แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - witxp

หน้า: [1]
1
ขอเรียนถามอาจารย์ชัยพรว่า Drug Category, Therapeutic Group และ Pharmacological Action ในโปรแกรมตามรูปที่แนบ มีที่ใช้ต่างกันอย่างไรครับ พอดีจะ set กลุ่ม แต่ไม่แน่ใจว่าในโปรแกรมดึงค่าต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ตรงไหนหรือไม่ เช่น ตั้งเตือนการแพ้ยาเป็นกลุ่ม สรุปรายงาน ฯลฯ จะได้ set รอบเดียวให้ถูกต้องไปเลยน่ะครับ ไม่อยากแก้หลายรอบ ชื่อกลุ่มพวกนี้เราใส่ไปเองได้โดยตรง หรือ ไปใส่ใน sql เอง (ตารางไหนบ้างครับ)

ขอบคุณครับ

2
กระทรวงสาธารณสุข ได้มีหนังสือ ที่ สธ 0205.03.5/ว.404 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2553 แจ้งเวียน ส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อ ทราบและแจ้งเวียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เรื่อง รหัสมาตรฐานยา เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล  โดยแจ้งผลการพัฒนารหัสมาตรฐานยา สำหรับใช้ในสถานพยาบาลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล เป็น รหัสมาตรฐานยา 24 หลัก (โดยความร่วมมือของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ รับผิดชอบเรื่อง การพัฒนามาตรฐานรหัสด้านสุขภาพต่าง ๆ กับ สำนักบริหารการสาธารณสุข ซึ่งเป็นแกนหลักในการพัฒนารหัสมาตรฐานยา) ว่า ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดาวน์โหลด ได้ที่เว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข (http://dmsic.moph.go.th) หรือที่เว็บไซต์ ศูนย์มาตรฐานรหัสด้านสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (www.thcc.or.th)

                 ทั้ง นี้ หากพบว่าฐานข้อมูลรหัสยาดังกล่าวมีรหัสไม่ครอบคลุมยาที่ใช้ในสถานพยาบาลของ ตนเอง ขอให้ส่งรายละเอียดรายการยาที่ไม่มี โดยกรอกแบบฟอร์ม ส่งไปที่ Email : dmsic@health3.moph.go.th หรือ thcc.health@hotmail.com และสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 2590 1757, 0 2590 1762 และ 0 2590 1492

ที่มา http://dmsic.moph.go.th/news/detail.php?idnews=2208&PHPSESSID=2abe86f484f0f936e6e9e0dc86213d16

3
กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขโดยมุ่ง เน้นการพัฒนาฐานข้อมูลระดับบุคคลที่มีโครงสร้างมาตรฐาน ลดความซ้ำซ้อน และลดภาระการทำงาน สามารถเชื่อมโยงใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว ได้มีการกำหนดโครงสร้างฐานข้อมูลสถานบริการสุขภาพระดับต่าง ๆ ที่เป็นมาตรฐาน รวมทั้งการพัฒนามาตรฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อาทิ รหัสสถานบริการ รหัสโรค รหัสเครื่องมือแพทย์ รหัสยา ฯลฯ และได้เริ่มดำเนินการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันในระดับ จังหวัดและส่วนกลาง โดยตั้งเป้าหมายที่จะให้มีการจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานตาม ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดได้อย่างครบถ้วนครอบคลุมทั้งประเทศ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภาย นอกกระทรวงสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ

                 โดยที่ยา เป็นองค์ประกอบหลักของการให้บริการรักษาพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยและประชาชนมี คุณภาพชีวิตที่ดี ข้อมูลการบริการด้านยามีความจำเป็นต่อการกำหนดแผนและแนวทางการรักษาที่ต่อ เนื่องและเหมาะสม ไปจนถึงการกำหนดนโยบายด้านสุขภาพโดยรวม การพัฒนาฐานข้อมูลด้านยาของหน่วยงานต่างๆ ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถรองรับการเชื่อมโยงใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ มีความสำคัญยิ่งในการที่จะบรรลุจุดมุ่งหมาย ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมืออันดีของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดจัด การอบรม เรื่อง รหัสมาตรฐานยาและการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลบริการด้านยาในเครือข่ายโรง พยาบาล ให้แก่ เภสัชกร โรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป / โรงพยาบาลชุมชน / โรงพยาบาลสังกัดกรมอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุข / โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงอื่น / โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร ที่รับผิดชอบการจัดหายาและสนับสนุนยาของสถานบริการระดับรองในเครือข่าย (CUP) เภสัชกรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบสารสนเทศของจังหวัด และผู้แทนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำเขต แห่งละ 1 คน โดยแบ่งการอบรมเป็น 10 รุ่น ๆ ละประมาณ 120 คน ในช่วงระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2553 ณ จังหวัดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

