เรื่องค่าตอบแทน -เงินเดือน ความก้าวหน้า น่าเห็นใจ แต่ก็มีหลายปัจจัยที่จะต้องพิจารณา ทำความเข้าใจ
1. ระบบราชการ มีระเบียบที่ผู้บริหารจะต้องยึดถือและปฏิบัติ เช่นการจ้างลูกจ้างชั่วคราว ไม่ใช่ว่าต้องการจ้างเท่าไหร่ก็ได้ ผลที่เห็น ที่ค่าจ้างออกมาไม่เท่ากัน เพราะ พยายามหลีกเลี่ยง บ้าง เช่น ให้ OT แต่รายละเอียด เรื่อง OT ก็มีปัจจัย ที่ต้องพิจารณา ว่า ต้องเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล ( Front office )จะได้ค่าตอบแทนตามระเบียบ ระดับเริ่มต้นที่บรรจุ ถ้าเป็นงานด้านสนับสนุนการบริการ เช่น เจ้าหน้ามา ทำงานด้านธุรการ มาจัดการเอกสาร ประชุม หรือช่างซ่อมบำรุง ฯลฯ ( back office ) ก็จะได้ค่าตอบแทน แค่ 300 บาท/เวร ( เดิม 250 บาท) ไม่ว่า ตำแหน่งอะไร ซึ่ง ในกรณี นวก.คอมฯแต่ละโรงพยาบาล ก็ตีความต่างกัน
2. ปัจจุบันคนจบด้านคอมพิวเตอร์ มาจากหลากหลายสถาบันและระดับคุณภาพ บางคน จบมาแทบทำอะไรไม่เป็น ใช้ Excel ไม่เป็น ยังพิมพ์ดีด ด้วยนิ้ว 2 นิ้ว ( จิ้มดีด) เขียนโปรแกรมไม่เป็น แต่บางคน ยังไม่จบคอมพ์ ก็สามารถเขียนโปรแกรม ได้ดีมาก ๆ การกำหนด ค่าตอบแทน ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงเป็นเรื่องยาก และก็จำเป็นต้อง อิงระเบียบ
3. กพ.เองไม่ได้มีตำแหน่ง นักวิชาการคอมพ์ฯ รองรับในโรงพยาบาล เพราะอาจวางแผนอัตรากำลังไม่ครอบคลุม ความจำเป็น ที่ผ่านมาคนพัฒนาและดูระบบ IT ในโรงพยาบาล จึงเป็น แพทย์ ทันตะ เภสัช พยาบาล หรือ จนท. เวชฯ จพ.เภสัชกรรม เจ้าหน้าที่เอ็กซ์เรย์ เป็นต้น
4. แม้ว่า กพ.จะมีจัดสอบ ก็ยังไม่ครอบคลุม ความ ต้องการ อยู่ดี งาน จนท.คอมฯในโรงพยาบาล เอง ก็ มีขอบเขตกว้างมาก ทั้งด้านบริการ ทั้งด้านสนับสนุน บางคน ถนัดไปทาง ช่างคอมฯ บางคนเขียนโปรแกรม ถึงแม้มีตำแหน่ง บรรจุ เป็นข้าราชการ ก็ต้องสอบแข่งขัน ของ กพ. เหมือนการสอบบรรจุ ครู
5. ข้าราชการ โรงพาบาล สายงานรักษาพยาบาล ( แพทย์ ทันต เภสัช พยาบาล นักเทคนิค นักกายภาพ เวชสถิติ จพ.สาธารณสุชชุมชน ฯลฯ) เกือบทั้งหมด ทำสัญญา กำหนดตำแน่งบรรจุ ตั้งแต่สอบเข้าเรียน และตำแหน่งเหล่านั้น ก็ยังขาดแคลนต่อเนื่องมา ค่าตอบแทน จึงอาจแตกต่าง กับสายสนับสนุน ซึ่งไม่ขาด ส่วนสายสนับสนุน การเงิน ธุรการ บริหาร ต้องสอบแข่งขัน บรรจุ
