BMS-HOSxP Community
HOSxP => Development => ข้อความที่เริ่มโดย: SrWooD ที่ พฤษภาคม 12, 2008, 09:41:05 AM
-
LOS IPD อีกครั้งครับ
เนื่องจากกระทู้เก่าไม่สามารถดูได้ครับ
อันนี้จากคู่มีอหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2551 หน้าปกสีน้ำเงิน
เนื้อหาบางส่วน หน้า 134
การนับจำนวนวันนอนโรงพยาบาล (LOS) ผู้ป่่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล (Admit)
น้อยกว่า 4 ชั่วโมง ให้นับเป็นผู้ป่วยนอก ยกเว้นรายที่มีประเภทการจำหน่าย (Disharge type)
เป็นเสียชีวิต (Death) ,ส่งต่อ (refer) ,หลบหนี (escape) และปฏิเสธการรักษา (against advice)
ให้นับเป็นผู้ป่วยใน
ไม่ทราบว่าหลายแห่งได้รับหรือยัง แต่ผมเพิ่งไปเห็นมาครับ
อีกอันครับ
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ
เนื่อหาบางส่วนในหมวดค่าห้องและค่าอาหาร หน้า 1-2
หลักเกณฑ์การนับวันนอนและระยะเวลาในการเบิกค่าห้องและค่่าอาหาร
1.การนับเวลาในการคิดจำนวนวันนอนเพื่อเบิกเงินค่าเตียงสามัญและค่าอาหาร
หรือค่าห้องและค่าอาหาร ให้นับตั้งแต่เวลาที่สถานพยาบาลรับตัวไว้เป็นผู้ป่วยในจนถึงเวลาที่
สถานพยาบาลจำหน่ายผู้ป่่วยออกจากสถานพยาบาล โดยให้นับยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน
ถ้าไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมง และส่วนที่ไม่ถึงหรือเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงนั้น
นับได้เกินหกชั่วโมง ให้ถือเป็นหนึ่งวัน
แล้วก็ไม่ทราบว่ามีมาตรฐานอื่นอีกไหมในการนับ LOS เช่น ของกระทรวง สธ. ฯลฯ
แล้วเราจะเชื่อใคร ???
-
เชื่อได้ทั้ง 2 ที่ครับ เพราะหลักเกณฑ์ของแต่ละกองทุนไม่เหมือนกัน
ก็ถ้าจะเบิกกับ กบก. ก็ต้องใช้ 24+6 ครับ
แต่ถ้าจะคิดกับ uc ก็ 4 up ครับ
นี่ดีว่าประกันสังคมยังไม่ออกหลักเกณฑ์มาอีกกองทุนหนึ่งนะ (สงสัยจะบอก 24+8 มั้ง) 55555555
-
แล้วในโปรแกรม HOSxP จะนับ LOS ยังไงดีครับ 4 หรือ 6
??? ??? ???
-
สับสนจริงๆครับ
แต่ในความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมคิดว่า วันนอน มี 2 เป้าหมาย
1. LOS สำหรับคิดคำนวน DRG
2. วันนอนสำหรับคิดคำนวน ค่าห้อง ค่าเตียง ค่าอาหาร
เราคงต้องแยกกันก่อน ว่า เราหมายถึง ข้อไหน
ที่กรมบัญชีกลาง พูดถึง 6 ชม. น่าจะ หมายถึง การคิดค่าห้อง
แต่การคำนวน DRG น่าจะใช้หลักเดียวกัน (เหมือนเดิม) เพียงแต่ สปสช แบ่งการเบิกจ่าย ให้ชัดเจนขึ้นว่า รายใดจะให้เบิกจาก IPD รายใดเบิกเป็น OPD โดยดูจากชั่วโมงที่ นอนรพ. (ต้องดูประเภทการจำหน่ายด้วย) และยังกำหนดเพิ่มเรื่อง Leave day
สำหรับการคิดค่าห้องของกล่มบัตรทอง หรือประกันสังคม ผมคิดว่า เค้ายังไม่เข้ามากำหนด เพราะมันนอกเหนือสิทธิประโยชน์ (ผป.จ่ายเอง) ดังนั้น รพ.ไหนคิดยังไง ในส่วนที่เกิน 24 ชม. ก็คงทำตามเดิมได้ แต่สำหรับ กรมบัญชีกลางซึ่ง มีค่าห้อง ค่าอาหาร รวมในสิทธิประโยชน์ด้วย เค้าจึงต้องกำหนดให้ชัดเจนขึ้นในเรื่องการคำนวนวัน กรณีเรียกเก็บค่าห้อง
ความเห็นส่วนตัวนะครับ :)
-
คงต้องกำหนดข้อมูลการตัดค่าห้องอัตโนมัติ ไว้กับข้อมูลสิทธิการรักษาครับ
-
สับสนจริงๆครับ
แต่ในความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมคิดว่า วันนอน มี 2 เป้าหมาย
1. LOS สำหรับคิดคำนวน DRG
2. วันนอนสำหรับคิดคำนวน ค่าห้อง ค่าเตียง ค่าอาหาร
เราคงต้องแยกกันก่อน ว่า เราหมายถึง ข้อไหน
ตอนนี้น่าจะมีมากกว่า 2 ครับ
1. LOS ตามการคำนวณทางเวชสถิติ ใช้ LOS = datedsc - dateadm + 1 ครับ
2. LOS เพื่อการคำนวณทาง DRGs เรียกใหม่เพื่อป้องกันการสับสนกับข้อ 1 ว่า CalLOS = calculated LOS (ปรับเปลี่ยนตั้งแต่ version 3 เป็นต้นมา) ใช้ CalLOS = datedsc - dateadm ไม่มีการบวกค่าใด ๆ เข้าไป
3. LOS เพื่อการคิดค่าห้อง+อาหาร ตามนิยามของ กบก. คือ 24+6
ต่อมา กบก. โดย สกส. มีการกำหนด leave day เพิ่มเข้าไปอีก ดังนี้ ข้อ 2 และ 3 ต้องเอา leave day ไปลบออกอีก ซึ่งจริง ๆ แล้วข้อ 1 ก็ควรลบด้วย leave day ด้วยเช่นกัน (แต่ยังไม่มีใครพูดถึง...ใคร=หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถิติของโรงพยาบาล เช่น สนย.)
