แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - witxp

หน้า: 1 2 [3] 4
101
สวัสดีครับ ที่รพ.สนใจนำ hosxp มาใช้และ อยากดูงาน รพ.ขนาด 30-60 เตียง ที่มีระบบ paperless นะครับ สนใจมาก ช่วยแนะนำด้วยนะครับ ขอบคุณครับ 
ขออนุญาตคิดต่างนะครับ

ขนาดไหนที่เรียกว่า paperless ครับ บางครั้งเราก็อยากจะ paperless แต่กลัวจะ hopeless น่ะครับ paperless มากไปคนไข้ไม่มีความรู้เพียงพอ หรือเราอธิบายเขาไม่ชัดเจน ไม่มีหลักฐานติดตัวติดมือ เป็นกระดาษไว้บ้าง การก็บริการก็อาจสับสนวุ่นวาย ล่าช้าได้ ต้องวางแผน วาง flow และทดลองระบบดีๆ ครับ สุดท้ายการทำงานบางงานก็ยังต้องมีกระดาษไว้เป็นหลักฐานให้ตรวจสอบ เช่น สิทธิจ่ายตรง ใบรับรองยานอกบัญชียาหลัก สำเนาใบเสร็จรับเงิน ประเทศเราทำสำเร็จได้ยากครับ ตราบใดที่กฏระเบียบยังเป็นอย่างทุกวันนี้

paperless จริงๆ ทำยากครับ แต่ถ้าใช้กระดาษน้อยลง หรือนำกลับมาใช้ซ้ำอีกหน้าละก็ทำได้ครับ ที่รพ.ผมเองก็ทำอยู่ครับ

102
แยกเป็น 2 กรณีครับ

1. การนำอุปกรณ์ทางการแพทย์กลับไปใช้ที่บ้านต้องชำระเงินเอง กรณีนี้ถ้าจะนำไปใช้ที่บ้านต้องชำระเงินเองครับ อย่างคนไข้ฉีด Insulin ที่บ้านจะเบิก Syringe Insulin ก็ไม่มีเว้น (ผมละงงกับกรมบัญชีกลางจริงๆ ไม่ให้เบิกจะให้กลับมาฉีดที่โรงพยาบาลหรืออย่างไร)

2. กรณีที่คนไข้นอนอยู่โรงพยาบาล set IV เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่กรมบัญชีกลางกำหนดให้คิดเหมารวมไว้ในค่าบริการแล้ว โรงพยาบาลไม่สามารถนำมาคิดเงินเพิ่มเติมเพื่อเรียกเก็บกับคนไข้ หรือลักไก่ส่งเบิกกับกรมบัญชีกลางได้ครับ ถ้าตรวจพบจะถูกเรียกเงินคืน

103
Development / Re: HOSxP 3.52.8.30
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2009, 13:38:51 PM »
หุหุ เพิ่ง update 3.52.8.23 ไปเมื่อวันเสาร์เองครับ รออีกหน่อยค่อย update  ;D

104
Development / Re: เรียนอ.ชัยพรเรื่องคิวรอรับยาครับ
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2009, 20:34:08 PM »
เหลือ 1500 คลิ๊ก น่าจะดีนะครับพี่
;D :D ;)
เดี๋ยวอาจารย์ก็ทำให้ครับ อาจารย์ใจดีอยู่แล้ว

105
Development / Re: เรียนอ.ชัยพรเรื่องคิวรอรับยาครับ
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2009, 05:43:33 AM »
ฝากทดสอบใน 3.52.8.9 ด้วยครับ
ขอบคุณครับ อาจารย์ ตอนนี้ update เป็น 3.52.8.23 แล้วครับ
สะดวกขึ้นมากเลย คนไข้วันละ 1500 ลดการคลิก mouse จาก 3 ครั้งต่อคนต่อการเลือกและสั่ง print เหลือ 2 ครั้งต่อ 1 คน (ลดจาก 4500 ครั้งต่อวัน เหลือ 3000 ครั้ง ชีวิตสบายขึ้นอีกเยอะครับ)  ;D :D

106
Development / Re: รวบรวมความเห็นเพื่อ Medication Reconciliation ใน HOSxP
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2009, 05:33:09 AM »
มาต่อกันครับ วันนี้อยู่เวรดึก ตอนนี้กำลังว่างเลยครับ ต่อจากส่วนที่ 1

2. กรณีเป็นยาที่ไม่ได้อยู่ในบัญชียาโรงพยาบาลหรือ ไม่มีข้อมูลรายการยาใน HOSxP อาจมีหน้าจอซักประวัติการใช้ยาอื่นๆ เพิ่มเติม โดยเภสัชกรผู้ซักประวัติต้องกรอกข้อมูลเพิ่มเติมเอง และควรเก็บไว้เป็นประวัติการใช้ยาอื่นๆ ไว้ด้วย โดยชื่อยา(สมุนไพร อาหารเสริม และอื่นๆ) ส่วนนี้ต้องกรอกเอง เหมือนกับใน Med Recocile เดิมใน HOSxP ผู้ป่วยในครับ ส่วนวิธีใช้น่าkey เพิ่มเองโดยดึงมาจากวิธีใช้ใน HOSxP ได้ รายละเอียดอื่นๆ เช่นใช้ครั้งสุดท้ายวันที่เท่าไร เวลาอะไร ก็กรอกเพิ่มต่อท้ายครับ เมื่อกรอกเสร็จเก็บข้อมูลไว้เป็น ประวัติการใช้ยาอื่นๆ ของการมาครั้งนั้นๆ ได้ วันหลังเราดึงประวัติอันนี้มาดูได้ และสอบถามกับผู้ป่วยได้เช่นกัน ไม่ต้องซักประวัติใหม่ทุกครั้ง

การนำไปใช้ของทั้งสองส่วนคือ ประวัติการใช้ยาเดิมใน รพ. กับประวัติการใช้ยาอื่นๆ ที่ไม่มีใน รพ. เมื่อจะนำส่วนนี้มาใช้เราอาจ ใช้วิธีคล้ายๆ กับการ Add Chart มาครับ โดยมีปุ่มแยก 2 ปุ่ม คือ Add Chart ยาเดิมโรคเรื้อรังที่มีใน รพ. กับ Add Chart ยาอื่นๆ ที่ไม่มีในโรงพยาบาล แล้ว print เพื่อ Consult แพทย์ เพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อครับ

ตามแบบฟอร์มด้านล่าง ส่วนที่เป็นตัวหนังสือสีเขียวคือที่เภสัชกรซักประวัติแล้วพิมพ์เข้าไปเพิ่มเอง ส่วนสีแดงคือส่วนที่แพทย์อ่านแบบปันทึกประวัติการใช้ยาที่ ห้องยาสั่งพิมพ์แล้ว print มาแนบ chart แล้วแพทย์จึงเขียนให้ความเห็น/คำสั่งการใช้ยาของผู้ป่วยรายนี้ (ตัวหนังสือสีแดง) แล้วส่งกลับห้องยาเพื่อดำเนินการต่อครับ
ท่านอื่นๆ มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ

107
หาอยู่นานมันมันคืออะไรหนอ เพิ่งรู้วันนี้เอง ขอบคุณนะครับ อ.กิจ กด Thank ให้แล้ว 1 ครั้ง  ;)

น้า jdadmin1 ตื่นแต่เช้าเหมือนกันนะครับ  ;D

108
ว่าจะไปต่อโท มหาวิทยาลัยอ๊อดฟอด  ;D :D ;) :D ;D พอดีเอนไม่ติดเลยห้ามออกนอกประเทศคับ
55555
ขอโทษคนอ่านถ้านอกเรื่องไปหน่อย 55555 ;D :D ;D
ถ้าจำไม่ผิด มหาวิทยาลัยอ๊อดฟอด  เนี่ยมี อ.อ๊อด เป็นอธิการบดีป่าวครับ
ขอโทษทีถ้าสายตาดีไปหน่อย เอิ๊ก!!  ;D ;D

109
ของผมมันยาวไปหรือเปล่าครับ
เอ้อ!! อ.กิจครับ ถ้าใครไม่ได้อ่านข้อความข้างบนมา อาจจะเข้าใจผิดได้นะครับว่าอะไรยาว เอิ๊ก!!  :D ;D
ส่วนของผมคิดว่ากำลังดีนะครับ ไม่สั้น ไม่ยาว แนะนำน้อยไม่รู้จัก แนะนำยาวดูแล้วตาลายอย่างที่เค้าว่า
แนะนำยังไงอันนี้แล้วแต่ style นะครับ ถึงตรงที่ยาวไปขี้เกียจอ่านก็หลับตาข้ามไปครับ  ;D  ::)

อ้อ!! หน้าบ้าน อ.อ๊อด เนี่ยดูเหมือนจะอยู่ที่ญี่ปุ่นหรือเปล่าครับ คุ้นๆ ในเรื่อง Doraemon

