BMS-HOSxP Community

HOSxP => แจ้งปัญหา / ขอความช่วยเหลือ => ข้อความที่เริ่มโดย: likkimaru ที่ สิงหาคม 17, 2011, 15:29:37 PM

หัวข้อ: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: likkimaru ที่ สิงหาคม 17, 2011, 15:29:37 PM
ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ

(http://www.upfree.com/user_upload/image/20110817/BDM1KUEc=OTUwMiIwMjMtMTcxNjAxMTA4Z2UtMjEtaW1h.JPG)
หัวข้อ: Re: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: likkimaru ที่ สิงหาคม 17, 2011, 15:30:18 PM
จริงๆคือค่าอะไรเหรอครับ จำเป็นต้องลงทุกครั้งไหมครับ แล้วถ้าจะบังคับเซ็ทตรงไหนครับ :D
หัวข้อ: Re: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: เกื้อกูล ครับ.. ที่ สิงหาคม 17, 2011, 15:34:42 PM
ตั้งค่าใน  system setting  กำหนดเรื่อง บุคคลากรในระบบ ให้คนที่มีสถานะรักษาโรคได้ทุกคน และสั่งยาทุกคน ต้องวินิจฉัยโรคก่อนสั่งยา ครับ..กำหนดได้รายบุคคล.... :D :D :D
หัวข้อ: Re: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: vinaisena ที่ สิงหาคม 17, 2011, 16:12:03 PM
ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ

(http://www.upfree.com/user_upload/image/20110817/BDM1KUEc=OTUwMiIwMjMtMTcxNjAxMTA4Z2UtMjEtaW1h.JPG)
จำเป็นอย่างยิ่งครับ ที่ต้องกำหนด แต่บางครั้ง ต้องดูที่หน้างานด้วยนะครับ หน้างานหมายถึงว่า หน้างานห้องบัตร หน้างานพยาบาล ว่า Case ที่ไม่มี Diagnosis เกิดจากสิ่งต่อไปนี้หรือไม่
1. ห้องบัตรส่งชื่อคนไข้ผิดคน
2. ห้องบัตรส่งถูกคน แต่ก่อนถึงพยาบาล คนไข้กลับบ้าน
3. ห้องบัตรส่งถูกคน พยาบาล screen ถูกคน แต่เวลาพบแพทย์ คนไข้ไม่พบแพทย์
กรณีที่ ไม่มี Principal Diagnosis อาจเกิดได้ดัง 1-3 แล้วหน้างานของท่านมีการลบ Visit นี้ หรือ ดำเนินการอย่างไรบ้าง เพราะยังไง ยังไง ก็ไม่มี Principal Diagnosis ถ้า1-3 เหตุการณ์ที่พูดถึงยังเกิดขึ้นอยู่ ทั้งนี้และทั้งนั้นต้องสำรวจดูว่า ที่ Principal Diagnosis ว่างในแต่ละวันเกิดจากอะไรบ้าง บางครั้ง ตรวจไปแล้ว รับยาไม่ครบ ขอให้ห้องบัตรส่ง visit เพิ่มก็มี แต่เวลา พบแพทย์ แพทย์ดึง QN หรือ visit เดิมไปเพิ่มแก้ไข ก็อาจเป็นไปได้ที่ ไม่มี Principal Diagnosis ครับ ลองไล่ดูช้าๆๆ เท่าที่ประสบมา เกิดขึ้นหลายรูปแบบและยังเป็นอยู่
หัวข้อ: Re: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: likkimaru ที่ สิงหาคม 17, 2011, 16:14:54 PM
ขอบคุณมากครับ แแต่ผมกำหนด ตาม อ.เกื้อกูล  แล้วครับแต่ยังว่างอยู่ยังไงจะลองไล้ดูอีกทีนะครับ ;)
หัวข้อ: Re: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Gusbel724 ที่ สิงหาคม 17, 2011, 16:21:36 PM
จริงแล้ว  ถ้าสามารถทำได้ จะดีมากคะ เพราะยังไง ให้ห้องเวชระเบียน  ตรวจซ้ำตอนสรุป chat อีกรอบนะคะ
หัวข้อ: Re: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: vinaisena ที่ สิงหาคม 17, 2011, 16:25:04 PM
ลงนัดล่วงหน้า
1. ส่งชื่อแล้วคนไข้มารับการตรวจตาม Process จนได้รับยาหรือไม่ ถ้าไม่ก็จะไม่มี Principal Diagnosis
นอกนั้น สาเหตุ 1-3 ตามที่กล่าวครับ หรือมากกว่านั้น ยุ่งดีนะครับ งานโรงพยาบาล งานโรงแรม เหล่านี้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับการบริการ และข้อมูล
หัวข้อ: Re: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: เกื้อกูล ครับ.. ที่ สิงหาคม 17, 2011, 18:11:23 PM
จริงแล้ว  ถ้าสามารถทำได้ จะดีมากคะ เพราะยังไง ให้ห้องเวชระเบียน  ตรวจซ้ำตอนสรุป chat อีกรอบนะคะ