รุ่นที่      วัน เดือน ปี          ผู้เข้าอบรมจากหน่วยงาน    สถานที่จัดอบรม
1      5 กรกฎาคม 2553    กทม หน่วยงานรัฐ/เอกชน   กรุงเทพ
2      9 กรกฎาคม 2553    เขต 15 และ 16                   เชียงใหม่
3    16 กรกฎาคม 2553    เขต 2, 17 และ 18           พิษณุโลก
4    23 กรกฎาคม 2553    เขต 1, 4 และ 5                   ประจวบคีรีขันธ์
5    30 กรกฎาคม 2553    เขต 10 และ 12                   อุดรธานี
6      6 สิงหาคม 2553      เขต 11 และ 13                   อุบลราชธานี
7    11 สิงหาคม 2553      เขต 3 และ 9                   ชลบุรี
8    17 สิงหาคม 2553      เขต 14                           นครราชสีมา
9    20 สิงหาคม 2553      เขต 8                                 พัทลุง และตรัง   สงขลา
10  31 สิงหาคม 2553      เขต 6 และ 7                       (ยกเว้นพัทลุง และตรัง)   สุราษฎร์ธานี

กระทรวงสาธารณสุขจึงขอเชิญหน่วยงานต่าง ๆ ส่งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมการอบรมดังกล่าว ในวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด และแจ้งตอบรับการเข้าร่วมอบรมในแบบตอบรับฯ ไปยัง ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรสาร 0 2590 1762 และ 0 2590 1757 ภายในวันที่กำหนดสำหรับแต่ละรุ่นอบรม และสำหรับผู้เข้าอบรมที่ประสงค์จะเข้าพัก ณ โรงแรมที่จัดอบรมซึ่งผู้จัด ฯ ได้ประสานไว้ กรุณาแจ้งความจำนงโดยจัดส่งแบบสำรองห้องพักไปยังโรงแรมโดยตรง รายละเอียดตามหนังสือ กระทรวงสาธารณสุข ด่วนที่สุด ที่ สธ 0228.07/ว 383 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2553

                 ติดต่อสอบถามราย ละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ ฯ โทร 0 2590 1758 และ 0 2590 1762 e-mail: dmsic@health3.moph.go.th

                 อนึ่ง ในการอบรมครั้งนี้ มีการฝึกปฏิบัติการจัดทำรหัสมาตรฐานยาสำหรับนำไปใช้ในฐานข้อมูลของหน่วยงาน ทั้งยาที่จัดซื้อและยาที่หน่วยงานผลิตเอง จึง ขอให้ผู้เข้าอบรมจัดเตรียมและนำอุปกรณ์และข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพาที่ติดตั้งโปรแกรม Microsoft Access (version 2003 ขึ้นไป) พร้อมใช้งาน ฐานข้อมูลรายการยาจัดซื้อของหน่วยงาน และฐานข้อมูลรายการยาที่หน่วยงานผลิตเอง ในรูปแบบ .xls ตามโครงสร้างที่กำหนด ไปในวันอบรมด้วย

ที่มา http://dmsic.moph.go.th/news/detail.php?idnews=2180&PHPSESSID=229c19ae47421a1c5a228e33fd7593fc