110
Development / Re: รวบรวมความเห็นเพื่อ Medication Reconciliation ใน HOSxP
« เมื่อ: สิงหาคม 26, 2009, 08:49:38 AM »
เป็นไปได้มั๊ย  ถ้าเราจะมี med_plan_opd  (เลียนแบบ med_plan_ipd)  ไว้สำหรับให้แพทย์ พยาบาล เภสัช สามารถเข้ามาดูได้ว่า ผป.รายนี้มี plan ในการให้ยาต่อเนื่อง อย่างไรบ้าง  plan จะ off เมื่อไหร่
ถ้าแพทย์บันทึก ใน แผนการให้ยาต่อเนื่อง นี้ หรือ med_plan_opd     ==> ในระบบที่มีการสั่งผป.นอกทั้งหมด (ห้องตรวจแพทย์  ห้องคัดกรอง ห้องยา ....)  ต้องมีปุ่ม Add chart ให้ด้วย เพื่อที่จะได้สั่งยาตามแผนได้ง่ายๆ เหมือน ipd
นอกจากนี้ พอ ผป.จะ admit   ใน ห้องตรวจแพทย์  ==> admit ==> med profile  ก็น่าจะมีปุ่มนี้ด้วย เพื่อให้แพทย์สั่งยา admit ให้ด้วยเลย
เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณหมออนุกูลครับ เพราะสิ่งที่ผมเสนอเป็นการดึงประวัติและข้อมูลเก่าย้อนหลังมาประกอบการพิจารณา การสั่งยาในครั้งนั้น (dynamic ไปเรื่อยๆ ตามข้อมูลแต่ละช่วงเวลา) แต่ med_plan_opd เป็นสิ่งที่ผ่านการพิจารณาของ แพทย์แล้วว่า plan การให้ยาต่อเนื่องเป็นอย่างไร (ข้อมูลค่อนข้างคงที่ นานๆ update ทีตามความเห็นของแพทย์) ถ้าแพทย์เฉพาะทางทำ med_plan_opd ไว้ เวลา intern หรือแพทย์ท่านอื่นที่มาตรวจต่อ Add Chart มาได้เลยครับ มีประโยชน์มาก อาจจะเพิ่มช่อง Note ให้แต่ละท่านที่มา review med_plan_opd ด้วยเพื่อให้รู้ว่าใครมา review เมื่อไร มีข้อความสื่อสารกับ แพทย์ เภสัช พยาบาล อย่างไรบ้างในแต่ละครั้งของการเปลี่ยนแปลง เช่น off Amlodipine กินแล้วบวม off Enalapril กินแล้วไอมาก Plan ให้ยากี่เดือนแล้วทำอย่างไรต่อ เป็นแผนการรักษาเป็น Profile ของแต่ละคนไว้เลยครับ

ขอบคุณครับที่มาแลกเปลี่ยน

111
Development / Re: รวบรวมความเห็นเพื่อ Medication Reconciliation ใน HOSxP
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2009, 08:46:33 AM »
สุดยอดเลยครับพี่ witxp แล้วเรื่องการ off ยาในระบบเราจะทราบได้อย่างไรครับ
                                          ;) ;) ขอบคุณครับ  ;) ;)
อาจจะลองเช็คจากคำสั่งใช้ยารายการนั้นๆ ของแพทย์แล้วระบุจำนวน 0 หรือกำหนดวิธีใช้ยาเป็นคำว่า off ในรายการยานั้น คือถ้าเช็คว่าไม่ได้จ่ายครั้งนั้นผมกลัวพลาดกรณี คนไข้มารับยาอื่นๆ ก่อนที่ยาโรคเรื้อรังเดิมจะหมด เช่น ยาเบาหวานยังมี แต่ยาโรคเก๊าท์หมดแล้วมารับครั้งนี้

ผมมี slide Med Reconcile ที่น่าสนใจตอนไปฟังประชุม National Forum 10 ปีนี้ ของโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำ Med Reconcile ทั้งผู้ป่วยนอกผู้ป่วยใน ถ้าสนใจอ่านก็ตาม Link ด้านล่างเลยครับ
http://www.ha.or.th/pro_upfile/130352/13P1-3C1Y.rar

อีกอันหนึ่งที่น่าสนใจของอาจารย์มังกร ประพันธ์วัฒนะ ม.นเรศวร อ่านได้ตาม Link ข้างล่างเลยครับ
http://www.pha.nu.ac.th/apirukw/HA1/forum_posts.asp?TID=1173&PN=1

112
Development / Re: รวบรวมความเห็นเพื่อ Medication Reconciliation ใน HOSxP
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2009, 00:33:45 AM »
หายไปหลายวันครับ ไป review เพิ่มเติมมีข้อเสนอแนะทะยอยมาเสนอความเห็นดังนี้ครับ

1.สำหรับกรณีเป็นยาที่คนไข้เคยได้รับจากโรงพยาบาล มีประวัติเดิมใน รพ.
  1.1 ขอเสนอแนะให้เพิ่ม TAB  Med Reconcile ในรายการเวชภัณฑ์ยา ตามรูปด้านล่างครับ เพื่อใช้ในการดึงข้อมูล หรือรายงานว่ายารายการใดบ้างที่ เป็นยาในกลุ่มที่ต้องการ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้ง ยาโรคเรื้อรัง หรือยาที่ต้องการติดตามการใช้เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง (เช่น High Alert Drug) เมื่อ ทำเครื่องหมาย / ใน checkbox แสดงว่าเป็นยาที่ใช้ต่อเนื่อง หรือยาโรคเรื้อรัง ส่วนด้านล่างเป็นตัวเลือกว่าเป็น กลุ่มยา หรือคลินิกโรคเรื้อรังใด โดยข้อมูลกลุ่มยา หรือ คลินิกอาจสร้างอีกตารางหนึ่งมาใช้ในการดึงค่าเข้ามา ที่กำหนดไว้ให้เลือกได้มากกว่า 1 กลุ่ม หรือคลินิก เพราะอาจมียาบางรายการ ที่อยู่ได้มากกว่า 1 คลินิกครับ เช่น Propranolol อาจอยู่ในกลุ่ม ยาความดัน หรือใช้ในคลินิกธัยรอยด์ก็ได้  การแยกกลุ่มมีประโยชน์ในการดึงรายงานครับ เช่น ดึงข้อมูลยาโรคเรื้อรัง มาแสดงผลโดยเรียงตาม กลุ่มยา/คลินิก เพื่อให้แพทย์ เภสัชกร พิจารณาแยกรายกลุ่มได้ง่ายเมื่อคนไข้มาตรวจตามคลินิกนั้นๆ พิจารณาเพิ่มยาลดยา หรือ off ยาได้ง่าย แทนที่จะ scan สายตาดูยาทุกตัว

  1.2 ที่หน้าจอคิวรอรับยาผู้ป่วยนอก / ที่ลงรายการจ่ายยา Mode2 / ที่ห้องตรวจแพทย์ / หรือที่ระบบผู้ป่วยใน ขอเสนอให้เพิ่มปุ่ม Med Reconcile หรืออาจใช้คำว่า ประวัติยาใช้ต่อเนื่อง ที่แต่ละหน้าจอเพื่อดึงประวัติการใช้ยาต่อเนื่องมาดู ดึงมาสั่งในครั้งนี้ในรายการที่ต้องการ (RM, Add Chart) หรือพิมพ์ออกมาเป็น Profile ยาติด chart ติด OPD card หรือพิมพ์ Sticker ชื่อยาวิธีใช้ เพื่อติดสมุดประจำตัวประวัติการใช้ยาให้ผู้ป่วยนำไปแสดงกับจนท.สาธารณสุขเมื่อไปรักษาที่อื่นๆได้ครับ

  1.3 สำหรับ Profile ที่ต้องการ print การใช้ยาย้อนหลังผมแนบมาให้ดูตาม file ด้านล่างครับ ผมนำไปใช้ที่ PCU มาปีกว่าแล้วแต่เป็นระบบเขียนเองนะครับ ใช้สื่อสารระหว่าแพทย์ เภสัช จนท.สถานีอนามัย เราจะเห็น progress ของคนไข้ครับว่า มาตามนัดไหม กินยาถูกหรือเปล่า มาก่อนนัดแล้วยาหมดแสดงว่ากินผิด หมอเพิ่มยา ลดยา off ยาอะไรบ้าง เพราะ BP, FBS หรืออาการอะไรผิดปกติ ผู้ป่วยแพ้ยาไหม อ่านหนังสือได้หรือไม่ ส่วนช่องด้านหน้าที่เขียนว่าเลือกนั้น Design ไว้เผื่อว่าถ้าอาจารย์ชัยพรเห็นด้วย เวลาแสดงรายการเหล่านี้ที่หน้าจอตอนดึงรายงาน เราเลือกเป็นตัวๆ checkbox เลือกได้ครับว่าจะ RM ยาตัวไหน มาสั่งในครั้งนี้ได้ด้วย หรือจะสั่ง print รายการยาตัวไหน ไม่เอาตัวไหนถ้าจะ print เพื่อส่ง consult แพทย์ครับ

ผมต้องไปประชุมสรุปนิเทศกับคณะตรวจราชการเขต 18 ที่ชะอำ 3 วันครับ (25-27 สค 52) ช่วงนี้ขอรอฟังความเห็นจากทุกๆ ท่านก่อน แล้วจะมาทะยอยเสนอความเห็นต่อครับ

113
Development / Re: รวบรวมความเห็นเพื่อ Medication Reconciliation ใน HOSxP
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2009, 14:33:30 PM »
เคยเสนอ อ.MN ไปแล้วส่วนหนึ่งครับ แต่ว่าแนวทางยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร จากระบบ reconcile ใน HOSxP
ข้อจำกัดคือ
1.การดูข้อมูลยาย้อนหลังควรย้อนหลังแค่ไหนดี 2 เดือน/3เดือน?
2.การดูข้อมูลควรให้รายการยาผูกกับคลินิกนั้นๆ
3.กรณียาผู้ป่วย d/c น่าจะสามารถนำมาทบทวนย้อนหลังได้เหมือนผู้ป่วยนอก เพราะของมะการักษ์ตอนนี้ก็ทบทวนได้แต่ยาผู้ป่วยนอกไม่สามารถ review ยากลับบ้านผู้ป่วยในได้ 
4.เวลาทบทวนรายการการยา อยากให้มีปุ่ม addchart คล้ายผู้ป่วยในดึงรายการยาที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้แน่นอนออกมา
5.เรื่องนี้เรื่องใหญ่ครับต้องช่วยกันคิด วางแนวทางให้ดี :D :D
  1. การดูข้อมูลย้อนหลังผมว่าน่าจะมากกว่า 3 เดือนนะครับอย่างน้อยก็ 1 ปี เพราะคนไข้บางคนก็ขาดยาไปนาน บางคนก็รับยาต่อโรงพยาบาลอื่น แล้วค่อยกลับมารพ.เรา แต่ถ้ามากกว่า 1 ปี อาจทำให้ระบบช้าได้ (หรืออาจตั้งค่าได้ว่าให้ดึงข้อมูลย้อนหลังนานแค่ไหน ตามใจชอบ)

