แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - karnmedia

หน้า: [1]
1
Parititon ที่ต้องการความเร็วสูง  ควรจะอยู่ลำดับต้นๆครับ อยู่ที่ 20% แรกของพื้นที่ได้ยิ่งดี
เพราะตรงนั้นเป็นบริเวณขอบนอกของ harddisk platters ครับ

ทำ Database server
-----------------------------
/boot        200 MB      ext3
swp           2000 MB   ext3
/db            20000 MB   ext3
/var           20000 MB   ext3
/                 10000 MB  ext3
/backup     พื้นที่เหลือ   ext3   

ทำ proxy/log server
-----------------------------
/boot        200 MB           ext3
swp           2000 MB        ext3
/cache        10000 MB    reiserfs
/var           30000 MB     ext3
/                 10000 MB    ext3
/home        พื้นที่เหลือ     ext3   

-------------------------------
option ในการ mount ก็มีส่วนช่วยครับ
พวก DB ที่เป็น file เดี่ยวๆอย่างเช่น firebird ไม่ต้องการ feature ของ fs มากนัก

ผมใช้ squid proxy cache แบบ diskd บน reiserfs
mount แบบ notails,noatime เร็วกว่าใช้ ext3 อย่างเห็นได้ชัด

2
1. ใช่ครับ คล้ายๆในตำรา แต่มันรวมๆกันแปลกๆ เพราะผมแยกหัวข้อตามแต่จะนึกออก พิมพ์ไปแก้ไปเกร็ดเล็กๆติดมาด้วยครับ 

2.ช่างไฟก็รู้กราวด์ไฟ ช่างโทรศัพท์ก็ทำกราวด์ไปตามระบบของตน เจอช่างไฟมือดี (หรือไม่ดี) มาลักไก่พ่วงกราวน์ ก็พังสิครับ  แถมบางคนยังไม่แน่ใจอีกว่าใช้ร่วมกันได้หรือปล่าว ในสภาวะปกติกราวด์ต้องไม่มีไฟรั่วลงดิน คิดว่าได้ (มั๊ง) เจอเดาสุ่มเข้าไป....เหอๆ

3.ช่างเดินสาย LAN บางคนรู้ว่าสาย ScTP,STP (FTP เป็นชื่อทางการค้า)สามารถกันสัญญาณรบกวนได้ ก็มาเสนอเสียยกใหญ่ แต่กลับไม่รู้ว่าต้องลงกราวนด์ประกอบงาน ซื้อของดีราคาสูงมาแล้วป้องกันสัญญาณรบกวนไม่ได้จะโทษใครอ่า.. ผมเลยยกมาทั้งสี่ระบบงานซึ่งเกี่ยวข้องกับ IT มากหน่อย แล้วระบุเหตุผลที่ต้องแยกกราวนด์และลงแท่งกราวนด์ห่างกัน  :) ความจริงยังมีสาย datacom มาตรฐานอีกหลายแบบแต่บ้านเราไม่นิยมใช้ ตัวแปรใหญ่ๆของสัญญาณมีแค่สามสี่อย่างครับ
3.1 เทคโนโลยี่ มาตรฐาน LAN 10/100 ก็ต้องเสถียรที่ 100 เมตร บนสายที่กำหนด
บางงานเผื่อใว้ให้อีก กำหนดให้ใช้ไม่เกิน 85 เมตรห้ามต่อ cupling กลางทาง
3.2 อุปกรณ์หัวท้ายได้มาตรฐาน..สายสัญญาณ ได้มาตรฐาน
UTP CAT5E (200 Mhz. แต่บางยี่ห้ออ้างว่าได้ถึง 350 Mhz.) CAT 6 (มาตรฐาน 250 Mhz. บางยี่ห้อบอกว่าได้ถึง 600 Mhz.)   CAT6 1 GB. เข้ามาในตลาดสามสี่ปียังเงียบ CAT6A 10 GB. ก็ตามมาแต่บ้านเราเพิ่งตั้งไข่ (อเมริกาเริ่มใช้ CAT 7 สามสี่ปีแล้ว) 
บางรุ่นจับ pare เข้าเกลียวถี่กว่าสัญญาณจึงดีกว่า
บางรุ่นใช้ core เป็นสายเส้นฝอยนำสัญญาณได้ดีกว่า เหมาะสำหรับเข้า Patch Panel
บางรุ่น 25 pairs เหมาะกับงานเชื่อมตู้ RACK เพราะเท่ากับสาย 8 Coreถึง 12 เส้น
บางรุ่นโลหะดีกว่าแกนใหญ่กว่าจึงนำสัญญาณได้ดี
สายโทรศัพท์ใช้ CAT3 ครับ ดังนั้นเอาสาย CAT5 ใช้แทนได้ เพราะมาตรฐานสายสูงกว่าเห็นๆ
บางรุ่นเป็น สาย Outdoor figure8 มีสลิงยึด ใช้เดินสายกลางแจ้งขึ้นเสาไฟฟ้า
เอาเป็นว่า สาย CAT5E (มาตรฐาน 200 Mhz. )วิ่งถึง Gigabit ที่ 50 เมตรได้ครับ
*ในทางกลับกันหากผมใช้สายเทพเกินมาตรฐาน CAT6 แบบ FTP+ลงกราวนด์ แต่ทำระบบแค่ 10/100 ห่างถึง 150 เมตรก็ไหวครับ
 ลงทุนสาย 1 กล่อง (300 เมตร)+ค่าติดตั้งรวมไม่เกิน 10000.-  (เพราะปัญหาหลักของระบบสายส่วนใหญ่คือสัญญาณเสียหายก่อนจะส่งถึง ไม่ใช่สัญญาณ Delay)  ทำ Full Duplex 2 เส้น ระยะแค่นี้ราคาต่างกับ fibrerOptic 10/100 อยู่ห้าหกหมื่นเชียวครับ แถมยังเอาสองเส้นมาลงทรังค์รวมได้ 400 Mbps. ไฟเบอร์สู้ไม่ได้เลยครับ