4
เรียนอาจารย์ MN เมื่อวันที่ 17-18 มิย 53 ที่ผ่านมา ทีมตรวจจากกรมบัญชีกลางได้เข้ามาตรวจที่ รพ.ใน 3 ประเด็น คือ คุณภาพเวชระเบียน การเบิกจ่าย และการรักษาพยาบาลของ รพ. หลังจากเดินสายผ่านมาหลายจังหวัด มีประเด็นหนึ่งที่คิดไม่ตกและไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไรคือ กรณีผู้ป่วยสิทธิเบิกได้ หากผู้ป่วยมารับยาก่อนกำหนด แล้วแพทย์จ่ายไปซ้ำซ้อนกับครั้งที่แล้ว ทั้งๆ ที่ยาผู้ป่วยยังไม่หมด รพ.อาจจะถูกเรียกเงินคืน ในส่วนที่จ่ายยาเกินไปให้กับผู้ป่วย เช่นได้รับยาลดไขมันในเลือด 60 เม็ด เพื่อให้กินได้ 2 เดือน แต่ผ่านไป 1 เดือนผู้ป่วยกลับมารับยาแล้ว แพทย์สั่งจ่ายให้ผู้ป่วยไปโดย อาจจะไม่มีเวลาตรวจสอบว่าครบกำหนดหรือยัง ยาหมดหรือยัง เนื่องจากผู้ป่วยที่ต้องตรวจมีจำนวนมาก หรือบางครั้ง RM มาเลย โดยไม่ได้ดูก่อนว่าเพิ่งได้รับยาไป คณะที่มาตรวจสอบได้ขอข้อมูลเหล่านี้ไปเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง เท่าที่ผมดูข้อมูลขั้นต้นแค่ตรวจรายชื่อผู้ป่วยที่มารับยารายการนี้ไปแค่ 5 หน้า พบว่าประมาณ 20-25% ผู้ป่วยมาก่อนนัด และได้รับยาเกินไป ถ้า รพ.ถูกเรียกเงินคืน คงเหงื่อตก!!

เรียนปรึกษาว่า เราจะมีระบบตรวจสอบหรือแจ้งเตือน ทั้งแพทย์ เภสัช หรือผู้เกี่ยวข้อง อย่างไรได้ไหมครับ ว่าผู้ป่วยรายนี้เพิ่งมารับยาครั้งหลังสุดเมื่อไร ครบกำหนดหรือยัง ระบบของผม ณ ขณะนี้ตอนจ่ายยา ถ้ามีเวลามากพอคนไข้ไม่มาก จะเข้าไปดูประวัติเดิมของผู้ป่วยว่าได้รับยาไปเมื่อไร แต่กว่าจะเข้าไปดูได้ค่อนข้างซับซ้อน และไม่เห็นข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบมากนัก ถ้าเห็นข้อมูลเป็นลักษณะคล้ายๆ Drug profile หรือมีระบบเตือนวันที่มาหลังสุด (กี่วันผ่านมาแล้ว)น่าจะง่ายขึ้นครับ

5
Development / ขอเพิ่ม Notify ในรายการค่ารักษาพยาบาลครับ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2009, 10:33:30 AM »
เรียนอาจารย์ชัยพร ผมขออนุญาตเสนอแนะให้เพิ่ม TAB Notify ในรายการค่ารักษาพยาบาล เหมือนกับที่มีใน รายการเวชภัณฑ์ยาครับ เพื่อความสะดวกในการ popup เตือนผู้สั่งใช้ หรือคนที่ key ข้อมูลที่มีรายการแจ้งเตือนเป็นกรณีพิเศษในค่ารักษาพยาบาล หรือวัสดุการแพทย์บางรายการ ที่มีข้อความเตือนเฉพาะ เช่น รายการนี้เหมาจ่ายในค่ารักษาพยาบาลแล้ว ไม่สามารถ key รายการเพื่อคิดค่ารักษาพยาบาลแยกต่างหากได้ , เวชภัณฑ์รายการนี้มีค่าส่วนเกิน 50 บาท , รายการเวชภัณฑ์นอกแผนจัดซื้อ

ขอบคุณครับ

6
เรียนอาจารย์ชัยพร ผมใช้ HOSxP version 3.52.10.7 ครับ พบปัญหาว่า

1.รายการยาที่เราบันทึกจ่ายไปแล้ว และสั่ง Lock order ตอนจ่ายยาคนไข้นอกด้วย ปรากฏว่าแพทย์หรือ จนท.ที่ key ยาได้ สามารถเข้าไปแก้ไขรายการยาที่เราบันทึกจ่ายได้