ภาษาวันนี้...Chart  มิใช่  Chat ครับ... :D :D :D :D
หัวข้อ: Re: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: likkimaru ที่ สิงหาคม 18, 2011, 08:32:46 AM
ผม Set ให้แต่คุณหมอลงวินิจฉัยก่อนการสั่งยา แต่พยาบาลไม่ได้ระบุครับ ถ้าผมจะ Set ให้พยาบาลลงวินิจฉัยก่อนสั่งยาได้ไหม คือ Principal Diagnosis พยาบาลต้องลงได้ทุกคนใช่ไหมครับ ;)
หัวข้อ: Re: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: เกื้อกูล ครับ.. ที่ สิงหาคม 18, 2011, 08:45:14 AM
ผม Set ให้แต่คุณหมอลงวินิจฉัยก่อนการสั่งยา แต่พยาบาลไม่ได้ระบุครับ ถ้าผมจะ Set ให้พยาบาลลงวินิจฉัยก่อนสั่งยาได้ไหม คือ Principal Diagnosis พยาบาลต้องลงได้ทุกคนใช่ไหมครับ ;)

ไม่เสมอไปครับ....เพราะในการเรียนรู้..แล้วแต่ใครสนใจ..อาจทำให้สารสนเทศโดยรวมเวลาประมวลผล...คลาดเคลื่อนได้เสมอ จากทุกวิชาชีพที่บันทึก ICD10 ได้..เพราะทุกวันนี้ยังไม่มีเครื่องมือวัดมาตรฐานความรู้ความเข้าใจเรื่องการให้รหัสโรคอย่างเป็นขั้นตอน และสอบวัดองค์ความรู้ในสหวิชาชีพครับ...คงต้องรับสภาพกันไป...แต่ก็สามารถบังคับได้..ถ้าผลกระทบกับองค์กรมากกว่า เช่นเรื่องเิบิกจ่ายยาในนามของคนอื่น หรือไม่ได้ป่วยจริง...คงเป็นไปตามนโยบายของแต่ละองค์กรครับ..
หัวข้อ: Re: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: likkimaru ที่ สิงหาคม 18, 2011, 14:03:58 PM
ขอบคุณอาจารย์เกื้อกูล มากๆครับกระจ่างเลยทีเดียว :D
หัวข้อ: Re: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: vinaisena ที่ สิงหาคม 30, 2011, 22:35:24 PM
ผม Set ให้แต่คุณหมอลงวินิจฉัยก่อนการสั่งยา แต่พยาบาลไม่ได้ระบุครับ ถ้าผมจะ Set ให้พยาบาลลงวินิจฉัยก่อนสั่งยาได้ไหม คือ Principal Diagnosis พยาบาลต้องลงได้ทุกคนใช่ไหมครับ ;)

