แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - itnet

หน้า: [1]
1
ลืมถามอาจารย์ว่า  Inventory - 0.4 Beta สามารถโอนสินค้ากันระหว่างคลังย่อยได้ไหม

2
ผมทดลองใช้งาน Inventory - 0.4 Beta แล้ว มีในส่วนที่ผมติดขัดตรงที่
อยากให้อาจารย์ช่วยเพิ่ม .00 .000000 เพราะถ้าจะให้ตรงกับใบสั่งซื้อหรือรับ
ของจุดทศนิยม แค่สองตำแหน่ง ไม่เพียงพอ ในการทำงานเพราะราคาต่อหน่อย
จะย่อยเยอะกว่าสองตำแหน่ง

ไม่รู้ว่าที่อื่นมีปัญหาตรงนี้ไหมครับ
เพราะตอนนี้ที่ทำอยู่ต้องไปแก้ตัวเลขที่ฐานข้อมูลถึงจะตรงครับ
มันเกียวข้องกับการเงินถ้าไม่ตรงก็ลำบากนะครับยังงัยรบกวนอาจารย์ช่วยเนาะนำหน่อยครับ




3
อยากให้อาจารย์เพิ่มหัวข้อเกียวกับ  heardware อีกขัวข้อจังจะได้ช่วยโพสบทความครับ
เพราะปัญหาเกียวกับ hardware ก็เยอะเหมือนกันนะครับ

4
หวังว่าคงได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ
ถ้าใครสงสัยเกียวกับงาน hardware ก็โพสถามได้นะครับเช่น

- ซ่อม Mainboard
- ซ่อม HD
- หรืออุปกรณ์ต่างๆเกียวกับคอมพิวเตอร์ถ้ารู้ก็จะช่วยตอบครับ

5
1. ถาม เราสามารถใช้ปลั๊กตัวผู้ (Plug) ที่ใช้กับสาย Cat5 หรือ Cat5e กับสาย Cat6 ได้หรือไม่ ?
 ตอบ ระบบ Cat6 เป็นระบบที่ทดสอบความถี่ที่สูงถึง 250 MHz ซึ่งสูงกว่า Cat5 หรือ Cat5e มากกว่า 2 เท่า ดังนั้นหากต้องการให้ระบบสายสัญญาณที่ติดตั้งด้วยสาย Cat6 มีประสิทธิภาพตามเกณท์มาตรฐานระบบจริงๆจำเป็นต้องใช้ปลั๊กที่ออกแบบสำหรับ Cat6 โดยเฉพาะเท่านั้น 
 
2. ถาม จะติดตั้งตัวหรือประกอบปลั๊ก Cat6 เมื่อไร ?
 ตอบ โดยทั่วไปรูปแบบระบบสายสัญญาณที่ติดตั้งใช้อยู่ทั่วไป สามารถติดตั้งโดยที่ช่างไม่จำเป็นต้องติดตั้งประกอบปลั๊กตัวผู้เลย
จากรูปที่ 1 โครงสร้างระบบสายสัญญาณประกอบด้วยอุปกรณ์ 4 ประเภท

A = สายสัญญาณ
B = แผงกระจายสาย (Patch panel)
C = แจ็คตัวเมีย (Modular jack)
D = สายสำเร็จรูป (Cable assembly ที่ทำหน้าที่เป็นสาย Patch cord และ สาย Drop cord

เวลาติดตั้ง ช่างเพียงแต่ประกอบหรือติดตั้งแผงกระจายสายและแจ็คตัวเมียด้วยเครื่องมือตอกสาย (Impact tool) เท่านั้น ดูรูปที่ 2

ส่วนสาย Patch cord และสาย Drop cord ที่มีส่วนประกอบของปลั๊กตัวผู้ สามารถหาซึ้อแบบสำเร็จรูปจากโรงงานได้โดยช่างไม่ต้องประกอบปลั๊กตัวผู้เอง

ข้อดีของสายสำเร็จรูปจากโรงงาน (Cable assembly)

