ผู้เขียน หัวข้อ: เทคนิคการชาร์จแบตเตอรี่โน้ตบุ๊กให้คุ้มค่า  (อ่าน 6462 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ กรรมกรไอที

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 584
  • เมื่อเทคโนโลยีคือลมหายใจของเรา
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีวันสงกรานต์ครับ หายหน้าไปจากบอร์ด Hosxp ไปหลายสัปดาห์ ด้วยม่วนซื้นกับงานที่ต้องรับผิดชอบในตอนนี้ วันนี้แวะมาสวัสดีวันสงกรานต์สมาชิกทุกคน ขอให้สมาชิกทุกคนมีความสุขอยู่เย็นเป็นสุขนะครับ โอเควันนี้มีทริปการใช้โน็ตบุ๊คมาเล่าสู่กันฟัง เป็นเรื่องของแบตเตอรี่ครับ ลองอ่านและลองพิจารณาตัวเราดูว่าเราใช้เป็นอย่างไรบ้าง

       แบตเตอรี่โน้ตบุ๊คที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะเป็นชนิด Lithium Ion (Li-on) ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่สามารถชาร์จไฟได้ตลอดเวลา โดยไม่เกิดปัญหา Memory Effect (โน้ตบุ๊คบางยี่ห้ออาจจะเลือกใช้แบตเตอรี่ชนิด Lithium Polymer หรือตัวย่อ Li-Polymer ซึ่งมีคุณลักษณะใกล้เคียงกัน แต่น้ำหนักเบากว่า)
       
       ปัญหา Memory Effect คือกรณีที่แบตเตอรี่ถูกใช้ไฟไม่หมดประจุแล้วมีการนำไปชาร์จไฟใหม่อยู่บ่อย ๆ ทำให้แบตเตอรี่ไม่สามารถจำค่าสูงสุดที่มันเคยเก็บไว้ได้ เป็นสาเหตุให้แบตเตอรี่ค่อย ๆ เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่ปัญหา Memory Effect จะมีผลกระทบต่อแบตเตอรี่ชนิด Ni-Cad แต่สำหรับ Li-on และ Li-Polymer จะไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด

       แบตเตอรี่แบบ Li-on และ Li-Polymer จะนับการชาร์จเป็นรอบ (Cycle) โดยจะแบ่งแรงดันออกเป็น 3 ระดับคือ 1C หมายถึง การชาร์จ ณ ระดับพลังงานแบตเตอรี่มากกว่า 65-70%, 2C หมายถึง การชาร์จ ณ ระดับพลังงานแบตเตอรี่ 35-60% และ3C หมายถึงการชาร์จ ณ ระดับพลังงานต่ำกว่า 30%
       
       เทคนิคการชาร์จแบตเตอรี่ให้คุ้มค่า
1.จะชาร์จเมื่อไหร่?
       จากกราฟแกนแนวตั้งเป็นความจุ และแกนแนวนอนเป็นจำนวนรอบ (Cycle) ของการชาร์จ หากชาร์จแบตเตอรี่ที่ระดับ 3C จะสามารถชาร์จได้ประมาณ 300 รอบ (Cycle) ในขณะที่การชาร์จแบตเตอรี่ Li-on และ Li-Polymer ที่ระดับ 1C และ 2C จะสามารถชาร์จได้มากกว่า 400-500 รอบ (Cycle) ซึ่งสรุปได้ว่าการชาร์จที่ระดับ 1C จะทำให้พลังงานของแบตเตอรี่นั้นมีการสูญเสียพลังงานน้อยที่สุด ซึ่งหมายถึงอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่มากขึ้นนั่นเอง (ในความเป็นจริง การชาร์จในระดับ 2C ดูจะสมเหตุสมผลมากกว่าในระดับ 1C แต่อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการชาร์จในระดับ 3C เพราะจะทำให้อายุการใช้งานการแบตเตอรี่ลดลงอย่างมาก)
2. จะถอดหรือจะใส่แบตฯ อย่างไรดี?
       มีคำแนะนำที่ว่า “หากจะไม่ได้มีการใช้โน้ตบุ๊คเป็นระยะเวลานานให้ทำการถอดแบตเตอรี่ออกจากเครื่อง” แต่ก่อนที่จะทำการถอดแบตเตอรี่ออกมาเก็บนั้นอยากจะให้ลองดูตารางด้านบนกันสักนิด ตารางนี้แสดงถึงการสูญเสียพลังงงานของแบตเตอรี่ในระดับอุณหภูมิต่างๆกัน

       โดยจากตารางจะเห็นได้ว่าหากทำการเก็บแบตเตอรี่ที่อุณหภูมิปกติ (25 องศาเซลเซียส) แบตเตอรี่ที่มีความจุ 40% จะคลายประจุออกมา 4% หลังจากผ่านไป 1 ปี และยิ่งอุณหภูมิการเก็บสูงขึ้นอัตราการคลายประจุก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
       
       ในขณะที่แบตเตอรี่ที่มีความจุเต็ม 100% จะคลายประจุออกมาถึง 20% หลังจากผ่านไป 1 ปี และหากอุณหภูมิ การเก็บสูงขึ้นอัตราการคลายประจุก็จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน จึงสรุปได้ว่าหากต้องการถอดและเก็บแบตเตอรี่นั้นควรให้แบตเตอรี่มีความจุ 40% และควรเก็บในสถานที่ที่มีอากาศเย็น และไม่มีความชื้น (ตัวเลข 40% นี้เป็นค่าที่เหมาะสมที่สุดจากการทดลองในห้องแล็ป) ในทางกลับกัน กรณีที่มีการใช้งานโน้ตบุ๊ค การชาร์จแบตเตอรี่ทุกครั้งควรชาร์จให้เต็มความจุของแบตเตอรี่
  3. ถ้าเสียบปลั๊กใช้งานควรจะใส่หรือจะถอดแบตฯ ดี?
       ภายในแบตเตอรี่โน้ตบุ๊คนั้นจะมีวงจรไว้สำหรับควบคุมการชาร์จ โดยลักษณะของวงจรชาร์จแบตเตอรี่ที่พบในโน้ตบุ๊คจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบที่ 1 ทำการชาร์จตลอดเวลาแม้ระดับความจุของแบตเตอรี่จะสูงกว่า 90% วงจรแบบนี้จะพบได้ในโน้ตบุ๊ค รุ่นเก่าๆ ส่วนแบบที่ 2 วงจรชาร์จแบตเตอรี่จะทำงานเมื่อระดับความจุของแบตเตอรี่ต่ำกว่า 90-95% (แล้วแต่ยี่ห้อ) โดยโน้ตบุ๊คส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นจะใช้วงจรแบบที่ 2 นี้ เกือบทั้งหมด
       
       ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากวงจรการชาร์จทั้ง 2 แบบ แล้วสรุปได้ว่า หาดโน้ตบุ๊คของคุณเป็นรุ่นที่ใช้แบบเตอรี่ที่มีวงจรการชาร์จแบบที่ 2 แล้ว การเสียบปลั๊กเล่นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องถอดแบตออกและจะไม่มีผลกระทบใดๆต่อแบตเตอรี่เพราะวงจรการชาร์จของแบตเตอรี่ยังไม่ได้ทำงาน (ในกรณีที่แบตเตอรี่มีความจุมากกว่า 90-95%) แต่หากแบตเตอรี่มีความจุไม่ถึงระดับ 90-95% แนะนำให้ทำการใช้งานไปจนกว่าความจุของแบตเตอรี่จะลดลงถึงระดับ 2C หรือ 1C แล้วจึงค่อยเสียบปลั๊ก ในกรณีที่โน้ตบุ๊คของท่านเป็นรุ่นที่ใช้แบตเตอรี่ที่มีวงจรการชาร์จแบบที่ 1 (ไม่ตัดการทำงาน) ลองพิจารณาถึงข้อดี-ข้อเสียต่างๆ ดังต่อไปนี้
 
       อย่างไรก็ตามด้วยคุณลักษณะของแบตเตอรี่แบบ Li-on นั้นจะมีการคลายประจุออกมาอยู่แล้วในอัตรา 10 % ต่อ 1 เดือน (ที่อุณหภูมิการใช้งาน) และอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ของโน้ตบุ๊คก็จะไม่เกิน 2-3 ปี แต่หากมีการใช้งานอย่างถูกต้องเหมาะสมก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ยาวนานขึ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2007, 09:00:34 AM โดย เภสัชกร »
 

ออฟไลน์ กรรมกรไอที

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 584
  • เมื่อเทคโนโลยีคือลมหายใจของเรา
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
Re: เทคนิคการชาร์จแบตเตอรี่โน้ตบุ๊กให้คุ้มค่า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 15, 2007, 10:47:49 AM »
0
มีมาให้อ่านเพิ่มขึ้น ได้มาจากเว็บไซด์ของ asys ตัวแทนผุ้จำหน่ายสินค้าคอมพิวเตอร์เจ้าหนึ่งลองอ่านดูแล้วกันครับ


สิบวิธีการดูแลฮาร์ดดิสก์

โปรแกรมที่คุณใช้งานอยู่เป็นประจำทำงานช้าลงหรือเปล่า? หรือพีซีอายุใช้งาน 4 เดือนของคุณมีอาการงอแงหรือไม่? ต่อไปนี้คือวิธีการแก้ปัญหาและเพิ่มความเร็วให้กับฮาร์ดดิสก์ตัวเก่งของคุณ
 
 
การเป็นเจ้าของและใช้งานฮาร์ดดิสก์โดยไม่เคยสแกนตรวจสอบก็เหมือนกับการมีรถยนต์คันหรูที่เอาแต่ขับอย่างเดียวไม่เคยเข้า ศูนย์บริการ ซึ่งทิปต่อไปนี้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องลงแรงมากนัก เพียงแค่เจียดเวลาสักนิดในการปฏิบัติตาม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ ฮาร์ดดิสก์ของคุณกลับมามีชีวิตชีวาเหมือนใหม่และทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

สแกนหาไวรัส
จัดเป็นข้อควรปฏิบัติที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่คุณควรให้ความสำคัญและหมั่นทำเป็นประจำ เราคงไม่ต้องบอกคุณแล้วว่าไวรัสในปัจจุบันนั้นมีฤทธิ์เดช ร้ายแรงแค่ไหน เอาเป็นว่าให้คุณลองนึกถึงตอนที่ไฟล์ข้อมูลสำคัญในฮาร์ดดิสก์ถูกทำลายหรือเสียหายเพียงแค่เพราะว่าคุณไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมป้องกัน ไวรัสเอาไว้ในเครื่อง หรือใครที่ติดตั้งเอาไว้แล้วก็ไม่ควรชะล่าใจ ลองตรวจสอบวันที่ของฐานข้อมูลไวรัส (Virus Definition) ถ้าเก่า เกินกว่า 30 วัน ก็ควรรีบทำการอัพเดตให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบันเพื่อการป้องกันที่เต็มประสิทธิภาพ จากนั้นทำการสแกนฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดที่ติดตั้งอยู่ในระบบ ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้กำหนดตารางเวลาในการสแกนเป็นประจำทุกสัปดาห์


ปัดกวาดไฟล์หรือขยะที่ไม่ได้ใช้
ยิ่งใช้งานเครื่องมานานเท่าใด ไฟล์ข้อมูลเก่าๆ หรือขยะในเครื่องก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลเก่า โปรแกรมเก่า ไฟล์ชั่วคราว ที่หลงเหลือจากการท่องอินเทอร์เน็ตรวมทั้งไฟล์ที่ตกค้างจากการติดตั้งโปรแกรมในโฟลเดอร์เก็บไฟล์ชั่วคราวของวินโดว์ส ซึ่งวิธีการง่ายๆ ในการ กำจัดไฟล์ขยะเหล่า นี้ก็คือการใช้ยูทิลิตี้ Disk Cleanup ของวินโดว์สหรือจากออปชันทำความสะอาดไฟล์ในโปรแกรม IE โดยตรง (Tools -> Internet Options)


กำจัดขยะในซอกหลืบ

แม้ว่าคุณจะทำการลบไฟล์ขยะด้วยตัวเองไปแล้ว แต่ก็ยังอาจมีเศษขยะที่มองไม่เห็นตกค้างอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของคุณอีกมากมาย โดยเศษขยะในที่นี้ หมายถึงบรรดา สปายแวร์หรือแอดแวร์ต่างๆ ด้วย ซึ่งวิธีการตรวจสอบหาขยะเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษคือโปรแกรมอย่างเช่น Ad-aware หรือ Spybot Search & Destroy ที่หาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญคืออย่าลืมอัพเดตฐานข้อมูลให้กับโปรแกรมดังกล่าวก่อนเริ่ม ทำการสแกนระบบด้วย


หมั่นใช้สแกนดิสก์

เมื่อใดก็ตามที่พื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เกิดบกพร่องเสียหาย เรามักจะใช้คำแทนจุดบกพร่องนั้นๆ ว่า “Bad Sector” ซึ่งมีความหมายว่า บริเวณพื้นผิวของจาน แม่เหล็กเกิดความเสียหายจนไม่สามารถทำการอ่านข้อมูลได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นคือการใช้ยูทิลิตี้ Scandisk ของวินโดว์ส ในการตรวจสอบหาจุดที่เกิด Bad Sector และย้ายข้อมูลที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ไปยังเซกเตอร์อื่นๆ ที่ปกติทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของไฟล์ข้อมูล โดยในหน้าต่างยูทิลิตี้ Scandisk นั้นให้คุณเลือกออปชัน Scan for and attempt recovery of bad sectors ด้วยก่อนเริ่มทำการสแกน นอกจากนี้หากคุณใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 98/Me แนะนำให้ปิดการทำงาน ของสกรีนเซฟเวอร์ก่อนเริ่ม Scandisk ด้วย


จัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ

โปรแกรม Defragmenter ที่ไม่ต้องเสียเวลาหาให้ไกลเพราะมีอยู่ในวินโดว์สทุกเวอร์ชันแล้วนั้นจะช่วยในการจัดเรียงข้อมูลที่ถูกเขียนลงฮาร์ดดิสก์ อย่างสะเปะสะปะ ให้มีระเบียบและเป็นชิ้นเป็นอันมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้หัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไม่ต้องทำงานหนักและใช้เวลาในการอ่านข้อมูลสั้นลง และโปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าโปรแกรม จะจับไฟล์ในโฟลเดอร์ของคุณไปสลับสับเปลี่ยนหรือเรียงไว้ในโฟลเดอร์อื่นๆ จนหาไม่เจอ เพราะการ Defrag นั้นจะทำการจัดเรียงไฟล์ข้อมูลบนดิสก์เท่านั้นไม่ส่งผล กระทบต่อโครงสร้างการเก็บไฟล์ในวินโดว์สแต่อย่างใด

