ผู้เขียน หัวข้อ: ปั่นจักรยาน 1 ชั่วโมงได้อะไรบ้าง  (อ่าน 68798 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ กรรมกรไอที

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 584
  • เมื่อเทคโนโลยีคือลมหายใจของเรา
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
ปั่นจักรยาน 1 ชั่วโมงได้อะไรบ้าง
« เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2010, 23:37:00 PM »
0
พอดีไปเจอจากเว็บ thaimtb.com น่าสนใจครับ เลยหยิบมาฝาก

ขี่จักรยานบางคนถามว่าไม่เห็นจะได้อะไรเลย เหนื่อยก็เหนื่อย แดดก็ร้อน จักรยานก็แพง ชุดก็แพง
เสียเวลา เอาเวลาไปทำงานดีกว่า ทำงานเหนี่อยก็ได้ออกกำลังเหมือนกัน บางคนสุขภาพก็ไม่ค่อยดี
ชวนให้ขี่จักรยาน กลับบบอกว่าไม่มีเวลาอ้างสารพัดเหตุผลที่จะไม่ทำ ทั้งที่ทุกอย่างที่ว่ามาทำเพื่อตัวเอง
เวลาไปหาหมอ หมอนัด 9 โมงเช้าไปตั้งแต่ 7โมง ตรวจเสร้จกว่าจะได้กลับบ้านก็หมดไปเกือบวัน
แบบนี้มีเวลาครับ คนอะไรไม่รักตัวเอง คอยจะพึ่งแต่คนอื่น เราต้องพึ่งตัวเองก่อน ช่วยเหลีอตัวเอง
ก่อนถ้าไม่ไหวจริงๆ ค่อยพึ่งหมอ พึ่งโรงพยาบาล แต่ต้องสำนึกว่าต้องพึ่งพาตนเองก่อนครับ

ลองมาดูขี่จักรยานแค่1 ชม เราได้อะไรบ้าง มาดูครับ ว่าคุ้มไหมกับการเสียเวลา1ชม
ถ้าไม่คุ้มจะได้ตัดใจไม่ขี่เสียเลยครับ เริ่มต้นพิจารณาเลยครับ
-เมื่อนั่งอยู๋บนอาน กล้ามเนื้อขาทุกส่วนได้ออกกำลัง และได้สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อครับ
แขนจับที่แฮนด์กล้ามเนื้อแขนและไหล่ รวมทั้งกล้ามเนื้อที่ยึดสันหลังได้ทำงานเคลื่อนไหวตลอดเวลาครับ
คอและตาได้เคลื่อนไหวร่วมกันได้บริหารทั้งสองส่วน ระบบการทรงตัวต้องทำงานตลอดเวลาจึงได้
บริหารระบบการทรงตัวไปโดยอัตโนมัตครับ ถ้าระบบการทรงตัวไม่ดีขี่จักรยานไม่ได้ครับ เท่ากับ
เราได้ตรวจสอบระบบการทรงตัวของเราครับ
- ปอดทำงานมาก ปอดก็แข็งแรง เมื่อหายใจมาก การแลกเปลี่ยนออกซิเจนกับเลือดมากขึ้น
ทำให้ร่างกายไม่เป็นกรด เพราะเมื่อเลือดเป็นกรดเราจะป่วยครับ
-หัวใจทำงานมากขึ้น เท่ากับเราได้บริหารหัวใจให้แข็งแรงครับ แล้วยังได้สูบฉีดเลือดอย่างรวดเร็ว
ทำให้หลอดเลือดแข็งแรงครับ
-การสูญเสียพลังงาน ในรูปของไกลโครเจน ทำให้เราได้เผาผลาญไขมันครับ นี่แหละคือเหตุผลที่ทำ
ให้ไขมันในหลอดเลือดลดน้อยลงครับ และยังสูญเสียคาร์โบไฮเดรตในรูปของน้ำตาล ก็เลย
ทำให้น้ำตาลในเส้นเลือดน้อยลงครับ ถ้าท่านป่วยเป็นเบาหวานการกินยาก็ลดน้อยลง
หรือบางท่านแทบไม่ต้องกินยาเลยครับ
-เมื่อเราสูญเสียพลังงาน ร่างกายก็ต้องผลิตขึ้นมาทดแทน โดยผ่านการดูดซึมจากกระเพาะอาหาร
และลำใส้เล็ก เพราะฉะนั้นกระเพาะอาหร และลำไส้ก็แข็งแรงขึ้นครับ
-เมื่อขี่จักรยานแล้วเกิดการระบายความร้อนผ่านทางเหงื่อ ทำให้ได้ขับของเสียผ่านรูขุมขน
ทำให้ภายในร่างกายเราสะอาตขึ้นครับ
-การขี่จักรยานทำให้ข้อต่อ กระดูก เส้นเอ็นได้เคลื่อนไหวครับ
-ขี่จักรยาน ไม่เกินโซน2 ก็คีอประมาณวิ่งมาราธอน เกิน 50 นาที ทำให้เกิดการหลั่งของ แอนโดฟิน
ชึ่งช่วยซ่อมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และทำให้สดชื่นครับ
-ได้รับแสงแดดในตอนเช้า และ ได้บริหารระบบหายใจ ทำให้นักขี่จักรยานไม่เป็นหวัด
หรือถ้าเป็นหวัดก็หายเลยครับ ภูมิแพ้ก็หายเช่นเดียวกันครับ
-ขี่จักรยานทำให้สมาธิดีครับ
-ขี่จักรยานทำให้รู้สึกคำว่า พอเพียง เพราะขณะปั่นจักรยานเราต้องบริหารแรงที่มีอยู่
พอรู้สึกหิว ก็มองหาของกิน ปั่นไป่เรื่อยๆ ไม่เจอร้านของกินสักที หิวก็หิว
ปั่นต่อไปอีก ก็ยิ่งหิว แรงก็หมด สิ่งที่อยากได้เวลานั้นมีอย่างเดียว คีออาหารครับ
ความพอเพียงเกิดเลยครับ เพราะคนเราที่จริงมันก็แค่นี้จริงๆครับ

