BMS-HOSxP Community
HOSxP => แจ้งปัญหา / ขอความช่วยเหลือ => ข้อความที่เริ่มโดย: d^_^b►►ทิว ที่ มีนาคม 13, 2012, 10:08:38 AM
-
ถ้าผมจะกำหนดให้ สิทธิ์ A ต้องจ่ายค่ายาและบริการทั้งหมดเป็นชำระเองเบิกได้
ยกเว้น ค่าบริการ"B" เพียงรายการเดียว ที่ไม่ต้องจ่ายโดยให้ถือเป็นลูกหนี้สิทธิ์
ต้องกำหนดยังไงครับ
-
จะใช้ในกรณีในเนี่ย อธิบายเพิ่มเติมหน่อยสิ น้องทิว.......
-
ค่า refer ครับ
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้ จ่ายทั้งหมด ทั้งค่ายาและrefer
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้(กรมบัญชีกลาง) จะเหมือนกัน แต่ค่าrefer จ่ายแค่ส่วนเกิน ร้อยเดียว ที่เหลือ 900 เป็นลูกหนี้สิทธิ์ ครับ
ค่าrefer นี้ กรณีเดียวกันกับ ข้าราชการจ่ายตรง แต่ต่างกันที่ ข้าราชการเบิกได้(กรมบัญชีกลาง) ต้องจ่ายค่ายาเองหมดครับ
-
เรื่ิงสิทธิเบิกได้ ด้านค่ารถ refer ได้เฉพาะ IPD จาก รพ. ไปสู่ รพ. ส่วน OPD ได้เฉพาะ Accident+Emergency [AE]นี่นาครับ.. เพราะ จาก รพ.ไป รพ.
สำหรับ คนไข้ OPD Caseทั่วไปแม้สิทธิเบิกได้จ่ายตรง... ที่ไม่เร่งด่วน ไปเอง ไม่ได้ครอบคลุม ได้เฉพาะ ER...ผมว่า ผมฟังมาไม่ผิดนะครับ..หรือว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติม....มากกว่านี้... ??? ??? ???
-
เรื่องข้าราชการนี่ รพ.แยกออกเป็น
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้ (มีใบรับรอง)
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้(กรมบัญชีกลาง)
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้ ส่วนท้องถิ่น
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้ รัฐวิสาหกิจ
สิทธิ์ ข้าราชการจ่ายตรง
แต่ล่ะสิทธิ์ ก็มีเงื่อนไขการจ่ายค่ารักษาแตกต่างกัน ผมหล่ะงงกับการตั้งค่า
ที่อื่นแยกย่อยเหมือนผมไหมครับ
-
ผมมีแค่ 2 กลุ่ม คือสำรองจ่าย (ชำระเองเบิกได้) กับ ลูกหนี้สิทธิ(ไม่ต้องชำระเงิน)
-
เรื่องข้าราชการนี่ รพ.แยกออกเป็น
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้ (มีใบรับรอง)
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้(กรมบัญชีกลาง)
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้ ส่วนท้องถิ่น
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้ รัฐวิสาหกิจ
สิทธิ์ ข้าราชการจ่ายตรง
แต่ล่ะสิทธิ์ ก็มีเงื่อนไขการจ่ายค่ารักษาแตกต่างกัน ผมหล่ะงงกับการตั้งค่า
ที่อื่นแยกย่อยเหมือนผมไหมครับ
ผมแยกแค่ เบิกหน่วยงานต้นสังกัด กับ สวัสดิการข้าราชการ(จ่ายตรง) แค่นั้น
อันอื่นพิจารณาแล้ว เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องแยกให้บุคลากรปวดหัว ???
แล้วที่บอกว่า
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้ (มีใบรับรอง)
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้(กรมบัญชีกลาง)
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้ ส่วนท้องถิ่น
สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้ รัฐวิสาหกิจ
สิทธิ์ ข้าราชการจ่ายตรง
แต่ละสิทธิเหมือน/แตกต่าง กันอย่างไร หลักเกณฑืในการให้ใช้แต่ละสิทธิ เป็นยังไงบ้าง ??
