คำชี้แจงการใช้รหัสหัตถการทางทันตกรรม (วันที่ 28 ธันวาคม 2554)
การบันทึกข้อมูลบริการสุขภาพ มีการกำหนดให้ใช้รหัสมาตรฐานได้ 2 แบบ คือ ICD9CM และ ICD10TM ที่ผ่านมาหน่วยงานระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/PCU/สถานีอนามัย ใช้รหัสหัตถการแบบ ICD10TM และหน่วยงานระดับโรงพยาบาลใช้รหัสหัตถการแบบ ICD9CM ทางการแพทย์จำเป็นต้องใช้รหัสหัตถการ ICD9CM เพื่อใช้คำนวณค่า DRG สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายผู้ป่วยใน แต่รหัส ICD9CM ไม่ได้ออกแบบสำหรับใช้งานผู้ป่วยนอก ทำให้มีรายการให้บันทึกน้อยมาก ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ คณะทำงานพัฒนาระบบสารสนเทศทันตสาธารณสุข ภายใต้กองทุนทันตกรรม จึงมีมติให้งานทันตกรรมและทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลเปลี่ยนไปใช้รหัสหัตถการ ICD10TM แทน ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ได้แจ้งยืนยันว่า ไม่กระทบกับการส่งข้อมูล การประเมินผลและการเบิกจ่ายเงินกลับของโรงพยาบาล และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มีหนังสือแจ้งให้ 23 จังหวัดนำร่อง ในการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพช่องปาก ให้เริ่มใช้รหัสหัตถการ ICD10TM ทางทันตกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ตามหนังสือ ที่ สธ 022.8/03/2416 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554
ประโยชน์ของการใช้รหัสหัตถการ ICD10TM
1. เมื่อโรงพยาบาลทุกแห่งเริ่มใช้จะทำให้เกิดระบบข้อมูลรับบริการรายบุคคลของงาน ทันตสาธารณสุข ตั้งแต่ระดับ รพ.สต./PCU จนถึงโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2. ลดภาระการทำรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบริการทันตกรรม
3. จังหวัด/โรงพยาบาล ใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการ เช่น การใช้ประเมินผลงาน การประยุกต์การจ่ายค่าตอบแทน P4P ใช้รวบรวมผลงาน ส่ง อวช. เป็นต้น
เพื่อให้ทันตบุคลากรและเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถดำเนินการให้โปรแกรมบันทึกข้อมูลบริการของโรงพยาบาล (HIS) บันทึกหัตถการของงานทันตกรรม เป็นรหัส ICD10TM ได้ สำนักบริหารสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดทำไฟล์ประกอบด้วย
1. map_รหัส ICD10TM&JHCIS8ค่ารักษา_27ธค.54.xls. เป็นไฟล์ตารางที่เชื่อมรหัสหัตถการ ICD10TM ทางทันตกรรม กับข้อมูลอื่นสำหรับนำไปประยุกต์ใช้งาน จำนวน 1,061 รายการ
2. อ้างอิง
-ICD10TM-Chap01-04,16 และ appendix A,B เป็นเอกสารอธิบายรหัส ICD10TM ที่เกี่ยวกับงานทันตกรรม พร้อมคำแปลเพื่อใช้ศึกษาทำความเข้าใจความหมายกับงานที่ใช้บริการ
-ค่ารักษา-กรมบัญชีกลาง.xls และค่าฟันปลอม-กรมบัญชีกลาง.pds เป็นรายการ ค่ารักษาพยาบาลที่ใช้เบิกกับกรมบัญชีกลาง
-สรุปปัญหารายการหัตถการใน JHCIS กรมบัญชีกลางกับ ICD10TM.doc เป็น สรุปจุดสำคัญที่ยังเป็นปัญหาการใช้รหัสหัตถการ ICD10TM กับโปรแกรม JHCIS และการเชื่อมค่ารักษาพยาบาลของกรมบัญชีกลาง
- 2 -
สำหรับไฟล์ “map_รหัสICD10TM27ธค.54.xls” เป็นไฟล์สำหรับนำไปใช้เพิ่มรหัสและรายการหัตถการตามมาตรฐาน ICD10TM มีองค์ประกอบหลายส่วน เพื่อให้ทางโรงพยาบาลประยุกต์การใช้ประโยชน์ ประกอบด้วยคอลัมภ์ต่าง ๆ ดังนี้
