ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่อง icd9 แบบ 5 หลัก  (อ่าน 7458 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ panomm

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 378
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เรื่อง icd9 แบบ 5 หลัก
« เมื่อ: ตุลาคม 26, 2007, 13:49:29 PM »
0
ขอความกระจ่าง เรื่อง icd9 แบบ 5 หลัก หน่อยครับ
ขอบคุณครับ
Mr.Phanomrung Tiumyos   Song Hospital  Tel 089-4335673   E-Mail panomm@hotmaill.com  >>>>   MSN panomm@hotmail.com 
---------------------------------------------------------------------
Server Xeon  HDD SCSI 2 TB.  Ram 8 GB. Centos 6.4  MySQL Percona-Server-server-55-5.5.33-rel31.1.566.rhel6.x86_64  Hosxp อัพเดท เรื่อยๆ   เริ่ม  1 มิ.ย.  2549 โดย อ.ชัยพร และ คุณไพรัช (คุณบอย) ใช้เต็มระบบ

ออฟไลน์ มดตานอย ครับ..

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,137
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่อง icd9 แบบ 5 หลัก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2007, 13:56:36 PM »
0
--------------------------------------------------------------------------------
อาจจะไม่ตรงประเด็น   icd9  ที่พูดถึงน่าจะเป็น  icd9-cm  ซึ่งเป็น รหัสผ่าตัดและหัตถการ  ส่วนรหัสโรคนั้นจะเป็น  icd10  ซึ่งบางท่านอาจจะสับสน   แล้วยังมี  icd10-tm  ซึ่งมีทั้งรหัสโรคและหัตถการ   ส่วนข้อแตกต่างระหว่าง icd10  กับ  icd10-tm  นั้นคือ  icd10-tm  จะมีรหัสโรคเพิ่มขึ้นและแยกย่อยเพิ่มขึ้นและรหัสผ่าตัดที่มีหลักถึง6-7 หลัก   ส่วน hosxp  นั้น  รหัสโรคได้เป็น  icd10-tm  ไปแล้วตั้งแต่  v.3.50.3.xx  (ไม่แน่ใจ)
แต่  รหัสผ่าตัด/หัตถการใน hosxp ยังคงเป็น   icd9-cm    ข้อสังเกตุ  ในการเบิกจ่ายชดเชยทางการแพทย์ ของ  บัตรทอง   ข้าราชการ ยังใช้  icd10  2006   และ  icd9-cm 2005  อยู่ครับ..... แต่   icd10  กับ  icd10-tm  ก็เหมือนๆกันแต่โรคเพิ่มขึ้นแยกย่อยขึ้น การจะนำข้อมูลรหัสโรคใน  hosxp  ทั้งหมด   มาใช้   เบิกอาจถูกปฎิเสธ/ตีกลับให้แก้ไข ได้ครับ       

   อ่านเพิ่มเติมครับ

ข้อแตกต่างระหว่างระบบรหัส ICD-10-TM กับระบบรหัส ICD-10 เดิม

ระบบรหัส ICD-10-TM เป็นระบบที่เกิดมาจากความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกระทรวงสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ราชวิทยาลัยแพทย์เฉพาะทาง แพทยสภา และทันตแพทยสภา ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแก้ไข ระบบรหัส ICD-10 เดิม ให้มีรายการโรคใหม่ๆที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย ทั้งนี้ การปรับระบบ ICD-10 ให้เป็น ICD-10-TM ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก ทำให้เป็นประเทศไทยเป็นประเทศที่ 4 ของโลกที่มีการปรับระบบ ICD-10 ให้เป็นระบบมาตรฐานของชาติ รองจากประเทศสหรัฐอเมริกา(ICD-10-CM) ออสเตรเลีย(ICD-10-AM) และ แคนาดา(ICD-10-CA)

การปรับระบบครั้งนี้ ทำให้รหัส ICD-10-TM มีปริมาณรหัสโรคมากกว่าระบบเดิมกว่า 5,000 รหัส รวมทั้งโรคที่พบบ่อยๆในประเทศไทยซึ่งแต่เดิมไม่มีรหัสใน ICD-10 ( เช่น Necrotizing fasciitis, Dengue shock syndrome, Premature labour pain ฯลฯ) นอกจากนั้น ยังมีการเปลี่ยนระบบรหัสผ่าตัดให้เป็นมาตรฐานใหม่ของไทย โดยมีรหัสผ่าตัดใหม่ๆเกิดขึ้นมาจากเดิมอีกกว่า 8,000 รหัส ทั้งนี้ รหัสใหม่ๆที่เกิดขึ้นมาเหล่านี้ สามารถนำมาใช้แจกแจงข้อมูลโรคและการผ่าตัดให้ละเอียดขึ้นกว่าเดิม เป็นประโยชน์ให้เกิดการใช้ข้อมูลเพื่อการวิจัย เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตรงความเป็นจริงมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2547 โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลรัฐอื่นๆและโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศไทยจะเริ่มทยอยเปลี่ยนระบบรหัสเข้าสู่ระบบของ ICD-10-TM คาดว่า ภายใน สิ้นปี พ.ศ. 2549 กระบวนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรหัสในประเทศไทยจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์