  2. การดูข้อมูลรายการยาอาจผูกกับคลินิก หรือนำรายการยาไปกำหนดค่าเฉพาะว่าเป็นยาที่ต้องดูข้อมูลย้อนหลัง เช่น เป็นยาเบาหวาน ยาความดัน ยา ARV ยา ACC ยาวัณโรค เป็นต้น กรณีนี้เท่าที่ทราบทางคุณหมออนุกุล ใช้ field oldcode ใน drugitems เป็นตัวกำหนด ว่า 1 ,2 ,3 ,4 เป็นยาในกลุ่มโรคเรื้อรังอะไร แต่ผมว่าการกำหนด field ที่ถูกต้องเฉพาะเจาะจงไปเลยใน drugitems น่าจะทำได้ชัดเจน ถูกต้องมากกว่าในอนาคต

  3. ข้อนี้เห็นด้วยครับ ว่าทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน น่าจะดึงข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ เพราะหลายๆครั้งที่เราต้อง เข้าดูทั้งหน้าจอผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในเพื่อจะดูว่าคนไข้ใช้ยาอะไรอยู่ (เรื่อง Med Reconcile มีการทำในกรณีผู้ป่วยนอกด้วยนะครับ มีโอกาสจะนำมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป) การส่งต่อข้อมูลยาที่ใช้ตอน Admit ถ้าแพทย์ที่ตรวจตอน Followup สามารถดึงประวัติทั้งผป.ใน ผป.นอกมาได้ก็จะสะดวกกับแพทย์ และห้องยามากครับ

  4. เห็นด้วยนะครับให้มีปุ่มดึงยามา แต่ควรจะเลือกได้ว่าตัวนี้เอา ไม่เอา ลบออกได้ หรือไม่เลือกได้ถ้าคิดว่ายาตัวไหนไม่เกี่ยว หรืออาจจะต้องมีช่อง note เพิ่มเติมของเภสัชไว้สื่อสารกับแพทย์ ต่อด้านหลังชื่อยารายการนั้นๆ

  ไม่รู้ผมฝันเฟื่องเกินไปหรือเปล่่านะครับ แต่สุดท้ายถ้าได้ข้อสรุป ผมจะออกแบบหน้าจอมาให้วิพากษ์กันอีกที

114
Development / Re: รวบรวมความเห็นเพื่อ Medication Reconciliation ใน HOSxP
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2009, 06:11:03 AM »
คำถามก็มีอยู่ว่าระบบ Medicaton Reconciliation ใน HOSxP ควรเป็นอย่างไร อยากให้แต่ละท่านช่วยแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือข้อคิดเห็นร่วมกันครับ ทำอย่างไรจึงจะใช้งานสะดวกในทุกจุดที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมการทำงานในขั้นตอน Admit Transfer D/C มีเอกสารประกอบอะไรบ้างที่เราต้อง Printout ออกมาให้ผู้ป่วยหรือผู้เกี่ยวข้อง เราต้อง set ค่าอะไรบ้างที่เป็นค่าพื้นฐาน ทำอย่างไรจะดึงประวัติรายการยาโรคเรื้อรังที่ต้องการในระบบ (ไม่ต้อง key เอง) กับการซักประวัติยาที่ได้รับจากที่อื่น (ต้อง key เอง) เพื่อประกอบการสั่งใช้ยาของแพทย์ ได้สะดวกขึ้น

เท่าที่เห็นใน webboard ทราบว่า คุณหมออนุกูล และอาจารย์อ๊อด กับอาจารย์อีกหลายๆ ท่าน ได้ทำไปบ้างแล้ว จึงอยากให้ทุกๆ ท่านได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะในเรื่องนี้กันครับ  :D

115
Development / Re: รวบรวมความเห็นเพื่อ Medication Reconciliation ใน HOSxP
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2009, 00:16:36 AM »
  จะเห็นได้ว่าระบบค่อนข้างมีความยุ่งยากซับซ้อน ในการสอบถามและสืบค้นข้อมูลพอสมควรทั้งจาก OPD Card และประวัติการรักษาในครั้งก่อนในโปรแกรมระบบโรงพยาบาลที่มี จากภาระงานอันหนักหน่วงทำให้เราไม่สามารถทำได้กับผู้ป่วยทุกรายในโรงพยาบาลครับ แต่ผู้เยี่ยมสำรวจจาก พรพ. และ จากการได้รับฟังประสบการณ์จากโรงพยาบาลที่ได้ดำเนินการไปแล้วแนะนำว่า

  ในภาวะที่มีภาระงานมาก บุคลากรมีจำกัด อาจเริ่มดำเนินการในผู้ป่วยในที่มีโรคเรื้อรัง หรือผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ทารก เด็กเล็ก ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลายชนิด ผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือกลุ่มที่มีการทำงานของอวัยวะบางอย่างบกพร่อง

  ก่อนหน้าที่จะมาใช้ HOSxP ผมได้เริ่มให้น้องเภสัชเก็บข้อมูลแบบ Manual กับ ward นึงครับ ภาระงานหนักพอสมควร คิดว่าถ้าเราไม่ได้ใช้โปรแกรมมาช่วยดึงข้อมูลยาเดิมแทนการเขียนแย่แน่ๆ ไปไม่รอด แต่ที่เริ่มได้เลยคือ ในขั้นตอนของการ D/C ผู้ป่วย ได้ print เอกสารแนบพร้อมทั้งใส่ซองติด sticker หน้าซองซิบใสขนาดกลางให้ผู้ป่วยไปว่า ประวัติการใช้ยา

  ประวัติการใช้ยา (โปรดนำติดตัวไปแสดงแก่ผู้ให้การรักษาทุกครั้งเพื่อประโยชน์ในการรักษาอย่างต่อเนื่อง)
  เรียน แพทย์ / เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านทราบ
ผู้ป่วยชื่อ ............   HN ........... ได้มารับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลกำแพงเพชร เมื่อวันที่ ............
โดยมีประวัติการได้รับยาดังนี้
1. ..........  กิน ....... วันละ .... ครั้งหลังอาหาร...
2. .....
3. ....
ประวัติการแพ้ยา ( ) ปฏิเสธการแพ้ยา  ( ) แพ้ยา .................

  ได้ให้คำแนะนำแก่คนไข้ทุกรายให้นำติดตัวไป ไม่ว่าจะไป คลินิก ร้านยา สถานีอนามัย โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือแม้แต่การกลับมา Followup แล้วพบแพทย์อีกครั้ง ไม่ต้องตามหา OPD Card มาดูประวัติอีกครั้ง ว่าได้ยาอะไรตอน D/C

วันนี้ขอจบเท่านี้ก่อนครับ

116
Development / Re: รวบรวมความเห็นเพื่อ Medication Reconciliation ใน HOSxP
« เมื่อ: สิงหาคม 16, 2009, 23:55:57 PM »
ขั้นตอนในการทำงานมีดังนี้ครับ
• Verification การเก็บข้อมูลประวัติการใช้ยา และบันทึกรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับ
ขั้นตอนนี้จะทำโดยพยาบาลประจำ ward หรือเภสัชกรก็ได้ครับ ที่นิยมคือ พยาบาลประจำ ward ซักประวัติเบื้องต้นในแบบฟอร์มที่กำหนด โดยอาจได้ข้อมูลจากการสอบถาม แล้วโทรแจ้งเภสัชกรให้ไปดำเนินการเก็บข้อมูลต่อในขั้นตอนต่อไป

• Clarification ทวนสอบความถูกต้องและเหมาะสมของรายการยาได้แก่ ชื่อยา ขนาดยา ความถี่
ขั้นตอนนี้เภสัชกรทวนสอบความถูกต้องจากผู้ป่วยหรือญาติครับ ว่าใช้ยาอะไรอยู่ ทั้งที่ได้รับจากโรงพยาบาล สถานีอนามัย คลินิก ร้านยา ซื้อกินเอง ยาสมุนไพร อาหารเสริม ใช้ยาขนาดเท่าไร วันละกี่ครั้ง และมื้อสุดท้ายกินยามาตอนไหนก่อนมาโรงพยาบาล (สำคัญครับ เพราะผู้ป่วยอาจกินยาเบาหวานมาเมื่อเช้าก่อนมา Admit เมื่อมา รพ.อาจได้ยา Stat Dose เข้าไปอีก ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าที่ควรจะเป็นได้)

• Reconciliation เปรียบเทียบยาที่ผู้ป่วยได้รับใหม่กับรายการที่ผู้ป่วยเคยได้รับ และบันทึกการเปลี่ยนแปลงในคำสั่งใช้ยา พร้อมเหตุผล
เภสัชกรเปรียบเทียบยาที่แพทย์สั่งในการ Admit ครั้งนี้ กับรายการยาที่ได้จากการสอบถามผู้ป่วยจากข้อที่ผ่านมา แล้วบันทึกในแบบฟอร์มที่ใช้ในการสื่อสารกับแพทย์ เพื่อให้แพทย์พิจารณาทบทวน ว่าจะปรับ dose หยุดยา เพิ่มยา หรือดำเนินการอย่างไรต่อไป เพื่อให้เกิดผลดีที่สุดในการรักษาผู้ป่วย