6. นักวิชาการคอมฯ ส่วนใหญ่ จะยังไม่เข้าใจงานด้านการรักษา เท่า เจ้าหน้าที่ด้านบริการทางการแพทย์ เช่นพยาบาล หรือ เจ้าหน้าที่เวชสถิติ เป็นต้น จึงอาจมีช่องว่างด้านความรู้ ความเกี่ยวข้องกับงานรักษาพยาบาล และความก้าวหน้าเติบโตในสายงาน คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาล
7. ที่ผ่านมา หลายสาขาก็พยายามผลักดันให้ สาขาตนเองมีความก้าวหน้า เช่น เจ้าหน้าที่เวช เรียนเพิ่ม เป็น Coder มีการสอบใบ certificate มีการคุยเรื่อง ใบประกอบวิชาชีพ รพ.ชุมชน เอง ตำแหน่ง มีแค่ เจ้าหน้าที่เวช สถิติ ก็ต้องการที่จะเติบเป็น นักสถิติ ขึ้นเป็น สายงาน ระดับชำนาญการ เป็นต้น แต่ กลุ่มคนเหล่านี้ ในอดีตต้องเรียน คอมฯเพิ่ม และ บางที่ก็ต้องอาศัย ความช่วยเหลือจาก นวก.คอมฯ จึงจะทำงานได้สมบูรณ์
ทางออก นักสถิติต้องรู้คอมฯ นวก.คอมฯ ต้องรู้สถิติ --> เอามารวมกัน --> กำหนดให้มีตำแน่ง ใน รพ. 1. กพ. , ผู้บริหารโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่เวชสถิติ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ต้องร่วมกันผลักดันให้ มีตำแหน่ง เพราะ โรงพยาบาลจำเป็นต้องมีบุคลากรด้าน คอมพิวเตอร์ที่ ทำงานทั้งสนับสนุนการบริการ หรือเกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล และสนับสนุน งานฝ่ายบริการ โดย
ให้มีการขยายตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์และสถิติ หรือ ปรับอัตราตำแหน่งเจ้าหน้าที่เวชสถิติ ให้ขึ้นสายนักวิชาการคอมฯและสถิติ ในวุฒิ ป.ตรี และ สามารถเติบโต(CAREER PATH หรือการกำหนดความก้าวหน้าในสายอาชีพ)เปลี่ยนสายงาน เป็น หัวหน้าฝ่ายแผนงานและสารสนเทศ ให้เติบโต สายงานได้ ถึง ระดับ ชำนาญการ หรือ ชำนาญการพิเศษ หรือเป็นเจ้าหน้าบริหารงานทั่วไป (นักจัดการงาน) โตได้ถึงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร
2. วิธีการ กำหนด ตำแหน่ง และรายละเอียด ลักษณะงาน จาก กพ.
3. และให้มีการจัดสอบ กพ. โดย ผู้มีวุฒิ/ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ และ สถิติ
ทั้งหมด เป็นข้อเสนอ แนวทาง ทีเป็นไปได้ ง่ายและ เร็วที่สุด ครับ
ผมอยากให้กำลังใจ น้อง ๆ ที่จบและทำงาน IT ให้ขยัน ฝึกปรือ วิทยายุทธ การเขียนโปรแกรม เพราะ มีข้าราชการ แพทย์ เภสัช พยาบาล หลายคน อยากลาออก มาเป็นโปรแกรมเมอร์ แต่ นวก.คอมฯ อาจได้เป็นโปรแกรมเมอร์โดยไม่ต้องลาออก แล้ว ค่าตัว เราก็จะสูงขึ้น เอง เมื่อถึงวันนั้น ถึงมีตำแหน่งข้าราชการให้ คุณ ก็อาจ ไม่สนใจ ก็ได้ ครับ