เท่าที่พบปัญหาหนักๆ ตอนนี้พบว่า แพทย์สั่งฉีดยา Insulin ให้คนไข้ เช้า 8 ยูนิต เราจ่ายยาให้คนไข้ไปแล้ว คนไข้กลับมาบอกภายหลังว่า แพทย์สั่งให้เพิ่มยาเป็น 10 ยูนิต คือแก้ไขหลังจากเราบันทึกจ่ายไปแล้ว ปัญหาที่อาจตามมาคือ เราอาจถูกฟ้องได้ว่าจ่ายยาผิดจากที่แพทย์สั่งครับ ถ้าปัญหานั้นเกิดความรุนแรงมากๆ

2.รายการยาที่หน้าจอบันทึกจ่ายยา ตามรูปด้านล่าง พบว่าถ้าเครื่อง computer หน้าจอไม่กว้างมากพอ รายการยาที่อยู่ด้านบน ถูกซ่อนไว้ ทำให้ต้องเลื่อนหน้าจอไปดูรายการยาด้านบนบ่อยครั้ง เพื่อตรวจสอบว่ามียาอะไรบ้าง อยากให้อาจารย์แก้ไข ให้เริ่มแสดงรายการจากรายการที่ 1 เป็นต้นไป หรือถ้าไม่ได้แก้ไขให้นำรายการยามาแสดงที่ส่วนล่างเหมือน version ก่อนหน้านี้ครับ

7
นอกเรื่อง / ขอให้คุณไก่หายป่วยไวๆ ครับ
« เมื่อ: กันยายน 18, 2009, 19:50:32 PM »
ทาง รพ.มอบหมายให้ผมติดต่อ BMS เรื่อง Package Maintenance กับคุณไก่มา 2-3 วันแล้วครับ แต่ติดต่อไม่ได้ คิดว่าคงงานยุ่งเลยไม่ได้รับสาย วันนี้เลยส่ง SMS ไปสอบถาม บ่ายๆ ทีมงานโทรมาบอกว่าคุณไก่ไม่สบาย Admit อยู่ รพ. ยังไงก็ขอให้รักษาสุขภาพ หายป่วยไวๆ นะครับ อย่าโหมงานมาก  ;D ;D

8
กรณีคนไข้ข้าราชการสิทธิเบิกได้ ถ้าแพทย์สั่งจ่ายยาวิตามินที่เบิกไม่ได้ตามระเบียบของกรมบัญชีกลางและผู้ป่วยยินดีชำระเงินเอง เมื่อเราไป set ในรายการยาให้เป็นรายการที่เบิกไม่ได้ชำระเงินเอง สำหรับผู้ป่วยนอก ถ้ามีการสั่งจ่ายยานี้จะไปขึ้นยอดต้องชำระเงินเบิกไม่ได้ที่ห้องเก็บเงินครับ

ส่วนกรณีผู้ป่วยในมีปัญหาคือ ไม่มีการเตือนยอดที่ต้องชำระเงินที่การเงินครับ ไม่ทราบว่าแต่ละท่านแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง ที่รพ.ผมมีปัญหาคือ  จะรู้ได้อย่างไรว่าคนไข้คนนี้มียาที่ต้องชำระเงินเองในแต่ละวันเท่าไร หรือจะรวมยอดชำระทีเดียวก่อน d/c ได้หรือไม่ ไม่มีระบบเตือนกรณีหลงลืม ถ้ามีระบบเตือนขึ้นที่การเงิน หรือเตือนก่อนทำ d/c คนไข้ที่ตึก ว่ามียอดค้างชำระ ค่ายาเบิกไม่ได้ชำระเงินเองก็น่าจะดีครับ ถ้าจะให้จ่ายเป็นรายวันก็ไม่สะดวก เพราะบางทีจ่ายค่ายา วันละ 50 สตางค์ 75 สตางค์ ครับ

