บังคับปิดโปรแกรมที่ไม่ตอบสนองตอนชัตดาวน์
ผู้ใช้หลายท่านอาจจะเคยมีประสบการณ์ที่ว่า ในขณะชัตดาวน์ Windows XP ปรากฏว่ามีไดอะล็อกบ๊อกซ์แจ้งข้อความผิดพลาด “This Program has stopped Responding” (โปรแกรมไม่ตอบสนองการทำงานแล้ว) พร้อมกับคำถามที่ชวนให้ผู้ใช้มึนตึ๊บที่ว่า ต้องการให้จัดการอย่างไรกับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น นั่นสินะ จะรู้ไหมเนี่ย วินทิปวันนี้ขอแนะนำเทคนิคที่เรียกว่า “บังคับปิดโปรแกรม” (Forced Exit) เพื่อไม่ให้มีการแจ้งข้อความประหลาดๆ อีก โดยการบังคับให้ระบบปฏิบัติการปิดการทำงานของโปรแกรมที่มีปัญหาดังกล่าวให้ ทันทีโดยอัตโนมัติ
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขให้ระบบปฎิบัติการบังคับปิดโปรแกรมที่ไม่ตอบสนองการทำงานในลักษณะ นี้อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายทีเดียวนัก แถมยังต้องทำด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังอีกด้วย เนื่องจากมันจะต้องมีการเข้าไปแก้ไขในรีจิสทรี (Registry) ด้วยนั่นเอง ถ้าไม่มั่นใจ ขอให้ชักชวนเพื่อนผู้รู้มาช่วยแนะนำ หรือช่วยแก้ไขให้จะปลอดภัยกว่า แต่ถ้าคุณรู้จักการกำหนด Restore Point ใน System Restore (ยูทิลิตี้เรียกคืนระบบหลังการแก้ไข) หรือรู้จักวิธีทำสำรอง (Back up) รีจิสทรี ก็อาจจะลองเสี่ยงทำดูได้ครับ ถ้าพร้อมแล้ว เราไปลุยกันเลย
กดปุ่ม Windows + R (หรือคลิกปุ่ม Start เลือก Run) เพื่อเปิดไดอะล็อกบ๊อกซ์ Run แล้วพิมพ์คำสั่ง regedit แล้วคลิกปุ่ม OK เมื่อหน้าต่างโปรแกรม Registry Editor เปิดขึ้นมา ในกรอบทางซ้ายมือให้คุณคลิกเข้าไปที่
HKEY_USERS\Default\Control Panel\Desktop
คลิ กเลือกรายการที่ชื่อว่า Desktop ในกรอบหน้าต่างทางด้านซ้ายมือ จากนั้นมองหารายการที่ชื่อว่า “AutoEndTasks” ในกรอบหน้าต่างขวามือ ดับเบิ้ลคลิกบนรายกานี้ แล้วเปลี่ยนค่า Value Data จาก 0 เป็น 1 เสร็จแล้วปิดหน้าต่างโปรแกรม Registry Editor แล้วบู๊ตเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นใหม่ (หากพบว่า หลังจากแก้ไขแล้วWindows XP มีปัญหา คุณก็สามารถแก้กลับไปเหมือนเดิมได้ด้วยการเปลี่ยนค่าของ AutoEndTask ให้กลับไปเป็น 0 เหมือนเดิมครับ)
นอกจากนี้ ภายในคีย์เดียวกันที่ในกรอบหน้าต่างขวามือ คุณยังจะพบรายการที่ชื่อว่า “WaitToKillApp” ซึ่งจะทำหน้าที่กำหนดว่า Windows จะรอนานแค่ไหนก่อนที่จะประกาศว่า มีโปรแกรมที่ไม่ตอบสนองการทำงาน โดยค่าเวลาที่กำหนดจะมีหน่วยเป็นมิลลิวินาที (ที่ดีฟอลต์จะเป็น 2000 หรือ 20 วินาที) คุณสามารถเปลี่ยนค่ากำหนดตรงนี้ให้น้อยลง เพื่อให้การชัตดาวน์เร็วขึ้นได้อีกด้วย ลองไปทำกันดูนะครับ