BMS-HOSxP Community
HOSxP => ยินดีต้อนรับ => ข้อความที่เริ่มโดย: Neo28 ที่ มีนาคม 19, 2007, 04:06:46 AM
-
ตามที่หน้าเว็บของ สปสช. ประกอบตามข้อความนี้ไม่ทราบว่าทุกท่านมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ
??? ด้วยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตรวจพบผู้ใช้บางรายใช้งานตรวจสอบสิทธิผ่านโปรแกรมช่วยที่พัฒนาเองโดยไม่ได้ผ่านหน้าเว็บที่สปสช.ให้บริการ และมีการใช้งานมากผิดปกติจนมีผลกระทบต่อการให้บริการของสปสช. โดยทำให้ผู้ใช้ทั่วประเทศ ตรวจสอบสิทธิได้ช้าลงและกระทบต่อการทำงานของเครื่องแม่ข่าย ในการนี้ สปสช.โดยสำนักบริหารสารสนเทศการประกันจะทำการติดตามผู้ใช้กลุ่มดังกล่าวเพื่อยกเลิกสิทธิการเข้าใช้งานอย่างถาวรและเสนอเรื่องต่อผู้บังคับบัญชาของท่าน พร้อมทั้งดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้พัฒนา เนื่องจากทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน ??? ???
-
ผู้ที่ใช้ hosxp เข้าข่ายหรือเปล่า หนอ
-
ไม่ได้ทำผิด กฎหมาย ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งใคร ทำเพื่อผลประโยชน์ของหน่วยราชการและผู้รับบริการทั้งนั้น
ในเมื่อ สปสช.จัดระบบที่ต้องให้หน่วยบริการ มีการตรวจสอบสิทธิตลอดเวลา ก็ควรเตรียมระบบรองรับให้พอ ไม่ควรจำกัดการใช้งานขอหน่วยบริการแบบนี้
-
ยังงัยก็ไม่เข้าข่ายครับ..เพราะlogin กับ password ที่กำหนดในตัวโปรแกรม...ได้มาจากการลงทะเบียนขอใช้งานของศูนย์ประกันแต่ละรพ.ครับ... เขาอนุญาต แล้วเราถึงใช้ได้
-
คงต้องร้องเพลงนี้ เธอคิดได้อย่างงัย การที่ สปสช. กล่าวถึง ถ้าเปรียบเทียบแล้วผมมองว่า ถนน 2 ช่องทาง การจราจรจะแออัด กว่า ถนนที่มีช่องทาง 10 ช่องทาง ขอรับ ทำใจเป็นกลาง...
-
ระบบตรวจสอบสิทธิของ HOSxP ใช้ระบบจำลอง Web Browser ขึ้นมาและจะทำการตรวจสอบเฉพาะเมื่อผู้ใช้สั่งให้ตรวจสอบเป็นรายๆ ไป เหมือนกับการตรวจสอบสิทธิผ่าน web ปกติอยู่แล้วครับ คงไม่ไปเพิ่ม workload อะไรมากมายกับ server ของ สปสช. ผมเข้าใจว่าคงมีบาง รพ. เขียน script ให้ดึงข้อมูลสิทธิของผู้ป่วยทั้ง รพ. มาเก็บเอาไว้มากกว่าครับ
จริงๆ ทาง สปสช. น่าจะตรวจสอบได้อยู่แล้วว่า รพ. อะไรมีการใช้บริการตรวจสอบสิทธิมากที่สุด แล้วก็แจ้งไปทาง รพ.นั้นๆ ก็ได้ครับ