เก็บทุกอย่างให้เข้าที่

ขั้นตอนนี้จะเรียกว่าเป็นวินัยส่วนตัวก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นลิ้นชักตู้เสื้อผ้าหรือฮาร์ดดิสก์ก็ล้วนต้องการระบบระเบียบในการจัดเก็บที่ดีด้วยกันทั้งนั้น ฟังดูอาจเป็นงานที่น่าเบื่อ แต่ถ้าฝึกให้เป็นนิสัยตั้งแต่แรกก็แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย ส่วนใครที่ยังเก็บไฟล์ทุกชนิดทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เพลง ฯลฯ ปนกันมั่วไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน เตรียมตัวเตรียมใจกับเรื่องปวดหัวในการค้นหาไฟล์เมื่อต้องการใช้งานให้ดี แต่ถ้าไม่อยากก็สละเวลาจัดการจัดไฟล์ลงโฟลเดอร์ให้เรียบร้อยเสียตั้งแต่วันนี้


แบ็กอัพข้อมูล

ไม่มีฮาร์ดดิสก์รุ่นไหน ยี่ห้อใด ที่จะมีอายุยืนยาวอยู่กับคุณไปตลอดกาล แต่ถึงแม้ในที่สุดฮาร์ดดิสก์ของคุณจะหมดอายุขัย ก็ไม่ได้หมายความว่าข้อมูล ทั้งหมดที่เก็บอยู่ในนั้นจะสูญหายไปด้วย เพียงแต่สิ่งที่คุณควรต้องหมั่นทำเป็นกิจวัตรก็คือการแบ็กอัพไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ เก็บไว้ในฟล๊อบปี้ดิสก์ แผ่นซีดี ดีวีดี หรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ใช้งานอยู่ หรือถ้าที่กล่าวมานั้นมันยุ่งยากหรือทำให้คุณลำบากเกินไป แนะนำให้ใช้ทัมป์ไดรฟ์ที่ปัจจุบันมีราคา แสนถูก และถ้าไม่ลำบากเงินในกระเป๋าจนเกินไปเลือกรุ่นที่จุ 128MB ขึ้นไปจะดีมาก


เทขยะอย่าให้เหลือไฟล์ตกค้าง

เมื่อคุณกดปุ่ม Delete เพื่อลบไฟล์ ซึ่งในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าไฟล์ข้อมูลของคุณจะถูกลบออกไป แต่ในทางทฤษฎีนั้นไฟล์ของคุณจะยังไม่ถูกลบ ออก ไปจริงๆ เพียงแต่วินโดว์สจะทำเครื่องหมายไว้ในพื้นที่ส่วนนั้นๆ ว่าเป็นที่ว่างและเมื่อใดที่มีการเขียนไฟล์ข้อมูลก็สามารถเขียนทับตำแหน่งนั้นๆ ได้ นอกจากนี้วินโดว์สจะนำไฟล์ที่คุณลบไปใส่ไว้ในถังขยะ (Recycle Bin) เผื่อกรณีที่คุณเกิดเปลี่ยนใจหรือตัดสินใจพลาด หากใครช่างสังเกตจะพบว่า แม้จะลบไฟล์ข้อมูลไปแล้วแต่พื้นที่ว่างในอาร์ดดิสก์นั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เพราะข้อมูลนั้นๆ ยังนอนรอชะตากรรมอยู่ในถังขยะ (Recycle Bin) นั่นเอง ดังนั้นหากคุณมั่นใจว่าไม่ใช้งานแล้ว หรือไม่ต้องการให้ใครมาแอบคุ้ยถังขยะเอาข้อมูลส่วนตัวของคุณไป แนะให้คลิกขวาที่ไอคอน Recycle Bin แล้วเลือกคำสั่ง Empty Recycle Bin เพื่อกำจัดขยะในถังให้สิ้นซาก


แบ่งพาร์ทิชันเพื่อเก็บข้อมูล

ฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปที่ออกมาจากโรงงานนั้นจะไม่มีการแบ่งพาร์ทิชันเอาไว้ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือซื้อ 80GB ก็จะได้ไดรฟ์ C: ความจุ 80GB มาใช้งาน แต่ถ้าจะให้ดี แนะนำให้คุณทำการแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนๆ หรือที่เรียกว่าการแบ่งพาร์ทิชันนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ 80GB นำมาแบ่งเป็น 2 พาร์ทิชัน พาร์ทิชันละ 40GB ซึ่งคุณก็จะได้ไดรฟ์มาใช้งาน 2 ไดรฟ์คือไดรฟ์ C: และไดรฟ์ D: ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนอกจากจะช่วย ลดภาระของหัวอ่านและเพิ่มความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์แล้ว คุณยังสามารถแยกไฟล์สำคัญๆ มาเก็บไว้ในไดรฟ์แยกต่างหากจากไดรฟ์ที่ติดตั้ง วินโดว์สซึ่งอาจโดนไวรัสเล่นงานจนเสียหายได้อีกด้วย ซึ่งการแบ่งพาร์ทิชันนั้นคุณสามารถทำได้ในขณะที่ติดตั้ง Windows XP เลย แต่ถ้าไม่ได้ทำ ก็ไม่เป็นไรเพราะปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับการนี้มากมายซึ่งที่นิยมใช้กันมากที่สุดได้แก่โปรแกรม Partition Magic


เลือกความเร็วให้เหมาะกับงาน

วิธีการที่ผ่านมานั้นสามารถช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ของคุณสามารถทำงานได้เร็วขึ้นได้อีกเล็กน้อย อย่างไรก็ดี หากคุณกำลังมองหาหรือตัดสินใจซื้อฮาร์ดดิสก์ ใหม่ แนะนำให้พิจารณาเลือกรุ่นความเร็วที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่คุณต้องการใช้งาน เช่น เลือกรุ่นที่มีความเร็วในการหมุนจานแม่เหล็ก 5,400 RPM (รอบ/นาที) ที่มีราคาถูกถ้าคุณใช้เพียงโปรแกรมทั่วๆ ไปเช่น เล่นอินเทอร์เน็ต รับ-ส่งอีเมล์ หรือพิมพ์งานด้วยโปรแกรมเวิร์ด หรือถ้างานของคุณ เกี่ยวกับการตกแต่งภาพถ่าย เล่นเกม ก็อาจเลือกซื้อรุ่น 7200 RPM หรืออาจจะเป็น 10,000 RPM เลยก็ได้หากทำงานประเภทตัดต่อวิดีโอเป็นหลัก ซึ่งฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการหมุนจานแม่เหล็กสูงและมีขนาดของแคชภายในมากจะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานให้กับคุณมากยิ่งขึ้น


ชุบชีวิต Dead Pixel ในจอ LCD

........ถาม: ผมซื้อจอแอลซีดีจากร้านค้าแถวบ้านมาใช้ได้ประมาณ 3 เดือนกว่าๆ แล้ว แต่เพิ่งจะสังเกตเห็นว่า
มันมี 3 - 4จุดบริเวณกลางหน้าจอเป็นจุดสีแดงค้างเติ่งอยู่อย่างนั้น ผมกลุ้มใจมาก
ยกไปเปลี่ยนทางร้านก็ไม่สามารถจัดการอะไรให้ได้แล้ว พอจะมีคำแนะนำบ้างไหมครับ

........ตอบ: สำหรับจุดบอดที่ปรากฏในจอ LCD ที่คุณพูดถึงนั้น ทางเทคนิคเขาเรียกว่า Dead Pixel ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งในการเลือกซื้อจอประเภทนี้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่อง Dead Pixel
ยังพอมีทางบรรเทาให้มันดีขึ้นได้บ้างเหมือนกัน

มีรายงานหลายฉบับที่ระบุว่า การทำให้พิกเซลที่บอดได้รับความร้อนสามารถแก้ปัญหาได้
ซึ่งในทางทฤษฎีแรงกดเบารอบๆ Dead Pixel จะช่วยผลักดันให้ผลึกเหลวในตัวกลับเข้าไปอยู่ในตำแหน่ง
ที่เหมาะสม ได้ (ประมาณว่า ฟื้นคืนชีพให้กับ Dead Pixel ได้ยังไงยังงั้น) โดยในทางปฏิบัติ ให้คุณปิดจอ LCD
ก่อน จากนั้นให้ใช้ผ้าอ่อนนุ่มมาถูบริเวณที่พบ Dead Pixel ประมาณ 10 – 15 วินาที แล้วเปิดจอ LCD ให้ทำงาน
จากนั้นให้สัมผัสบริเวณที่ถูด้วยผ้า ซึ่งมันอาจจะเกิดเสียงเบาๆ ให้ได้ยินก็อย่าตกใจ ลองดูจุดบอดในจอ LCD
อีกครั้ง บางทีอาจมีข่าวดีให้คุณได้เฮก็ได้ อย่างไรก็ตาม มันก็มีคำเตือนอยู่นิดหนึ่งว่า อย่าถูจอแรงเกินไป
เพราะมันอาจทำให้คุณได้จุดบอดเพิ่มขึ้นแทนนะครับ

วิธีแรกนี้ให้ออกแรงใช้ผ้าถูเบาๆ แต่ต้องเร็วๆ (เพื่อให้เกิดความร้อน) รอบบริเวณที่เกิด Dead pixel

หากวิธีแรกไม่สำเร็จลองใช้อีก 2 วิธีที่ปลอดภัยกว่า นั่นคือ การเปิดปิดพิกเซลอย่างรวดเร็ว นัยว่าเป็นความพยายามอย่างหนึ่งในการรีเซต หรือสลับให้พิกเซลที่มีปัญหากลับไปอยู่ในสถานะปกติของการทำงาน สำหรับการแก้ไขด้วยวิธีนี้สามารถใช้ซอฟต์แวร์แจกฟรีอย่างเช่น Dead Pixel Tester หรือ DPT ซึ่งจะมีส่วนการทำงานเพิ่มเติมที่เรียกว่า Pixel Exerciser ส่วนอีกวิธีหนึ่งจะเป็นการเปิดเว็บเพจ Screefix ที่มีแอพเพล็ตจาวาทำหน้าที่สุ่มเปิดปิดจุดพิกเซลหลายครั้งต่อวินาที อย่างไรก็ดี การแก้ไขด้วย 2 วิธีนี้จะต้องใช้เวลานานนับชั่วโมงถึงจะเห็นผล ซึ่งหากโชคดี คุณก็จะได้พิกเซลที่ทำงานเป็นปกติกลับคืนมา


การเลือกซื้อ อุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย(Wireless LAN)

การใช้งานเครือข่ายไร้สายมีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ มาตรฐาน IEEE 802.11 เกิดขึ้น เครือข่ายไร้สายก็ได้รับการปรับปรุงและ พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบันเครือข่ายไร้สายสามารถใช้งาน
ได้ด้วยความสะดวก และมีความปลอดภัยสูงขึ้นมาก

นอกจากนั้นก็ยังให้อัตราความเร็วของการสื่อสารที่เพิ่มสูงขึ้นจนสามารถตอบรับกับการใช้งาน ในด้านต่างๆ ได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การใช้งาน วิดีโอสตรีมมิง มัลติมีเดียและการใช้งาน
ด้านความบันเทิงต่างๆ สำหรับการประยุกต์ ใช้งานเครือข่ายไร้สายนับว่า มีอย่างหลากหลาย ซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ต่อไปนี้
...... ผู้ใช้งานตามบ้านเรือนที่พัก สามารถนำระบบเครือข่ายไร้สายมาใช้งานทั้งการแชร์ การใช้งาน อินเทอร์เน็ตร่วมกับสมาชิกในครอบครัว รับฟังและรับชมสื่อบันเทิง บนเครือขายอินเทอร์เน็ตผ่าน ผลิตภัณฑ์ไร้สาย
แบบต่างๆ ได้จากทุกๆ ที่ภายในบริเวณ บ้านโดยไม่ต้องเดินสายนำสัญญาณให้ยากลำบาก

.....ผู้ใช้งานภายในองค์กร สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มผลิตผลของการทำงานของพนักงาน ลดค่าใช้จ่าย
ของการวางสายนำสัญญาณลง ใช้ขยายขอบเขตการใช้งานเครือข่ายเดิม ให้มีความยืดหยุ่น
ในกิจการโรงแรมสามารถให้บริการแก่แขกผู้มาเข้าพักได้โดยสะดวก ร้านอาหารสามารถนำมาใช้บริการ
กับลูกค้าที่เข้ามาสั่งอาหาร, ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินสายสัญญาณให้เข้าถึง
จุดบริการต่างๆ มากขึ้น และสามารถให้บริการในจุดบริการที่สายสัญญาณไม่สามารถเข้าถึงได้เช่นกัน,
ผู้บริหารระบบเครือข่ายสามารถเฝ้าตรวจสอบระบบ และปรับเปลี่ยนแก้ไขปัญหา ที่อาจเกิดขึ้นกับ
ระบบเครือข่ายจากจุดใดก็ได้ ทำให้สะดวกและรวดเร็ว ต่อการจัดการมากขึ้น


.....ผู้ใช้งานภายในสถานศึกษา สถานศึกษาสามารถใช้เครือข่ายไร้สายโดยให้นักศึกษาสามารถเข้าเรียน
ในแบบออนไลน์ได้ สามารถสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากจุดใดจุดหนึ่ง ของสถาบันได้
ช่วยให้นักศึกษาสามารถใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11

.....เครือข่ายไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11 ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยสถาบัน IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) ซึ่งมีข้อกำหนดระบุไว้ว่า ผลิตภัณฑ์เครือข่าย
ไร้สายในส่วนของ PHY Layer นั้นมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54
เมกะบิตต่อวินาที โดยมีสื่อนำสัญญาณ 3 ประเภทให้เลือกใช้งาน อันได้แก่ คลื่นวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์,
2.5 กิกะเฮิรตซ์และคลื่นอินฟาเรด ส่วน.ในระดับชั้น MAC Layer นั้นได้กำหนดกลไกของการทำงานแบบ
CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access/Collision Avoidance) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ CSMA/CD
(Collision Detection) ของมาตรฐาน IEEE 802.3 Ethernet ซึ่งนิยมใช้งานบนระบบเครือข่ายแลนใช้สาย
โดยมีกลไกในการเข้ารหัสข้อมูลก่อนแพร่กระจายสัญญาณไปบนอากาศ พร้อมกับมีการตรวจสอบผู้ใช้งานอีกด้วย
มาตรฐาน IEEE 802.11
....ในยุคเริ่มแรกนั้นให้ประสิทธิภาพการทำงาน ที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งไม่มีการรับรองคุณภาพของการ
ให้บริการที่เรียกว่า QoS (Quality of Service) ซึ่งมีความสำคัญในสภาพแวดล้อมที่มีแอพพลิเคชัน
หลากหลายประเภทให้ใช้งาน นอกจากนั้นกลไกในเรื่องการรักษาความปลอดภัย ที่นำมาใช้ก็ยังมีช่องโหว่
จำนวนมาก IEEE จึงได้จัดตั้งคณะทำงาน ขึ้นมาหลายชุดด้วยกัน เพื่อทำการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐาน
ให้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น