3.3 สภาพแวดล้อมสัญญาณรบกวน ไฟฟ้าสถิต ความร้อนความชื้น จิปาถะ
3.4 ขึ้นกับคนติดตั้งครับ  เข้าหัวไม่ดีก็ทำให้สัญญาณเสียได้ง่าย

4.ในกรณีที่ใช้ UPS ดีๆรับหน้าฟ้าผ่าตรงๆก็มั่นใจได้  แต่ถ้าซื้อ UPS 1000 VA Line Interactive สี่ตัวจ่ายประมาณสี่หมื่นบาทไปแล้ว เปลี่ยนแบตสองปีครึ่งต่อครั้งผมประมาณตัวเลขก่อนครบ 5 ปี ต้องจ่ายอีกประมาณ 20000.-  รวมยอด 60000.- จะปล่อยให้เจอฟ้าเต็มๆก็เสียดาย เลยเสนอลูกค้าเอา AC Line Protect มาดักหน้า จ่ายไปตัวละหกเจ็ดร้อยซื้อตุนใว้เลยอีกสี่ตัวรวม 2800.- ต่อให้ฟ้าลง (ไม่ค่อยสาบานอะไรใว้หรอก อิอิ) ปีละสองครั้งก็ยังรู้สึกเฉยๆ เทียบกับซื้อ UPS ใหม่อีกครั้งละ 40000.- + ค่าแบตชุดหลังสองปีครึ่งก็ชัดเจน  ผมเข้าใจว่าในระบบงานราชการซื้อของมาตั้งเฉยๆทั้งยังไม่เกี่ยวกับหน้าที่หลักมันยากจะอธิบายครับ  แต่ระบบ IT กลายเป็นส่วนสำคัญไปแล้วก็ต้องฟังเหตุผลกันบ้าง

5.พวก Wireless กลางแจ้ง ก็ต้องใส่ Surge arrester กันฟ้าลงมาทางสาย LAN เจอนักธุรกิจขายอย่างเดียวขาดประสบการณ์หน้างาน กดราคาลงมาตัด Option ออกไป ฟ้าลง AccessPoint แถมผ่านไปเข้า Managed Switch ตัวละสองหมื่นพัง โทษคนขายก็ไม่ได้นะครับ เพราะ Surge arrester มันไม่ใช่อุปกรณ์มาตรฐานของ Wireless lan ผู้ดูแลระบบจะต้องศึกษาเอาเอง