ทางออกที่ดีก็คือ ทาง สปสช. ควรจะสร้างบริการ Web Service สำหรับให้หน่วยบริการที่มี ทีม IT เก่งๆ ตรวจสอบสิทธิผู้ป่วยผ่านบริการนี้ไปเลยครับ เพราะนอกจากจะลด bandwidth แล workload ของ server หลักแล้ว ยังนำไป Integrate เข้ากับระบบการให้บริการผู้ป่วยได้ด้วย
-
:P :-\ :-[ ขำขำ :P :-\ :-[
-
ไม่รู้ว่าทีม IT ของ สปสช. เค้ายังไงน่ะครับ งงจริงเลย ;D ;D ;D ยังไงก็ยังใช้ระบบตรวจสอบสิทธิของ HOSxP ต่อไปครับ
-
แหมผมตกใจแทบแย่ นึกว่าอาจารย์จะโดนไล่บี้ เหมือนท่านทักษิณ ซะแล้ว สู้ต่อไปครับอาจารย์ ผมโทษที่ความไม่พร้อมของ สปสช.มากกว่าอื่นใดคับ
-
คำถามที่อยู่ในใจผมตลอดมาว่า เมื่อใดที่กระทรวงจะกลับไปคิดทบทวนว่าทำอย่างไรถึงจะให้ รพ สามารถที่จะให้บริการแก่ผู้มาใช้บริการได้สะดวกและรวดเร็ว เพื่อลดขั้นตอนการบริการ ;)
ถ้าจิตใจยังไม่เปิดกว้าง โอกาสที่จะก้าวไปข้างหน้าก็ยากขึ้นไปทุกที
-
...ผมคิดว่าทุกโรงพยาบาล ไม่ได้มีคอมพิวเตอร์แค่เครื่องเดียว.....เพราะฉนั้นการเข้าถึงข้อมูลจะทำได้หลายๆจุด ไม่ใช่ว่าให้เข้าถึงได้แค่เครื่องคอมเครื่องเดียว....ถ้าแบบนั้นมันไม่ทันการหรอก โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว และ Hosxp ก็ใช้วิธีการเรียกดูข้อมูลเป็นครั้งเหมือนกับการดูผ่านเว็ป..... ก็เป็นเรื่องปรกติ ... สปสช ต่างหากที่ต้องแก้ไข....
-
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกหลอกครับที่ สปสช.มี อะไรแปลกๆ มาให้เราชาวสา'สุขเห็นอยู่เรื่อยๆ ถ้าเดาไม่ผิด หลังเหตุการณ์นี้ ก็จะมีเรื่องใหม่ มา ผมเห็นด้วยกับ กระทู้ทั้งหมดครับ โดยเฉพาะกระทู้ของ อ.manoi ครับ
-
ขอแสดงความคิดเห็นบ้างเพิ่งมีโอกาสได้เข้าเวบ ตามความเห็นที่ไม่ได้เพราะว่าเราใช้โปรแกรมของอาจารย์นะครับหากว่าระบบเราเรียนตรวจสอบสิทธิ์แบบที่อาจารย์ว่าคงเข้าในกรณีเหมือนกับเราเข้าหน้าเวบเขานั่นแหละคือเรียกใช้งานระบบเมื่อมีการตรวจสอบ ไม่ใช่เรียกข้อมูลตลอดเวลา ดังนั้นใช้ผ่านตัวไหนมีค่าเท่ากันครับแต่ผ่านโปรแกรมสะดวกกว่า กรณีที่สอง ทางฝั่งเขาเองน่าจะตรวจได้ว่า user ใหนที่ตัวเขาเองเป็นคนออกให้ มี password ให้มีการเรียกเข้าไปมากผิดปกติแล้วทำไมไม่แจ้งหรือระงับไปเลยดีกว่ามาป่าวประกาศแบบนี้ หน่วยงานที่ต้องรองรับการตรวจสอบสิทธิ์ของประชากรที่มีสิทธิ์ UC 40 ล้านคนรองรับระบบได้แค่นี้เองเหรอ คิดได้ไงครับ ผมว่าท่านพัฒนาของท่านให้รองรับปริมาณการใช้จะดีกว่านะครับ เพราะหากคิดในทางกลับกัน จำนวนที่มีการเรียกใช้มากหมายถึง เจ้าหน้าที่ตื่นตัวในการตรวจสอบสิทธิ์มากขึ้นก็เพราะผลมาจากท่านเข้มงวดในการเบิกเงินชดเชยนั่นแหละเลยต้องตรวจทุกรายที่มารพ . คิดง่าย ๆ รพ.