IEEE 802.11a
.....เป็นมาตรฐานที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยใช้เทคโนโลยี OFDM (Orthogonal
Frequency Division Multiplexing) เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ ไร้สายมีความสามารถ ในการรับส่งข้อมูล
ด้วยอัตราความเร็วสูงสุด 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นวิทยุย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่
ที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้ใช้งานโดยทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากสงวนไว้สำหรับ กิจการทางด้านดาวเทียม
ข้อเสียของผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11a ก็คือมีรัศมีการใช้งาน ในระยะสั้น และมีราคาแพง
ดังนั้นผลิตภัณฑ์ไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11a จึงได้รับความนิยมน้อย


IEEE 802.11b
.....เป็นมาตรฐานที่ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาพร้อมกับมาตรฐาน IEEE 802.11a เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมในการใช้งานกันอย่าง แพร่หลายมากที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมา
ให้รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying)
ร่วมกับเทคโนโลยี DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูล
ได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุดที่ 11 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุ ย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์
ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่อนุญาต ให้ใช้งานในแบบ สาธารณะ

ทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้มีชนิด ทั้งผลิตภัณฑ์
ที่รองรับเทคโนโลยี Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สายและ เตาไมโครเวฟ จึงทำให้การใช้งานนั้นมีปัญหา
ในเรื่องของสัญญาณรบกวนของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ข้อดีของมาตรฐาน IEEE 802.11b ก็คือ สนับสนุน
การใช้งานเป็นบริเวณกว้างกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11b
เป็นที่รู้จักในเครื่องหมายการค้า Wi-Fi ซึ่งกำหนดขึ้นโดย WECA (Wireless Ethernet Compatability
Alliance) โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย Wi-Fi ได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองว่าเป็นไป
ตามข้อกำหนดของมาตรฐาน IEEE 802.11b ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกัน กับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้


IEEE 802.11g
.....เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบันและได้เข้ามาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b เนื่องจากสนับสนุนอัตราความเร็วของการรับส่งข้อมูล ในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้เทคโนโลยี
OFDM บนคลื่นสัญญาณวิทยุ ย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ และให้รัศมีการทำงาน ที่มากกว่า IEEE 802.11a
พร้อมความสามารถในการใช้งานร่วมกันกับมาตรฐาน IEEE 802.11b ได้ (Backward-Compatible)


IEEE 802.11e .....เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานแอพพลิเคชันทางด้านมัลติเมียอย่าง VoIP
(Voice over IP) เพื่อควบคุมและรับประกันคุณภาพของการใช้งานตามหลักการ QoS (Quality of Service)
โดยการปรับปรุง MAC Layer ให้มีคุณสมบัติในการรับรอง การใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพ

IEEE 802.11f
.....มาตรฐานนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม IAPP (Inter Access Point Protocol) ซึ่งเป็น มาตรฐาน ที่ออกแบบมา
สำหรับจัดการกับผู้ใช้งานที่เคลื่อนที่ข้ามเขตการให้บริการของ Access Point ตัวหนึ่งไปยัง Access Point
อีกตัวหนึ่ง เพื่อให้บริการในแบบโรมมิง สัญญาณระหว่างกัน

IEEE 802.11h
มาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่ใช้งานย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ให้ทำงานถูกต้อง
ตามข้อกำหนดการใช้ความถี่ของประเทศในทวีปยุโรป


IEEE 802.11i
เป็นมาตรฐานในด้านการรักษาความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สาย โดยการปรับปรุง MAC Layer
เนื่องจากระบบเครือข่ายไร้สายมีช่องโหว่มากมายในการใช้งาน โดยเฉพาะฟังก์ชัน การเข้ารหัสแบบ WEP
64/128-bit ซึ่งใช้คีย์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับสภาพการใช้งาน ที่ต้องการความมั่นใจ
ในการรักษาความปลอดภัย ของการสื่อสารระดับสูง มาตรฐาน IEEE 802.11i จึงกำหนดเทคนิคการเข้ารหัส
ที่ใช้คีย์ชั่วคราวด้วย WPA, WPA2 และการเข้ารหัสในแบบ AES (Advanced Encryption Standard)
ซึ่งมีความน่าเชื่อถือสูง

IEEE 802.11k
เป็นมาตรฐานที่ใช้จัดการการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สาย ทั้งจัดการการใช้งานคลื่นวิทยุให้มีประสิทธิภาพ
มีฟังก์ชันการเลือกช่องสัญญาณ, การโรมมิงและการควบคุมกำลังส่ง นอกจากนั้นก็ยังมีการร้องขอและ
ปรับแต่งค่าให้เหมาะสมกับการทำงาน การหารัศมีการใช้งานสำหรับเครื่องไคลเอนต์ที่เหมะสมที่สุดเพื่อให้
ระบบ จัดการสามารถทำงานจากศูนย์กลางได้


IEEE 802.11n
เป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่คาดหมายกันว่า จะเข้ามาแทนที่มาตรฐาน IEEE 802.11a, IEEE
802.11b และ IEEE 802.11g ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน โดยให้อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล ในระดับ 100
เมกะบิตต่อวินาที

IEEE 802.1x
เป็นมาตรฐานที่ใช้งานกับระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งก่อนเข้าใช้งานระบบเครือข่าย ไร้สายจะต้อง ตรวจสอบสิทธิ์
ในการใช้งานก่อน โดย IEEE 802.1x จะใช้โพรโตคอล อย่าง LEAP, PEAP, EAP-TLS, EAP-FAST
ซึ่งรองรับการตรวจสอบผ่านเซิร์ฟเวอร์ เช่น RADIUS, Kerberos เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานกับเครือข่ายไร้สาย
เครือข่ายไร้สายที่จะนำมาใช้งานประกอบขึ้นด้วยอุปกรณ์ประเภทต่างๆ มากมาย ซึ่งมีทั้งออกแบบมาสำหรับ
ใช้งานกับผู้ใช้งานภายในบ้านและผู้ใช้งานภายในองค์กรต่างๆ

PCI Card
ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ หลายๆ รุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมนบอร์ดในระดับไฮเอนด์ จะมีคุณสมบัติ ไร้สายแบบ Built-in
ให้มาด้วย แต่ถ้าท่านต้องการให้ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีที่มีอยู่ต้องการ ใช้งานร่วมกับระบบไร้สาย ได้ก็สามารถ
เลือกติดตั้ง PCI Card ได้ ด้วยการถอดฝาครอบเครื่อง ของเราออกแล้วติดตั้ง เข้าไปได้ทันที
การ์ดอีเทอร์เน็ตไร้สายแบบนี้นั้นจะมีเสาส่งสัญญาณแบบ Dipole ให้มาด้วย 1 เสา ถอดเปลี่ยนได้มาให้พร้อมกันด้วย
ซึ่งผู้ใช้งานนั้นสามารถที่จะปรับองศา ให้หันไปทิศทางที่ Access Point ตั้งอยู่เพื่อให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยน
สัญญาณ ระหว่างกันนั้นดีขึ้นได้

PCMCIA Card
เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่มีจำหน่ายในปัจจุบันนี้นิยมผนวกรวมความสามารถในการใช้งาน เครือข่ายไร้สาย
เข้าไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโน้ตบุ๊กที่ใช้งานเทคโนโลยี Intel Centrino ของทาง Intel แต่ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊กของท่านไม่สามารถใช้งานเครือข่ายไร้สาย ก็สามารถหาซื้อ การ์ดแบบ PCMCIA CardBus Adapter
มาติดตั้งได้ โดยลักษณะของตัวการ์ดจะมีขนาดเล็กเท่าบัตรเครดิต บางเบาและน้ำหนักน้อย จึงสามารถติดตั้ง
เข้ากับสล็อตแบบ PCMCIA ของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ได้โดยง่ายทีเดียว

USB Adapter
เป็นการ์ดที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและโน้ตบุ๊ก โดยมีให้เลือกใช้ ทั้งแบบที่เชื่อมต่อ
ผ่านสายนำสัญญาณและในแบบที่ต่อเข้ากับพอร์ต USB โดยตรง การ์ดเครือข่ายไร้สายแบบ USB นับว่า
ได้ให้ความคุ้มค่าสำหรับการใช้ทีเดียว Access Point เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นตัวกลางในการรับและส่งข้อมูล
ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง การ์ดเครือข่าย ไร้สายให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้

ลักษณะการทำงานจะเป็นเช่นเดียวกับ Hub ที่ใช้กับระบบเครือข่าย ใช้สาย โดย Access Point จะมีพอร์ต RJ-45
สำหรับใช้เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายใช้สายที่ใช้งานกัน

Wireless Broadband Router
อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับ ADSL ซึ่งออกแบบมาสำหรับ จุดประสงค์ การใช้งาน
อย่างหลากหลายเป็นทั้ง Router, Switch และ Access Point ปกติผู้ผลิตจะออกแบบมาให้มีพอร์ต เชื่อมต่อ
กับคอมพิวเตอร์แบบใช้สายจำนวน 4 พอร์ต แต่ผู้ผลิตหลายรายก็ออกอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กขนาดพ็อกเก็ต
ที่มีปุ่มสลับโหมด การทำงานมาให้ใช้ ซึ่งเหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายบ่อยครั้ง Wireless Bridge
เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้เชื่อมต่อเครือข่าย 2 เครือข่าย ให้สื่อสารกันได้ มีให้เลือกใช้งาน ทั้งแบบติดตั้ง
ภายนอกซึ่งใช้เชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างอาคาร และแบบที่ติดตั้งภายในอาคาร โดย Wireless Bridge มี 2
ลักษณะให้เลือกใช้ คือ แบบที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุด (Point-to-Point) และแบบจุดต่อหลายจุด
(Point-To-Multipoint) Wireless PrintServer สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์เพื่อให้มีความสามารถ
ในแบบไร้สาย มีทั้งรุ่นที่ออกแบบมา สำหรับ ใช้งานกับเครื่องพิมพ์ที่มีพอร์ต Parallel, USB หรือทั้งสองพอร์ต
ร่วมกันด้วย PoE (Power over Ethernet) Adapter เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับแก้ไขข้อยุ่งยาก
ในการเดินสายไฟฟ้าเพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ ไร้สาย โดยหันมาใช้วิธีการจ่ายไฟผ่านสายนำสัญญาณ UTP
ที่ยังมีคู่สายที่ยังไม่ถูกนำมา ใช้งานมาทำหน้าที่แทน ซึ่งอุปกรณ์PoE Adapter จะมี 2 ส่วน คือ Power Injector
เป็นอุปกรณ์กำเนิดไฟฟ้าและนำสัญญาณ ข้อมูลจาก Switch Hub เข้าไปสู่อุปกรณ์ไร้สาย อย่าง Access Point
และอีกอุปกรณ์เป็น Spliter ที่ใช้แยกสัญญาณข้อมูลและ ไฟฟ้าให้กับ Access Point
ผู้ผลิตหลายรายในปัจจุบันออกแบบให้ Switch สนับสนุน มาตรฐาน IEEE 802.3af (PoE) มาพร้อมด้วย

คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายสำหรับการเลือกซื้อ

การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับใช้งานกับเครือข่ายไร้สายนั้น มีข้อพิจารณาไม่ได้แตกต่าง
ไปจากผลิตภัณฑ์ เครือข่ายใช้สายเท่าใดนัก โดยคุณสมบัติที่ควรมีมีดังต่อไปนี้

มาตรฐานใดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
.....ในปัจจุบันมาตรฐานที่นิยมใช้กันงานกันอยู่จะเป็นมาตรฐาน IEEE802.11g ซึ่งรองรับ อัตราความเร็ว สูงสุด
ในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเพียงพอ สำหรับการ ใช้งานโดยทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้อย่างดี
พร้อมกันนั้นก็ยังสนับสนุนการทำงานร่วมกันกับ มาตรฐานเดิมอย่าง IEEE802.11b ได้อย่างไร้ปัญหา
แต่ในขณะนี้ก็เริ่มที่จะเห็นผู้ผลิต หลายๆ ราย ต่างส่งผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนเทคโนโลยี MIMO ออกมามากขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งเป็นที่คาดหมายกันว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ เครือข่ายไร้สายที่ให้แบนด์วิดท์, ให้ประสิทธิภาพ การใช้งาน
ที่มากกว่า และมีรัศมีการทำงานที่ดีกว่านั้นจะเข้ามาทดแทนมาตรฐาน IEEE 802.1g เดิม แต่ผลิตภัณฑ์ที่
จะใช้งานคุณสมบัติเหล่านี้ได้อย่างเต็มพิกัดจะต้อง เป็นอุปกรณ์จากซีรีส์เดียวกัน ซึ่งตอนนี้ยังมีราคาแพงอยู่มาก
ดังนั้น การเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับ มาตรฐาน IEEE802.11g จึงยังคงเป็นคำตอบที่คุ้มค่ามากที่สุดอยู่