ยังมีต่ออีกเยอะครับ


แต่ต้องขี่ภายใต้กฎเกณฑ์ นี้เท่านั้นครับ

ผมขอเตือนนักขี่จักรยานทางไกลทั้งต่อเนื่องติดด่อกันหลายวันหรือวันเดียวก็ตามหรือ
เพื่อออกกำลังกายเพื่อสุขภาพครับ

-ข้อแรกสำคัญที่สุด อย่าผลักดันตัวเอง ตามคนที่มีความสามารถสูงกว่าโดยเด็ดขาด
-ข้อสองเดินทางเป็นกลุ่มเอาคนที่มีความสามารถน้อยสุดมาเป็นตัวตั้ง คือเป็นตัวมาตรฐานการเดินทางครับ
-ข้อสามประชุมหารือกันก่อนออกเดินทาง ให้ทุกคนยอมรับวิธีการตามข้อสองให้ได้
-ข้อสี่ควบคุมการขี่ให้อยู่ไม่ให้เกินโซน2ของการออกกำลังกายคือประมาณ65-75%ของความสามารถสูงสุด
ของคนที่มีความสามารถน้อยที่สุดขณะนั้นครับ
-ข้อห้าห้ามขี่แบบบ้าพลังอัดแข่งกันไปเหนื่อยแล้วพัก หายเหนื่อยแล้วขี่ต่อครับ ซึ่งมีข้อเสียอย่างมากมาย
วิธีนี้ไม่สามารถนำมาขี่ทางไกลได้ครับ แม้แต่ แล้มป์ แชมป์3 สมัยก็ไม่ใช้วิธีขี่แบบนี้ครับ
-ถ้าใช้วิธีตามข้อห้า ผลเสียคือ
1. การหลั่งของกรดแลคติคอย่างรวดเร็วเพราะเข้าสู่โซนอแนโรบิค กรดนี้มีผลทำลายกล้ามเนื้อ
มีอาการดังนี้คือหลังจากหยุดพักแล้วขี่ต่อ จะปวดล้ากล้ามเนื้อทั้งๆที่มีแรงขี่ต่อ กรดนี้ร่างกายสร้าง
เป็นอัตโนมัตืเพื่อหยุดให้เราทรมานร่างกายอีกต่อไป คือคูณต้องหยุดขี่นั่นเอง
2.กรดนี้จะสะสมอยู่ในร่างกายอีก 2-3 วันซึ่งจะมีผลกับการขี่วันต่อไป ถ้ายังใช้การขี่แบบนี้อยู่
กรดก็จะหลั่งสะสมเพื่มอีก ถ้าไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการขี่ ท่านก็จะมีอาการจมกรดในที่สุดครับ
3. เสี่บงต่อการทำงานของหัวใจอยู่ใน MAX HR บ่อยเกินไป หัวใจก็โต ผลเสียเฉียบพลัน
ต่อหัวใจอีกมากมาย
4. การใช้พลังงานไม่สมดุล เพราะโซนนี้เป็นโซนอแนโรบิคซึ่งใช้พลังงานจากคารโบไฮเดรต80-90%
ที่เหลือเป็นไขมัน เมี่อเชื้อเพลิงจากคาร์โบไฮเดรตหมดเราก็ล้าและหมดแรงในที่สุด