ประสิทธิภาพของสาย Patch cord ได้มาตรฐานระดับ Cat6 แน่นอนเพราะประกอบด้วยเครื่องจักรและผ่านการทดสอบจากโรงงาน
สายสัญญาณเป็นสายอ่อน (Stranded wire) จึงมีความยืดหยุ่นมากกว่าสายเข็ง (Solid wire) ที่ใช้ลากติดตั้งอยู่ทั่วไป จึงเหมาะแก่การใช้งานโดยเฉพาะในตู้แร็ค
มีสีให้เลือกหลายสี ซึ่งง่ายต่อการจัดการเช่นแบ่งเป็นกลุ่มแต่ละแผนกหรือแบ่งตามแอพปลิเคชั่นที่ใช้งาน
ไม่ต้องเสียเวลาประกอบหรือเข้าปลั๊กตัวผู้เอง ถ้าคิดค่าแรงและโอกาสที่เกิดความผิดพลาดในการประกอบอาจจะแพงกว่าซึ้อสายสำเร็จรูป เนื่องจากสายเข็งของ Cat6 มีขนาดใหญ่กว่าสายแข็งของ Cat5 หรือ Cat5e และตีเกลียวถี่กว่ามาก ดังนั้นจะต้องใช้เวลาในการประกอบมากกว่า รวมทั้งประสิทธิภาพไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของช่างที่ประกอบ
 
3. ถาม ถ้าเช่นนั้นจะมีกรณีไหนบ้างที่ช่างต้องประกอบปลั๊กตัวผู้ Cat6 ?
 ตอบ มีบางกรณีที่จำเป็นต้องประกอบปลั๊กตัวผู้ Cat6 เช่นกรณีต้องการสาย Patch cord ที่มีระยะของสายไม่ตรงกับที่มีจำหน่ายทั่วไปในตลาดอย่างอย่างเร่งด่วน (ระยะสายที่หาได้ง่ายในตลาดคือ 1, 2 หรือ 3 เมตร) และกรณีที่องค์กรของผู้ใช้ระบบ LAN มีจำนวนไม่มาก ทำให้เลือกใช้โครงสร้างระบบสายสัญญาณที่ไม่มีการใช้แผงกระจายสาย และแจ็คตัวเมีย ดูรูปที่ 3 ระบบสายสัญญาณที่ไม่ได้ใช้แผงกระจายสาย
จากรูปที่ 3 ที่จุด A ระบบสายสัญญาณไม่มีการใช้แผงกระจายสาย จึงต้องประกอบปลั๊กตัวผู้เข้ากับสายแข็งที่ลากติดตั้งและกรณีที่ผู้ใช้ไม่ติดตั้งทั้งแผงกระจายสายและแจ็คตัวเมีย ดูรูปที่ 4
 
 
4. ถาม ถ้าต้องการประกอบปลั๊กตัวผู้ Cat6 จะต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออะไรบ้าง ?
 ตอบ ก. ปลั๊กตัวผู้ Cat6 ของ AMP NETCONNECT ที่ใช้กับสายแข็งหรือ Solid Wire คือ Part Number 5-1479185-3 ซึ่ง Part number นี้มีชิ้นส่วนทั้งหมด 3 ชิ้น ดูรูปที่ 5 คือ
ปลั๊ก 8 ขา
ตัวจับสาย
ปลอกเหล็ก
ข. เครื่องมือประกอบปลั๊กตัวผู้ Part number 0-0790163-5 ซึ่งเป็น Part number ที่รวมทั้งคีมและหัว Die แล้ว ดูรูปที่ 6

หมายเหตุ : ถ้าผู้ใช้มีคีมอยู่แล้ว ต้องการซื้อเฉพาะหัว Die ต่างหาก Part number ของหัว Die คือ 0-0790163-6
 
 
5. ถาม วิธีการประกอบปลั๊กตัวผู้ Cat6 ทำอย่างไร ?
 ตอบ ขั้นตอนประกอบปลั๊กตัวผู้ ทำตามขั้นตอนดังนี้
ใส่ปลอกเหล็กเข้ากับสาย Cat6 ดูรูปที่ 7 หากต้องการใส่บูทให้ใส่บูทก่อนการใส่ปลอกเหล็ก (ดูหมายเหตุด้านล่างสุดหากใส่บูทไม่เข้า)
ปลอกเปลือกของสายยาวประมาณ 1.25 นิ้ว และตัดสาย Rip cord ทิ้ง ดูรูปที่ 7
ตัด Filler ออกโดยให้ชิดกับปลายเปลือก ดูรูปที่ 8
คลายเกลียวสามคู่สายโดยเรียงสีตามลำดับดังนี้
1. ขาว/ส้ม
2. ส้ม
3. น้ำเงิน
4. ขาว/น้ำเงิน
5. ขาว/น้ำตาล
6. น้ำตาล
ส่วนคู่ขาว/เขียวและเขียว ยังไม่ต้องคลายเกลียว ดูรูปที่ 9

หมายเหตุ :