ระบบอินเตอร์เฟซแบบไหนสำหรับคุณ
การ์ดอีเทอร์เน็ตไร้สายก็มีหลายแบบหลายชนิด ให้เราๆ ได้เลือกใช้เช่นเดียวกัน สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ
โน้ตบุ๊กคุณสมบัติแบบ ไร้สายดูจะถูกผนวกรวม มาพร้อมกับตัวเครื่องแล้ว แต่สำหรับท่านที่ยังต้องการการ์ดไร้สาย
สำหรับโน้ตบุ๊กตัวโปรดอยู่ Wireless PCMCIA Card คือคำตอบสุดท้าย หรือถ้าอยากจะ ใช้งานร่วมกับ
เครื่องพีซีอย่างคุ้มค่า ก็ควรเลือกการ์ดแบบ USB Adapter ที่ราคาอาจจะแพง ขึ้นมาหน่อยแต่ก็แลกมา
กับความคุ้มค่าใช้งาน ได้หลากหลายกว่า สำหรับท่านที่มีเครื่องพีซี ก็มีอินเทอร์เฟซแบบ PCI Card มาเป็นตัวเลือก
เช่นเดียวกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมาพร้อม สายสัญญาณและเสาอากาศที่ตั้งบนที่สูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ
การสื่อสารได้ ผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงสัญญาณระหว่างกัน นอกจากจะสนับสนุนการทำงานในแบบ Ad-Hoc
หรือ Peer-to-Peer แล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังสามารถใช้ Access Point เป็นจุดเชื่อมต่อสัญญาณ
กับเครือข่ายใช้สายเพื่อการแชร์การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการ
ได้ยืดหยุ่นกว่า ในแบบ Insfrastructure โดยถ้ายังไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือติดตั้งระบบเครือข่าย มาก่อน
ก็ควรจะเลือกใช้ อุปกรณ์อย่าง Wireless Router ที่มีคุณสมบัติในแบบ All-in-One จะให้ความคุ้มค่า ได้มากกว่า
หรือถ้ามีการใช้งานเครือข่ายใช้สายและไร้สายอยู่ก่อนแต่ต้องการ เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งาน การเลือกใช้
Access Point ที่สนับสนุนโหมดการทำงาน แบบ Bridge และ Repeater ร่วมด้วย ดูจะเป็นการลงทุนที่ดูคุ้มค่ากว่า

ปกป้องการใช้งานด้วยระบบรักษาความปลอดภัย
สิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษในการจัดซื้อ ผลิตภัณฑ์ ระบบเครือข่ายไร้สายก็คือ การสื่อสารไร้สายนั้นเป็นการติดต่อ
สื่อสาร ด้วยการใช้คลื่นวิทยุที่แพร่ไป ตามบรรยากาศ จึงต้องให้ความสนใจในการเข้ารหัสข้อมูล ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกัน
การดักจับสัญญาณ จากผู้ไม่ประสงค์ดี การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไร้สาย จึงต้องคำนึงถึงฟังก์ชันการเข้ารหัสที่ใช้
ซึ่งเทคนิค ที่ใช้งานโดยทั่วๆ ไป สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน Wired Equivalent Privacy หรือ WEP ขนาด 64/128-bit
ร่วมกับ MAC Address Filtering ก็ดูจะเพียงพอ แต่สำหรับการใช้งานภายในองค์กรนั้นเทคนิคการตรวจสอบ
และกำหนดสิทธิ์การใช้งานต้องดูแข็งแกร่งกว่าโดยเลือกใช้ WPA (Wi-Fi Protected Privacy) ซึ่งใช้คีย์การ
เข้ารหัสที่น่าเชื่อถือร่วมกันกับเทคนิค การตรวจสอบและการกำหนดสิทธิ์ในแบบ 2 ฝั่ง แบบอื่นๆ อย่าง RADIUS
ร่วมด้วย จึงเป็นคำตอบที่เหมาะสม

เสารับส่งสัญญาณของผลิตภัณฑ์ สำหรับเสาอากาศของการ์ดไร้สายนั้น ถ้าเป็นการ์ด แบบ PCMCIA และแบบ USB
จะเป็นเสาอากาศ Built-in มาพร้อมตัวการ์ด ส่วนการ์ดแบบ PCI นั้น จะเป็นเสาอากาศแบบ Reverse-SMA
Connector ซึ่งสามารถถอดออกได้ โดยที่พบเห็นจะเป็นทั้งในแบบเสาเดี่ยวๆ ที่หมุนเข้ากับตัวการ์ด
และอีกแบบจะเป็นแบบ ที่มีสายนำสัญญาณต่อเชื่อมกับเสาที่ตั้งบนพื้น หรือยึดติดกับผนังได้ ซึ่งการเลือกซื้อนั้น
ควรเลือกซื้อ เสาอากาศแบบหลัง เนื่องจากให้ความยืดหยุ่น ในการติดตั้ง มากกว่า เพราะสามารถติดตั้งบนที่สูงๆ ได้

สำหรับอุปกรณ์อย่าง Access Point หรือ Wireless Router นั้นจะมีเสานำสัญญาณ ทั้งในแบบ เสาเดี่ยวและ 2 เสา
โดยการเลือกซื้อนั้นควรเลือก ซื้อแบบ 2 เสา เนื่องจาก ให้ประสิทธิภาพ ในการรับส่งสัญญาณที่ดีกว่า โดยลักษณะ
ของเสานั้นจะมีทั้งในแบบ ที่ยึดติดกับเข้ากับตัวอุปกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบเห็นในรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งาน
ตามบ้าน และอีกแบบเป็นเสาที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งหัวเชื่อมต่อนั้นจะเป็นทั้งแบบ Reverse-SMA Conector,
SMA Conector และแบบ T-Connector ซึ่งถ้าจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเสาอากาศควรจะเลือกซื้อ จากทางผู้ผลิต
รายเดียวกัน เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ซื้อหัวเชื่อมต่อผิดประเภท

สำหรับชนิดของเสาอากาศที่มีจำหน่ายจะมี 2 ชนิดหลักๆ ก็คือ แบบ Omni-Direction Antenna ซึ่งเป็นเสาที่
ทุกผู้ผลิตให้มากับตัวผลิตภัณฑ์แล้ว โดยคุณสมบัติของเสาประเภท นี้ก็คือ การรับและส่งสัญญาณในแบบ
รอบทิศทางในลักษณะเป็นวงกลม ทำให้การกระจาย สัญญาณ นั้นมีรัศมีโดยรอบ ครอบคลุมพื้นที่ แต่ถ้าต้องการ
ใช้งานที่มีลักษณะรับส่งสัญญาณ เป็นเส้นตรง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการรับส่งและระยะทางตามต้องการ
ก็มีเสาอีกชนิดหนึ่ง คือ Direction Antenna ซึ่งนิยมใช้งานกับผลิตภัณฑ์ประเภท Wireless Bridge

สำหรับการสื่อสารในแบบ Point-to-Point สำหรับท่านที่ต้องการเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อ ให้ได้ไกลมากยิ่งขึ้น
ก็สามารถเลือกซื้อเสาอากาศ High Gain ที่มีการขยายสัญญาณ สูงกว่าเสาอากาศที่ทางผู้ผลิตให้มากับตัวอุปกรณ์
โดยมีให้เลือกใช้หลายแบบทั้งในแบบที่มี ค่า Gain 5, 8, 12, 14 หรือสูงกว่าได้ กำลังส่งที่ปรับได้ สำหรับการ
ใช้งานผลิตภัณฑ์ไร้สายนั้น การปรับกำลังส่งสัญญาณได้ นับว่าเป็นคุณสมบัติ อย่างหนึ่งของตัวผลิตภัณฑ์
โดยกำลังส่งสูงสุดจะไม่เกิน 100mW หรือ 20dBm ซึ่งผู้ผลิตบางรายจะ มีผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนกำลังส่งสูงสุด
นี้ทีเดียว โดยค่ากำลังส่ง ที่มากก็แสดงว่า สามารถที่จะแพร่สัญญาณ ไปในระยะทางที่ไกล หรือให้รัศมีที่มากขึ้น
แต่ก็สามารถปรับกำลังส่งให้ลดต่ำลงเพื่อให้เหมาะสมกับ ความต้องการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานภายใน
องค์กรที่จะต้องใช้กำลังส่งให้เหมาะสมกับพื้นที่ เนื่องจากกำลังส่งสูงๆ อาจจะไปรบกวนสำนักงานข้างเคียงและ
อาจถูกลักลอบใช้งานระบบ เครือข่ายไร้สายก็เป็นไปได้ การอัปเกรดเฟิร์มแวร์เพื่อเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ๆ อุปกรณ์สำหรับระบบเครือข่ายไร้สายโดย เฉพาะอย่างยิ่ง Access Point, Wireless Router หรือผลิตภัณฑ์
ไร้สายประเภทอื่นๆ ทางผู้ผลิตก็อาจจะเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ๆ ในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของฟังก์ชัน
การเข้ารหัส ซึ่งอุปกรณ์ที่ผลิตออกมาก่อนหน้าจะสนับสนุน WEP, WPA ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับ ระบบรักษา
ความปลอดภัยที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูงมากกว่า ทำให้ผู้ผลิตรายต่างๆ มีการ ออกเฟิร์มแวร์รุ่นใหม่ๆ
ที่สนับสนุนการทำงานเพิ่มเติมอย่างทำให้รองรับ WPA2 ซึ่งเป็น ฟังก์ชัน การเข้ารหัสรุ่นใหม่ล่าสุดของอุปกรณ์
ไร้สายออกมา ซึ่งผู้ผลิตจะมีเมนูเชื่อมโยง เว็บไซต์เพื่อ ให้ผู้ใช้งานได้ดาวน์โหลดเฟิร์มแวร์รุ่นใหม่มาใช้งานได้

เคล็ดไม่ลับในการเลือกซื้อ
การใช้งานเครือข่ายไร้สายให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้ากันได้ของผลิตภัณฑ์ ไร้สายด้วยเช่นกัน
เพราะหากผลิตภัณฑ์ไร้สายของแต่ละผู้ผลิตไม่สามารถทำงานเข้ากันได้ กับผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็จะทำให้การใช้งาน
เครือข่ายไร้สายด้อยประสิทธิภาพลงไป ดังนั้นเพื่อให้การใช้งานเครือข่ายไร้สายได้ประสิทธิภาพและความคุ้มค่า
ในแบบเต็มเปี่ยม ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจากผู้ผลิตรายเดียวกัน ซีรีส์เดียวกัน หรือถ้าเลือกใช้ ต่างผู้ผลิต
ก็ให้แน่ใจว่า เลือกใช้ชิปเซ็ตซึ่งสนับสนุนเทคโนโลยีเดียวกัน ก่อนการเลือกซื้อ ควรตรวจสอบความเข้ากัน
ได้ของผู้ผลิตแต่ละราย โดยสังเกตได้จากตราสัญลักษณ์ที่ ผ่านการรับรองจาก Wi-Fi ก่อน และควรตรวจสอบ
ในรายละเอียดเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ดังนี้

ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
รัศมีของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่ครอบคลุมถึง
ความเข้ากันได้กับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายอื่น
Access Point หรือผลิตภัณฑ์ไร้สายอื่นมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณ
และกำลังส่งได้
ผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับ
การติดตั้งที่ง่ายและสะดวกในการใช้งาน
ฟังก์ชันในการเข้ารหัสสัญญาณที่ใช้เพื่อความปลอดภัย
มีการพัฒนาและมีซอฟต์แวร์ให้ดาวน์โหลดผ่านเว็ปไซต์ของผู้ผลิต
ผลิตภัณฑ์มีไฟแสดงสถานะการทำงาน
ผลิตภัณฑ์มีเครื่องหมายแสดงการผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจาก Wi-Fi Alliance
ตราสัญลักษณ์ที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์สนับสนุนมาตรฐาน IEEE 802.11a/b/g ตราสัญลักษณ์ Wi-F ผ่านการรับรอง
ความเข้ากันได้ของผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับเครือข่ายไร้สายหลายรายต่างก็นำเสนอผลิตภัณฑ์
ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11g ออกมาอย่างหลากหลาย แต่ได้ใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลที่แตกต่างกัน
ออกไป ทำให้สามารถทำอัตราความเร็วได้มากกถึงระดับ 108 เมกะบิตต่อวินาทีเลยทีเดียว และด้วยเทคโนโลยี
ที่แตกต่างกันนี้เองทำให้เกิดความไม่เข้ากันของผลิตภัณฑ์ที่รองรับ 108 เมกะบิตต่อวินาทีของแต่ละค่าย

สำหรับการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่รองรับอัตราความเร็ว 108 เมกะบิตต่อวินาทีต่างผู้ผลิตกันนั้น ถ้าผู้ผลิตใช้ชิปเซ็ต
ซึ่งสนับสนุนเทคโนโลยีเดียวกันก็สามารถใช้งานอัตราความเร็วใน ระดับนี้ได้ แต่ถ้าใช้เทคโนโลยีแตกต่างกัน
อัตราความเร็วสูงสุดที่ใช้งานได้ก็จะเหลือเพียง 54 เมกะบิตต่อ วินาที เท่านั้น ผู้ผลิตหลายๆ รายต่างก็นำเสนอ
ผลิตภัณฑ์ซีรีส์ Pre-N ออกสู่ตลาด โดยผนวก รวมความสามารถของเทคโนโลยี MIMO (Multiple-Input
Multiple-Output) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มอัตราความเร็ว ให้กับผลิตภัณฑ์ไร้สายมากกว่ามาตรฐาน IEEE
802.11g ถึง 600% และให้รัศมีการใช้งานมากกว่าเดิม 800% ร่วมด้วย โดย Pre-N เป็นผลิตภัณฑ์ที่ยัง
ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน IEEE 802.11n ซึ่งจะเป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เครือข่ายไร้สาย ในอนาคต
อันใกล้นี้ สำหรับเทคโนโลยี Pre-N ได้ผนวกรวมมากับหลาย ผลิตภัณฑ์ของหลายๆ ผู้ผลิต ในขณะที่ข้อกำหนด
ของมาตรฐาน IEEE 802.11n ยังไม่ถึงเวลาสิ้นสุด การเลือกผลิตภัณฑ์ Pre-N เพื่อให้ความคุ้มค่าและประสิทธิภาพ
การใช้งานสูงสุด ควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตรายเดียวกัน หรือผู้ผลิตที่ใช้เทคโนโลยี เดียวกันเท่านั้น