สำหรับผู้ป่วย UC การคิดค่าห้องน่าจะเป็นระบบเดียวกันกับข้าราชการ เพราะ สปสช. ใช้ DRGs เหมือนกัน คือ สองระบบอิงกันตลอด ทั้งเรื่องระบบข้อมูล และการจ่ายเงิน (ผ่านทาง สกส.) จริง ๆ ต้องบอกว่า กบก. อิง สปสช. เพราะ สปสช. เป็นคนออกเงินทำ DRGs
แต่ที่ว่า 4 ชั่วโมง น่าจะเป็นอย่างที่คุณหมออนุกูลว่าครับ
เพียงแต่ สปสช แบ่งการเบิกจ่าย ให้ชัดเจนขึ้นว่า รายใดจะให้เบิกจาก IPD รายใดเบิกเป็น OPD โดยดูจากชั่วโมงที่ นอนรพ. (ต้องดูประเภทการจำหน่ายด้วย)
สำหรับอันนี้
สำหรับการคิดค่าห้องของกล่มบัตรทอง หรือประกันสังคม ผมคิดว่า เค้ายังไม่เข้ามากำหนด เพราะมันนอกเหนือสิทธิประโยชน์ (ผป.จ่ายเอง) ดังนั้น รพ.ไหนคิดยังไง ในส่วนที่เกิน 24 ชม. ก็คงทำตามเดิมได้ แต่สำหรับ กรมบัญชีกลางซึ่ง มีค่าห้อง ค่าอาหาร รวมในสิทธิประโยชน์ด้วย เค้าจึงต้องกำหนดให้ชัดเจนขึ้นในเรื่องการคำนวนวัน กรณีเรียกเก็บค่าห้อง
ผมว่าน่าจะเป็นการคิดเงินค่าห้อง+อาหารด้วยหลักเกณฑ์เดียวกันสำหรับผู้ป่วยทุกรายของโรงพยาบาลครับ เพื่อความเป็นธรรมของผู้ป่วยครับ (พูดถึงการนับวันเพื่อคิดค่าห้อง+อาหารนะครับ...แต่การ charge เท่าไร ก็แล้วแต่ครับ)
-
ขอขุดกระทู้ ... นะครับ
เนื่องจากวันนี้มีปัญหากับคนที่บ้าน (พยาบาล) ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องฟัง (หูไว้หู) ;D ;D
เรื่องการคิดค่าใช้จ่ายอัตโนมัติสำหรับผู้ป่วยใน ซึ่ง รพ. กำหนดให้คิด 2 รายการ คือ
- ค่าห้อง
- ค่าบริการพยาบาลทั่วไป (IPD)
ปัญหามีอยู่ว่า ... การคิดค่าห้อง คำนวณอย่างไร (ซึ่งน่าจะเกี่ยวกับการคำนวณวันนอนด้วย แต่ผมอ่านแล้วยังไม่กระจ่างเท่าไร อีกอย่างไม่รู้ว่าเขา update กันไปถึงไหนแล้ว)
เช่น คนไข้ถูก admit วันที่ 23 ส.ค.53 จำหน่ายวันที่ 25 ส.ค. 53 (ไม่ได้ระบุเวลา)
การคิดค่าห้อง และ ค่าบริการพยาบาลทั่วไป พยาบาลบอกว่า คิดวันมา แต่ไม่คิดวันจำหน่าย = 2 วัน (ซึ่งสอบถามเจ้าหน้าที่เวชสถิติแล้วบอกว่าคิดแบบนี้ ตามรูปที่แนบมา ที่มา: http://bps.ops.moph.go.th/niyam1.pdf ) แต่ในระบบ HOSxP คำนวณให้เป็น 3 วัน ซึ่งระบบน่าจะคำนวณจากเวลาที่นอนในแต่ละวันด้วย
ส่วนตัวผมคิดว่า การคิดแต่ละอย่างน่าจะแยกจากกัน คือ ค่าห้องก็คำนวณตามระยะเวลาตั้งแต่ admit - d/c โดยคำนวณ 24 ชม. ส่วนเกิน 6 ชม. คิดเป็น 1 วัน
ส่วนเรื่องเวชสถิติจะคิดจำนวนวันนอนอย่างไรนั้นก็แล้วแต่เขา ... จะใช้หลักตามนิยาม LOS ก็ตามใจเขา
สุดท้าย ... อ. ทุกท่านมีคำแนะนำอย่างไร ขอความกระจ่างด้วยครับ ผมจะได้กลับไปทะเลาะกับภรรยาได้ถูกครับ ;D ;D ;D