9
ไม่ทราบว่ารูปภาพในรายการเวชภัณฑ์ยา ตามรูปด้านล่างนำไปใช้ตรงไหนในโปรแกรมครับ ผมได้ลองใสรูปภาพใส่ไปรายการเวชภัณฑ์ยา (ตอนใสรูปนิดเดียวแต่ตอนดูรูปขยายขึ้นเยอะเลยครับ) ถ้าห้องยา หรือ ward เรียกดูได้ตอนเช็คยาก่อนจ่าย หรือก่อนให้ผู้ป่วยกรณีที่ไม่แน่ใจน่าจะมีประโยชน์นะครับ  ;D

10
รพ.ผมตัดยา HCTZ 50 mg ออกจาก รพ. แล้วนำ HCTZ 25 mg มาแทน (เพื่อจะได้ไม่ต้องหักครึ่งเม็ด กิน 25 mg 1 เม็ดไปเลย) แต่มีปัญหาว่า ถ้าในรายการเวชภัณฑ์ยา เราไปกำหนดว่า ยกเลิกการใช้ เวลาที่แพทย์สั่ง RM ยาเดิมตอนสั่งยา (Repeat Medicine) ยารายการนี้จะไม่ติดมาด้วย เมื่อมาถึงห้องยาๆ จะไม่ทราบทำให้ไม่ได้จ่ายยานี้ไป ตอนนี้เลยยังไม่ทำเป็นยกเลิกการใช้ แต่ทำเป็น popup เตือนแพทย์เวลาสั่ง 50 mg ตัวเดิมครับ ว่ายาตัดจากบัญชี ยกเลิกจำหน่าย โปรดใช้ 25 mg แทน รายชื่อยาก็เหมือนกันกลัวว่าจะสั่งผิด เหมือนกันครับ

ไม่ทราบว่าแต่ละท่านมีวิธีจัดการกับปัญหาแบบนี้อย่างไรบ้างครับ

11
ไม่ทราบว่า Monograph ในรายการเวชภัณฑ์ยามีที่ใช้อย่างไรครับ คิดจะกรอกข้อมูลเข้าไปแต่กำลังคิดว่า ยังไม่รู้ว่าข้อมูลเหล่านี้ ผู้ใช้จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตรงไหนครับ ผมคิดว่าจะดีมาก ถ้าเรากำหนดสิทธิให้ แต่ละคนสามารถเข้าถึงข้อมูลยาใน Monograph ได้ เช่น ข้อบ่งใช้ dose ข้อควรระวังในการใช้ยา หรือต่อไปเราใส่ข้อมูลที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพ เช่น การ monitor ยา การเตรียม การผสม อุณหภูมิที่จัดเก็บ ยา High Alert Drug (ยาที่มีความเสี่ยงสูง)

ยกตัวอย่างเช่น เราอาจกำหนดให้ แพทย์ เภสัชกร พยาบาล หรือผู้ที่เรากำหนดสิทธิ์ให้สามารถ คลิกขวาที่ชื่อยา ในตอน key ข้อมูลยา แล้วสามารถเข้าถึงข้อมูล ข้อบ่งใช้ dose ข้อควรระวังในการใช้ยา ความคงตัว การผสมการเตรียมยา (สำหรับพยาบาล) ที่เภสัชกรใส่ไว้ใน Monographได้ จะเป็นแหล่งอ้างอิงในการ ใช้ยาได้อย่างดี และลดความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาผิด indication ผิดขนาด ผิด dose ได้ (โดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยเด็ก หรือถ้ามีช่องคำนวณ dose แล้ว copy มาได้ก็แจ่มเลยครับ ฝันอีกแล้ว  ;))

ข้อมูล Monograph เหล่านี้เรานำมาแบ่งปันกัน ใช้ด้วยกันได้ด้วยครับ ผมมีทีมน้องๆ เภสัชที่ช่วยด้านวิชาการ หาข้อมูลมาทะยอยกรอกให้ได้เรื่อยๆ ครับ เพียงแต่สงสัยว่าเราจะเอามาใช้ได้ตอนไหน