• Transmission เมื่อจำหน่ายผู้ป่วย ให้สื่อสารรายการยาล่าสุดที่ผู้ป่วยได้รับกับตัวผู้ป่วย หรือผู้ดูแล และส่งต่อรายการยาไปยังสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อรับการรักษาต่อ กรณีย้ายหอผู้ป่วย ควรส่งต่อรายการยาไปยังหน่วยงานใหม่ด้วย
กรณีนี้ ได้แก่ การส่งต่อข้อมูลยาล่าสุดที่ผู้ป่วยได้รับ ไปยัง ward ที่ผู้ป่วยจะย้ายไป หรือ กรณี D/C ควรส่งต่อข้อมูลให้กับ ผู้ป่วยติดตัวไป เพื่อใช้ในการสื่อสารกับ แพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่จะดูแลผู้ป่วยต่อไป ให้ทราบว่าผู้ป่วยใช้ยาอะไรอยู่ ขนาดเท่าใด ใช้วันละกี่ครั้ง มีประวัติการแพ้ยาหรืออาการไม่พึงประสงค์รุนแรง หรือไม่อย่างไร




117
Development / รวบรวมความเห็นเพื่อ Medication Reconciliation ใน HOSxP
« เมื่อ: สิงหาคม 16, 2009, 23:31:36 PM »
  สวัสดีครับ ผมเป็นเภสัชกรอีกคนที่ช่วยทีมงานในโรงพยาบาลดูแลเรื่องการพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาล รวมทั้งเรื่องของระบบยา (Medication Safety) ในโรงพยาบาล หลายๆครั้งที่เคยเข้ามาเสนอความเห็นเรื่องการพัฒนารูปแบบและโปรแกรม ให้มีความยืดหยุ่น ความสะดวกในการทำงาน รวมทั้งลดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในการทำงานด้วย ก็ได้รับความกรุณาจากอาจารย์ชัยพร ช่วยพัฒนาโปรแกรมตามข้อเสนอแนะด้วยดีเสมอมา

  ผมเองก่อนจะตั้งกระทู้นี้ มีความคิดว่าถ้าเราเสนอแนะ ตามแนวความคิดของเราคนเดียว น่าจะไม่กว้างขวาง รอบด้าน และอาจจะไม่ครอบคลุมตามความต้องการส่วนใหญ่ของพวกเราชาวชุมชน HOSxP แห่งนี้ เลยคิดว่าน่าจะมาช่วยกันระดมสมอง ระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาระบบอีกระบบหนึ่งซึ่ง เป็นระบบใหญ่ และหนักอกพอสมควร โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่กำลังเตรียมรอรับการประเมินคุณภาพ HA หรือรอเตรียม Re-accredit เหมือนโรงพยาบาลผม

  กระทู้นี้อาจจะยาวสักนิดนึงครับ แต่ขออนุญาตเล่าให้ฟังเรื่อง Medication Reconciliation ก่อนจะมาช่วยกันเสนอแนะ ระบบการทำงานในเรื่องนี้ ให้ชัดเจนและนำไปเสนอแนะเพื่อให้อาจารย์ชัยพรพัฒนาต่อยอดจากเดิมไปได้อีกครับ

  Medication Reconciliation เกิดจากการที่มีผู้ศึกษาพบว่าครึ่งหนึ่งของความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดขึ้นเกิดจากการสื่อสารที่ไม่ดี ในช่วงเปลี่ยนช่วงต่อของการดูแลผู้ป่วย เช่น ตอน Admit ย้ายWard รวมทั้งการ D/C หรือการ Refer ผู้ป่วยกลับไปรับยาต่อที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลชุมชนใกล้บ้าน และร้อยละ 42 – 61 ของผู้ป่วยที่ Admit ไม่ได้ใช้ยาที่เคยใช้อยู่อย่างต่อเนื่อง

  เช่น ผู้ป่วยเคยได้รับยา เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ยาเกี่ยวกับโรคเรื่อรังอื่นๆ หรือซื้อยากินเอง แต่เมื่อเจ็บป่วยกระทันหัน ต้องมา Admit ที่ โรงพยาบาล โดยไม่ได้นำยาติดตัวมาด้วย ไม่ได้แจ้งให้แพทย์ เภสัชกร หรือบุคลากรทีเกี่ยวข้องทราบ ทำให้ไม่ได้กินยาต่อเนื่อง และอาการกำเริบได้ รวมทั้งหากต้องเข้ารับการผ่าตัด แต่ไม่ได้หยุดยาบางชนิดก่อนผ่าตัด ทำให้เกิดอันตรายหลังการผ่าตัดได้

  ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นมีทั้ง ไม่ได้กินยาที่ควรกินอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้หยุดยาที่ควรหยุดก่อนการผ่าตัด ได้รับยาซ้ำซ้อนจากการกินยาที่ตนเองกินอยู่ร่วมกับการกินยาที่ได้รับขณะนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

  มีผู้ได้ให้ความหมายของ Medication Reconciliation ไว้ว่า
- การระบุรายการบัญชียาที่ถูกต้องที่สุดที่ผู้ป่วย กำลังได้รับ (ระบุชื่อยา ขนาดยา ความถี่ วิธีให้ยา) และใช้บัญชีนี้ให้ยาแก่ผู้ป่วยในทุกจุด โดยต้องมีการตรวจสอบ กับคำสั่งแพทย์ เมื่อแรกรับ จำหน่าย หรือย้ายหอผู้ป่วย

- การเปรียบเทียบรายการยาของผู้ป่วยเมื่อแรกรับที่แพทย์สั่งกับรายการยาที่ผู้ป่วยรับประทานต่อเนื่อง และพิจารณาว่าครอบคลุมที่ผู้ป่วยเคยได้รับหรือไม่ และแจ้งแพทย์กรณีที่พบความแตกต่างเพื่อให้แพทย์พิจารณาอีกครั้ง ซึ่งต้องทำทุกๆรอยต่อที่ส่งต่อผู้ป่วยระหว่าง โรงพยาบาลกับโรงพยาบาล ระหว่างหอผู้ป่วย หรือระหว่างแพทย์ จนกว่าผู้ป่วยกลับบ้าน

118
Development / Re: เรียนอ.ชัยพรเรื่องคิวรอรับยาครับ
« เมื่อ: สิงหาคม 10, 2009, 20:59:19 PM »
ฝากทดสอบใน 3.52.8.9 ด้วยครับ
อาจารย์ชัยพรครับ ผมได้ทดสอบแล้ว เรื่อง cursor active ที่ HN/QN ทำได้แล้วครับ แต่พบปัญหาเล็กน้อยขอปรึกษาดังนี้ครับ

1.เมื่อยิง barcode HN (หรือ key HN) ผู้ป่วยคนแรกเข้าไป ชื่อผู้ป่วยขึ้นที่ด้านบนซ้ายครับ แต่ด้านขวาไม่มีข้อมูลแสดง ถ้าเราไม่ไปคลิกเลือกที่ ชื่อคนไข้ที่ช่องด้านบนซ้ายก่อน (ไม่แน่ใจว่าหลังจาก ยิง Barcode HN แล้วให้แสดงข้อมูลของผู้ป่วยคนนั้นที่ช่องด้านขวาได้เลยหรือเปล่า อาจมีปัญหาบ้างเท่าที่สังเกตุคือกรณีผู้ป่วยตรวจ 2 คลินิก หรือกรณีมีตรวจ 2 คลินิกให้เตือนหรือให้ user click เลือกข้อมูลที่จะสั่ง print เองว่าจะเลือกคลิกนิกไหนออกมา print) ข้อนี้รูปภาพประกอบด้านล่างตามไฟล์ RxQueStep01, RxQueStep02

2.หลังจากสั่ง print sticker cursor มารอที่ช่อง HN เมื่อยิง barcode HN คนใหม่เข้าไป ชื่อผู้ป่วยแสดงที่ด้านบนซ้ายครับ แต่ข้อมูลฝั่งขวาเป็นของคนก่อนนี้ที่ยังค้างหน้าจออยู่ ต้อง click เลือกชื่อที่ช่องด้านบนซ้าย ข้อมูลฝั่งขวาจึงจะแสดงถูกต้อง (กรณีนี้ถ้า user ลืม click เลือกชื่อด้านซ้ายกดสั่ง print sticker เลยจะพิมพ์ sticker ออกมาผิดคนครับ ถ้าให้แสดงข้อมูลฝั่งขวาเลยหลังจากยิง barcode HN ที่ฝั่งซ้ายแล้วน่าจะลดข้อผิดพลาดได้มาก)
ข้อนี้รูปภาพประกอบด้านล่างตามไฟล์ RxQueStep03 - 05

ขอ post รูปเยอะหน่อยนะครับ เพื่อความเข้าใจตามขั้นตอนที่แสดง ขอบคุณครับ

119
Development / Re: HOSxP 3.52.8.9
« เมื่อ: สิงหาคม 10, 2009, 20:16:21 PM »
อาจารย์ชัยพรครับ Version นี้ ไม่มีบอก Version บน Titlebar แล้วเหรอครับ เวลาดูเครื่อง client เครื่องอื่นๆ ใน รพ.จะได้ทราบได้เลยว่า upgrade เครื่อง Client ตามเราหรือยัง

เรื่อง - ปรับปรุงหน้าจอบันทึกจ่ายยา/หน้าจอคิวรับยา
ผมได้ทดสอบแล้วครับ มีข้อเสนอแนะอาจารย์ตาม Link ด้านล่างครับ
http://hosxp.net/index.php?option=com_smf&Itemid=28&topic=11432.msg71009#new
http://hosxp.net/index.php?option=com_smf&Itemid=28&topic=11445.msg71017#new

