับ AP ที่สามารถทำงานได้ตามบทความนี้ เริ่มตั้งแต่ 5,xxx ขึั้นไปถึงหลัก 10,xxx ครับ

ถ้าคุณต้องการจะสร้างระบบเครือข่ายไร้สาย อุปกรณ์หนึ่งที่จะอำนวยความสะดวกให้คุณอีกนิด โดยไม่ต้องปวดหัวกับการต่อแบบ Ad-hoc ก็คือเจ้าอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า AP (เอ-พี) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น “จุดกระจายและเชื่อมต่อสัญญาณไร้สาย” เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายทุกชนิด (ที่ทำงานภายใต้มาตรฐานของ IEEE802.11) เข้าด้วยกัน

แล้วคุณรู้หรือไม่ว่านอกจากจะทำหน้าที่เป็น Access Point แล้ว AP ที่ดียังสามารถทำหน้าที่อื่นๆ เพื่อช่วยให้ระบบเครือข่ายไร้สายตอบสนองความต้องการของคุณได้อย่างถึงขีดสุด วันนี้เราจึงอยากแนะนำให้คุณได้รู้จักกับหน้าที่ต่างๆ ของ AP ที่ดี ที่จะช่วยสร้างระบบเครือข่ายไร้สายของคุณให้ทรงประสิทธิภาพสูงสุดอย่างแท้จริง

AP Mode

1. Default: Access Point Mode แรกของอุปกรณ์ชิ้นนี้ที่เราจะทำความรู้จักกันก็คือ Access Point Mode ซึ่งเป็นหน้าที่หลักโดยกำเนิดของ AP ทุกตัว และเป็นที่มาของชื่อเรียกของเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ AP ที่ทำหน้าที่เป็น Access Point จะว่าไปแล้วก็เปรียบเสมือนสวิตซ์ ในการสร้างระบบเครือข่ายผ่านสาย (ไม่ว่าจะเป็นสาย UTP หรือสาย Fiber Optic) โดย AP จะทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับ รับระบบเครือข่าย ไร้สาย เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น Computer, Print Server, Camera หรือ อุปกรณ์พกพาต่างๆ (Smart Phone / PDA) เพื่อให้ใช้ทรัพยากรในวงแลนร่วมกัน ทั้งซอฟท์แวร์ อาทิ แชร์ไฟล์ แชร์โปรแกรม แชร์อินเตอร์เน็ต หรือ ฮาร์ดแวร์ อาทิ การแชร์ Printer เป็นต้น Access Point Mode นี้จึงเป็นหัวใจหลักของ การสร้างระบบเครือข่าย ไร้สาย ที่ต้องการจะเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายเข้าด้วยกัน

2. Client Mode (AP Station / AP Client) ใน Mode นี้ AP จะทำหน้าที่ในลักษณะเดียวกันกับ Wireless Card (หรือ Wireless Adapter อื่นๆ) คือทำหน้าที่เป็นตัวลูกข่าย และเชื่อมต่อผ่านทางสัญญาณไร้สายกับ AP เท่านั้น โดยจะไม่สามารถกระจายสัญญาณไร้สายไปยังอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ ได้อีก การใช้งานใน Mode นี้เหมาะสำหรับการอำนวยความสะดวกให้กับ Station ที่ไม่พร้อมสำหรับการใช้งานไร้สาย แต่พร้อมสำหรับการเป็นส่วนหนึ่งในวง LAN เช่น เครื่องชั่งน้ำหนักและพิมพ์ Label ในศูนย์การค้า (โดยเฉพาะในแผนกผักผลไม้) ที่ใช้ดึงข้อมูลจาก Database แล้วคำนวณออกมาเป็นค่าสินค้า โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังกล่าวกับระบบฐานข้อมูลด้วยสายซึ่งเกะกะ หรือตั้งอยู่ในจุดที่ไม่สะดวกในการติดตั้งสาย หรือจะใช้ AP ใน Mode นี้สำหรับการเชื่อมต่อวงแลน 2 วงที่อยู่ห่างกัน เข้าด้วยกัน หรือจะใช้กับเครื่อง Macintosh ที่ไม่ต้องการซื้อ Wireless Card ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงมาใช้งาน โดยสามารถนำ AP มาใช้งานแทนได้