-
1.สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้ จ่ายเองทั้งหมดอยู่แล้ว(สำรองจ่าย) เบิกค่าห้องพิเศษ ได้ 600 บาท/วัน
2.สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้ (มีใบรับรอง) เหมือนข้อ 1.
3.สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้(กรมบัญชีกลาง) เหมือนข้อ 1.
4.สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้ ส่วนท้องถิ่น ต่างจากข้อ 1 คืน เบิกไม่ได้จากกรมบัญกลาง ทำเรื่องเบิกเอง(สำรอง
จ่าย) ทำเบิกจ่ายตรงไม่ได้
5.สิทธิ์ ข้าราชการเบิกได้ รัฐวิสาหกิจ ต่างจากข้อ 1 คืน เบิกไม่ได้จากกรมบัญกลาง ทำเรื่องเบิกเอง(สำรอง
จ่าย) เบิกค่าห้องพิเศษ ได้ตามอัตราแต่ละหน่วยงาน เช่น ไม่เกิน 1000 1200 บาท
6.สิทธิ์ ข้าราชการจ่ายตรง ลูกหนี้สิทธิ ไม่ต้องจ่าย เรียกเก็บจาก กรมบัญชีกลางแทน ใช้สิทธิได้เฉพาะข้าราชการ ลูกจ้างประจำเท่านั้น
-
ความเห็นส่วนตัวนะครับ ข้อ 2, 3, 4, 5 น่าจะเหมือนกัน ทำไมต้องแยก ??? ส่วนข้อ 5 การเบิกค่าห้องพิเศษ เช่น กฟผ. ผู้ป่วยมีสิทธิเบิกค่าห้องได้สูงสุด 1200 บาทต่อวัน แต่ก็ใช่ว่าเราจะเบิกเต็มทั้ง 1200 บาทนะครับ ต้องดูอัตราค่าห้องของเราประกอบด้วย เช่น ค่าห้องของเราแค่ 600 บาท เราก็ต้องเบิกแค่ 600 บาทแค่นั้น......เกินนั้นระวังงานเข้านะครับ.............และถ้าเป็น IPD สิทธิตาม 2-5 ผู้มีสิทธิก็ต้องทำใบส่งตัวมาให้โรงพยาบาลตั้งเบิกเองอยู่แล้วครับ (ตามหนังสือ ว303 ลว 6 ก.ย. 2554)................
-
ความเห็นส่วนตัวนะครับ ข้อ 2, 3, 4, 5 น่าจะเหมือนกัน ทำไมต้องแยก ??? ส่วนข้อ 5 การเบิกค่าห้องพิเศษ เช่น กฟผ. ผู้ป่วยมีสิทธิเบิกค่าห้องได้สูงสุด 1200 บาทต่อวัน แต่ก็ใช่ว่าเราจะเบิกเต็มทั้ง 1200 บาทนะครับ ต้องดูอัตราค่าห้องของเราประกอบด้วย เช่น ค่าห้องของเราแค่ 600 บาท เราก็ต้องเบิกแค่ 600 บาทแค่นั้น......เกินนั้นระวังงานเข้านะครับ.............และถ้าเป็น IPD สิทธิตาม 2-5 ผู้มีสิทธิก็ต้องทำใบส่งตัวมาให้โรงพยาบาลตั้งเบิกเองอยู่แล้วครับ (ตามหนังสือ ว303 ลว 6 ก.ย. 2554)................