 

การเริ่มใช้ระบบ ICD-10-TM ในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง ประกอบไปด้วยการเปลี่ยนระบบงาน 3 ระบบดังนี้

ระบบการลงรหัสผู้ป่วย (ICD Coding)
ระบบการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์(ICD codeset in computer system)
ระบบการสรุปเวชระเบียนของแพทย์(Doctor discharge summary)
ทั้งนี้ การเปลี่ยนระบบงานอาจเลือกเปลี่ยนเพียง 2 รายการแรกก่อน หรือ อาจเปลี่ยนระบบทั้งหมดไปพร้อมๆกันก็ได้

1. การเปลี่ยนระบบการลงรหัสผู้ป่วย

ประกอบด้วย ขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติดังนี้

เลือกวันเวลาที่จะเริ่มเปลี่ยนระบบ เช่น กำหนดวันเริ่มต้นเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2547
เตรียมเครื่องมือมาตรฐานในการลงรหัส คือ หนังสือ ICD-10-TM 5 เล่ม(1 ชุด) ให้ครบทุกตำแหน่งที่มีการลงรหัสผู้ป่วย
ใช้รหัส ICD-10-TM ทันที เมื่อต้องลงรหัสผู้ป่วยนอกที่มาตรวจในวันเวลาที่กำหนด เช่นเดียวกับการลงรหัสผู้ป่วยในที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในวันเวลาที่กำหนด
2. การเปลี่ยนระบบการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ *

ประกอบ ด้วยขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติดังนี้

a. การเปลี่ยนตารางรหัส ICD ในระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ให้ใช้ฐานข้อมูลรหัสโรค และ

รหัส ผ่าตัด ที่ได้รับจากการลงทะเบียนรับฐานข้อมูลมาใช้แทนตารางรหัสเดิมในระบบ

b. เปลี่ยนหน้าจอโปรแกรมที่ใช้ในการบันทึกรหัสให้สามารถรับรหัสโรคได้ 5 ช่องอักขระ และรับ

ข้อมูลรหัสผ่าตัดได้ 7 ช่องอักขระ

c. การส่งข้อมูลให้หน่วยงานภายนอกที่ต้องการรหัสแบบเก่า ให้ใช้ตารางเทียบรหัสเก่าเป็นหลัก

* ควรให้โปรแกรมเมอร์ หรือ เจ้าหน้าที่ระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลเป็นผู้ดำเนินการ

3. การปรับระบบการสรุปเวชระเบียนของแพทย์

ประกอบด้วยขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติดังนี้

a. กำหนดวันเวลาที่จะเริ่มเปลี่ยนระบบ

b. เตรียมแบบฟอร์มการสรุป Chart รูปแบบใหม่ โดยเป็นแบบฟอร์มที่กำหนดให้แพทย์ ระบุโรค

และการทำผ่าตัดต่างๆดังนี้

Main condition
Co-morbidity(s)
Complication(s)
Other diagnosis
External cause of injury or poisoning
Main operation/procedure for main condition
Main operation/procedure for co-morbidity or complication
Other operation/procedures
c. ชี้แจงวิธีการกรอกแบบฟอร์ม และการเก็บข้อมูลให้กับแพทย์ทุกคนในองค์กรแพทย์เพื่อปฏิบัติ

d. กำหนดวิธีการตรวจสอบและปรับปรุงระบบข้อมูลจาก Discharge summary

e. กำหนดระบบการกำกับควบคุมคุณภาพ Discharge summary audit และดำเนินการตามวง

Nakhonphanom Hospital

MR.Tanoy999 ผู้ใช้งานทั่วไป
tanoy999-at-gmail-dot-com
เริ่ม  1 ตุลาคม 2549  โดย  BMS

ออฟไลน์ มดตานอย ครับ..

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,137
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เรื่อง icd9 แบบ 5 หลัก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2007, 14:00:55 PM »
0
แต่ถ้ารหัสโรค  icd ที่มี 5 หลัก  นั้น  ในส่วนของ  External  cause จะมีครับ    หลักที่ 4 จะเป็นสถานที่   หลักที่ 5 จะเป็นกิจกรรม  ยกเว้นอุบัติเหตุจราจรและขนส่ง......

Nakhonphanom Hospital

MR.Tanoy999 ผู้ใช้งานทั่วไป
tanoy999-at-gmail-dot-com
เริ่ม  1 ตุลาคม 2549  โดย  BMS