ขอบคุณครับ


120
ปรับปรุงตามคำขอให้แล้วครับใน 3.52.8.8
อาจารย์ครับ ผมได้ทดสอบแล้วใน 3.52.8.9 อาจารย์ปรับให้แล้ว เรื่อง Diagnosis, ลำดับข้อมูลที่แสดงจากซ้ายไปขวา แต่ลำดับข้อมูลที่แสดงจากด้านบนลงไปด้านล่าง ยังไม่ได้แก้ไขครับ คือข้อมูลเรียงกันเป็นกลุ่มข้อมูลแล้วครับ คือ กลุ่มรหัสเวชภัณฑ์ (icode ขึ้นต้นด้วย 1) กับ กลุ่มรหัสค่ารักษาพยาบาล (code ขึ้นต้นด้วย 3) เพียงแต่ใน version นี้กลุ่มของค่ารักษาพยาบาลมาอยู่ลำดับต้นๆ ก่อนครับ อยากรบกวนให้อาจารย์ เรียงกลุ่มรายการยามาไว้ก่อนด้านบนครับ (กลุ่มที่ icode ขึ้นต้นด้วย 1) จะได้ไม่ต้องเลื่อนหน้าจอเพื่อมาดูรายการยาที่จะจ่ายด้านล่าง เพราะส่วนใหญ่เวลาจ่ายยาไม่ค่อยได้ดูหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยาครับ

ขอบคุณครับ


121
Development / Re: เรียนอ.ชัยพรเรื่องคิวรอรับยาครับ
« เมื่อ: สิงหาคม 10, 2009, 15:24:30 PM »
ขอบคุณครับอาจารย์ ทดสอบแล้วจะแจ้งผลให้ทราบครับ

122
Development / Re: เรียนอ.ชัยพรเรื่องคิวรอรับยาครับ
« เมื่อ: สิงหาคม 10, 2009, 14:45:37 PM »
ขอแลกเปลี่ยนความเห็นหรือ แนวทางในการให้บริการที่ห้องยานอกของโรงพยาบาลอื่นๆ ด้วยครับว่า จัดระบบอย่างไร Flow คนไข้ได้ดีที่สุด ของโรงพยาบาลผมมี 2 แบบครับ

แบบที่ 1 เวรนอกเวลา หรือเวรที่มีคนไข้ไม่มาก เช่นเวรบ่าย เวรดึก
  ที่หน้าจอ Queue รอรับยา เลือกคนไข้ที่หมอสั่งยาบนหน้าจอแล้ว เภสัช Screen Order ของแพทย์ว่าไม่มีคำสั่งที่สั่งยาผิด หรือวิธีใช้ผิด แล้วจึง Print sticker ออกมาจัดยารอ พอคนไข้เดินมาถึงห้องยา ยื่นบัตรคิวห้องยาจ่ายยาได้เลยทันที พร้อมบันทึกจ่ายยา ทำแบบนี้คนไข้ประทับใจมาก ชมว่าไวดี แถมเวลารอคอยน้อยมาก แต่มีข้อเสียบ้างครับคือ คนไข้บางคนตรวจกับหมอแล้วหายไปไหนไม่รู้ ไม่มาห้องยา ที่ print ไว้ก็กลายเป็นหมันรอยาวเลยครับ

แบบที่ 2 เวรเช้า หรือเวรที่มีคนไข้มาก
  ที่หน้าจอ Queue ทำตามแบบที่ 1 ไม่ได้ครับ เพราะรายชื่อที่หน้าคิวจะ Refresh หน้าจอบ่อยมาก ข้อมูลรายชื่อบนหน้าจอคิวโดดขึ้นโดดลง จน print sticker ไม่ทันเลยหละครับ แถมยังงุนงง ว่า คนไหน print แล้วหรือยังไม่ print ตามหา ตะกร้ายาที่จัดไว้แล้วมาจับคู่กับใบคิวที่คนไข้เพิ่งมาส่ง สนุกมาก แบบนี้เลยรอรับบัตรคิว แล้วค่อยมายิง Barcode HN แล้วสั่ง Print sticker ครับ ช้าหน่อย แต่ไม่งง

ท่านอื่นๆ มีวิธีอย่างไร ขอเชิญแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ครับ เผื่อได้วิธีดีๆ ที่ลด Error และคนไข้รอไม่นาน

123
ยินดีต้อนรับ / Re: การประชุมใหญ่ HOSxP
« เมื่อ: สิงหาคม 10, 2009, 09:35:51 AM »
(แนะนำสถานที่ควรห่างไกลสถานบันเทิงครับ)
โฮ่ๆๆ Family Man ตัวจริง ผมแนะนำให้ไปอบรมที่วัดเลยครับ ปลอดอบายมุขแน่นอน  ;D
ล้อเล่งน่า !!

หัวข้อ ขอเสนอเรื่อง เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ หรือการประยุกต์ใช้ HOSxP ในการพัฒนางานในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป PCU หรือจัดเป็นบอร์ดนิทรรศการก็ได้ครับ ส่วนต่างๆ เหล่านี้ให้ แต่ละโรงพยาบาลที่ต้องการมาแลกเปลี่ยนส่งหัวข้อเข้ามาก่อน เช่น ระบบรายงาน ระบบบริการเภสัชกรรม ระบบอื่นๆ... เพื่อจะได้ทราบว่ามีมากน้อยแค่ไหน จะคัดใครขึ้นเวทีแลกเปลี่ยนหรือจัดนิทรรศการบ้าง คล้ายๆ ประชุมวิชาการกระทรวง หรือ คล้ายๆ กับ National Forum Hospital Accreditation ครับ ถ้ามากันเยอะๆ ซักวันหลายๆ โรงพยาบาลที่ยังไม่ได้ใช้ HOSxP จะได้หันมาสนใจบ้างว่า ชุมชนแห่งนี้อบอุ่น และเหนียวแน่น แน่นปึ๊ก ขนาดไหน เหมือน HA Forum ครับกระแสแรงขึ้นเรื่อยๆ จนทุกวันนี้คนเข้าประชุมหลายพันคนแล้ว จนต้องย้ายไปจัดประชุมที่เมืองทองธานีกัน

124
Development / เรียนอ.ชัยพรเรื่องคิวรอรับยาครับ
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2009, 23:26:46 PM »
อาจารย์ชัยพรครับ ผมขอเสนอเรื่องระบบรอรับยา ฝ่ายเภสัชกรรมปัจจุบันมีการใช้งานใน 2 รูปแบบเท่าที่สังเกตุ ถ้าเป็นโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลที่มีคนไข้ไม่มาก จะใช้วิธีเลือกชื่อผู้ป่วยบนหน้าจอ Queue แล้วสั่ง print sticker หรือ ใบสั่งยาที่หน้าจอนี้เลย ส่วนโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปที่มีขนาดใหญ่ มีคนไข้ต่อวันค่อนข้างมาก หลังจากแพทย์ตรวจเสร็จ ผู้ป่วยจะนำบัตรคิวที่มี HN / QN มายื่นที่ห้องยาๆ key HN หรือใช้ Barcode Reader ยิง Barcode HN เข้าไป จะปรากฏชื่อคนไข้ที่จะสั่ง print หลังจากตรวจสอบ dose และความถูกต้องของคำสั่งใช้ยา แล้วจึงสั่ง print sticker หรือ ใบสั่งยา

ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือ ก่อนจะยิง Barcode ทุกครั้ง ต้องนำ mouse มา click ในช่อง HN/QN ด้านล่างซ้าย เพื่อให้รอรับค่าที่จะยิง Barcode ซึ่งปัจจุบัน Mouse จะไป Active รอที่ชื่อผู้ป่วย บางคนเผลอยิง Barcode เข้าไปก่อนจะขยับ mouse ไป click ในช่อง HN ก็จะกลายเป็นคำสั่ง Print Stcker คนเดิมที่ Mouse Active อยู่เดิมทันที ทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานบ่อยมาก

ที่จะขอเสนอคือ หลังจากสั่งพิมพ์ sticker หรือ ใบสั่งยาแล้ว ขอให้ cursor มารอรับค่า HN คนต่อไปในช่อง HN/QN เลยได้ไหมครับ เพื่อความสะดวกในการทำงานและลดข้อผิดพลาด ไม่ต้องขยับ mouse มาคลิกในช่อง HN/QN ทุกครั้งก่อน ยิง Barcode ซึ่งจะคล้ายๆ กับระบบบันทึกจ่ายยาที่ทุกครั้งที่บันทึกจ่ายเสร็จ cursor จะรอรับค่า QN คนต่อไปได้เลยไม่ต้อง ไป click mouse ในช่อง QN ทุกครั้ง ทำให้สะดวกมากๆ ครับ  ;D


125
ยินดีต้อนรับ / Re: เสื้อ BMS
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2009, 11:28:08 AM »
ผมว่าปีแรกๆ ชิมลางจัดประชุม ดูพละกำลัง ขุมกำลังของพวกเรากันไปก่อน พอชุมชนเราเข้มแข็งแล้วก็ปีต่อๆไปคราวนี้ จะถึงโอกาส แสดง power กันครับ รอให้สุกงอมอีกหน่อย

126
ยินดีต้อนรับ / Re: เสื้อ BMS
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2009, 00:34:16 AM »
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ กรุงเทพ หรือเชียงใหม่ก็ได้ เดินทางสะดวก ที่อยู่ ที่กินสะดวก