เลือกซื้ออุปกรณ์เครือข่ายง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว

คงมีหลายๆท่านที่คิดจะติดตั้งระบบเครือข่ายเพื่อใช้งานภายในบ้านหรือในสำนักงานของตัวเอง
เพราะต้องการแชร์ ทรัพยากรที่มีอยู่เช่นเครื่องพิมพ์ ข้อมูล เครื่องสแกนและอื่นๆ ให้เครื่องคอมฯ
หลายๆเครื่องใช้ร่วมกัน อีกทั้งต้องการความสะดวกในการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรทางอีเมล์
ซึ่งท่านก็ลองคิดดูว่าถ้าท่านทำงานอยู่ชั้นสี่แล้วเครื่องพิมพ์อยู่ชั้นสามถ้าไม่มีระบบเครือข่าย
จะทำยังไงถ้าต้องพิมพ์งาน ก็คงต้อง Save งานใส่แผ่นแล้วก็เดินลงไปพิมพ์ที่ชั้นสาม เป็นยังงัยครับ
แค่คิดก็เหนื่อยใช่มั้ยครับ แล้วถ้าอยากมีระบบเครือข่ายจะทำยังงัย ? มีสองทางเลือกครับ
ทางเลือกแรก คือ “จ้างเขาทำ” ง่ายครับขอแต่มีเงินเป็นพอก็ทำได้ และอีกทางคือ “ทำเอง”
ซึ่งก็ต้องลงแรง ศึกษาหาข้อมูลทำการบ้านกันเหนื่อยหน่อยละครับ แต่สิ่งที่ได้กลับมาก็คือความรู้
ได้พัฒนาความสามารถ และยังได้ความภูมิใจ แต่ก็อย่าลืมเงื่อนไขเรื่องเวลานะครับ เพราะ
ถ้าต้องการใช้งานอย่างเร่งด่วน ก็ควรว่าจ้างผู้รับเหมาวางระบบ มาจัดการให้ดีกว่า แต่เรื่องการ
ศึกษาหาความรู้ก็ไม่ควรทิ้ง เพราะระบบเมื่อติดตั้งเสร็จใช่ว่าจะจบเลย ยังต้องการ การดูแลรักษา
เพื่อให้สามารถทำงานรับใช้ท่าน โดยไม่มีปัญหา และสมมุตินะครับสมมุติ ถ้าท่านจะทำเอง
แล้วจะทำยังไง? ไม่ต้องกังวลครับ ทุกปัญหามีคำตอบ เมื่อท่านคิดจะทำเอง ก็ต้องหาข้อมูลกันก่อน
เรื่องแรกที่จะพูดถึงเรามาพูดถึงอุปกรณ์เครือข่ายกัน สำหรับอุปกรณ์เครือข่ายนั้นก็จะมีอยู่หลายๆ แบบ
ไม่ว่าจะเป็น Lan Card, Hub, Switch, Firewalls & Filters, Internet Gateway Routers & LAN
Modems, Network Management, Print Server หรืออุปกรณ์ Wireless

การเลือกใช้อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายพวกนี้ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มีหลายคนบ่นกันมากว่าอยาก
ติดตั้งระบบเครือข่ายไว้ใช้แต่ติดที่ตรงเลือกอุปกรณ์ในการใช้งานไม่ถูก ไม่ยากครับขั้นแรก
ท่านผู้อ่านจะต้องทราบถึงคุณสมบัติของอุปกรณ์แต่ละชนิดก่อน
   

การ์ดแลน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมฯเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องโดยผ่านสายแลน
การ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถต่อพ่วงกับพอร์ตแทบทุกชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น ISA, PCI, USB,
Parallel, PCMCIA และ Compact Flash ซึ่งที่เห็นใช้กันมากที่สุดก็จะเป็นแบบ PCI
เพราะถ้าเทียบราคากับประสิทธิภาพแล้วถือว่าค่อนข้างถูก มีหลายราคา ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน ส่วนแบบ
USB, Parallel, PCMCIA ส่วนใหญ่จะเห็นใช้กันมากกับเครื่องโน๊ตบุ๊ค
เพราะก็อย่างที่ทราบกันอยู่ว่าการติดอุปกรณ์ลงในพอร์ตภายใน ของเครื่องโน๊ตบุ๊คเป็นเรื่องยาก
ดังนั้นการต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงจึงต้องอาศัยพอร์ตภายนอกดังที่กล่าวมา



ฮับ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลาง คอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
ซึ่งลักษณะการทำงาน ให้ลองนึกถึงภาพการออกอากาศโทรทัศน์ ที่เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูล เครื่องที่อยู่บนเครือข่ายทุกเครื่องจะได้รับข้อมูลเหมือนๆ กันทุกเครื่อง
ซึ่งเมื่อแต่ละเครื่องได้รับข้อมูลก็จะดูว่า เป็นข้อมูลของตัวเองไหม ถ้าใช่ก็จะรับเข้ามาประมวลผล
ถ้าไม่ใช่ก็ไม่รับเข้ามา ซึ่งจากากรทำงานในลักษณะนี้ ในเครือข่ายที่ใช้ฮับเป็นตัวกระจ่ายสัญญาณ
จะสามารถส่งข้อมูลสู่เครือข่ายได้ทีละเครื่อง ถ้ามีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูล เครื่องอื่นๆ
ก็ต้องรอให้การส่งข้อมูลเสร็จสิ้นเสียก่อน เมื่อช่องสัญญาณว่าง จึงจะสามารถส่งข้อมูลได้

โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณให้สามารถส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ สายเช่า และสายไฟเบอร์ออฟติก
แล้วแต่ประเภทของโมเด็ม ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกล ยกตัวอย่างเช่น
การที่คุณใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์หาไอเอสพีที่อยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร เพื่อจะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต

เราเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เลือกเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล ทำหน้าที่ในการหาเส้นทางที่ดีที่สุดในขณะนั้น
เพื่อลดความเสี่ยงจากการล้มเหลวในการส่งข้อมูล และเราเตอร์ยังสามารถช่วยเชื่อมเครือข่ายสองเครือข่าย
หรือมากกว่าเข้าด้วยกัน เพราะเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานบนเครือข่ายอย่างน้อยสองเครือข่ายขึ้นไป
ถ้าจะพูดถึงราคา พูดแบบน่ารักๆ ก็ต้องพูดว่า โห...แพงจังเลย

สายแลน เมื่อมีวงแลนก็ต้องมีสายแลน สายแลนมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นสายโคแอคเชียน ยูทีพี เอสทีพี และ
ไฟเบอร์ออปติก หรือแม้กระทั่งแบบที่ไม่ใช้สาย (Wireless LAN ) และแบบที่เห็นได้บ่อยที่สุดในปัจจุบันที่นิยมใช้กัน
ก็ได้แก่สายแบบ ยูทีพี ที่ใช้กับหัวต่อแบบ RJ 45 ซึ่งจะคล้ายๆกับหัวต่อของสายโทรศัพท์
( ของโทรศัพท์เป็นแบบ RJ11 ) ซึ่งสายประเภทนี้จะไม่มีการ ชีลด์ ป้องกันสัญญาณรบกวน แต่จะใช้วิธีตีเกลียว
สายเป็นคู่ๆ 4 คู่ ป้องกันสัญญาณรบกวน อีกแบบก็คือการใช้วิธีส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุย่านความถี่สูง
บางแบบก็ใช้อินฟราเรด จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือเมื่อไม่ต้องเดินสายทำให้สามารถติดตั้งได้ง่าย ย้ายก็สะดวก
แต่ข้อด้อยก็คือปัญหาจากการถูกรบกวน และสัญญาณถูกบัง แถมความเร็วในการส่งข้อมูลยังด้อยกว่าระบบแลน
แบบใช้สายอยู่ ราคาก็สูงกว่า และที่กำลังมาแรงในขณะนี้คือเทคโนโลยีแบบ Ethernet over VDSL
น่าสนใจกันขึ้นมาบ้างแล้วไหมครับ ถ้าสนใจเราก็ไปลุยกันต่อเลยครับ ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ใช้ๆกันก็มีอยู่
2 แบบ คือ แบบระยะใกล้ และแบบระยะไกล เอาเป็นว่าเรามาเริ่มต้นการเลือกใช้อุปกรณ์ระบบเครือข่าย
แบบระยะใกล้กันก่อนครับ

ถ้าท่านคิดจะติดตั้งระบบเครือข่าย ซึ่งเป็นเครือข่ายระยะใกล้ อย่างแรกนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่ท่านจะต้องมีก็คือ การ์ดแลน และสายแลน บางท่านอาจจะสงสัย ว่า แล้ว ฮับ และ สวิตช์ มันหายไปไหน
ก็ขอบอกว่าไม่ต้องใช้ก็ได้ครับ แต่มีข้อแม้ว่าต้องมีคอมพิวเตอร์ในระบบไม่เกิน “สองเครื่อง”
เพราะถ้ามีแค่สองเครื่องท่านก็สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนได้โดยใช้สายไขว้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
ทั้งสองเครื่องเข้าหากันโดยตรงได้

แต่ถ้ามากกว่าสองเครื่อง ก็ต้องถามหา สวิตช์ หรือไม่ก็ ฮับ กันละ เอ... แล้วจะใช้ ฮับ หรือสวิตช์ดี ล่ะ
อันนี้ก็ต้องมาดูเหตุและปัจจัยกันก่อน ถ้าในกรณีที่เครือข่ายของท่านมีขนาดไม่ใหญ่
( หมายถึงจำนวนเครื่องและข้อมูล ในระบบเครือข่าย ) ตัวเลือกแรกที่ น่าสนใจก็คือ ฮับ
เพราะถ้าในระบบเครือข่ายของท่านมีข้อมูลวิ่งไปมาไม่มากการลงทุนซื้อ สวิตช์
มาใช้ก็ดูจะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไป เพราะราคามันแพงกว่า แต่ถ้าเครือข่ายของท่านมีข้อมูลวิ่งมามากๆ
ตัวเลือกอย่างสวิตช์ก็น่ารับไว้พิจารณา

และถ้าจะตัดสินใจซื้อ ฮับ หรือ สวิตช์ มาใช้งานก็ต้องคำนึงถึงเรื่องขยายระบบในอนาคตด้วย การเผื่ออนาคต
ก็มีตัวเลือกอีก ตัวเลือกแรกคือ เลือกสวิตช์ หรือ ฮับ ที่สามารถรองรับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เท่ากับจำนวน
ที่ท่านคาดว่าจะมีในอนาคต แต่มันก็อาจจะมีปัญหาคือ เมื่อถึงเวลานั้นแล้วความจำเป็นในการขยายระบบ
อาจไม่มีก็ได้ แล้วจะทำยังงัยดี จะตัดส่วนที่เกินส่งคืนก็ไม่ได้ ไม่เป็นไรยังมีอีกตัวเลือกให้ตัดสินใจ
ตัวเลือกนี้เพียงแต่ท่านเลือกสวิตช์หรือ ฮับที่พอร์ต จำพวก Up Links หรืออะไรก็แล้วแต่ทำหน้าที่เป็น Back Bone
ความเร็วสูง เอาไว้พ่วงกับสวิตช์ หรือ ฮับ อีกตัว เวลาจะขยายระบบก็เพียงแต่ซื้อ สวิตช์หรือ ฮับ
เพิ่มอีกตัวมาพ่วงเข้าไป

ในกรณีที่ท่านมีเครือข่ายแลนอยู่สองเครือข่ายอยู่ดีไม่ว่าดีเกิดอยากจะเชื่อมเครือข่ายทั้งสองเข้าด้วยกัน
เอาละท่านจะทำยังไง? ไม่ยาก ท่านก็พ่วงฮับของทั้งสองวงแลนเข้าด้วยกันสิ อ๊ะ ทำไมง่ายยังงี้?
แต่ในกรณีนี้ถ้าวงแลนทั้งสองมีข้อมูลไม่ชุกชุมมากนักมันก็คงไม่เป็นอะไร แต่ถ้าเกิดมันชุกชุมขึ้นมาละ
มันจะเกิดอะไรขึ้น มันก็จะเกิดเหตุการณ์เหมือนกับกรุงเทพฯ ในวันที่จราจรเป็นจราจล เพราะจะมีข้อมูล
วิ่งกันวุ่นทั้งสองเครือข่าย เพราะอุปกรณ์อย่าง ฮับ แม้เราจะแยกวงแลนทั้งสองเป็นคนละ Sub Net
แต่ข้อมูลภายในของแต่ละ Sub Net ก็ยังวิ่งข้ามวงแลนอยู่ทั้งสองวงแลน จากลักษณะการทำงานของฮับอยู่ดี
แล้วจะทำยังงัย? เอาละ ถึงเวลาของพระเอกตัวจริงออกโรง พระเอกที่ว่าก็คือ เราเตอร์ ก็อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานบนสองเครือข่ายขึ้นไป เราก็เลยเอาความสามารถนี้มาเชื่อมต่อเครือข่าย
สองเครือข่ายเข้าด้วยกัน แล้วก็จะลดปัญหาความชุกชุมของข้อมูลลงได้ เพราะข้อมูลที่จะวิ่งข้ามวงแลน
จะมีเฉพาะข้อมูลที่จะส่งข้ามวงแลนเท่านั้น แต่เจ้าเราเตอร์นี่มันก็แพงเอาการ หากไม่มีงบประมาณ
ในการจัดหามาใช้งาน ไม่เป็นไร เรายังสามารถนำเอาเครื่อง PC มาประยุกต์ใช้แทนเราเตอร์
ได้ดีพอสมควรทีเดียว แต่ถ้าท่านต้องการความสามารถของเราเตอร์เต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ให้พิจารณา
เลือกเราเตอร์ตัวจริงเสียงจริงมาใช้ดีกว่า ลงทุนนิดแต่คุ้มค่าครับ

ทราบถึงการเลือกอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบเครือข่ายระยะใกล้มากันพอหอมปากหอมคอแล้ว ต่อไปมา ดูอุปกรณ์ที่ใช้
การเชื่อมระบบเครือข่ายระยะทางไกลกันบ้าง

ในการเชื่อมระบบเครือข่ายที่มีระยะทางไกล เช่น ถ้าท่านต้องการเล่นเกมส์ออนไลน์กับเพื่อนๆหรืออยากให้
คอมพิวเตอร์ของสำนักงานสองแห่งติดต่อกันได้ แต่ติดที่ระยะทางมันไกล เราจะทำยังงัย?
จากข้อจำกัดของสายแลนที่ไม่สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่าร้อยเมตรได้ ทำให้เราต้องหาทางใหม่กัน
ทางเลือกสำหรับระบบเครือข่ายที่มีระยะทางไกลๆ ก็มีใช้ท่านๆได้เลือกใช้กันอยู่ 6 แบบด้วยกันครับ
เรามาดูแบบแรกกันก่อนครับสำหรับแบบแรกก็คือท่านจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า รีพรีตเตอร์ ไว้ทุกๆ ระยะ 100
เมตร เพราะเนื่องจากข้อจำกัดที่ไม่สามารถติดตั้ง ฮับ หรือ สวิตซ์ โดย ผ่านสาย ยูทีพี ที่มีระยะห่างเกิน 100 เมตร