6. การตรวจวัดสายกราวด์ทุกสามเดือน ทำแบบฟอร์มใว้เลย ช่วยได้เยอะมากครับ เพราะนั่นคือการทดสอบว่ามีไฟรั่วในระบบหรือปล่าว สรุปแก้ไปเลยว่ามาจากโหลดไหนเส้นไหน การจัดการระบบมันไม่มีในตำราวิชาการ มาคิดดูอีกทีมันไม่ใช่งานหลักอย่าไปบ้ากับมันมาก เน้นวางแผนติดตั้ง ขยันดูแลย่อมดีกว่าแก้ไขเมื่อสาย.... อิอิ


:) 

3
ถ้าเป็น Server แท้ๆน่าจะเป็น PCI-X, PCI-Express หรือ PCI-64 Bit ครับ วิ่งได้เต็มที่ครับ
ต้องขอดู slot ว่างก่อน เป็นแบบไหน
3com 10/100/1000 ราคาประมาณ 2500 บาทใช้ดีครับ

ถ้าเครื่องบ้านๆก็ PCI 32 Share กันทั้งเมนบอร์ด การด์ 10/100 /1000 Mbps.วิ่งได้ 250 Mbps ก็หรูแล้วครับ แต่ข้อดีที่ไม่ควรมองข้ามคือ Buffer เยอะกว่าทำให้ลื่นกว่า 10/100 Mbps.
Linksys ราคาประมาณ 1000 บาท Linux รู้จักครับ (realtek)

สำหรับ Linux เร่งความเร็วได้อีกหน่อยครับ
#vi /etc/rc.d/rc.local
# 10/100Mbs
ifconfig eth0  txqueuelen 2000
# 10/100/1000 Mbps.
service squid start
#/usr/sbin/RunCache & disown %1
ifconfig eth0  txqueuelen 5000

#vi /etc/sysctl.conf
  # increase TCP max buffer size setable using setsockopt()
  net.core.rmem_max = 16777216
  net.core.wmem_max = 16777216
  # increase Linux autotuning TCP buffer limits
  # min, default, and max number of bytes to use
  # set max to at least 4MB, or higher if you use very high BDP paths
  net.ipv4.tcp_rmem = 4096 87380 16777216
  net.ipv4.tcp_wmem = 4096 65536 16777216

 ;D

 




4
สิ่งที่ควรพิจารณาตรวจสอบในการลงระบบ ... ขาดตกบกพร่องรบกวนแนะนำครับ

1. สายล่อฟ้าที่เป็นแบบเปลือยต้องเกาะยึดกับฉนวนเท่านั้น ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งยึดติดหรือไกล้กับโครงสร้างอาคารที่เป็นโลหะ  (ปัญหานี้เจอที่ไซต์งานแห่งหนึ่ง)
ต้องระวังในการเจาะพุกยึดสายหากสกรูพลาดไปไกล้กับโครงสร้างอาคารจะอันตรายมาก เฉียดกันแค่ 2 เซนติเมตรแรงดันระดับ 20000 โวลต์กระโดดข้ามได้สบาย สายช่วงที่ลงดินต้องทำคอกกั้นรั้วห่างสาย 2 เมตรรวม 4 ตารางเมตรครับ แค่หุ้มฉนวนเอาไม่อยู่หรอก ใครโชคร้ายไปยืนไกล้สายช่วงฟ้าลงละ..

2. การเชื่อมต่อสายกราวด์ แท่งกราวด์ แผ่นกราวด์ ควรใช้วิธีหลอมเพื่อให้ได้ความต้านทานน้อยที่สุด
และเชื่อมต่อด้วยโลหะชนิดเดียวกันครับ... แท่งกราวด์ทองแดงแต่เอาตะกั่วมาบัดกรีก็ไม่ไหว