เนื่องจากมาตรฐาน TIA/EIA มีรหัสสี 2 แบบ คือ T568A และ T568B จากขั้นตอนที่ 4 จะแสดงเฉพาะการประกอบตามรหัสสีแบบ T568B
ถ้าผู้ใดต้องการประกอบตามรหัสสีแบบ T568A ให้สลับตำแหน่งสองคู่สายทองแดง คู่แรกเปลี่ยนระหว่างสีขาว/ส้ม กับ สีขาว/เขียว และคู่ที่สองเปลี่ยนระหว่างสีส้มกับ สีเขียว
ประสิทธิภาพของการประกอบสายไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของรหัสสี ทั้งสองรหัสสีได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานเท่าเทียมกัน 
ตัดปลายสายทั้ง 6 เส้นโดยให้มีมุมเฉียงประมาณ 15-45 องศา ดูรูปที่ 10
นำสายทั้ง 6 เส้น ไปสอดในร่องของตัวจับสาย ตัวจับสายมีร่องทั้งหมด 3 ร่อง
ร่องที่หนึ่ง ใส่คู่ ขาว/ส้ม และ ส้ม
ร่องที่สอง ใส่คู่ น้ำเงิน และ ขาว/น้ำเงิน
ร่องที่สาม ใส่คู่ ขาว/น้ำตาล และ น้ำตาล ดูรูปที่ 11

คลายเกลียวคู่สาย ขาว/เขียว และ เขียว และนำไปวางบนร่องบนของตัวจับสาย โดยเรียงลำดับสีตามมาตรฐาน T568B ดังต่อไปนี้
1. ขาว/ส้ม
2. ส้ม
3. ขาว/เขียว
4. น้ำเงิน
5. ขาว/น้ำเงิน
6. เขียว
7. ขาว/น้ำตาล
8. น้ำตาล
และเลื่อนตัวจับสายให้ชิดขอบเปลือกให้มากที่สุด ดูรูปที่ 12
หมายเหตุ : พยายามรักษาเกลียวสุดท้ายให้อยู่ในจุดที่กำหนด ตามรูปที่ 12

ตัดปลายสายทั้ง 8 เส้นให้ชิดขอบของตัวจับสาย ดูรูปที่ 13
ตรวจเช็คอีกครั้งว่าลำดับรหัสสียังตรงกับขั้นตอนที่ 7 จากนั้นนำตัวจับสายสอดเข้ากับปลั๊ก 8 ขา ดูรูปที่ 14
ตรวจเช็คว่าสายทั้ง 8 เส้นถูกสอดจนสุดร่องปลั๊กและลำดับสีถูกต้อง ดูรูปที่ 15
เลื่อนปลอกเหล็กขึ้นไปคลอบตัวจับสายจนถึงขอบปลั๊ก ดูรูปที่ 16
วางปลั๊กตัวผู้ในร่องของคีม ตรวจเช็คให้ขาของปลั๊กตรงกับซี่ฟันของคีม ดูรูปที่ 17
บีบคีมจนสุด คีมจะคลายตัวอัตโนมัติ ตรวจเช็คสภาพปลั๊กหลังการบีบ ดูรูปที่ 18
หมายเหตุ : สำหรับผู้ที่ต้องการใช้บูท (Boot) คู่กับปลั๊กตัวผู้ Cat6 จะต้องเตรียมบูทก่อนใช้งาน เนื่องจากบูท Part Number 0-0272354-x ที่จำหน่ายอยู่ มีขนาดของรูที่เหมาะสมกับสายที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 5.3 มม. ดังนั้นหากต้องการนำบูทมาใช้กับสาย Cat6 ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 5.3 มม. (เช่นสาย UTP Cat6 Part Number 6-1427200-6 ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.4 มม.) จึงต้องตัดข้อส่วนหางออก 2 ข้อ ดูรูปที่ 19 จากนั้นจึงนำไปใส่สายก่อนการใส่ปลอกเหล็กในขั้นตอนที่ 1 ของถาม-ตอบข้อ 5 ข่างบนนี้
 

6
รูปที่ 11 ลักษณะการสอดสายในตัวจับสาย
รูปที่ 12 ลักษณะการวางสาย
รูปที่ 13 ระยะที่ตัดปลายสายทั้ง 8 เส้น
รูปที่ 14 สอดตัวจับสายเข้ากับปลั๊ก 8 ขา
รูปที่ 15 สายทั้ง 8 เส้นถูกสอดจนสุดร่องปลั๊ก
รูปที่ 16 ตำแหน่งของปลั๊ก
รูปที่ 17 ตำแหน่งใส่ปลั๊กในร่องของคีม
รูปที่ 18 ปลั๊กตัวผู้ Cat 6 ที่ถูกประกอบอย่างสมบูรณ์
รูปที่ 19 บริเวณจุดตัดบูท

หน้า: [1]