 
แสดงการใช้อุปกรณ์ร่วมกันของแบบที่ 1

แบบที่สองคือใช้โมเด็ม หมุนโทรศัพท์เข้าหากัน เมื่อต้องการเชื่อมต่อ เมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ
แต่ความเร็วที่ได้ก็แค่ความสามารถของสายโทรศัพท์คือ 33.6Kbps ในกรณีที่มีการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมาก
ระหว่างเครือข่าย แน่นอน อย่างช้าครับท่าน ซึ่งถ้าท่านมีข้อมูลวิ่งระหว่างเครือข่ายค่อนข้างมาก
ก็น่าจะเลือกใช้การเช่าสาย ของบริษัทผู้ให้บริการ ซึ่งจะได้ความเร็วที่มากกว่า

 
แสดงการใช้อุปกรณ์ร่วมกันของแบบที่ 2 

แบบที่สาม นี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบัน เมื่อมันดีที่สุดก็ย่อมแพง
ที่สุดด้วยครับ ซึ่งคงจะเป็นใครไปเสียมิได้ นอกจากจ้าวสายไฟเบอร์ออปติก นั้นเอง ซึ่งสายชนิดนี้สามารถ
ฉีกข้อจำกัดของการใช้สายสัญญาณแบบ Twist pare ที่มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือสาย ยูทีพี และสาย เอสทีพี
ที่บ้านเรานิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในเรื่องของระยะทาง และความเร็วในการส่งข้อมูลที่สามารถกระทำได้
เหนือกว่า และรวมไปถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วย เวลาที่ท่านจะติดตั้งระบบเครือข่ายโดยใช้สายไฟเบอร์ออปติก
ท่านจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Media Converter ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
จากสายทองแดง (Copper) ไปเป็นสัญญาณไฟเบอร์ออปติก โดยลักษณะนี้จะเป็นการแปลงจากระบบมาตรฐาน
10/100Base-TX ไปเป็น 100Base-FX ซึ่งสายประเภทนี้มักจะนิยมใช้ในองค์กรที่มีขนาดใหญ่
และมีความสำคัญของข้อมูลมาก เช่น กองทัพ หรือ ธนาคารต่างๆ ใครที่คิดว่าจะนำมาใช้ในระบบแลน
ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงไม่กี่เครื่องแล้วละก็ ผมบอกได้คำเดียวว่าเสียดายกะตังค์แทน

 
แสดงการใช้อุปกรณ์ร่วมกันของแบบที่ 3 

แบบที่สี่ Wireless Lan หรือการสื่อสารไร้สาย เป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง
ข้อดีของการนำระบบ Wireless Lan มาใช้เป็นเพราะในปัจจุบันการใช้สาย CAT5 ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ซึ่งมักมีปัญหาในเรื่องของความยุ่งยากต่างๆ เช่น ถ้าสายสัญญาณขาด หรือเสียการตรวจสอบจะทำได้ยาก
เพราะเราต้องมานั่งหาสายที่เกิดปัญหา ยิ่งถ้าระบบมีขนาดใหญ่มากๆก็จะทำให้เสียเวลาในจุดนี้มากขึ้น อุปกรณ์
Wireless จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมาลดปัญหาตรงจุดนี้ แต่ Wireless LAN น่าจะเหมาะสมสำหรับการติดตั้ง
ในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด มากกว่าการนำมาติดตั้งเพื่อใช้ระหว่างอาคาร อุปกรณ์แบบ Wireless ก็มีอยู่หลายแบบ
ด้วยกันครับ อย่างเช่น Wireless Access Point , Wireless PCI Adapter , Wireless PCMCIA , Wireless
Bridge , Wireless USB Adapter , Wireless PCL Card การเลือกซื้ออุปกรณ์ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย
มาใช้งานมีข้อควรระวังไว้หน่อย คือ โดยปกติแล้วการทำงานแบบไร้สายจะทำงานบนมาตรฐาน 802.11b
ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลสูงสุดถึง 11Mbps แต่อุปกรณ์แบบ Wireless รุ่นใหม่สามารถส่งสัญญาณ
ข้อมูลได้ถึง 54Mbps ซึ่งมากกว่า Wireless แบบเก่ามาก แต่ปัญหาก็คือ อุปกรณ์ทั้งสองจะไม่สามารถ
ทำงานร่วมกันได้

 
แสดงการใช้อุปกรณ์ร่วมกันของแบบที่ 4 

แบบที่ห้าคือเทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งเทคโนโลยีตระกูล DSL โดยเทคโนโลยี DSL
นี้ก็ย่อมาจาก Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู่สายทองแดงธรรมดา
ให้กลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิตอล ความเร็วสูง โดยใช้เทคนิคการ เข้ารหัสสัญญาณข้อมูล (Modulation) ในย่านความถี่ที่สูงกว่า การใช้งานโทรศัพท์ โดยทั่วไปทำให้สามารถส่งข้อมูลในขณะเดียวกับการใช้งาน
โทรศัพท์ได้ ซึ่งความสามารถพิเศษของ เทคโนโลยี G.SHDSL นี้คือ สามารถช่วยให้คุณขยายวงกว้าง
ของระบบเครือข่าย เพื่อให้สามารถส่งข้อมูล ได้ไกลสุดถึง 6 กิโลเมตร โดยผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา
ด้วยความเร็วในการส่งข้อมูลถึง 2.3 Mbps

 
แสดงการใช้อุปกรณ์ร่วมกันของแบบที่ 5 

แบบสุดท้าย ที่ผมกำลังจะพูดถึงนี้เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายล่าสุด ซึ่งท่านสามารถที่จะติดตั้งใช้งานได้เอง
จึงทำให้ต้นทุนในการนำเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบนี้ต่ำ เทคโนโลยีที่ว่านั้นคือเทคโนโลยีแบบ
Ethernet over VDSL ซึ่งจะนำมาใช้ในการเชื่อมต่อในระบบเครือข่าย โดยเทคโนโลยีนี้สามารถที่จะเชื่อมต่อ
กับสายโทรศัพท์ทั่วไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างเครือข่ายแลนผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา
ให้มีระยะทางไกลได้ถึง 1.5 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 10Mbps และยังสามารถรับส่งข้อมูลพร้อมกับใช้งานโทรศัพท์
ในเวลาเดียวกันได้อีกด้วย

 
 
แสดงการใช้อุปกรณ์ร่วมกันของแบบที่ 6

การที่ท่านจะเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีแบบ Ethernet over VDSLนั้นท่านจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ประเภท VDSL
ด้วยวิธีการเชื่อมต่อสามารถทำได้สองแบบคือ การเชื่อมต่อแบบ พอยนต์ ทู พอยนต์ และการเชื่อมต่อแบบ พอยนต์ ทู
มัลติพอยนต์ การเชื่อมต่อแบบ พอยนต์ ทู พอยนต์ นั้นท่านจำเป็นจะต้องมี VDSL Converter ที่เป็นตัว (Master)
และ VDSL Converter ที่เป็นตัว (Slave) ซึ่ง VDSL Converter (Master) จะมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณแบบ
Ethernet ที่ใช้กับสาย ยูทีพี และ เอสทีพี ให้เป็นสัญญาณแบบ VDSL เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลบนสายโทรศัพท์ได้
และ VDSL Converter (Slave) จะทำการแปลงสัญญาณ VDSL ที่ส่งมากับสายโทรศัพท์มาเป็นสัญญาณ
แบบอีเธอร์เน็ตกลับอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ท่านสามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ มาเชื่อมต่อ
กับ VDSL Converter ได้ทันที และนอกจากนั้นบนสายโทรศัพท์เส้นเดียวกันยังจะสามารถโทรศัพท์
ได้พร้อมกันอีกด้วย

ส่วนการเชื่อมต่อแบบ พอยนต์ ทู มัลติพอยนต์ ซึ่งจะใช้สำหรับในกรณีที่มีการเชื่อมต่อระยะทางไกลๆ
ท่านจะต้องนำอุปกรณ์ VDSL Switch มาใช้ได้ โดยอุปกรณ์ VDSL Switch นั้นจะทำงานร่วมกับ
อุปกรณ์ VDSL Converter (Slave) ส่วนอุปกรณ์ VDSL Switch นั้นก็จะมีให้เลือก 8 พอร์ต กับ 12 พอร์ตครับ

สรุปการเลือกซื้อ หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับอุปกรณ์และวิธีเลือกใช้ อุปกรณ์ระบบเครือข่ายแต่ละแบบ ไปเป็นที่เรียบร้อย ต่อไปก็มาถึงขั้นตอนของการเลือกซื้อกันบ้าง ง่ายๆครับเพียงท่านมีกะตังค์ในกระเป๋าที่มากพอ
ก็สามารถหาอุปกรณ์คุณภาพดีๆประสิทธิภาพเจ๋งๆได้แล้ว มันก็แน่อยู่แล้วผมจะพูดทำไมเนี๊ย? อุปกรณ์คุณภาพดี
ก็ย่อมมีราคาสูงเป็นเรื่องธรรมดาซึ่งท่านทั้งหลายก็คงจะรู้กันดีอยู่แล้ว แต่วันนี้ผมจะมีหลักการเลือกซื้ออุปกรณ์
ในระบบเครือข่ายแบบสั้นๆแต่มีประสิทธิภาพมาฝากแฟนๆบายคอมส์ครับ อุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่ดีอย่างแรกก็คือ
ต้องเป็นอุปกรณ์ที่มีความเสถียรเพราะอุปกรณ์ประเภทนี้จะต้องทำงานตลอดเวลาถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาอาจจะทำให้
ระบบต่างๆหยุดชงักตามไปด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วตามบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์พวกนี้ก็เน้นเรื่องความเสถียรของอุปกรณ์
ของตนอยู่แล้วจึงไม่น่ามีปัญหาในการเลือกเท่าไร อย่างที่สองต้องเป็นอุปกรณ์ที่สามารถรองรับการทำงานต่างๆได้
อย่างดี เช่น ถ้าในระบบเน็ตเวิร์คของท่านมีเครื่องลูกข่ายจำนวนมากดังนั้น ฮับ หรือ สวิตช์ ก็จะต้องมีพอร์ต
ในการเชื่อมต่อที่เพียงพอด้วย อย่างที่สามคือราคาต้องสมเหตุสมผลส่วนในเรื่องของยี่ห้อนั้นผมก็ไม่อาจจะบอกได้
ว่ายี่ห้อไหนประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหนเพราะทางทีมงานเองก็ไม่ได้รับอุปกรณ์มา
ทดสอบทุกยี่ห้อ เอาเป็นว่าเวลาท่านจะซื้อก็ลองเลือกดูหลายๆยี่ห้อแล้วก็ลองถามถึงประสิทธิของอุปกรณ์กับผู้ขายดู
ในเรื่องของการรับประกันก็สำคัญ

โดยปกติแล้วอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายมักจะมีระยะการรับประกันจากบริษัทผู้ผลิต
ประมาณ 3 ปี ถ้าอุปกรณ์ที่ท่านได้ซื้อมาเกิดมีปัญหาในการใช้งาน การส่งอุปกรณ์ไปเคมกับบริษัทผู้ผลิตหรือร้านค้า
ที่ขายอุปกรณ์ให้ท่านก็คงเป็นสิ่งทีหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดั้งนั้นบริษัทผู้ผลิตหรือร้านค้าเหล่านั้นจะต้องมีการบริการ
หลังการขายที่ดีด้วย ท่านลองคิดดูว่าถ้าเกิดท่านซื้อ ฮับ หรือ สวิตช์ มาใช้งานแล้วเกิดเสีย ท่านส่งอุปกรณ์ไปเคม
กับทางบริษัท แต่ทางบริษัทกลับเคมอุปกรณ์ให้ท่านล่าช้า ทั้งที่เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญต่อระบบ ส่งผลทำให้ระบบงาน
ของท่านล่าช้าหรือยุ่งยากเพิ่มขึ้น หรือท่านจะซื้อเครื่องใหม่ราคาของมันก็ไม่ใช่ย่อยๆ หลายหมื่นทีเดียว
เอาเป็นว่าเวลาท่านจะซื้อก็ลองสอบถามผู้ที่เคยใช้หรือพวกเซียนเน็ตเวิร์ตดูว่าร้านไหนบริษัทไหนมีการบริการ
หลังการขายที่ดีๆบ้าง สวัสดีครับ 




การเลือกซื้อฮาร์ดดิส (Harddisk drive)

   

ฮาร์ดดิสก์ : ส่วนประกอบสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ถูกขนาดนามว่าเป็นคลังหรือแล่งจัดเก็บข้อมูลของระบบ
กระทั่งปัจจุบันเริ่มมีการดัดแปลงไปสู่ อุสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Electronics : CE)
มากขึ้น ด้วยความโดดเด่นในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ บนปริมาณพื้นที่อันอลังการมากขึ้นทุกวัน
ทำให้อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ไม่ได้หยุดอยู่กับที่บนตลาดคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
สำหรับฮาร์ดดิสก์ถูกจัดเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญไม่น้อยของระบบคอมพิวเตอร์
และเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัปเกรด เพราะสเป็คที่ผู้บริโภคดูส่วนใหญ่เน้นเพียงไม่กี่ตัวอาทิ ความจุ ความเร็วรอบ
ขนาดหน่วยความจำแคช ซึ่งมันอาจเป็นคำตอบที่ไม่ถูกต้องนักต่อการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันและอนาคต
เพราะเทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานับว่าพัฒนาได้รวดเร็วเอามากๆ ฉะนั้นการเลือกซื้อควรมองให้กว้างขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพการทำงาน
ที่ท่านจะได้รับจากฮาร์ดดิสก์ไปเต็มๆ

ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์จะประกอบไปด้วย จานแม่เหล็กหรือจานดิสก์ (Platter)
ซึ่งออกแบบมาสำหรับบันทึกข้อมูลโดยขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมในการออกแบบด้วยว่าได้มีการ
กำหนดให้มีขนาดความจุต่อแผ่นเท่าใด และในฮาร์ดดิสก์แต่ละรุ่นจำต้องใช้จำนวนแผ่นเท่าใด
ซึ่งจานแม่เหล็กมีลักษณะเป็นทรงกลมและมีมอเตอร์สำหรับควบคุมการหมุนของจานดิสก์
(Spindle)โดยอัตราความเร็วในการหมุน ณ วันนี้ถูกจัดหมวดออกเป็น 5400,7200 แ
ละ 10,000 รอบต่อนาที(rpm) ซึ่งถ้าจำนวนรอบในการหมุนของจาน ดิสก์มีระดับความถี่ที่สูง
ก็จะส่งผลให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้นตามไปด้วย

 

 