3.จุดลงดิน
3.1  แท่งกราวด์ลึกมากเท่าไรยิ่งดี  หน้าสัมผัสยิ่งมากยิ่งดี กราวด์ที่ลึกถึง 10 เมตรจะมีความเสถียรสูงมาก
3.2 ความชื้นในดินยิ่งมากยิ่งดี ให้ได้ค่ากราวด์ต่ำกว่า 5โอห์มสม่ำเสมอทั้งปีก็สบายใจได้แล้วครับ
ถ้าสูงกว่านี้ขึ้นอยู่กับความชื้นของผิวดินและลักษณะดิน กลางและปลายหน้าฝนกราวด์วิ่งดี กลางหน้าหนาวไปถึงต้นหน้าฝนดินแห้งความต้านทานก็ย่อมสูงขึ้น
ดังนั้นเลือกสถานที่ได้ดินเหนียวตรงแอ่งอุ้มน้ำ ท่อน้ำแอร์ หรือไกล้หลุมส้วม หลุมปฏิกูลก็อย่ารังเกียจครับ  เพื่อนคนหนึ่งลงกราวด์ในหลุมส้วมอุปกรณ์สื่อสารรอดพ้นฟ้าผ่ามาตลอดในขณะที่ระบบอื่นๆพังหมด ยืนยันว่าช่วยได้จริง

4.สายกราวด์ยิ่งสั้นยิ่งดียิ่งโตยิ่งดี..... ควรโตกว่าสายไฟปกติและต้องมีความต้านทานต่ำกว่าเสมอ ถ้าสายกราวด์มีความต้านทานสูงกว่าสายไฟ ก็แทบจะไร้ประโยชน์

5. แยกระบบกราวด์สำคัญๆออกสามประเภท ข้อสังเกตุง่ายๆคือ ถ้าแรงดันต่างจากระบบอื่นๆ และมีความจำเป็นต้องลงกราวด์ ก็ต้องแยกกราวด์ครับ
5.1 กราวด์ล่อฟ้า... ใช้กับสายล่อฟ้าเท่านั้น แรงดันที่ผ่านกราวด์ประเภทนี้ถึง 20000 โวต์ล
5.2 กราวด์ AC... ใช้กับระบบไฟฟ้าเท่านั้น  แรงดันที่ผ่านกราวด์ประเภทนี้บ้านเรา  230 โวต์ล
5.2 กราวด์เฉพาะงาน  แยกตามแรงดันในระบบอุปกรณ์และจุดประสงค์การใช้งาน ส่วนมากจะเป็น Telecom, Datacom ครับ
5.2.1 โทรศัพท์  แรงดัน Standby = 48 Volt แรงดันกระดิ่ง  = 110 volt  (ผมไม่แม่นตัวเลข) ดังนั้นถ้าคิดประหยัดเอาไปพ่วงกับกราวด์ AC ละก็ดูไม่จืดครับ แค่สัญญาณไฟ AC Leak กวนลงกราวด์นิดหน่อยตู้สาขาพังทันที 
ปัญหาหลักของโทรศัพท์คือ มีแรงดันภายนอกจากฟ้าผ่าแถมเข้ามาในสาย ถ้าไม่ลงกราวด์ถ่ายแรงดันส่วนเกินออกก่อนเข้าตู้....สยองครับ.. กล่องกันฟ้าส่วนมากกันได้ครั้งเดียว เจอผ่าซ้ำเป็นอันตายสนิท ระบบกันฟ้าผ่าซ้ำได้ห้าครั้งก็มีครับ ราคาสูงตามประสิทธิภาพหละ.
5.2.2 ระบบ LAN ที่ใช้สาย FTP เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนก็ต้องลงกราวด์ต่อจาก PatchPanel ด้วยครับ เป็นการถ่ายสัญญาณรบกวนที่ฟอลย์หุ้มสายดักใว้ลงดินไป...แรงดันเข้ามาน้อยแต่มีความผันผวนสูง จึงต้องแยกกราวด์ออกไปอีก 1 จุด
ปัญหาหลักของระบบ LAN คือสัญญาณรบกวนระบบไฟ AC เป็นจำเลย UPS/ เครื่องปั่นไฟ สายไฟ Main VCT, NYY เส้นโตๆ ล้วนมีผล  เพื่อให้ได้สัญญาณดีที่สุด backbone จึงควรเป็น FTP + กราวด์  หากต้องเดินสาย UTP ผ่านกลุ่มสายไฟหรือสายไฟเส้นโตๆ ใช้แผ่นฟอย์ลหุ้ม UTP ช่วยได้ครับ