ละ 100 รายต่อวัน อย่างต่ำ 500 รพ. เท่าไหร่แล้วครับ ไม่ว่าใครเขาจะใช้โปรแกรมใหนผ่านเข้าไปตรวจสอบก็ไม่น่าจะว่าเขาครับ เพราะเข้าหน้าเวบก็อืดดดดดครับ
-
ผมเคยได้ข่าวว่ามี สสจ. หนึ่ง พัฒนาโปรแกรมหนึ่งเข้าไปดึงฐานข้อมูลของ สปสช เพื่อนำมาเช็คสิทธิว่างแล้วขึ้นทะเบียนอัตโนมัติ ที่ละหลายพันเรคคอร์ด คงไม่เกี่ยวกับโปรแกรมนี้ หรือการเช็คสิทธิปกติ
-
ทีมเรา พยายาม ตรวจสอบ กับ สปสช. ว่า hosxp เข้าข่าย หรือ ไม่แต่ไม่ ได้รับคำ ตอบ ผม คิดว่า วิธีการที่เรา ตรวจ สิทธิ ไม่ เข้าข่ายที่ตามที่ สปสช. ประกาศ ครับ ถึง อย่าง ไร สปสช. น่า จะแจ้ง ไปยัง หน่วยงาน ที่ กระทำการตามที่อ้าง ถึง เพื่อ ไม่ ให้ ผู้ที่ไม่ ได้กระทำผิด ไม่สบายใจ และไม่ ได้รับผลกระทบ ครับ
-
มีคำถามมากมายว่าทำไม งาน ICT ของ GO ประเทศไทยถึงย่ำแย่ ไม่ไปไหน ดูแค่เว็บหน่วยงานของ รัฐแต่ละแห่ง ที่ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้เลย ทำไปประหนึ่งว่ามันคือ แฟชั่นเท่านั้น
ในขณะที่บางเว็บสามารถให้บริการได้ มีคนเข้าไปใช้มากจน Server ไม่สามารถรองรับได้ แทนที่จะดีใจว่าเรได้ใช้ ICT ให้เกิดประโยชน์แล้ว มันต้องพัฒนาระบบขึ้นไปอีกเพื่อสามารถให้บริการได้ กลับบอกว่านี่มันผิดกฏหมาย ?
ทางกลับกันเกิดเราไม่มีการเช็คสิทธิเลย ใส่สิทธิถูก ๆ ผิด ๆ เข้าไป ถามว่าใครเสียหาย ?
มันเป็นหลักคิดที่คับแคบมาก ๆ ของผู้บริหาร สปสช. แม้ว่าชาว HOSXP เองจะไม่เข้าข่ายการกระทำผิดครั้งนี้ แต่นี่ไม่ใช่ประเด็น ประเด็นอยู่ที่ว่าท่าทีที่แสดงออกมาแบบนี้ของ สปสช. แสดงออกนี้ เด็กอนุบาลเขายังคิดได้ดีกว่านี้เลย
ผมเห็นด้วยตามที่หลาย ๆ ท่านในที่นี้บอกว่า ถ้าเห็นว่ามันผิดก็ควรจะแจ้งกับ รพ. นั้น ๆ โดยตรง ไปเลย ไม่รู้จะประกาศเพื่อสร้าง อนาจักรไปทำไม ?
ในขณะเดียกันก็ควรพัฒนาระบบให้สามารถรองรับบริการตรงนี้ให้ได้อย่าง Web Serveice ที่อาจารย์ชัยพร ว่าไว้ ..
ผมเคยเขียน blog ไว้กรณีการจัดอันดับ E-Goverment ประเทศไทยร่วง สงสัยว่ามันร่วงเพราะว่ามีผู้บริการอยู่ใน Go ที่คิดเป็นเด็กอนุบาลแบบอยู่เยอะเกินไป ...
http://doktupcreation.com/blog/?p=11 (http://doktupcreation.com/blog/?p=11)