BMS-HOSxP Community

HOSxP => แจ้งปัญหา / ขอความช่วยเหลือ => ข้อความที่เริ่มโดย: krathokman ที่ ตุลาคม 04, 2011, 11:15:14 AM

หัวข้อ: ขอแนวคิดวิธีการ Set สิทธิ ผู้ป่วยนอก เขต
เริ่มหัวข้อโดย: krathokman ที่ ตุลาคม 04, 2011, 11:15:14 AM
ตามรูป
ระหว่างสิทธิ 71 กับ 81  เมื่อค้นหาผ่าน NHSO ใน HosXP จะได้ 71 เสมอ  ส่วนสถานพยาบาล นั้นถูกต้องเป็น
โรงพยาบาล ที่ผู้ป่วยสังกัดนอกเขต ผมสงสัยว่าทำไม เมื่อได้สถานพยาบาลที่ไม่ใช่ของเรา ซึ่งแน่ๆ ว่านอกเขตอยู่แล้ว ทำไมมันไม่ได้ 81 ครับ
หัวข้อ: Re: ขอแนวคิดวิธีการ Set สิทธิ ผู้ป่วยนอก เขต
เริ่มหัวข้อโดย: por ที่ ตุลาคม 04, 2011, 11:44:03 AM
สปสช.กำหนดสิทธิเดียวครับ แต่ในเขตนอกเขตแยกตามหน่วยขึ้นทะเบียนจะง่ายกว่าใหมครับ  เนื่องจากรายงาน
หัวข้อ: Re: ขอแนวคิดวิธีการ Set สิทธิ ผู้ป่วยนอก เขต
เริ่มหัวข้อโดย: krathokman ที่ ตุลาคม 04, 2011, 12:51:04 PM
สปสช.กำหนดสิทธิเดียวครับ แต่ในเขตนอกเขตแยกตามหน่วยขึ้นทะเบียนจะง่ายกว่าใหมครับ  เนื่องจากรายงาน
ในส่วนของรายงาน คงไม่มีปัญหาครับ  ปัญหาคือ ถ้านอกเขตจะได้ให้จ่ายเงิน  แต่ในเขตจะฟรี นะครับ
หัวข้อ: Re: ขอแนวคิดวิธีการ Set สิทธิ ผู้ป่วยนอก เขต
เริ่มหัวข้อโดย: wiphusit ที่ ตุลาคม 04, 2011, 13:47:26 PM
เห็นด้วย 1 เสียงครับ

น่าจะกำหนดในตาราง nhso_type_name ว่าอันไหนเป็นนอกเขตหรือในเขตได้น่าจะดีครับ
หัวข้อ: Re: ขอแนวคิดวิธีการ Set สิทธิ ผู้ป่วยนอก เขต
เริ่มหัวข้อโดย: เกื้อกูล ครับ.. ที่ ตุลาคม 04, 2011, 13:56:18 PM


น่าจะกำหนดในตาราง nhso_type_name



คงต้องเิพิมให้ ชื่อสิทธิตรงกับรหัสใน pttype มากกว่า 1 record ครับ..

เช่น 71=บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า..
       81=บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า..