6. ระบบกราวด์ที่แรงดันต่างกันต้องลงดินห่างกันครับ  ดินมีความต้านทานน้อยยิ่งต้องห่างมาก  เอาง่ายๆ..ผมก็ไม่แม่นตัวเลขอีกหละ...
6.1 บริเวณที่มีกราวด์ล่อฟ้า กราวด์ที่แรงดันต่ำกว่าต้องห่างออกไปจากแท่งกราวด์ล่อฟ้าอย่างน้อย 20 เมตรครับ  ถ้าดินชื้นมากๆ ต้องห่าง 60 เมตรครับ
*ยิ่งน้ำท่วมถึงกันตลอดนี่สุดอันตรายเลยหละ ฟ้าผ่าแต่ละที 20000 V. ลงพื้นชุ่มน้ำ กระแสวิ่งไปหาแท่งกราวด์ไฟ AC ย้อนขึ้นไปเข้าครื่อง Server สยองครับ
หรือเป็นกราวด์ไฟ 230 V. รั่วลงดินชื้นๆแล้วกระจายไปถึงกราวด์ MDF ย้อนเข้าตู้สาขาโทรศัพท์  สยองอีกเหมือนกันครับท่าน กรณีนี้ผมเจอมาเต็มๆ.... สั่งให้ช่างทำกราวน์โดยไม่ไปตรวจหน้างานเอง.. ไม่ทำยังจะดีกว่า..เฮ้อ.. เศร้า...
6.2 บริเวณที่มีกราวด์ไฟ AC 230 V. กราวด์ที่แรงดันต่ำกว่าควรห่างออกไปจากแท่งกราวด์ไฟอย่างน้อย 5 เมตรครับ  ถ้าดินชื้นมากๆต้องห่าง 15 เมตรครับ
6.3 จาก 6.1 -6.2 กราวด์ที่แรงดันสูงกว่าแต่มาทีหลังก็ต้องย้ายต้องปรับตำแหน่งให้อยู่กันได้อย่างปลอดภัยครับ...

7. กราวด์ในระบบเดียวกัน
7.1 ต้องรวมกันด้วยสายกราวด์ 1 เส้น ก่อนลงดินเสมอ
* หัวตึกลงกราวด์ไป 1 แท่ง ท้ายตึกลงอีก 1 แท่งไม่ได้ครับ เวลากระแสรั่ว มันจะวิ่งลงที่จุดไกล้ที่สุดก่อน แต่ไม่จบแค่นั้น เพราะจุดที่อยู่ไกลออกไปก็มีทางลงได้นี่นา เลยแบ่งเป็นสองสามกลุ่มแรงดันจะกระฉอกกระเพื่อมไปมา อุปกรณ์พังครับ
ดังนั้น เอากราวด์มารวมกันที่ Main ไฟ ผ่านสายกราวด์โตๆเส้นเดียวกัน แล้วจะแยกลงดินอย่างไรก็ได้...
7.2 ในกรณีที่ไม่มีกราวด์หลัก จะแยกลงกราวด์ที่อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งหรือเพียงห้องใดห้องหนึ่งก็ได้