ทำให้ขาดความทนทาน ระยะทางการขี่ต่อวันจะน้อยลงไปเรื่อยๆ
แต่ถ้าใช้การขี่โซน2ซึ่งเป็นโซนแอโรบิคร่างกายจะใช้พลังงาน ไขมัน/คาร์โบไฮเดรต 50/50 โดยประมาณ
ซึ่งทำให้การเผาผลาญหมดจด และสมดุล ทำให้ขี่ได้ทนทานและได้ระยะทางต่อวันมาก
และร่างกายไม่เสียหายครับ
5. การหลั่งอะดีนาลีน ทำให้ร่างกายทรุดโทรม แก่ หง่อม
6. เกิดการสูญเสียน้ำอย่างรุนแรง และสูญเสียเกลือแร่มากับเหงื่อซึ่งเหงื่อมีหน้าที่ระบายความร้อน
- ข้อหก ก่อนออกเดินทางดื่มน้ำให้เพียงพอ แล้วดื่มน้ำแบบจิบทุกๆ20นาที
อย่ารอจนกระหายน้ำ ถ้ามีอาการกระหายน้ำแสดงว่าร่างกายเราขาดน้ำแล้วครับ
ข้อระวังการขาดน้ำอย่างรุนแรง จะมีอาการ ดังนี้คือเมื่อหยุดพักเหงื่อจะออกอย่างมาก
จนโชกตัว ตัวจะเย็นอาจเกิดการช์อคหมคสติได้ครับ วัธีแก้ไขคือ นอนราบ สักพักแล้วดื่มน้ำ
อีกสักพักค่อยดื่มเกลือแร่ตาม นอนจนดีชึ้น แล้วไปพักผ่อนต่อ โดยหยุดขี่ต่อทันทีครับ
อาการที่ว่านี้ภาษาออกกำลังกายเรียกว่า เกิดอาการ BONK ครับ
ขี่แล้ววูบ ขี่แล้วหน้ามืด เป็นลม สาเหตุส่วนมากเกิดจากอาการนี้ทั้งนั้นครับ
@ ถ้าขาดน้ำแต่ไม่มากจะปวดหัวครับแล้วปวดมากด้วย แบบนี้เรียกว่า BURN ครับ บางท่าน
เข้าใจผิดนึกว่าความดันขึ้น ตกใจไปกันใหญ่ครับ

หนึ่งในความรู้ที่นักจักรยานควรรู้ จากชมรมจักรยานทางไกลนครปฐม
 

ออฟไลน์ Svl2Nuk3

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 793
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปั่นจักรยาน 1 ชั่วโมงได้อะไรบ้าง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2010, 09:37:33 AM »
0
ขอบคุณมากครับ 

มาปั่นจักรยานกันเยอะ ๆ นะครับ  ;D



I'm nuke (นุ๊ก)
My Blog  : http://www.codenuke.net
อดีต นวก.คอมฯ รพช.พรหมพิราม => 1 พ.ค. 52 - 30 ก.ย. 54
ปัจจุบัน : Software Engineer บริษัทแห่งหนึ่ง