ส่วนกลางกำหนดไม่ได้ครับ..เพราะไม่มีในเขต นอกเขต ของส่วนกลาง และแต่ละหน่วยบริการก็นิยามไม่เหมือนกันครับ..
หัวข้อ: Re: ขอแนวคิดวิธีการ Set สิทธิ ผู้ป่วยนอก เขต
เริ่มหัวข้อโดย: decha ที่ ตุลาคม 04, 2011, 13:58:47 PM
มันผิดตั้งแต่ตั้งสิทธิครับ โดยปกติงานประกันถ้าไม่เข้าใจระบบโปรแกรมก็มักจะให้ตั้งสิทธิเด็ก 0-12 ปี เป็นในเขต และนอกเขต เพื่อความง่ายสำหรับเวลาทำรายงาน ซึ่งจริงๆแล้วในการตั้งค่าสิทธิสามารถกำหนดให้เป็นในเขตหรือนอกได้โดยอิงจากรหัสสถานบริการได้อยู่แล้ว
ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องความเข้าใจในวิธีการให้สิทธิครับ ดังนี้ครับ
1.กรณีในเขต ให้สิทธิเป็น 71 เด็ก 0-12 ปี
2.กรณีนอกเขต ถ้าให้ใช้สิทธิรักษาฟรี ก็ต้องให้สิทธิ 71 เด็ก 0-12 ปี เช่นเดียวกันส่วนเวลาทำรายงานก็จะแยกในเขต นอกเขตโดยใช้รหัสสถานพยาบาล แต่ถ้าไม่ให้ใช้สิทธิรักษาฟรีเนื่องจากเป็นข้อตกลงหรือนโยบายของทางโรงพยาบาลว่า นอกเขตไม่ใช่กรณีฉุกเฉินใช้สิทธิไม่ได้ กรณีแบบนี้ควรให้สิทธิเป็นชำระเงินครับ.. ไม่ใช่ให้สิทธิ 71
หัวข้อ: Re: ขอแนวคิดวิธีการ Set สิทธิ ผู้ป่วยนอก เขต
เริ่มหัวข้อโดย: เกื้อกูล ครับ.. ที่ ตุลาคม 04, 2011, 14:04:37 PM
ที่เดิม ๆ ทำกัน เพราะ คิดแก้ปัญหาเรื่อง เก็บเงิน หรือฟรีครับ..

ทำให้ 71 มีทัี้ง ในเขต และนอกเขต  89  ก็ม่ีท้ังในเขต-นอกเขต  พระในเขต  พระนอกเขต  ฯลฯ
และทุกสิทธิของ กองทุน สปสช. จึงมีทั้งในเขตและนอกเขต เพื่อให้ paidst เป็น ชำระเงินเอง หรือลูกหนี้สิทธิน่ะครับ
ถ้าใช้ระหัสเดียวกัน คงปวดหัวพอควร  เพราะผู้ให้บริการไม่มีใครมากำหนดค่าใช้จ่ายทีละรายการทีละคน แต่ให้ระบบคิดค่าใช้จ่าย auto ตามรหัสสิทธิ เพื่อให้บริการทุกตัวมีสถานะการเงินตรงตามที่ตั้งไว้ว่า ฟรีหรือจ่าย...


ปัญหาจึงเกิดเกือบทุกรพ.ครับ....สำหรับการกำหนด ในเขต นอกเขต  ฉุกเฉิน  อุบัติเหตุ เพราะสิทธิประโยชน์และการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายแตกต่างกันทั้งรุปแบบและกองทุน....กรรมครับ..หน่วยบริการสุขภาพ...ไม่สามารถเบิกจากกองทุนกลางแห่งชาติได้..ทำให้เป็นอยู่เช่นนี้..และคงตลอดไปครับ... ??? ??? ??? ??? ??? ???

หากจะแก้ปัญหาเพิ่มเติม คงต้องกำหนด ประเภทชำระเงิน  ตามรหัสคู่สัญญาของกองทุนหรือ รพ.คู่ค้า..ของเลขประชาชนนั้น ๆ ว่าควรจะเป็นค่าใช้จ่ายแบบ  ลูกหนี้สิทธิตนเอง  ลุกหนี้เรียกเก็บ  หรือผู้รับบริการชำระเองครับ...อาจจะง่ายอีกนิด  ส่วนรายงาน ก็แยกตามพี่โ้ด้แนะนำครับ..เ้ห็นด้วยอย่างยิ่ง ใน สปภ.ครับ.. ;D
หัวข้อ: Re: ขอแนวคิดวิธีการ Set สิทธิ ผู้ป่วยนอก เขต
เริ่มหัวข้อโดย: Noppadol ที่ ตุลาคม 04, 2011, 14:09:10 PM
มันผิดตั้งแต่ตั้งสิทธิครับ โดยปกติงานประกันถ้าไม่เข้าใจระบบโปรแกรมก็มักจะให้ตั้งสิทธิเด็ก 0-12 ปี เป็นในเขต และนอกเขต เพื่อความง่ายสำหรับเวลาทำรายงาน ซึ่งจริงๆแล้วในการตั้งค่าสิทธิสามารถกำหนดให้เป็นในเขตหรือนอกได้โดยอิงจากรหัสสถานบริการได้อยู่แล้ว
ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องความเข้าใจในวิธีการให้สิทธิครับ ดังนี้ครับ
1.กรณีในเขต ให้สิทธิเป็น 71 เด็ก 0-12 ปี
2.กรณีนอกเขต ถ้าให้ใช้สิทธิรักษาฟรี ก็ต้องให้สิทธิ 71 เด็ก 0-12 ปี เช่นเดียวกันส่วนเวลาทำรายงานก็จะแยกในเขต นอกเขตโดยใช้รหัสสถานพยาบาล แต่ถ้าไม่ให้ใช้สิทธิรักษาฟรีเนื่องจากเป็นข้อตกลงหรือนโยบายของทางโรงพยาบาลว่า นอกเขตไม่ใช่กรณีฉุกเฉินใช้สิทธิไม่ได้ กรณีแบบนี้ควรให้สิทธิเป็นชำระเงินครับ.. ไม่ใช่ให้สิทธิ 71