8. จุดลงดินไม่ต้องยึดถือรูปแบบมากนัก เน้นที่ประสิทธิภาพ เอาที่สะดวกและไม่เกิน 5 โอห์มสม่ำเสมอทั้งปี
8.1 ยืนยันว่าระบบบ่อกราวด์ลึก 10 เมตรขึ้นไป ประสิทธิภาพดีสุดๆสม่ำเสมอเกือบทุกกรณี แต่แพงสุดๆเช่นกัน
8.2 ลงกราวด์ข้างสระน้ำ หรือบ่อน้ำ ที่มีดินชื้นตลอดทั้งปี ดีพอเพียงและประหยัดมากครับแต่สถานที่อาจไม่เอื้ออำนวย มักจะห่างมากไป...
8.3 รวมสายแล้วจะกระจายลงเป็นสามเส้าสี่เส้าหรือกราวด์ลึกหรือแผ่นกราวด์ก็ได้ครับ  แต่ต้องห่างกันพอสมควรเพื่อป้องกันแรงดันวิ่งหากันระหว่างแท่งกราวด์
8.4  ถ้าเป็นค่อนข้างดินเหนียวชื้นดีตลอดปี จะลงกราวด์ตื้น 4 - 6 เมตรแล้วใช้แผ่นกราวด์โตๆเชื่อมกับสายกราวด์ก็ได้
8.5  ถ้าเจอหน้าหาดทรายละก็ดูไม่จืด ( ตอกแท่งกราวด์ 3 x 3 นิ้วแฉกสามเหลี่ยมยาว 3 เมตร จมพื้นภายใน 5 นาที )
กรณีแบบนี้มักต้องใช้ระบบกราวด์ลึก  ขุดบ่อเลยครับ 10 เมตรขึ้นไป แผ่นกราวด์ฝังใว้เชื่อมติดกับแท่งกราวด์ซึ่งด้านบนหลอมต่อกับสายกราวด์...ต้องใช้สารเคมีช่วยให้ดินชื้น
พวกถ่านหรือเศษอิฐมอญก็ช่วยได้ครับ....

9. กราวด์ผนังที่ช่างหลายคนชอบใช้ อันตรายสุดๆครับ ไม่ทำเสียเลยยังจะดีกว่า
10. สิ่งที่ต้องท่องให้ขึ้นใจคือ.....ทำกราวด์ล่อฟ้าแบบขอไปที เท่ากับดึงสายฟ้ามาหาตัว  อันตรายกว่าไม่ทำเสียอีกนะครับ

11. ทำระบบกราวด์แล้วก็หาปลั๊กไฟที่มีกราวด์มาใช้นะครับ อย่าหักขากราวด์ทิ้งหรือเอาปลั๊กกราวด์หลอกๆมาใช้หละ
12. มาตรฐานอุตสาหกรรมบ้านเราไม่ได้บังคับให้อุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ต้องมีขั้วกราวด์ แต่การไฟฟ้าเขาบังคับให้ทำสายกราวน์ จึงช่วยได้ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ สรุปว่าในหลายกรณีเราทำกราวด์ให้เปลืองเงินเพื่อความถูกกฏหมายไปงั้นๆครับ
13. ตรวจกราวด์ทั้งระบบ ดูเรื่องลูกด้วยครับ พนักงานมักจะเสียบหรือซื้อเปลี่ยนสายไฟเอาตามใจชอบ ต้องดูด้วย  ทำทุกสามเดือนและบันทึกค่าใว้..หากได้ผลพอใจปีต่อไปก็วัดค่าความต้านทาน...ตรวจระบบปีละครั้ง... ทำวิธีทดสอบและ Matenance Schedule เอาใว้เลย สำคัญมากๆ  เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย...

เข้าเรื่องเครื่องสำรองไฟครับ
ไม่มีรุ่นไหนป้องกันฟ้าผ่าตรงๆได้  ส่วนมากจะรับแรงดันได้ +- 25 %  แต่ฟ้าผ่าอาจจะถึง +-10000% และ แม้จะป้องกันได้ก็ไม่คุ้มที่จะเอา UPS ตัวละหมื่นมากันฟ้า อุปกรณ์กันฟ้าเฉพาะทางราคาถูกกว่า
1. ซื้อ ACLine Protect และ ลงกราวนด์ให้ครบทุกระบบอย่างถูกวิธี รวมถึงใช้กราวน์ตามคำแนะนำข้างต้น
2. ใช้อุปกรณ์ป้องกันเฉพาะทาง ดีที่สุดครับ
3. อุปกรณ์ Telecom/Datacomป้องกันหลายชั้นมากไป สัญญาณจะเสียหายครับ ทำที่กล่องกันฟ้า และก่อนเข้าอุปกรณ์อีกครั้งก็มากแล้วนะ ควรจะมีระบบดีๆแค่ชั้นเดียวด้วยซ้ำไป  ตรวจทำความสะอาดขั้วสายโทรศัพท์ปีละครั้งช่วยได้ สายดำปี๋ก็น่าห่วง

 ;D






หน้า: [1]