3. Repeater Mode ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าทำหน้าที่เป็น Repeater ก็คือการทำหน้าที่ รับสัญญาณไร้สายมาเพื่อ “กระจายต่อ” โดยระบบเครือข่ายสำหรับการเชื่อมต่อในลักษณะนี้ ต้องอยู่ในวงแลนเดียวกันเท่านั้น ไม่ใช่การสร้างหรือการเพิ่มวงแลนแต่อย่างใด และ AP ที่ทำหน้าที่เป็น Repeater จะต้องอยู่ในรัศมีของสัญญาณจาก Access Point การเชื่อมต่อใน Repeater Mode นั้น จะสามารถสร้าง Hop ได้ทั้งหมด 8 Hop (1 AP + 8 Repeater) โดยแต่ละ Hop ที่เกิดขึ้น จะทำให้สัญญาณเครือข่ายไร้สายช้าลงตามความหน่วงและตามสภาวะแวดล้อม และหากเกิด Network Down จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไล่ตรวจสอบ AP ทีละตัว ทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการดูแลระบบเครือข่ายไร้สาย นอกจากนี้ การใช้ Repeater จะทำให้การเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายทั้งหมดไปรวมอยู่ที่ Access Point ซึ่งต้อง Load งานหนัก และอาจจะพาลแฮงค์ไปทั้งระบบเลยก็ได้ การตั้งค่า AP ด้วย Repeater Mode จึงเหมาะสำหรับการแก้ไขระบบเครือข่ายที่ได้รับการออกแบบมาผิด เนื่องจากไม่ถูกสำรวจความต้องการใช้งานให้ดีก่อนที่จะสร้างระบบเครือข่าย หรือใช้สำหรับกระจายสัญญาณไปยังจุดอับสัญญาณจริงๆ เนื่องด้วยรูปแบบของสถานที่ใช้งาน เช่นตามซอกหลืบของอาคาร การใช้งาน Repeater Mode นั้นค่อนข้างจะเป็นการฝืนธรรมชาติของการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายแบบปกติชาวโลกใช้กัน จึงควรใช้สำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่าจะใช้เป็นทางเลือกหลักในการวางระบบเครือข่ายไร้สายที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุด

4. Bridge Mode (WDA: Wireless Distribution Architecture / WDS: Wireless Distribution System) สำหรับใน Mode นี้ AP จะทำหน้าที่เหมือนเป็นสะพาน เชื่อมระหว่างวงแลนเข้าหากัน จะเรียกง่ายๆ ก็คือ Bridge Mode ทำให้วงแลน 2 วง ที่ต่างคนต่างทำงานกันเป็นปกติอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่อเข้าหากันได้ และต่างก็สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ของอีกวงแลนหนึ่งได้ (แตกต่างจาก Client Mode ตรงนี้ Client Mode จะไม่สามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ไร้สายเครื่องอื่นๆ ได้ แต่ใน Bridge Mode นี้ทำได้) การเชื่อมต่อในลักษณะ Bridge Mode ทำได้ทั้งแบบ Point to Point (PtP) คือเชื่อมระหว่างวงแลน 2 วงเข้าด้วยกัน และการเชื่อมต่อแบบ Point to Multi-Point (PtMP) นั่นก็คือสามารถเชื่อมต่อวงแลนมากกว่า 2 วงแต่สูงสุดไม่ควรจะเกิน 7 Bridge เนื่องจาก จะทำให้การเชื่อมต่อช้าลงเนื่องจากความหน่วง (เช่นเดียวกันกัน Repeater Mode) ไม่ใช่ AP ทุกตัวที่จะสามารถทำงานได้ครบทั้ง 4 Mode ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเลือก AP ตัวใด ควรสอบถามจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ให้แน่ใจก่อนว่า AP ที่คุณซื้อนั้นสามารถใช้งานใน Mode ที่คุณต้องการได้ เพื่อให้การจ่ายเงินของคุณเกิดประโยชน์สูงสุด ที่สำคัญ AP ในแต่ละ Mode ล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป จะเลือกใช้ Mode ใด ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ และลักษณะของระบบเครือข่ายที่คุณต้องการ ดังนั้นก่อนที่จะสร้างระบบเครือข่าย สิ่งสำคัญคือต้องศึกษาความต้องการให้ดี เพื่อที่จะได้ออกแบบระบบเครือข่ายที่รองรับการทำงานของคุณอย่างแท้จริง
วิทยา กรวิทยาศิลป
IT Outsourcing Network Consultant / All Solution [Wire, Wireless]  Mobile: 086-3517107