หัวข้อ ขอเสนอเรื่อง เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ หรือการประยุกต์ใช้ HOSxP ในการพัฒนางานในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป PCU หรือจัดเป็นบอร์ดนิทรรศการก็ได้ครับ ส่วนต่างๆ เหล่านี้ให้ แต่ละโรงพยาบาลที่ต้องการมาแลกเปลี่ยนส่งหัวข้อเข้ามาก่อน เช่น ระบบรายงาน ระบบบริการเภสัชกรรม ระบบอื่นๆ... เพื่อจะได้ทราบว่ามีมากน้อยแค่ไหน จะคัดใครขึ้นเวทีแลกเปลี่ยนหรือจัดนิทรรศการบ้าง คล้ายๆ ประชุมวิชาการกระทรวง หรือ คล้ายๆ กับ National Forum Hospital Accreditation ครับ ถ้ามากันเยอะๆ ซักวันหลายๆ โรงพยาบาลที่ยังไม่ได้ใช้ HOSxP จะได้หันมาสนใจบ้างว่า ชุมชนแห่งนี้อบอุ่น และเหนียวแน่น แน่นปึ๊ก ขนาดไหน เหมือน HA Forum ครับกระแสแรงขึ้นเรื่อยๆ จนทุกวันนี้คนเข้าประชุมหลายพันคนแล้ว จนต้องย้ายไปจัดประชุมที่เมืองทองธานีกันแล้ว

127
ยินดีต้อนรับ / Re: เสื้อ BMS
« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2009, 14:53:01 PM »
ตั้งแต่ได้เสื้อมาตอนไปอบรมที่วังน้ำเขียว คุณปรางค์ทักว่าไม่เห็นใส่มาให้ดู ตอนนั้นยังไม่ได้ซักครับกลัวคัน ตอนนี้ใส่มาหลายรอบแล้วครับ วันนี้มีคนมือถึงถ่ายรูปให้ เลยมา post ให้ดูครับว่าเสื้อ BMS ใส่แล้วขึ้นกล้องขนาดไหน เสื้อตัวนี้ได้มาเพราะร้อง Karaoke ตอนงานเลี้ยงเป็นคนแรกครับ น่าจะมีลายเซ็นอาจารย์ชัยพรสลักหลังมาด้วยท่าจะดี  ;D :D


128
ปรับปรุงตามคำขอให้แล้วครับใน 3.52.8.8
ขอบคุณครับอาจารย์  :D ;D

129
Report Exchange / Re: Datadic สำหรับ มือใหม่หัดเขียน report
« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2009, 07:13:43 AM »
แบบนี้เลยครับที่ตามหามานาน ขอบคุณครับ

130
ที่ รพ. คงใช้วิธีไม่ได้ครับ
เพราะ รพ.เราตกลงกันว่า 
ใน OPD case  :  ถ้ามีรายการในใบสั่งยา  มีจำนวนยา  ==>  แสดงว่า ผป.ต้องกินยานี้ และวันนี้มีการสั่งให้ผป.ด้วย
                         ถ้ามีรายการในใบสั่งยา แต่จำนวนยาเป็น 0 ==> แสดงว่า ผป.ต้องกินยานี้  แต่วันนี้ไม่มีการสั่งให้ผป.เพราะผป.มียาเดิมอยู่
สาเหตุ ที่กำหนดกันอย่างนี้  เพื่อให้เราสามารถ review ได้ว่า ณ.เวลานั้น ผป.ได้รับยาอะไรบ้าง แม้จะไม่สั่งให้ในวันนั้น  และอีกเหตุผลหนึ่งคือ แพทย์สามารถใช้ remed ได้ยาครบรายการจริงๆ  (ไม่ใช่ remed มาแต่ยาที่สั่งในวันเท่านั้น)
เห็นด้วยกับความเห็น  ที่ว่า น่าจะมี check box สำหรับติ๊กว่า  ใบสั่งยานี้ ผป.ไม่มารับยา   น่าจะทำรายงานง่ายกว่า
หมอที่รพ.ผมก็ ใส่จำนวนยาเป็น 0 กรณีเช่นที่คุณหมออนุกูลบอกเหมือนกันครับ ตอนแรกๆ เห็นก็งง บางทีเขียนข้อความอื่นๆมาด้วย เช่น Off เพราะกิน Amlodipine แล้วบวมไว้ในช่องวิธีใช้ยา แต่ที่กลัวคือครั้งต่อมา remed แล้วลืมแก้จำนวนยาจาก 0 เป็นจำนวนที่ควรได้ในครั้งนี้เพราะยาหมดจริงๆ แล้ว นานๆ ไป remed เพลินก็มีเหมือนกันครับ เลยต้องหมั่น consult

เรื่อง check box ขอสนับสนุนว่าเป็น check box หรือ ปุ่มกดตรงบันทึก(หรือปุ่ม Function key) ที่หน้าจอ queue หรือตอนบันทึกจ่ายก็ได้ครับ

131
ส่วนในข้อ 1 ที่ ร.พ. ให้ จนท. เขียนรหัสของคนที่จัดยาลงในกระดาษ (หลัง sticker pยา) และเภสัชที่จ่ายยาเป็นคนลงข้อมูลให้ครับ โดย key รหัสผู้จัดเป็นตัวเลข 4 หลัก (ผมใช้ 4 หลักสำหรับรหัสในตาราง doctor) กด enter แล้วใส่รหัสผู้ตรวจสอบ กด enter อีกที จะขึ้นรหัสของเภสัชที่จ่ายยา (ตามที่ login เข้า HOSxP) ก็กด enter ผ่านไปที่ "บันทึกจ่ายยา" กด enter อีกที เสร็จสิ้น....ครับ
ของผมแค่คนจ่ายลงของตัวเองก็หืดจับแล้วครับ ไม่ทันจริงๆ อีกอย่างถ้าลงแยกแต่ละจุดได้จะบอกได้เลยครับว่า ระยะเวลารอคอยแต่ละจุดเท่าไร ตั้งแต่ print จัดเสร็จ ตรวจเสร็จ จ่ายเสร็จ ดูปริมาณงานแต่ละคนได้ด้วย ถ้าให้คนจ่ายช่วยลง สงสัยจะมีเกี่ยงกันแน่เลยครับ

132
อาจารย์ชัยพรครับ มีข้อสอบถามและเสนอแนะเรื่องระบบบันทึกจ่ายยาที่ห้องยา เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูลที่บันทึกในระบบ สะดวกในการทำงานและ ลดความผิดพลาดดังนี้ครับ

1.ขอสอบถามว่าที่หน้าจอลงบันทึกจ่ายยาให้ผู้ป่วย ในช่อง ผู้จัด ผู้ตรวจ ผู้จ่ายยา เราจะแยกบันทึกอย่างไรครับ ถ้าระบบการทำงานที่ รพ.หลังจากเจ้าหน้าที่จัดยาเสร็จ มากรอกรหัสผู้จัดในช่องผู้จัด หลังจากนั้นส่งให้เภสัชกรผู้ตรวจสอบความถูกต้องรอบที่ 1 ตรวจแล้วลงรหัสผู้ตรวจ จากนั้นส่งต่อไปให้เภสัชกรผู้จ่าย จ่ายยาให้คนไข้แล้วลงบันทึกรหัสผู้จ่ายเป็นคนที่สาม ทุกวันนี้ลงบันทึกข้อมูลเฉพาะผู้จ่ายครับ ได้เคยทดลองลงรหัสผู้ตรวจ แล้วจะต่อด้วยการลงรหัสผู้จ่ายปรากฏว่า ระบบแจ้งว่าบันทึกจ่ายไปแล้วครับหลังจากลงรหัสผู้ตรวจ

2.ขอเสนอแนะเรื่องหน้าจอบันทึกจ่ายที่ tab แรก รายการเวชภัณฑ์
   2.1 ลำดับของการแสดงรายชื่อเวชภัณฑ์/ค่าใช้จ่าย จากบนลงล่าง ขอเรียงรายการยาไว้ลำดับแรกๆ ติดกัน แล้วต่อด้วยค่าบริการหมวดอื่นๆครับ ทุกวันนี้พอมีค่าบริการมาคั่นช่วงทำให้ตาลาย (ปีนี้อายุ42 สายตาเริ่มแย่) เวลาเช็คยาก่อนจ่ายมีโอกาสผิดมากได้ครับ พอดีที่ รพ.ใช้ระบบ paperless เลยไม่ได้ print ใบสั่งยามาตรวจกับยา

   2.2 ลำดับของข้อมูลที่แสดงจากซ้ายไปขวาขอเป็น ลำดับ ชื่อเวชภัณฑ์ จำนวน วิธีใช้ หมวดรายการ ...(ส่วนราคากับ รวมไม่ค่อยได้ใช้ครับ) จะทำให้ลดความผิดพลาดในการจ่าย และอธิบายคนไข้ได้ตามระบบการทำงานครับ หมวดรายการช่วยได้มากเวลาคนไข้มีเยอะๆ (คนไข้วันละ 1500 คน) เราจะรู้ได้เลยว่าคนไข้เคยใช้ยานี้แล้ว สอบถามทบทวน หรืออธิบายคร่าวๆ ได้เลย ถ้ายาใหม่อธิบายเยอะหน่อย ถ้าเปลี่ยนวิธีใช้ เราซักประวัติเพิ่มว่า อาการดีขึ้นหรือเป็นมากขึ้นหมอถึงเพิ่ม/ลด dose ยา ถ้ายาเดิมลดหรือเพิ่มจำนวนซักประวัติเพิ่มว่าอาการเป็นอย่างไร หมอถึงลด/เพิ่มจำนวนยา

   2.3 ขอเพิ่มช่อง Diagnosis ไว้ด้านหน้า บรรทัดเดียวกับ สิทธิ์การรักษาครับ เพื่อดูโรคกับยา และประกอบกับ CC PE ในการจ่ายยา ทำให้อธิบายยาได้ตรงกับโรค ทำงานง่ายขึ้นครับ ไม่ต้องถามว่าเป็นอะไรมา มีอาการอย่างไรมา รพ. เพราะยาบางตัวมีหลายข้อบ่งใช้ครับ