ที่ผม ก็ตาม อ.โด้ เลยครับ ผมจะไม่แยกนอกเขต ในเขต  ให้โปรแกรมแยกให้ตอนทำรายงานเอาครับ ไม่งั้นสิทธิจะเยอะมากๆ แล้วมันจะเป็นปัญหากับบุคลากร ของหน่วยบริการเอง............ถ้านอกเขต และต้องจ่ายเงิน ก็ลงเป็น "ชำระเงินเอง" ไป...... ไม่ต้องลงให้ใช้สิทธิบัตร......ง่ายกว่าเยอะครับ........ทำอะไรที่มันเข้าใจง่ายๆ ผู้ปฏิบัติจะ Happy มากๆ
หัวข้อ: Re: ขอแนวคิดวิธีการ Set สิทธิ ผู้ป่วยนอก เขต
เริ่มหัวข้อโดย: por ที่ ตุลาคม 04, 2011, 14:11:04 PM
ผมว่าแนวคิดของ อ.เดชา น่าจะถูกต้องนะครับ  

ทุกคนมีสิทธิประจำตัว  แต่เวลามารับบริการมันก็แล้วแต่โอกาสที่จะใช้สิทธิครับ

หัวข้อ: Re: ขอแนวคิดวิธีการ Set สิทธิ ผู้ป่วยนอก เขต
เริ่มหัวข้อโดย: decha ที่ ตุลาคม 04, 2011, 14:13:01 PM
มันเป็นเรื่องของการรับรู้ที่ไม่ตรงกันนะครับ ไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่ต้องไปตั้งเป็นสิทธิในเขต และนอกเขต เพราะว่า ในขณะที่แยกสิทธิจะสร้างความสับสนให้มากกว่าด้วยซ้ำไป เช่น ให้สิทธิ 81 เด็ก 0-12 ปี นอกเขต ซึ่งสิทธินี้ไปกำหนดเป็น ชำระเงิน ยังไงเราก็เรียกเก็บกับคนไข้อยู่แล้ว ระบบบัญชีเขาสนใจแค่แยกให้ได้ว่าอะไรเป็น ลูกหนี้ ชำระเงิน ค้างชำระ อนุเคราะห์ครับ

ส่วนการให้สิทธิรักษา นอกเขต สถานะก็คือ เป็นลูกหนี้ครับ โดยเจ้าหนี้ที่ การเงินเขาจะเรียกเก็บก็คือ รพ.ต้นสังกัด หรือ สปสช. ซึ่งโดยหลักเขาก็ตรวจสอบจากเลข 13 หลักอยู่แล้ว

โดยหลักของการให้สิทธิส่งตรวจ เขาจะแบ่งออกเป็น
1. สิทธิประจำตัว เช่น สิทธิบัตรทอง สิทธิข้าราชการ ฯลฯ
2. สิทธิตามบริการที่มารับบริการ เช่น สิทธิประจำตัวเป็นสิทธิบัตรทอง แต่มาขอใบรับรองแพทย์ ซึ่งไม่อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ การให้สิทธิในการเข้ารับบริการจะเป็นชำระเงิน