รพ.บางแห่ง มีห้องพิเศษ หลายอัตราครับ รพ.ที่ผมทำงานอยู่ มีตั้งแต่ 600 800 1200 1800 3400 miniVIP VIP superVIP แล้วแต่ผู้ป่วยต้องการจพักห้องแบบใหน ตามสิทธิที่เบิกได้ของแต่รัฐวิสาหกิจ และสิทธิรัฐวิสาหกิจ บางแห่ง ต้องจ่ายเงินให้ รพ.ก่อนอยู่แล้ว (สำรองจ่าย) แล้วไปทำเรื่องเบิกค่ารักษาเองครับ แต่ละแห่งก็ไม่เหมือนกัน ไม่เกี่ยวกับ หนังสือ ที่ ว.ใด ๆ ครับ (ขอจ่ายเงินให้ รพ.เต็มจำนวนก็พอ) ส่วนเขาจะเบิกได้เท่าไร ก็เป็นไปตามระเบียนของแต่ละแห่งครับ
-
ขอปรึกษาต่อกรณีค่า refer น่ะครับ "refer + พยาบาล รพ.ผมคิด 1000 บาท "
สิทธิ์ข้าราชการเบิกได้ ต้องจ่ายเองทั้งหมด
สิทธิ์ข้าราชการเบิกได้(กรมบัญชีกลาง) รพ.ทำเบิก 900 ผู้ป่วยจ่ายส่วนเกิน 100 ค่าอื่นๆก็จ่ายเองทั้งหมด
สิทธิ์ข้าราชการจ่ายตรง รพ.ทำเบิก 900 ผู้ป่วยจ่ายส่วนเกิน 100 และค่าอื่นๆก็ไม่ต้องจ่าย
ผมยังติดปัญหาการกำหนดการตั้งค่าให้กับสิทธิ์ (กรมบัญชีกลาง)นี่แหละครับ
ไม่ต้องจ่ายทั้งหมดแล้วบังคับจ่ายบางรายการ พอได้ แต่
จ่ายทั้งหมด แล้วบังคับไม่ต้องจ่ายบางรายการ ทำยังไงครับ
รพ. ท่านทำยังไงครับ
-
ทำไมเบิกได้ต้องถูกเรียกเก็บค่ารถพยาบาล และสำรองจ่ายครับ.....เริ่มงุนงง....
กรมบัญชีกลางอนุมัติให้ข้าราชการเบิกได้แล้วนะคัรบ..โดย รพ.ต้องเบิกเอง ค่ารถ คิดตามระยะทางเป็น กม. ทางตรง ไปและกลับ รวม 8 บาทต่อกิโลเมตร และมีค่าพยาบาลประจำรถอีก 500-1000 บาท โดยการเงิน แสกนเอกสารใบขอเบิกรถที่มีลายมือของ จนท.รพ.ส่ง และ จนท.รพ.ที่รับผู้ป่วยไว้ดูแลต่อ ให้ส่งเบิกทางเมล์ ก่อน อนุมัติเบิกออนไลน์ผ่าน web ครับ..เริ่มบังคับใช้ 1 ก.พ. 55 เป็นต้นมา.....ผมเลยสงสัยเรื่องมูลค่าที่เบิกค่ารถ refer 1000 บาทในสิทธิเบิกได้และจ่ายตรง...มาจากแหล่งอ้างอิงใดครับ.. ??? ??? ??? 8) 8)
http://www.pthosp.net/hospital/downloads.php?cat_id=2&download_id=63
-
ทำไมเบิกได้ต้องถูกเรียกเก็บค่ารถพยาบาล และสำรองจ่ายครับ.....เริ่มงุนงง....
กรมบัญชีกลางอนุมัติให้ข้าราชการเบิกได้แล้วนะคัรบ..โดย รพ.ต้องเบิกเอง ค่ารถ คิดตามระยะทางเป็น กม. ทางตรง ไปและกลับ รวม 8 บาทต่อกิโลเมตร และมีค่าพยาบาลประจำรถอีก 500-1000 บาท โดยการเงิน แสกนเอกสารใบขอเบิกรถที่มีลายมือของ จนท.รพ.ส่ง และ จนท.รพ.ที่รับผู้ป่วยไว้ดูแลต่อ ให้ส่งเบิกทางเมล์ ก่อน อนุมัติเบิกออนไลน์ผ่าน web ครับ..เริ่มบังคับใช้ 1 ก.พ. 55 เป็นต้นมา.....ผมเลยสงสัยเรื่องมูลค่าที่เบิกค่ารถ refer 1000 บาทในสิทธิเบิกได้และจ่ายตรง...มาจากแหล่งอ้างอิงใดครับ.. ??? ??? ??? 8) 8)
http://www.pthosp.net/hospital/downloads.php?cat_id=2&download_id=63
ค่ารถrefer เบิกตามเกณฑ์ คิดแล้วได้ประมาณ 900 บาท
แต่ รพ.ผมดันตั้งราคาไว้ 1000 บาท ส่วนที่เกินมา 100 บาท ผู้ป่วยเลยต้องจ่ายเอง
จากเอกสารนี้ http://dmsic.moph.go.th/download/cgd/circular_32_310155_ReferExpenses.pdf คิด 4 บาท/กิโลเมตรน่ะครับ ไม่ใช่ 8 บาท/กิโลเมตร
-
แสดงว่า..อ่านแล้วงง..หรือผมเขียนแล้วงง 4 บาท ต้องคูณ 2 ครับ..เพราะไปแล้วต้องกลับ...ขาไป+ขากลับ
ผมเลยบอกว่า..8 บาท ต่อกิโลเมตร...