12
เรียน อจ.ชัยพร และทีมงาน BMS ครับ

ตั้งแต่ 1 กย 52 กรมบัญชีกลางได้ทำหน้าเว็บไซต์ใหม่ และทำให้ Link ที่หน้าแรกของ http://hosxp.net หัวข้ออัตราค่าบริการสาธารณสุขใหม่ ที่ Link มาจากเว็บศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยาของ กระทรวงสาธารณสุขผิดพลาดไปด้วยครับ สำหรับประกาศต่างๆ เรียงตามวันที่ล่าสุด ดูได้ตาม Link ด้านล่างครับ มีหลายฉบับครับ update เรื่อยๆ มีเวลาจะรวบรวมที่สำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับพวกเราไว้ให้ครับ (Link ยาวมากๆ)

http://www.cgd.go.th/wps/portal/!ut/p/c1/jY7NCoJAFIWfxQeIe2ccx3E5ZuqQaFqaugkJEcGfFhH09mkrN1rnLD8O34ESpg7Vq22qZzsOVQc5lPzGTONMlKWjl6FEmmDk8eSIyjYmXix4JAKO1PbcE4-lkEL_Zx1GNHWZIkTwA0HKfWYHmULP-bW-zm9X7Y7PNvn33cy3_DPHlUiE0B_7GgoozYUliC2k4WVv60xRX2dQdHVT3d_w6NMcW7VzpaZ9ADjk7WY!/dl2/d1/L0lJSklna2shL0lCakFBTXlBQkVSQ0lBISEvWUZOQTFOSTUwLXchLzdfNDc1UzFJOTMwT0xROTAyTlRDQjM0STJIMzQ!/?WCM_PORTLET=PC_7_475S1I930OLQ902NTCB34I2H34_WCM&WCM_GLOBAL_CONTEXT=/wps/wcm/connect%2FCGD+Internet%2FCGD+Internet%2FCGDInfo%2FWelfare%2FInteresting%2FCT_CGDInfo_MedicalWelfare_Interesting?&PC_7_475S1I930OLQ902NTCB34I2H34_WCM_Page.60a4f4004a744df4b094f756e808438d=1

ไฟล์รวมอัตราค่าบริการสาธารณสุขฉบับเริ่มแรกมีทั้ง PDF EXCEL WORD ได้ zip ไว้โดยกรมบัญชีกลาง ผม Link ตรงไม่ได้เลย และไฟล์ใหญ่กว่า 1 MB ฝากไฟล์ไว้ที่นี่ครับ
http://www.4shared.com/file/129412410/6c9cc4d/201249.html

ส่วนไฟล์หัวข้ออัตราค่าบริการสาธารณสุขใหม่ ที่หน้าเว็บ HOSxP (อันนี้ใหม่เฉพาะเรื่องแพทย์แผนไทยนะครับ) ปรับปรุงตาม Link ด้านล่างเลยครับ ไฟล์เล็กนิดเดียว

13
Development / รวบรวมความเห็นเพื่อ Medication Reconciliation ใน HOSxP
« เมื่อ: สิงหาคม 16, 2009, 23:31:36 PM »
  สวัสดีครับ ผมเป็นเภสัชกรอีกคนที่ช่วยทีมงานในโรงพยาบาลดูแลเรื่องการพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาล รวมทั้งเรื่องของระบบยา (Medication Safety) ในโรงพยาบาล หลายๆครั้งที่เคยเข้ามาเสนอความเห็นเรื่องการพัฒนารูปแบบและโปรแกรม ให้มีความยืดหยุ่น ความสะดวกในการทำงาน รวมทั้งลดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในการทำงานด้วย ก็ได้รับความกรุณาจากอาจารย์ชัยพร ช่วยพัฒนาโปรแกรมตามข้อเสนอแนะด้วยดีเสมอมา

  ผมเองก่อนจะตั้งกระทู้นี้ มีความคิดว่าถ้าเราเสนอแนะ ตามแนวความคิดของเราคนเดียว น่าจะไม่กว้างขวาง รอบด้าน และอาจจะไม่ครอบคลุมตามความต้องการส่วนใหญ่ของพวกเราชาวชุมชน HOSxP แห่งนี้ เลยคิดว่าน่าจะมาช่วยกันระดมสมอง ระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาระบบอีกระบบหนึ่งซึ่ง เป็นระบบใหญ่ และหนักอกพอสมควร โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่กำลังเตรียมรอรับการประเมินคุณภาพ HA หรือรอเตรียม Re-accredit เหมือนโรงพยาบาลผม