ไม่เสมอไปครับ....เพราะในการเรียนรู้..แล้วแต่ใครสนใจ..อาจทำให้สารสนเทศโดยรวมเวลาประมวลผล...คลาดเคลื่อนได้เสมอ จากทุกวิชาชีพที่บันทึก ICD10 ได้..เพราะทุกวันนี้ยังไม่มีเครื่องมือวัดมาตรฐานความรู้ความเข้าใจเรื่องการให้รหัสโรคอย่างเป็นขั้นตอน และสอบวัดองค์ความรู้ในสหวิชาชีพครับ...คงต้องรับสภาพกันไป...แต่ก็สามารถบังคับได้..ถ้าผลกระทบกับองค์กรมากกว่า เช่นเรื่องเิบิกจ่ายยาในนามของคนอื่น หรือไม่ได้ป่วยจริง...คงเป็นไปตามนโยบายของแต่ละองค์กรครับ..
http://mrs-elearning.thaiddns.com/moodle/
ขออนุญาต นำ link นี้มาเพิ่มเติม เพื่อจะได้เข้าใจกันมากขึ้นครับ ส่วนกระบวนการวัดมาตรฐานนั้น มีระบบที่เรียกว่า การสอบเทียบ Coder ที่ทาง thcc.or.th จัดอยู่ แต่นั่นก็มิใช่ว่า ผู้ที่ไม่ได้สอบเป็น Coder จะมีทักษะที่ด้อยกว่า หรือ ขาดมาตรฐานก็มิสามารถพิสูจน์ได้ชัดเจน  ที่เป็นจริงในวันนี้ ในระหว่างที่มีการ Audit เวชระเบียน 1 ฉบับ กับ Auditor ที่ ทาง สปสช.แต่งตั้งขึ้น มี Auditor 5 กลุ่ม ลอง นำ Chart ที่มีปัญหา 1 Chart ไปให้ Auditor 5 กลุ่มดูเถอะ จะ Audit มาหลายรูปแบบ Coder เองก็ยังมีความคิดที่แตกต่างกันใน Chart ตัวอย่างที่กล่าวมา และในขณะเดียวกัน Coder ที่สอบ กับ Coder ที่มิได้สอบก็ให้รหัสที่แตกต่างกันไป แต่ผลการวัดความคลาดเคลื่อน หรอ error เกิดขึ้นแล้วในการทำ MRA (Medical Record Audit) ที่ สปสช.จัดอยู่ แต่ OPD ยังไม่เกิดขึ้น และคงเกิดขึ้นยาก หากเพียงแต่ว่า ต่อไปจะต้องเข้มข้นมากขึ้น หากนำเรื่องของ Diagnosis ของ OPD มาเกี่ยวข้องกับการจัดสรรเงิน เรื่องคุณภาพข้อมูล และอื่นๆๆๆๆ อีกต่อไป
หัวข้อ: Re: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: vinaisena ที่ สิงหาคม 30, 2011, 22:38:00 PM
Medical Coding Professional


คุณภาพของการให้บริการทางการแพทย์ขึ้นอยู่กับการได้มาของข้อมูลทางการแพทย์ที่มีความถูกต้องและทันเวลา ผู้ให้รหัสทางการแพทย์มืออาชีพ (Medical coding professionals) จึงเป็นผู้ที่เติมเต็มและมีความสำคัญในการทำงานเกี่ยวกับดูแลผู้ป่วย

ผู้ให้รหัสทางการแพทย์มืออาชีพ (หรือผู้ให้รหัส)  เป็นผู้ที่มีหน้าที่แปลคำวินิจฉัยโรคและหัตถการเป็นรหัสโรค (ICD-10) และรหัสหัตถการ/การผ่าตัด (ICD-9)  ทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลในเวชระเบียนที่เกี่ยวข้องกับคำวินิจฉัยโรคและหัตถการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย รวมทั้งการให้รหัสจะต้องแน่ใจว่าได้มาจากคำที่ถูกต้องและให้รหัสได้ถูกต้อง

ผู้ให้รหัสมืออาชีพ ต้องมีความเข้าใจเนื้อหาในเวชระเบียนและสามารถหาข้อมูลสนับสนุนเพื่อให้รหัสได้อย่างถูกต้องและมีความเฉพาะเจาะจง (specific) ผู้ให้รหัสทางการแพทย์ระดับประกาศนียบัตร เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาวิชาสรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์, กระบวนการของการเกิดโรค, สาเหตุการเกิดโรค, พยาธิสภาพ, อาการ, อาการแสดง, การวินิจฉัยโรคและหัตถการ, แนวทางการรักษา และการพยากรโรคและขั้นตอนการทำหัตถการ เพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาให้รหัส เป็นการใช้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการการเกิดโรคและเทคนิคการทำหัตถการที่ถูกต้องมาประยุกต์ใช้ในการให้รหัสได้อย่างถูกต้อง ผู้ให้รหัสทางการแพทย์จึงเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่นำไปสู่ความสำเร็จในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีคุณภาพมากที่สุด
ที่มา http://www.ahima.org/coding/profession.aspx