ในส่วนของลักษณะการอ่านเขียนข้อมูลภายในไดรฟ์นั้น จะมีสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยนั้นก็คือหัวอ่านเขียน(Read/Write Head)
โดยหัวอ่านเขียนจะมี จำนวนเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนจานดิสก์ด้วย สำหรับหัวอ่านเขียนข้อมูล
นั้นเป็นอุปกรณ์ที่จะเคลื่อนที่ไปบนจานดิสก์ โดยจะเว้นระยะห่างระหว่าง หัวอ่านเขียนกับจานดิสก์อย่างคงที่
ซึ่งหากฮาร์ดดิสก์ได้รับการกระทบกระเทือนจนระยะห่างระหว่างหัวอ่านเขียนกับจานดิสก์ผิดเพี้ยนไป
จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ไม่ สามารถทำงานได้เลย แตปัจจุบันฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ๆจึงได้มีการออกแบบจุดพักหัวอ่าน
เขียนไว้ด้านข้างเพื่อกันการทระแทกบนจานดิสก์ นอกจากนี้ ด้านหลังของตัวไดรฟ์ยังประกอบไปด้วย
อินเทอร์เฟซ (Interface) ซึ่งเป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อกับส่ายสัญญาณประเภทต่างๆ แบ่งได้ตาม ชนิดของฮาร์ดดิสก์
เช่น ฮาร์ดดิสก์แบบติดตั้งภายในมีอินเทอร์เฟซ IDE, SCSI และ Serial ATA และ
ฮาร์ดดิสก์แบบติดตั้งภายนอกมักมีอินเทอร์เฟซแบบ USB และ Firewire ซึ่งทั้งสองแบบนั้นจำต้องมีช่อง
สำหรับต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟเพื่ออาศัยพลังงานในการหล่อเลี้ยอยู่เสมอด้วย

ชนิดของ ฮาร์ดดิสก์ แบ่งตามการเชื่อมต่อ (อินเทอร์เฟซ)

1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)
ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1
เส้นสามารถที่จะต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน
ทำให้สามารถพ่วงต่อฮาร์ดดิสก์ได้สูงสุด 4 ตัว มีความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที
สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504MB เท่านั้นเอง

2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
ฮาร์ดดิสก์แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40
ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดยฮาร์ดดิสก์ที่ทำงานแบบ E-IDE
นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า 504MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133
เมกะไบต์ต่อวินาทีเลยทีเดียว

 

 

วิธีการรับส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แบบ E-IDE ยังแบ่งออกเป็นหลาย ๆ แบบ ทั้งPIO และ DMA

โหมด PIO (Programmed Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของซีพียู
คือรับข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง ฮาร์ดดิสก
เห็นได้ชัดเลยว่าการทำงานนั้นมีความเกี่ยวข้องกับซีพียู ดังนั้นจึงไม่เหมาะในลักษณะงานที่
ต้องการเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์บ่อยครั้งหรือการทำงานหลายๆ งานพร้อมกันในเวลาเดียวที่เรียกว่า
Multitasking environment ซึ่งการที่ต้องเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์บ่อยครั้ง จะทำให้ความสามารถ
ในการทำงานโดยรวมของระบบต่ำลง

โหมด DMA (Direct Memory Access) จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลหรือติดต่อไปยังหน่วยความจำหลัก
(RAM) ได้โดยตรงโดยไม่ต้องติดต่อไปที่ซีพียูก่อนเหมือนกระบวนการทำงานปกติ ประโยชน์ของการใช้ DMA ก็น่าจะเห็นได้ชัดเจน เพราะเมื่อซีพียูสามารถมุ่งมั่นกับงานของตนเองให้เสร็จโดยไม่ต้องพะวงว่าจะถูกสะกิดรบกวน
จากฮาร์ดดิสก์ให้ช่วยทำงาน ก็สามารถทำให้ซีพียูจัดการงานได้รวดเร็วขึ้น
ส่งผลให้ระบบโดยรวมมีความเร็วสูงขึ้นตามไปด้วย

3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface)
ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI (สะกัสซี่) เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดยฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI
จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับความสามารถของการ์ด SCSI นี้
สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง 7 ชิ้นอุปกรณ์ด้วยกัน
ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI จะมีความเร็วสูงสุดถึง 320
เมกะไบต์/วินาที รวมถึงกำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์อย่างต่ำก็หลักหมื่นโดยปัจจุบันแบ่งเป็น 10,000 และ 15,000
รอบต่อนาที ซึ่งมีความเร็วที่มากกว่าประเภท E-IDE อยู่เยอะ ส่งผลให้ราคานั้นย่อมที่จะแพงเป็นธรรมดา
โดยส่วนใหญ่จะนำฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI มาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server) เท่านั้น

 

 

4. แบบ Serial ATA
เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน และอีกไม่นานจะพลัดใบเข้าสู่ความเป็น Serial ATA II
ซึ่งเมื่อการเชื่อมต่อในลักษณะParallel ATA หรือ E-IDE เริ่มเจอทางตันในเรื่องของความเร็ว
ที่พัฒนาอย่างไรก็ไม่ทัน SCSI ซะที และอีกสาเหตุมาจากสายแพแบบ Parallel ATA เพื่อการส่งผ่านข้อมูลนั้นมีขนาดความกว้างถึง 2 นิ้ว และเป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป
แต่ตอนนี้อินเทอร์เฟซแบบ Parallel ATA ก็เริ่มเจอทางตันแล้วเหมือนกัน เมื่ออัตราความเร็วในปัจจุบัน
ทำได้สูงสุดเพียงระดับ 133 เมกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ส่งผลให้บรรดาผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ต่างพากัน
หันมาให้ความสนใจเทคโนโลยีต่อเชื่อมรูปแบบแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA
กันเป็นแถว โดยให้อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกะไบต์ต่อวินาที โดยเทคโนโลยี
Serial ATA นี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มผู้พัฒนา Serial ATA ซึ่งได้เผยข้อกำหนดคุณสมบัติสำหรับ
Serial ATA 1.0 ขึ้น ด้วยคาดหวังว่าจะสามารถ ขยายช่องสัญญาณ (Bandwidth) ในการส่งผ่านข้อมูล
ได้เพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า และยังรองรับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะฮาร์ดดิสก์เพียงเท่านั้นที่จะมีการเชื่อมต่อ
ในรูปแบบนี้ แต่ยังรวมไปถึง อุปกรณ์ตัวอื่นๆ อย่าง CD-RW หรือ DVD อีกด้วย และด้วยการพัฒนาของ Serial
ATA นี้เอง ที่จะทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CPU ความเร็วสูงกับตัวฮาร์ดดิสก์ลง
ได้ โดยสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องด้วยความเร็วของระบบที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้

Serial ATA จึงกลายเป็นความหวังใหม่ สำหรับการเพิ่มความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล
ของฮาร์ดไดรฟ์ (Hard Drive) ในอนาคต นอกจากนี้ Serial ATA ยังแตกต่างจากฮาร์ดไดรฟ์ที่ใช้อินเทอร์เฟซ
Parallel ATA ซึ่งเป็นแบบขนานอย่างชัดเจน เพราะอินเทอร์เฟซ Serial ATA นี้ มีการกำหนดให้ฮาร์ดไดรฟ์
ตัวไหนเป็น Master (ตัวหลัก) หรือ Slave (ตัวรอง) ผ่านช่องเชื่อมต่อบนเมนบอร์ดได้เลย ลดความยุ่งยาก
ในการติดตั้งลงไปได้มาก อีกทั้งฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้บางตัวยังรองรับการถอดสับเปลี่ยนโดยทันที (Hot Swap)
ทำให้การเชื่อมต่อในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน

 
 

ทำไมจึงต้อง Serial ATA
ประสิทธิภาพของการถ่ายโอนข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากอินเทอร์เฟซที่บ่งบอกจุดต่างของค่าความเร็วได้ดี ตั้งแต่ USB, Parallel ATA, Serial ATA และ SCSI ด้วยสมรรถภาพความเร็วที่แกร่งขึ้นตามลำดับ ซึ่งการใช้งานฮาร์ดดิสก์
บนพีซีหรือเครื่องเวิร์คสเตชั่นมักมองอินเทอร์เฟซ Parallel ATA และ Serial ATA เป็นสำคัญ แต่ ณ ปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงกำลังจะเกิดขึ้นเมื่อ Parallel ATA จะถูกแทนที่ด้วย Serial ATA ด้วยเหตุผลที่เป็นปัญหา
คอขวดอยู่นั้นก็คือมาตรฐานความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลบนคอนโทรลเลอร์ขนาด 40 พิน แม้จะสามารถ
ทำเส้นทางรับ-ส่งเป็น 80 เส้นความเร็วก็ทำได้ไม่เกิน 133 เมกะไบต์ต่อวินาที ขณะที่ Serial ATA
ที่มากับขนาดของสายรับ-ส่งสัญญาณที่น้อยนิดเพียง 7 พิน พร้อมอัตราเร็วขั้นต้นของ Serial ATA
ในเฟซแรกที่ 1.5 กิกะบิตต่อวินาที และสิ่งที่จะมาบดบังรัศมีของ Parallel ATA อย่างเต็มตัวก็คืออีกศักยภาพของ
Serial ATA ด้วย Serial ATA II กับมาตรฐานความเร็ว 3.0 กิกะบิตต่อวินาที ซึ่งแรงขึ้นอีกเท่าตัว
โดยก่อนหน้าที่จะกำเนิด Serial ATA II แบบเต็มตัวนั้นสิ่งที่มาก่อนก็คือการรองรับเทคโนโลยี Native Command
Queuing หรือ NCQ ที่มีเฉพาะ Serial ATA เท่านั้น สิ่งหนึ่งที่ได้จากเทคโนโลยี NCQ ก็คือความรวดเร็ว
ในการเรียงชุดคำสั่งแบบใหม่ที่เลือกคำสั่งที่ใกล้ก่อนทำให้สมรรถภาพการทำงานของฮาร์ดดิสก์และ
ระบบเร็วขึ้น (ทำงานคล้ายลิฟท์)

ความแตกต่างของ Parallel ATA และ Serial ATA สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่มีการเชื่อมต่อบนมาตรฐาน
Parallel ATA นั้นโดยปกติแล้วถูกออกแบบในสถาปัตยกรรมแบบเก่าที่ออกแบบเหมือนกับฮาร์ดดิสก์รุ่นก่อนๆ
สืบทอดกันมา เพียงแต่ปรับเปลี่ยนการทำงานอาทิความเร็วรอบการหมุนจานดิสก์ของมอเตอร์จาก 3200 รอบต่อนาที มาเป็น 5400 รอบต่อนาที และจาก 5400 รอบต ่อนาที มาเป็น 7200 รอบต่อนาที
ปรับเปลี่ยนการส่งข้อมูลจาก PIO มาเป็น DMA และ Ultra DMA โดย DMA
ในที่นี้หมายถึงระบบการถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ที่แต่ละครั้งสามารถบรรทุกข้อมูล
จากฮาร์ดดิสก์ไปสู่แรมได้เลยโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวการทำงานของซีพียู ทำให้เกิดการถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วกว่า PIO
เพราะ PIO นั้นการถ่ายโอนข้อมูลในแต่ละครั้งจำต้องผ่านการประมวลผลจากซีพียูเสียก่อน
ส่งผลให้กว่าจะได้ข้อมูลที่ต้องการมีความล่าช้ามาก นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนสายแพจาก 40 เส้น
มาเป็น 80 เส้นปรับมาตรฐานจาก IDE ไปสู่ระบบ E-IDE ซึ่งให้ค่าทางประสิทธิภาพการทำงานที่มากกว่าเดิม
การปรับเปลี่ยนดังกล่าวสามารถที่จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ทำงานได้เร็วขึ้นก็จริงอยู่ แต่เมื่อมานั่งพิจารณาดูแล้ว
การทำงานที่ยังยึดมั่นอยู่กับสถาปัตยกรรมแบบเก่าบนมาตรฐาน Parallel ATA มักทำให้ฮาร์ดดิสก์
ที่มีอินเทอร์เฟซแบบ E-IDE ยังห่างไกลจากระบบของ SCSI ของระบบเครือข่ายอยู่ดี อีกทั้งการพัฒนา
ของระบบ E-IDE ยังเป็นปัญหาคอขวดที่ไม่สามารถพัฒนาให้เร็วพอได้ เช่น 33 เมกะไบต์ต่อวินาที, 66
เมกะไบต์ต่อวินาที, 100 เมกะไบต์ต่อวินาที, 133 เมกะไบต์ต่อวินาที ระดับความเร็วที่เพิ่มขึ้นต่างกันไม่มาก
เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการถ่ายโอนข้อมูลแบบ SCSI ที่เป็นแบบ Ultra160 เมกะไบต์ต่อวินาที, Ultra 320
เมกะไบต์ต่อวินาที ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ทั้งหลายจึงได้คิดค้นที่จะทำการปรับเปลี่ยนระบบ
การส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แบบใหม่ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า Serial ATA เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ให้กับการถ่ายโอนข้อมูล

 

การส่งข้อมูลแบบ Parallel ATA นั้นจะส่งข้อมูลในแต่ละบิตแบบขนานกันไปแล้วนำข้อมูลที่ได้ในแต่ละสายสัญญาณมารวมกันเป็น
(0 0 0 0 1 0 1 1 ) ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลในระบบแบบเก่าจนถึงปัจจุบันที่ก็ยังเป็นแบบ IDE และ E-IDE
โดยใช้สายนำสัญญาณแบบ 40 เส้นและ 80 เส้น

 

หากเป็นการส่งข้อมูลในแบบ Serial ATA ที่มีความเร็วตีคู่ SCSI โดยใช้สายสัญญาณ 7 เส้น
ช่วยให้ระบบการทำงานสามารถที่จะเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลได้มากถึง 1.5 กิกะบิตต่อวินาที
และต่อไปความเร็วจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเป็น 3.0 กิกะบิตต่อวินาที หรือมากกว่าในอนาคต
อีกทั้งในปัจจุบันอินเทอร์เฟซนี้ยังแฝงไว้ด้วยเทคโนโลยี NCQ ที่ช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ฉลาดขึ้น
ในการส่งผ่านข้อมูลเพราะส่งต่อกันเป็นทอดๆ โดยหากเป็นข้อมูลชุดเดียวกันจะเข้าหาก่อน
โดยไม่สนใจเรื่องคิวรันกันต่อเนื่อง จากที่กล่าวมาจึงสรุปได้เลยว่า คุณสมบัติของอินเทอร์เฟซ Serial ATA
นั้นมีการทำงานที่เร็วกว่า Parallel ATA อีกทั้งต่อไปอินเทอร์เฟซนี้จะเป็นแกนหลักบนเมนบอร์ดแทนที่
IDEและ E-IDE ซึ่งเหมาะสมทั้งการใช้งานบนเครื่อง PC และ ระบบเครือข่ายขนาดย่อมที่มีงบประมาณไม่มาก
หากคุณได้ลองสัมผัสดูแล้วจะรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปครับ

เทคโนโลยี Native Command Queuing (NCQ)
สำหรับอินเทอร์เฟซ Serial ATA จัดเป็นเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูงและกำลังจะกลายเป็นอินเทอร์เฟซ
มาตรฐานบนฮาร์ดดิสก์ของพีซีในปี 2005 ซึ่งเทคโนโลยี Native Command Queuing เป็นเทคโนโลยีที่
ช่วยในกระบวนการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะกลายเป็นมาตรฐานสำหรับ
ฮาร์ดดิสก์ปี 2005 ด้วยเช่นกัน โดยเทคโนโลยี NCQ จะช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น
ด้วยความสามารถในการปรับปรุงและจัดเรียงชุดคำสั่งใหม่ทั้งในกระบวนการอ่านและบันทึกข้อมูล
เพื่อให้ไดรฟ์มีความเร็วและประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด
สมมติว่าข้อมูลชุดเดียวกันมีการกระจายข้อมูลอยู่เต็มฮาร์ดดิสก์ไปหมด การเรียกใช้งานจึงเริ่มจาก
4 – 3 – 2 และ 1 ทำให้กว่าจะได้ข้อมูลที่ต้องการมาจนครบมักเกิดความล้าช้าไปพอสมควร แต่ถ้าหากฮาร์ดดิสก์ Serial ATA ตัวนั้นมีเทคโนโลยี NCQ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฟสแรกของ Serial ATA II และสามารถใช้งานร่วมกับ Serial ATA 1.0 ได้ กระบวนการทำงานจะมองว่าหากข้อมูลชุดนั้นเป็นชุดเดียวกัน จะรวมเอาจุดที่ใกล้กันไว้ก่อน
โดยตัดลำดับความน่าจะเป็นออกไป ทำให้ว่องไวต่อการเรียกใช้งานมากขึ้น

 

จากที่กล่าวมาเป็นความแตกต่างระหว่างอินเทอร์เฟซ ซึ่งในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เราจะเลือกเพียงแค่
จุดนี้เพียงอย่างเดียวไม่ได้แต่ต้องมององค์ประกอบทางด้านอื่นๆด้วย อันได้แก่

ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์
เรื่องขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์นี้ค่อนข้างตัดสินใจได้ง่าย ซึ่งมีตัวเลขที่ระบุไว้ตามลาเบลไว้อย่างชัดเจน
ปัจจุบันขนาดความจุที่มีจำหน่ายกันอยู่ที่ ระดับกิกะไบต์ เช่น 20, 30, 40, 60 ไปจนถึง 400 กิกะไบต์
แน่นอนเมื่อปริมาณความจุที่สูงขึ้นย่อมส่งผลให้ราคาต้องขยับตัวสูงตามไปด้วย สำหรับขนาดที่ ควรจะซื้อหามาใช้ในปัจจุบัน
ควรเลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งาน และไม่ควรเพื่อพื้นที่ไว้ใช้งานมากจนเกินจำเป็น เพื่อประหยัดงบประมาณในกระเป๋าท่าน
ได้อีกทางและสามารถที่จะใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ได้อย่างคุ่มค้าอีกด้วย

ความเร็วรอบ
ความเร็วรอบสำคัญไฉนสิ่งที่ทำให้เห็นได้ชัดเจนก็คือการหมุนของวงล้อรถหากซอยถี่มากเท่าใด
จะย่นระยะเวลาไปยังจุดหมายปลายทางมากขึ้นเท่านั้น ในทำนองเดียวกันกับฮาร์ดดิสก์ที่เมื่อความเร็วรอบยิ่งถี่เพียงใด
จะทำให้ประสิทธิภาพในการเข้าถึงหรือค้นหาข้อมูลมีความรวดเร็วขึ้นตามไปด้วย
ซึ่งปัจจุบันความเร็วรอบในการหมุนจานดิสก์มมาตรฐานพีซีและแล็บท็อปส่วนใหญ่มาอยู่ที่ 7,200 รอบต่อนาที (
3.5 นิ้ว) และ5,400 รอบต่อนาที (2.5 นิ้ว) นอกจากนี้การใช้งานที่สูงขึ้นไปอีกในระดับเอ็นเทอร์ไพช์
อย่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเวิร์คสเตชั่น ความเร็วรอบในการหมุนที่จัดจ้านถึงระดับ 10,000 - 15,000 รอบต่อนาที ดูจะเหมาะกว่า
เนื่องจากการใช้งานระดับการเข้าถึงและเรียกใช้มีความสำคัญมาก

หน่วยความจำบัฟเฟอร์
อีกวิธีที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน คือการใช้หน่วยความจำแคช
หรือบัฟเฟอร์ (Buffer) เพื่อเป็นที่พักข้อมูลก่อนที่จะส่งไปยัง คอนโทรลเลอร์บนการ์ด หรือเมนบอร์ด
สำหรับหน่วยความจำแคชที่ว่านี้จะทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์ โดยในกรณีอ่านข้อมูล ก็จะอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์
ในส่วนที่คาดว่าจะถูกใช้งานต่อไปหรือมีการเรียกใช้งานบ่อยครั้ง มาเก็บไว้ล่วงหน้า ส่วนในกรณีบันทึกข้อมูล
ก็จะรับข้อมูลมาก่อน เพื่อเตรียมที่จะเขียนลงไปทันทีที่ฮาร์ดดิสก์ว่าง แต่ทั้งหมดนี้จะทำอยู่ภายในตัวฮาร์ดดิสก์เอง
โดยไม่เกี่ยวข้องกับซีพียูหรือแรมแต่อย่างใด หน่วยความจำแคชนี้ในฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่าๆ
ราคาที่ถูกมักจะมีขนาดหน่วยความจำเล็กตามลงไป เช่น 128 กิโลไบต์ หรือบางยี่ห้อก็จะมีขนาด 256-512
กิโลไบต์ แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ราคาสูงขึ้นมา(ปัจจุบันนิยม) จะมีการเพิ่มจำนวนหน่วยความจำนี้เป็น 2 เมกะไบต์
ไปจนถึง 8 เมกะไบต์ เลยทีเดียว ซึ่งจากการทดสอบพบว่า การมีขนาดหน่วยความจำแคช หรือ บัฟเฟอร์ที่เพิ่มขึ้น
มีส่วนช่วยให้การทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นตามไปด้วย ถึงแม้กลไกการทำงาน
ของฮาร์ดดิสก์รุ่นนั้นๆ จะช้ากว่าก็ตาม แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของโปรแกรม
ที่มีการเรียกใช้งานด้วยว่ามีการดึงทรัพยากรของระบบมากน้อยเพียงไร

การรับประกัน
อย่าลืมว่า ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่ต้องทำงานตลอดเวลาที่มีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ มีการเคลื่อนไหวต่างๆ
มากมายอยู่ภายในไดรฟ์และโอกาสที่จะเสียหายมีได้มาก โดยเฉพาะเรื่องของความร้อนและการระบาย
ความร้อนที่ไม่ดีในเครื่อง ก็เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียหาย นอกจากนี้การเกิดกระแทกแรงๆ
ก็เป็นสาเหตุหลักของการเสียหายที่พบได้บ่อยครั้ง ดังนั้น
ปัจจัยที่ค่อนข้างสำคัญในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ คือ เรื่องระยะเวลาใน การรับประกัน สินค้า และระยะเวลาในการส่งเคลมโดยสังเกตจาก Void รับประกัน ซึ่งห้ามแกะออกเป็นเด็ดขาดไม่อย่างนั้น
อาจทำให้ท่านเสียใจเพราะส่งเคลมไม่ได้โดยทั่วไปแล้วฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่จะมีการรับประกัน
อยู่ในช่วง 1 หรือ 3 ปี ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้มีผู้ผลิตบางราย เช่น Seagate
ปรับเปลี่ยนระยะเวลาโดยขยายเป็น 5 ปี จุดนี้ก็เป็นข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งที่มีให้ผู้ใช้อุ่นใจ
ดังนั้นการเลือกซื้อควรเลือกระยะเวลารับประกันนานหน่อยเพราะคุ้มค่ากว่าการซื้อฮาร์ดดิสก์มาเปลี่ยนใหม่
เนื่องจากฮาร์ดดิสก์ที่เราจะนำใช้งานนั้น หาความแน่นอนไม่ได้ วันดีคืนดี ฮาร์ดดิสก์เจ้ากรรมอาจเสียลงไปดื้อๆ
หากแต่ว่าฮาร์ดดิสก์ของท่านยังอยู่ในช่วงรับประกันก็ยังอุ่นใจได้ เพราะสามารถส่งซ่อมหรือแลกเปลี่ยนได้
แต่การรับประกันจะไร้ค่าลงไปทันทีเมื่อสัญลักษณ์ของการรับประกันฉีกขาด หรือถูก ลอกออกไป ฉะนั้นควรระมัดระวังไว้ด้วยการรับประกันในที่นี้ก็อาจจะต้องดูด้วยนะครับว่าเป็นการรับประกันจากที่ไหน
จากร้านค้า หรือว่าจากดีลเลอร์ต่างๆ โดยจุดนี้ให้ดูถึงความมั่นคงของร้านด้วย ซึ่งถ้าหากร้านเกิดปิดกิจการไป
ล่ะยุ่งเลยเพราะไม่สามารถที่จะส่งคืนได้
 



การเลือกซื้อเมนบอร์ด

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำรงชีพของคนทั่วโลกและอาจเรียก
ได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเลยก็ว่าได้ คอมพิวเตอร์ถือ เป็นเทคโนโลยีที่
ได้รับการขนานนามให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกทางเทคโนโลยีเลยทีเดียว
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชนิดผ่านการสรรค์สร้างจากมันสมองอันชาญ ฉลาดของมนุษย์
เพื่อให้ได้มาซึ่ง เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดและที่สำคัญที่สุดคือตอบสนองความต้องการของมนุษย์
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญและถือเป็นตัวกลาง ที่เชื่อมต่อการทำงานกับอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ภายใน
คอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้มาซึ่งการทำงานที่มีประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นคือ เมนบอร์ด

เมนบอร์ดหนึ่งในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ถือว่าเป็นเหมือนฐานรากหลักของระบบการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
เพราะมันจะเป็นส่วนที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยงตรง
ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หน่วยความจำ ฮาร์ดไดรฟ์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีรอมไดรฟ์ ที่ผ่านทางสายเคเบิลหรือแม้แต่การ์ดแสดงผล
และการ์ดเสียงก็ล้วนแล้วแต่ต้องทำงานโดยผ่านทางเมนบอร์ดทั้งสิ้น

เมนบอร์ดที่คุณเห็นวางจำหน่ายตามศูนย์การค้าหรือร้านค้าอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ ถูกนำเข้าโดยบริษัทจัดจำหน่ายทั่วไป
ที่มีการเซ็นสัญญาแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ผลิตภัณฑ์เมนบอร์ดส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเมนบอร์ด
สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซี ในส่วนของเมนบอร์ดสำหรับโน้ตบุ๊กและเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นยังมีให้เห็นกันไม่มากนัก
สำหรับเมนบอร์ดเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีนั้นส่วนใหญ่จะแบ่งแยกตามการรองรับโพรเซสเซอร์ที่มี
วางจำหน่ายจากทางค่าย Intel และ AMD โดยแบ่งออกเป็น ซ็อกเก็ต A (462), ซ็อกเก็ต 478,
ซ็อกเก็ต 754 ละล่าสุดกับแพลตฟอร์มใหม่ที่กำลังได้รับการจับตามองของผู้ใช้งานทุกกลุ่มและเป็นนิยมกันอยู่ในขณะนี้
คงหนีไม่พ้นซ็อกเก็ต 775 และ ซ็อกเก็ต 939 ซึ่งยังคงได้รับการพัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่องภาย
ใต้ผู้ผลิตเมนบอร์ดชั้นนำระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นยักใหญ่ระดับหัวแถวแห่งวงการเมนบอร์ดของโลกอาทิ
ASUS, GIGBYTE, MSI, DFI, ABIT, ASROCK ฯลฯ

เมื่อเรามองดูเมนบอร์ดตามลักษณะทางกายภาพจะพบว่าเมนบอร์ดมีลักษณะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่มีชิปเซต
ตัวต้านทานต่าง ๆ และอะไรต่ออะไรมากมาย (ฮือ...ไม่รู้ซักกะอย่าง) เอาเป็นว่าองค์ประกอบหลักของเมนบอร์ด
ทั่วไปนั้นทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำคัญดังนี้

โพรเซสเซอร์ (Processor)
หน่วยประมวลผลกลางหรือที่เรียกกันติดปากว่า "ซีพียู" นั่นเอง ถือเป็นสมองของคอมพิวเตอร์เพราะทำหน้าท ี่
ประมวลผลต่าง ๆ โดยปัจจุบันซีพียูที่ได้รับความนิยมมากในบ้านเราก็คง หนีไม่พ้นค่าย Intel และ AMD
โดยซีพียูของ Intel รองรับการทำงานบนแพลตฟอร์ม 775 (Pentium4 Prescott / Extreme Edition / P
entium D / Pentium Extreme Edition / Celeron D Prescott ) และ 478
(Pentium4 / Celeron Northwood) ส่วนทางด้าน AMD จะรองรับการทำงานบนแพลตฟอร์ม 939
(Athlon64 FX / Athlon64 ), 754 (Athlon64 / Sempron) และ 462 หรือ Socket A
(AthlonXP / Sempron / Duron) ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ทางเอเอ็มดีจะผลักดันซีพียูที่
ทำงานบนแพลตฟอร์ม 462 ให้ไปเป็น 754 ทั้งหมด

หน่วยความจำ (Memory)
Random Access Memory หรือที่เรารู้จักกันนาม Ram ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์
กำลังทำงานอยู่ด้วยไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input)
หรือ การนำออกข้อมูล (Output) หรืออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือเก็บข้อมูลเมื่อเปิดเครื่องและ
ข้อมูลจะหายเมื่อปิดเครื่อง (เข้าใจแล้วใช่ไหม..??) โดยหน่วยความจำหลักที่ใช้รองรับการทำงานของระบบ
ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น หน่วยความจำแบบ SDRAM , DDR SDR