ขอสอบถามแนวทางของ ห้องยา หน่อยครับ ว่าแต่ละที่มีแนวทางหรือวิธีการอย่างไรบ้างครับ
1. กรณีคนไข้มารับบริการ แล้วพอหมอตรวจเสร็จก็สั่งยา ชื่อก็จะมาที่ห้องยา พอเรียกชื่อแล้วไม่มารับยา
พอตกเย็นก็ยังไม่มารับ เจ้าหน้าที่ห้องยาเลยคีย์จำนวนยาเป็น 0 แล้วส่งชื่อกลับบ้าน
2. กรณีคนไข้มารับบริการ แล้วหมอสั่งยา แต่คนไข้มียาเดิมเหลือ หรือครั้งนี้อาจไม่ได้สั่งยาตัวเดิมทุกตัว
แต่ก็จะคีย์ยามาเหมือนเดิมกับครั้งที่แล้ว ส่วนยาที่ไม่ได้จ่ายให้จริงๆ ในครั้งนี้ก็จะใส่จำนวนเป็น 0
เพื่อที่หมอลืมสั่งยาในครั้งต่อไป
3. PCEC วัคซีนกันพิษสุนัขบ้า สมมุติ เด็กชาย A โดนหมานาย B กัด แล้วพากันมาโรงพยาบาลในวันนั้น
นาย B ก็จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด รวมทั้ง วัคซีนทั้ง 3 เข็ม ในครั้งนี้เลย เพราะเด็กชาย A เกรงว่า
นาย B จะไม่จ่ายวัคซีนในเข็มต่อๆไป เลยให้จ่ายใว้เลย แล้วในครั้งต่อไปที่เด็กชาย A มาฉีดวัคซีนเขาก็
ลงจำนวนเป็น 0
ที่อื่นมีแนวทางยังไงบ้างครับ คือแฟ้ม DRUG มัน ERROR จำนวนเป็น 0
1. กรณีคนไข้มารับบริการ แล้วพอหมอตรวจเสร็จก็สั่งยา ชื่อก็จะมาที่ห้องยา พอเรียกชื่อแล้วไม่มารับยา
พอตกเย็นก็ยังไม่มารับ เจ้าหน้าที่ห้องยาเลยคีย์จำนวนยาเป็น 0 แล้วส่งชื่อกลับบ้าน
ตอบ กรณีคนไข้ไม่มารับยา ควรลบรายการยาทิ้งครับ ไม่ควรใส่จำนวนเป็น 0 เพราะประวัติการรับบริการครั้งต่อไปจะแสดงรายชื่อยาที่ได้รับ ซึ่งบางครั้งแพทย์ที่ตรวจอาจจะไม่ได้ดูตรงจำนวน เห็นแต่รายการยา ก็จะเป็นข้อมูลประวัติที่ผิดพลาดได้ครับว่าตกลงได้รับยาไปแล้ว แต่ จนท.ลงรายการเป็น 0 หรือไม่ได้รับยา ซึ่งจริงๆควรตรวจสอบและหากมีข้อมูลชี้ชัดว่าคนไข้ไม่รอตรวจก็ควรลบ visit หรือมีแนวทางจัดการข้อมูลในลักษณะนี้ให้เรียบร้อยครับ
2. กรณีคนไข้มารับบริการ แล้วหมอสั่งยา แต่คนไข้มียาเดิมเหลือ หรือครั้งนี้อาจไม่ได้สั่งยาตัวเดิมทุกตัว
แต่ก็จะคีย์ยามาเหมือนเดิมกับครั้งที่แล้ว ส่วนยาที่ไม่ได้จ่ายให้จริงๆ ในครั้งนี้ก็จะใส่จำนวนเป็น 0
เพื่อที่หมอลืมสั่งยาในครั้งต่อไป
ตอบ โดยหลักการประวัติการรักษามีไว้เพือเป็นข้อมูลการเข้ารับบริการของผู้ป่วยเพื่อช่วยในการพิจารณาตรวจรักษาของแพทย์ การลงข้อมูลประวัติยา หรือข้อมูลอื่นๆ ควรเป็นไปตามที่ให้บริการจริงนะครับ ยาตัวไหนจ่ายก็ควรลงข้อมูลให้ครบ ตัวไหนไม่ได้จ่าย ก็ไม่ควรลงครับ เราลองนึกถึงระบบแมนนวลนะครับ ถ้าสมมุตว่าหมอไม่ได้คีย์ยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หมอก็คงไม่เขียนยาที่ไม่ได้จ่ายจริงเอาไว้เพื่อกันลืมสั่งยาในครั้งต่อไปใช่ไหม๊ครับ
3. PCEC วัคซีนกันพิษสุนัขบ้า สมมุติ เด็กชาย A โดนหมานาย B กัด แล้วพากันมาโรงพยาบาลในวันนั้น
นาย B ก็จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด รวมทั้ง วัคซีนทั้ง 3 เข็ม ในครั้งนี้เลย เพราะเด็กชาย A เกรงว่า
นาย B จะไม่จ่ายวัคซีนในเข็มต่อๆไป เลยให้จ่ายใว้เลย แล้วในครั้งต่อไปที่เด็กชาย A มาฉีดวัคซีนเขาก็
ลงจำนวนเป็น 0
ตอบ ในทางปฏิบัติระบบการเงินจะต้องรับตามการที่ให้บริการจริงครับ เช่น ฉีดยาค่าบริการครั้งนี้ 200 บาท แล้วไปเก็บ 600 บาท ล่วงหน้า ถามว่าเก็บจากค่าอะไรครับ ซึ่งมันจะตอบคำถามของระบบบัญชีไม่ได้ ทางออกที่พอเป็นไปได้คือ อย่างแรก ทำระบบค้างชำระไว้ครับ ,อย่างที่สอง ก็ให้เจ้าของหมานาย B จ่ายสดทั้งหมดให้กับเด็กชาย A ไว้เลย เพราะยังไงเด็กชาย A ก็ต้องมาฉีดยาอยู่แล้วค่อยนำมาจ่ายเป็นครั้งๆ หรืออีกวิธีคือ การรับฝากเงิน แต่ก็จะเพิ่มงานให้กับเจ้าหน้าที่ ต้องมาทำระบบรับฝาก ฯลฯ โดยสรุปแล้วถ้ากลัวเจ้าของหมาจะไม่จ่ายในครั้งต่อไป ก็ให้จ่ายครั้งแต่เดียว แต่จ่ายกับเด็กที่โดนกัด แล้วเวลาเด็กมาฉีดเราก็เก็บกับเด็กเป็นครั้งๆ ไป