ขอบคุณครับ

133
แก้เฉพาะจำนวนยาเป็น 0 แล้วเพิ่มค่าบริการชื่อ ผู้ป่วยไม่มารับยา  ลงไปในใบสั่งยา ครับ
อาจารย์ครับ บางรพ.เสนอว่าให้ใช้วิธีส่งต่อไปแผนกอื่น โดยเลื่อกไปที่ ส่งต่อผู้ป่วยไปที่ ..แล้วให้กำหนดแผนกใหม่เป็นผู้ป่วยไม่มารับยา เขาบอกว่าจะดึงรายงานได้ด้วย หรือเราจะเพิ่มปุ่มบันทึกผู้ป่วยไม่มารับยาที่หน้าจอคิวหรือหน้าจอบันทึกจ่ายอื่นๆ จะดีไหมครับ แต่ต้องแก้จำนวนยาให้เป็น 0 เองก่อนตามที่อาจารย์บอก

134
จะได้ visit ที่สมบูรณ์เพิ่มใช้มัยครับ  แล้วเราจะดูจากที่ไหนครับว่าเป็นคนไข้ที่ไม่มารับยาครับผม
เพราะว่าคือใช้ทั้งคิวรับยา  และ mode 2 ครับ
ขอบคุณครับอาจารย์
คุณ niwat ครับ คนไข้ที่ไม่มารับยาที่หน้าจอคิวรับยา ในช่อง RX หลังชื่อผู้ป่วยจะมีเครื่องหมาย ++ หรือเป็นลูกศรสีแดงหรือรูป Printer ครับ เครื่องหมาย ++ แสดงว่าหมอสั่งยาแล้วแต่ยังมาไม่ถึงห้องยายังไม่ได้ print sticker หรือ ใบสั่งยา ลูกศรสีแดง print sticker แล้ว ถ้าลูกศรสีเขียวรับยาและบันทึกจ่ายแล้ว

135
ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่มาตรวจวันละหลายๆ คนครับที่มาตรวจ แพทย์สั่งยาให้แล้วแต่ ไม่มารับยา ไม่ทราบว่าแต่ละท่านมีวิธีจัดการกับข้อมูลเหล่านี้อย่างไรบ้างครับ เพราะถ้าบันทึกข้อมูลไปก็จะติดเป็นประวัติไปว่ารับยาไปเมื่อวันที่มาแล้ว อาจทำให้แพทย์ผู้ตรวจเข้าใจผิดได้ หรือแม้แต่ข้อมูลข้าราชการสิทธิ์จ่ายตรงกรมบัญชีกลางอาจจะส่งเบิกผิดได้ทั้งๆที่ ไม่ได้รับยาไป

136
พอดีมันแอบไปอยู่ข้่างหลังเลย ต้องคอยเลื่อนอยู่เรื่อย
อยากให้เห็นที่หน้า queue เลยครับ พราะส่วนใหญ่จะ check จากหน้า queue เป็นหลักถ้าถูกต้องก็เข้าไป F5 เพื่อบันทึกชื่อผู้จัด/จ่าย แต่ไม่ค่อยได้เข้าไปดูที่รายการเวชภัณฑ์ของหน้าบันทึกจ่ายครับ
ของพี่ใช้หน้าจอบันทึกจ่ายครับ เพราะถ้าใช้หน้า queue เคลียร์หน้าจอไม่ทัน เนื่องจากมีห้องตรวจหลายห้อง ส่งมาจนล้นหน้าจอเลยหละครับ (คนไข้วันละ 1500) ต้องเลื่อนหาตอน refresh หน้าจอจนตาลายเลยหละครับ ติดปัญหาเดียวคือหมวดค่ารักษาแอบไปอยู่ท้ายๆ ต้องลากมาปล่อยไว้ใกล้ๆ ถึงจะเห็น อยากให้อาจารย์ชัยพรเปลี่ยนลำดับการแสดงผลเหมือนกันครับ เดี๋ยว capture หน้าจอบันทึกจ่ายแล้วจะมาเสนออาจารย์ให้ช่วยปรับปรุงอีกที ลำดับหน้าจอบันทึกจ่ายตอนที่แสดงรายการยาน่าจะเป็น ชื่อยา จำนวนที่จ่าย วิธีใช้ แล้วก็หมวดค่ารักษา (ที่จริงอันนี้น่าจะเรียกว่า สถานะรายการยา) และถ้าเป็นไปได้อยากให้อาจารย์เรียงลำดับตามหมวดครับ คือขอเอายาไว้ด้านบน เวชภัณฑ์หรือค่ารักษา ค่า lab xray อื่นๆ ค่อยๆตามมา บางทีต้องคอยเลื่อนขึ้นเลื่อนลงจนตาลายครับ ถ้าอย่างนี้จะ check ยาได้ง่าย เป็นหมวดๆ เกาะกลุ่มกันไป

137
Development / Re: HOSxP Version 3.52.8.5
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2009, 21:25:09 PM »
เพิ่งจะ load .8.4 ไปเมื่อเช้า ยังไม่ได้ทดสอบเลย .8.5 มาอีกแล้ว 555555
ผมเพิ่ง Load ไปเมื่อคืน แต่ก็ยินดี Load ใหม่ครับ ชอบอยู่แล้ว  ;D

138
เอาไว้รายงานกับ  องค์การเภสัชกรรม VMI
( แต่เป็นแบบ  user script  นะครับ)  แค่ค้นหายา  tamiflu  ก็ได้เลย  ไม่ได้  fix เลข  icode  นะครับ
ส่งออกเป็น  excel   หรือ พิมพ์ได้เลย
โดยเลือกช่วงข้ามวันได้  เพราะยอดเขาตัดจาก  15.00.01  น.ของแต่ละวัน
ดีเหมือนกันครับไม่ต้องผูกกับ icode ของผม สสจ.ขอรายชื่อกับจำนวนที่ใช้ ที่รพ.ผมมีทั้ง Tamiflu cap และ Tamiflu susp.ชนิดน้ำที่เตรียมให้เด็กกินตามน้ำหนักตัว

139
ขอบคุณครับอาจารย์ เตรียมรอ Load version ใหม่เลย  ;D

140
ขอบคุณคับผม :D :D

แจก report
CUSTOM-รายงานสรุปค่าใช้จ่ายแยกตามสิทธิและตามหมวดการรักษาผู้ป่วยนอก2.cds
ครับ ได้มาจากพี่รพ.ท่าฉางไปออบรม ที่ จันทบุรี BMS  ครั้งล่าสุดครับ
       เผื่อใครใช้งานครับ ;D ;D ;D
ยินดีครับ มีรายงานมาให้ด้วยดีจัง  ;D

141
นอกเรื่อง / Re: ออกแล้ว Microsoft_Windows_7_Ultimate_OEM
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2009, 21:28:42 PM »
ผมใช้ windows7 7600 RTM ล่าสุด Nood32 smart security ใช้ได้ดีครับ...โหลดจาก isohunt ลง Hosxp PCU มีปัญหาด้าน Report ยังใช้ไม่ได้

Nood32 ใช้โปรแกรมนี้แล้วจะโป๊มากไหมครับเนี่ย ล้อเล่นนะครับ  ;) ;D

142
ช่วยกันดันหน่อยคร้าบ!! ชาวเภสัชทั้งหลาย สงสัยอาจต้องไปตั้งกระทู้เสนออาจารย์ให้เห็นชัดอีกที บางทีวันๆ นึงกระทู้มันเยอะครับ อ่านได้ไม่หมด
ถ้าหัวข้อนี้ work จะมีประโยชน์กับคนไข้ และตัวเภสัชกรผู้จ่ายยามากเลยครับ เพราะถ้าเห็นว่า

1.ยาเดิมเปลี่ยนวิธีใช้ เราจะแนะนำคนไข้ได้ตรงประเด็นมากขึ้น แค่ทวนถามว่าเคยกินยา เคยใช้ยาตัวนี้ไหม กินยังไง กี่เม็ด วันละกี่ครั้ง ไม่ต้องอธิบายเป็นนกแก้วนกขุนทองทุกตัว (คนไข้ก็อาจจะเซ็ง นึกในใจว่ากินมาเป็นปีแล้ว รู้แล้ว จะรีบไป) ถ้าหมอเปลี่ยนวิธีใช้เราอาจจะดักจับปัญหาได้ถ้า คนไข้อาการดีขึ้น หรือแย่ลง หมอถึง ลดยา หรือเพิ่มยา ถ้าไม่ใช่อาจจะเกิดการสั่งผิด ต้อง consult เพื่อ confirm กับหมออีกครั้ง

2.ยาเดิมเปลี่ยนจำนวน อาจเกิดจากแพทย์ลด หรือเพิ่มจำนวนวันนัด อาจเพราะต้องการนัดดูการตอบสนองต่อยาในระยะเวลาใกล้ๆนี้ หรืออาการดีขึ้นนัดห่างขึ้น

นอกจากนี้อาจมีที่ยังนึกไม่ถึงคือ ยาเดิม เปลี่ยนวิธีใช้ เปลี่ยนจำนวน จะแสดงยังไง
ที่ท้าทายในอนาคตถ้าระบบดักจับปัญหาดีขึ้นอาจเตือน คนไข้ขาดนัด เลยวันกำหนดที่ยาจะหมดและนัดมารับยา (แสดงว่าไม่ได้กินยาตามแพทย์สั่งแน่ เกิด DRP: Drug Related Problem)

ที่เคยมีแล้วเช่น ยาใหม่ ตอนแรกๆ ไม่น่าสนใจครับ ลงระบบใหม่ๆ มันขึ้นใหม่ทุกตัว ลง 3 เดือนไปแล้วค่อยน่าตื่นเต้นหน่อย แต่เสียตรงที่มันดูยาก ยาใหม่จะน่าสนใจก็ตรงที่เป็นกลุ่มยาที่น่าสนใจ เช่น ยาโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน อื่นๆ รวมทั้งกลุ่มยาที่ต้องติดตามการใช้ใน 3 เดือนแรก เพราะอาจเกิดการแพ้ยารุนแรง เช่น Phenytoin , Carbamazepine , Allopurinol ถ้า HOSxP ทำได้จะมีประโยชน์มากๆครับ