ทำไมต้องมีส่วนเกิน รถราชการ จำเป็นต้องส่งต่อ กองทุนจ่าย...ผมว่า..ระวัง สพ.ตร. จะเข้าตรวจสอบนะครับ..เรียกเก็บเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด... 8) 8) 8) 8) 8)
-
ทำไมเบิกได้ต้องถูกเรียกเก็บค่ารถพยาบาล และสำรองจ่ายครับ.....เริ่มงุนงง....
กรมบัญชีกลางอนุมัติให้ข้าราชการเบิกได้แล้วนะคัรบ..โดย รพ.ต้องเบิกเอง ค่ารถ คิดตามระยะทางเป็น กม. ทางตรง ไปและกลับ รวม 8 บาทต่อกิโลเมตร และมีค่าพยาบาลประจำรถอีก 500-1000 บาท โดยการเงิน แสกนเอกสารใบขอเบิกรถที่มีลายมือของ จนท.รพ.ส่ง และ จนท.รพ.ที่รับผู้ป่วยไว้ดูแลต่อ ให้ส่งเบิกทางเมล์ ก่อน อนุมัติเบิกออนไลน์ผ่าน web ครับ..เริ่มบังคับใช้ 1 ก.พ. 55 เป็นต้นมา.....ผมเลยสงสัยเรื่องมูลค่าที่เบิกค่ารถ refer 1000 บาทในสิทธิเบิกได้และจ่ายตรง...มาจากแหล่งอ้างอิงใดครับ.. ??? ??? ??? 8) 8)
http://www.pthosp.net/hospital/downloads.php?cat_id=2&download_id=63
แล้วเราต้องตั้งค่ารักษายังไง หมวดไหน มี billcode billnumber ไหมครับ
-
ถ้า รพ.ตั้งเบิกก็เป็นลูกหนี้สิทธิครับ..100% มักเป็น รพ.ที่ให้บริการตัวรถและพยาบาล จึงไม่ใช่ รพ.ปลายทาง ยกเว้น รพ.ปลายทางวิ่งมารับคนไข้ ณ รพ.ต้นทาง
ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายต้องปรับเป็นลูกหนี้สิทธิในชื่อค้่าใช้จ่าย ครับ และไม่ต้องมี Billcode เพราะไม่ได้ออกใบเสร็จ ถ้าสิทธิชำระเอง ก็ไม่ได้ใช้เลขบิลอยู่ดี
ส่วนหมวดค่าใช้จ่าย คงต้องอยู่นอก 16 หมวดกรมบัญชีกลางครับ ตามประกาศในหนังสือ เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการรักษาโดยตรง หมวดที่ 17 เป็นต้น...ตั้ง paidst เป็นลูกหนี้สิทธิ
คือมีทั้ง ค่ารถพยาบาลชำระเอง เช่นสิทธิที่ไม่มีกองทุนคุ้มครอง และค่ารถพยาบาล(เบิกจากกองทุน) คือลูกหนี้สิทธิ ที่เหลือนอกเหนือจากนี้....คงต้องแล้วแต่องค์กรบริหารจัดการครับ..
-
ขอบคุณครับ