1. sheet “ฉบับเดิม” จะมีคอลัมภ์ทั้งหมดที่จัดทำมาตั้งแต่ต้น บางส่วนอาจซ้ำซ้อน ทำให้ดู ได้ยาก มีไว้สำหรับอ้างอิงเท่านั้น
2. sheet “ICD10TM_dent” เป็นรายการหัตถการที่เกี่ยวกับทันตกรรม ตามเอกสาร ICD10TM ปี 2007 บทที่ 1-4 และ 16 ได้จัดกลุ่มคอลัมภ์ให้เหลือเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งาน คือ
2.1 คอลัมภ์ A คือ ID สำหรับอ้างอิงรายการ เนื่องจากในรหัส ICD10TM บางรายการมีชื่อหัตถการซ้ำกัน
2.2 คอลัมภ์ B-C คือ การจัดกลุ่ม และกลุ่มย่อย เพื่อให้สะดวกต่อการค้นหาทั้งทางเอกสาร หรือประยุกต์ใช้ในโปรแกรมโรงพยาบาล HIS รายละเอียดความหมายมีอธิยายในส่วนถัดไป
2.3 คอลัมภ์ D-F คือ รหัสหัตถการที่ map เชื่อมกันระหว่าง ICD9CM กับ ICD10TM สำหรับบางหน่วยงานที่ต้องการจัดส่งรหัสเป็น ICD9CM ในภาพรวมทั้งหน่วยงาน โดยคอลัมภ์ D เป็นรหัสที่ทีมทันตแพทย์เสนอ ว่าน่าจะถูกต้อง ที่สำคัญคือเปลี่ยนรายการหัตถการที่ไม่สามารถ map ได้ จากเดิมที่ให้ 9999 เป็น 2499 เพื่อให้ทราบว่าเป็นงานทางทันตกรรม คอลัมภ์ E เป็นการ map ของอาจารย์วรรษา และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ซึ่งน่าจะถูกต้องมากกว่าในส่วนงานศัลยศาสตร์
2.4 คอลัมภ์ G-H ใช้สำหรับกรองข้อมูลที่ใช้งานบ่อย และบางรหัสที่ไม่แนะนำให้ใช้งาน เนื่องจากไม่ได้เป็นงานที่ทำแล้ว เช่น การใช้ gold foil หรือ ไม่ถูกต้องกับระบบการบันทึกข้อมูล เช่น การทำ Retrograde filling 2-4 ราก ใช้บันทึกรหัส 2387270 2-4 record แทน
2.5 คอลัมภ์ I-J เป็นชื่อหัตถการ แนะนำให้อ่านเพิ่มเติมในคู่มือ ICD10TM-Chap01-04,16 เนื่องจากมีคำอธิบายและความหมายของกลุ่มกิจกรรม เช่น 23871P5= Crown full cast high hobble metal1 และ 23874B1= Crown-full cast high noble ถ้าดูความหมายจะเหมือนเป็นงานเดียวกัน แต่ในชื่อกลุ่มจะระบุว่า 23871P5 เป็น Crowns-single restorations only ส่วน 238741 เป็น Fixed partial Denture Retainers-Crown
2.6 คอลัมภ์ K-P เป็นข้อมูล work point ที่ใช้ระบุภาระงานโดยใช้เวลาคูณกับ ตัวคูณ อาจไปประยุกต์ใช้ประเมินผลการทำงาน แทนจำนวนคนไข้ เพื่อตัดปัญหาว่าทำงานยาก งานง่าย ใช้จัดกลุ่มตามแบบการจัดส่ง อวช. (0)
2.7 คอลัมภ์ Q-V เป็นรายการข้อมูลในโปรแกรม JHCIS ที่ปรับปรุงข้อมูลราคาขายตามราคากรมบัญชีกลาง ประเภทงาน ประเภทฟัน โดยทั้ง รพ.สต. และโรงพยาบาลสามารถประยุกต์ราคาขายไป เพื่อในโปรแกรม HIS ของแต่ละหน่วยงานได้ ทั้งนี้ การเชื่อมข้อมูลมีข้อจำกัด บางรายการไม่มีในรายการของกรมบัญชีกลาง จะใช้ราคาเดิมของ JHCIS คือ 70 บาท บางรายการเชื่อมกับกรมบัญชีกลางได้หลาย
- 3 -
รายการ จะใช้ราคาต่ำเป็นหลัก บางรายการต้องเป็น 2 รหัส จึงเท่ากับกรมบัญชีกลาง 1 รายการ ได้แก่ งานขูดหินน้ำลายทั้งปาก ต้องใช้รหัส 2277310+2287310 งานฟันเทียมทั้งปากถอดได้ 2 ชิ้น ต้องใช้รหัส 2277410+2287410
2.8 คอลัมภ์ W-AA เป็นรายการข้อมูลตามสิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาลของกรมบัญชีกลาง
3. ข้อมูลบางส่วนยังไม่สมบูรณ์ บางส่วนยังไม่ถูกต้อง ท่านที่ต้องการให้ความเห็นข้อแนะนำ แจ้งได้ที่ ทันตแพทย์จารุวัฒน์ บุษราคัมรุหะ E-mail : jaru@health และสามารถ download ไฟล์ชุดนี้ และที่จะมีการปรับปรุงได้ที่เวบไซต์
http://phdb.moph:go.th หัวข้อ บริการข้อมูลdownloadรายงาน