สำหรับในประเทศไทยผู้ให้รหัสควรจะต้องมีความรู้เพิ่มเติมดังนี้
1. ระบบ DRGs ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชยในหลายกองทุน เช่น สปสช., สกส.(กรมบัญชีกลาง), ปกส. เป็นต้น
2. หลักการให้รหัสมาตรฐานตาม Standard coding guideline ของ สนย.ฯ ได้กำหนดมาตรฐานให้ผู้ให้รหัสให้รหัสตามการบันทึกของแพทย์ ถ้ามีความเห็นแตกต่างจากแพทย์ให้ส่งเวชระเบียนให้แพทย์พิจารณาเห็นชอบและบันทึกลายมือชื่อก่อนจะนำกลับมาให้รหัส
3. การให้รหัสตามเอกสารแนะนำของ สปสช. ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์การให้รหัสว่าจะต้องมีหลักฐานบันทึกไว้ในเวชระเบียนและถูกต้องตามข้อกำหนดที่กำหนดไว้ในเอกสารแนะนำเป็นหลัก ถ้าไม่มีการสรุปโรคหรือหัตถการโดยแพทย์ผู้ให้รหัสสามารถให้รหัสได้แต่ต้องมีหลักฐานสนับสนุนและถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด (ตามเกณฑ์การประเมิน SA & CA)
หัวข้อ: Re: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: เกื้อกูล ครับ.. ที่ สิงหาคม 31, 2011, 08:35:31 AM
SA=SUMMARY  AUDIT

CA= CODE AUDIT

  ประมาณนี้ใช่ไหมครับพี่วินัย...ผมก็ให้ความสำคัญเรื่องนี้..ถ้าจะวัดเรื่อง IM กับ สภาวะสุขภาพ  สถิติสุขภาพของคนในพท.รับผิดชอบหรือจังหวัดหรือเขต หรือประเทศ..เหล่านี้ต้องให้ความสำคัญอย่างมากครับ..แต่วันนี้เรายังอาจแปลความหมายเพียงแค่มี  ไม่เว้นว่าง..แต่เรื่องความเหมาะสมและถูกต้องตามพยานสืบสวนแวดล้อม...ยังเป็นอะไรที่พัฒนาต่อได้อีกมากมาย..คงขึ้นอยู่กับหลายกระบวนการครับ....
หัวข้อ: Re: ค่า Principal Diagnosis บังคับให้คุณหมอลงได้ไหมครับ
เริ่มหัวข้อโดย: vinaisena ที่ สิงหาคม 31, 2011, 10:56:28 AM
ครับ อ.เกื้อ การบันทึกรหัสโรคผ่านบุคคลที่มีหน้าที่ เข้าสู่กระบวนการของ ระบบ MIS ของ รพ.เป็นเรื่องที่ จะต้องเฝ้าจับตาดูอย่าง
Model I
1. ห้องบัตรค้น OPD card
2. แพทย์เขียน OPDcard
3. Coder ถอดรหัสโรค / และ Key ลงระบบ computer
4. ประมวลผลข้อมูลเปรียบเทียบความ error

Model II
1. ห้องบัตรส่งผู้ป่วยผ่านระบบ computer
2. แพทย์ Diag / ลงรหัสโรคผ่าน Computer
3. Coder ตรวจสอบ / แก้ไข
4. เปรียบเทียบความ error

จำนวนข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบใน OPD หาก รพช. 150-250 ราย : วัน
จำนวนข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบใน OPD หาก รพท. >750  ราย : วัน
ต้องพิจารณาหลายอย่างในเรื่อง
1. ระบบงานบริการ
2. กำลังคนตามสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการเป็น Coder
3. กลไกการตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้น่าเชื่อถือได้