143
นี่เลยครับ Brother hl-2140 ราคาตัวละ 3600 ครับ ก่อนหน้านี้ผมใช้ hp1006 กระดาษออกออกบ้างไม่ออกบ้างแต่หลังจากใช้ Brother แล้วไม่ถูกตามอีกเลยครับ
Sticker ผมใช้ Zebra Thermal ครับ ไม่มีปัญหาอะไร ถ้า print ข้ามเครื่องอาจจะช้ากว่าปกติหน่อย ส่วนใบสั่งยาใช้ HP1006 เหมือนกันครับ ปล่อยให้กระดาษหมดทีไรต้อง restart เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง อย่านี้ผมคงต้องหันมาใช้ Brother บ้างแล้วครับ

144
หมวดค่ายาและเวชภัณฑ์ จะต้องกำหนดว่ายาตัวใดเป็นยาในหรือยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นประเภท ก ข ค ง จ เบิกได้หรือเบิกไม่ได้ เวชภัณฑ์ตัวใดที่ชำระเงินเองบางส่วน (มีค่าส่วนเกิน) ส่วนนี้ลองสอบถามจากฝ่ายเภสัชครับ เขาจะทราบรายละเอียดดี ถ้ากำหนดไม่ถูกต้องจะมีผลกับการออกใบเสร็จรับเงิน การส่ง claim จาก สปสช. สกส. ประกันสังคม นะครับ
ส่วนค่าบริการต่างๆ ค่า Lab X-ray กายภาพ แพทย์แผนไทย ต้องสอบถามจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายการพยาบาล ห้องผ่าตัด วิสัญญี หรือ การเงิน งานประกันสุขภาพที่เรียกเก็บแล้วแต่ๆ ละโครงสร้างของ แต่ละโรงพยาบาลครับ
หมวดหรือรหัสค่ารักษาพยาบาลจะมีรายละเอียดที่เป็นเล่มของกรมบัญชีกลาง ไว้อ้างอิงในการจัดทำหมวดและกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลด้วยครับ

145
ดูใน file pdf ที่โก้แนบมาแล้วอยากรู้ว่า SigCode รหัสวิธีใช้ยา เขาจะกำหนดอย่างไร เพราะมันมีเยอะมาก ตอน mapping กับ HOSxP ก็ยิ่งสนุกกว่าอีกนะครับ

ผมว่าบางที สกส.ก็ทำอะไรแปลกๆ อย่างเรื่องไม่ให้เบิกค่ายาสมุนไพร กับค่ายาวิตามิน ก็ได้คำแนะนำมาจาก สวรส.ด้วยครับ ทำให้ข้าราชการลำบาก ค่ารถ refer ก็ต้องออกเงินเอง ได้สิทธิน้อยกว่าบัตรทองในทุกวันนี้ สุดท้ายเชื่อไหมครับ พอสกส.ถังแตก เขาจะเปลี่ยนมาเป็นระบบเหมาจ่ายรายโรค คราวนี้รพ.แย่แน่

146
DID ผมยังลงไม่ครบเลย งานเข้าอีกแล้วครับท่าน  ส่วนมากเพราะรายการยาบางตัวซื้อ มามันไม่มีรหัส
ทามไงละครับทีนี้  :'(
กรณีที่รายการยาที่ ร.พ. ไม่มีใน drug catalog ของ สกส. ให้แจ้งไปทาง สกส. โดยด่วน แล้วเขาจะปรับให้ภายใน 3 วันทำการครับ
แต่ถ้าเราเริ่มทีหลังน่าจะไม่มีปัญหาเหล่านี้มากครับ เพราะโรงพยาบาลใหญ่ ๆ เขาจะแจ้งข้อมูลเข้าไปอยู่แล้ว ไม่ต้องห่วงครับ
ถามว่า...แล้วทำไม สกส. ไม่ใช้รหัสยา 24 หลักล่ะ
ก็ตอบว่าการ update รหัสยา 24 หลัก เป็นไปได้อย่างช้าาาาาาาาาาา ๆ ทำให้ไม่ทันต่อการใช้งาน สกส. จึงต้องกำหนดรหัสยาเอง
ทีนี่รายการยาที่รอรหัส สกส. อยู่ล่ะ จะเบิกได้หรือไม่
ก็ตอบว่า สกส. จะแขวนรายการยานั้นไว้ก่อน จะกว่า ร.พ. จะส่งข้อมูลแจ้งรายการยาใหม่นี้เข้าไป ดังนั้นการเบิกจ่าบรายการนี้จะถูกแขวนไว้ไม่เกิน 3 วัน หลังจาก ร.พ. แจ้ง สกส. ครับ
โก้ครับ พี่ถามนิดนึงว่าทำไมสกส.ต้องกำหนดรหัสยาเอง ในเมื่อกระทรวงได้ทำไว้แล้วทำไว้เกือบหมดแล้วยกเว้นยาที่ออกใหม่ในท้องตลาด โดยทำร่วมกันระหว่าง สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ อย. องค์การเภสัชกรรม ถ้าทำแบบนี้ เราต้องทำงานซ้ำซ้อนอีกนะครับ เพราะรายงานรหัสมาตรฐานด้านยา 24 หลัก เข้ากระทรวงก็อีกแบบ สกส.ก็อีกแบบ คนรายงานก็แย่เลยซิครับ พี่ว่า สกส.เขารู้สึกไม่คล่องตัวมากกว่า ที่จะต้องมารอรหัส ที่จริงถ้าทาง สกส.ประสานกับ กระทรวงโดย พี่ ภก.ประทิน หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.พระนั่งเกล้า นนทบุรี ที่เป็นคนพัฒนาและทราบรายละเอียดเรื่องนี้ดีที่สุด ก็น่าจะมีทางออกที่ดีกว่านี้นะครับ

147
SnagIt นี่ 2 คลิกจับภาพได้ทั้งหน้าจอเลยครับ

148
ตามนี้เลยครับ  http://www.photoscape.org/ps/main/download.php
ส่วนตัวอย่างการใช้งานก็ตามนี้ http://webboard.yenta4.com/topic/225757
กำลังหาอยู่พอดี ขอบคุณคร้าบ!!

149
ยินดีต้อนรับ / Re: บริการ BMS Maintenance Package
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2009, 22:37:37 PM »
เสนอ บ.BMS ครับ ไม่ถูกมันเข้าท่า หรือจะทำให้คนตกงานหรือเปล่านะครับ ให้ทาง บ.BMS ทำสัญญากับทาง รพ. ที่ยังไม่มี Admin หรือ มี Admin แล้วก็ตาม สมมุติว่า BMS ทำสัญญากับ ร.พ.แห่งหนึ่งค่าบำรุงรักษาหรือMaintenance  ปีละ 200,000  บาท โดยจะมี Admin ที่ให้บริการให้คำปรึกษาด้าน โปรแกรม HOSxP โดยเฉพาะประจำ รพ. 1 คน โดยค่าจ้าง admin รวมอยู่ใน 200,000 บาท BMS อาจจะไปจ้าง Admin คนที่เคยทำงานใน รพ.นั้น อยู่ หรือถ้าโรงพยาบาลไหนไม่มีก็จ้างคนที่จบมาทำงานให้สมมุติจ้าง admin เดือนละ 10,000 บาท อีก 10,000 บาท ก็เป็นของบริษัท สมมุติถ้าทำสัญญาได้ 350 รพ. x 200,000 = 70,000,000 บาท/ปี จ่าย admin เดือนละ 10, 000 บาท เป็นเงิน 35,000,000 เข้าบริษัท 35,000,000 บาท/ปี 
 ;D ;D ;D
คุณ Neo ครับ หมายถึง BMS จ้าง Admin 1 คนไว้ที่ รพ. หรือ จ้าง Admin 1 คนไว้รอตอบคำถามของโรงพยาบาลนั้นๆ โดยอยู่ที่บริษัทนะครับ ผมว่า Admin ที่รพ.คงไม่ตกงานหรอกครับ เราเป็น Admin ทำงานให้รพ.ดูแลและลงมือติดตามแก้ไขปัญหาให้ รพ.ได้ตลอด แต่ Consultant ให้คำปรึกษาเฉยๆ ครับ ยังไงเสียก็ต้องให้ Admin ของ รพ.มาทำให้อีกที หรือแม้แต่บริการ Maintenance ที่มาที่ รพ.ก็กำหนดเป็นช่วงตาม package ครับว่ามาครั้งเดียว 5 วันจบ  มา 3 ครั้งๆ ละ 5 วัน ช่วงที่เขาไม่มาก็ Admin นี่แหละครับ ที่ต้องทำให้รพ.

150
ถ้าเลือกปฏิเสธการแพ้ยาแล้วข้อมูลนี้จะไปอยู่ใน field ไหน table ไหนครับ ผมต้องการดึงข้อมูลมาใส่ในใบสั่งยา ว่าพยาบาล screen ขั้นต้นแล้วว่าไม่แพ้ยา อีกอย่างหนึ่งคือ กรณีที่ยังไม่มีจุดใดคัดกรองข้อมูลนี้ พอห้องยาซักถามผู้ป่วยเพิ่มเติม แล้วปฏิเสธการแพ้ยาจะได้ลงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ เพราะทุกวันนี้พอรู้ว่าไม่แพ้ก็ปล่อยข้ามไป วันหน้าเภสัชกรคนต่อไปมาถามก็ต้องถามซ้ำอีกครับ ถ้ามีช่องให้ลงตอนบันทึกจ่ายด้วยที่เภสัช พร้อมวันเวลาที่ซักประวัติก็จะดีมาก

หน้า: 1 2 [3] 4