  กระทู้นี้อาจจะยาวสักนิดนึงครับ แต่ขออนุญาตเล่าให้ฟังเรื่อง Medication Reconciliation ก่อนจะมาช่วยกันเสนอแนะ ระบบการทำงานในเรื่องนี้ ให้ชัดเจนและนำไปเสนอแนะเพื่อให้อาจารย์ชัยพรพัฒนาต่อยอดจากเดิมไปได้อีกครับ

  Medication Reconciliation เกิดจากการที่มีผู้ศึกษาพบว่าครึ่งหนึ่งของความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดขึ้นเกิดจากการสื่อสารที่ไม่ดี ในช่วงเปลี่ยนช่วงต่อของการดูแลผู้ป่วย เช่น ตอน Admit ย้ายWard รวมทั้งการ D/C หรือการ Refer ผู้ป่วยกลับไปรับยาต่อที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลชุมชนใกล้บ้าน และร้อยละ 42 – 61 ของผู้ป่วยที่ Admit ไม่ได้ใช้ยาที่เคยใช้อยู่อย่างต่อเนื่อง

  เช่น ผู้ป่วยเคยได้รับยา เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ยาเกี่ยวกับโรคเรื่อรังอื่นๆ หรือซื้อยากินเอง แต่เมื่อเจ็บป่วยกระทันหัน ต้องมา Admit ที่ โรงพยาบาล โดยไม่ได้นำยาติดตัวมาด้วย ไม่ได้แจ้งให้แพทย์ เภสัชกร หรือบุคลากรทีเกี่ยวข้องทราบ ทำให้ไม่ได้กินยาต่อเนื่อง และอาการกำเริบได้ รวมทั้งหากต้องเข้ารับการผ่าตัด แต่ไม่ได้หยุดยาบางชนิดก่อนผ่าตัด ทำให้เกิดอันตรายหลังการผ่าตัดได้

  ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นมีทั้ง ไม่ได้กินยาที่ควรกินอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้หยุดยาที่ควรหยุดก่อนการผ่าตัด ได้รับยาซ้ำซ้อนจากการกินยาที่ตนเองกินอยู่ร่วมกับการกินยาที่ได้รับขณะนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

  มีผู้ได้ให้ความหมายของ Medication Reconciliation ไว้ว่า
- การระบุรายการบัญชียาที่ถูกต้องที่สุดที่ผู้ป่วย กำลังได้รับ (ระบุชื่อยา ขนาดยา ความถี่ วิธีให้ยา) และใช้บัญชีนี้ให้ยาแก่ผู้ป่วยในทุกจุด โดยต้องมีการตรวจสอบ กับคำสั่งแพทย์ เมื่อแรกรับ จำหน่าย หรือย้ายหอผู้ป่วย

- การเปรียบเทียบรายการยาของผู้ป่วยเมื่อแรกรับที่แพทย์สั่งกับรายการยาที่ผู้ป่วยรับประทานต่อเนื่อง และพิจารณาว่าครอบคลุมที่ผู้ป่วยเคยได้รับหรือไม่ และแจ้งแพทย์กรณีที่พบความแตกต่างเพื่อให้แพทย์พิจารณาอีกครั้ง ซึ่งต้องทำทุกๆรอยต่อที่ส่งต่อผู้ป่วยระหว่าง โรงพยาบาลกับโรงพยาบาล ระหว่างหอผู้ป่วย หรือระหว่างแพทย์ จนกว่าผู้ป่วยกลับบ้าน

14
Development / เรียนอ.ชัยพรเรื่องคิวรอรับยาครับ
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2009, 23:26:46 PM »
อาจารย์ชัยพรครับ ผมขอเสนอเรื่องระบบรอรับยา ฝ่ายเภสัชกรรมปัจจุบันมีการใช้งานใน 2 รูปแบบเท่าที่สังเกตุ ถ้าเป็นโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลที่มีคนไข้ไม่มาก จะใช้วิธีเลือกชื่อผู้ป่วยบนหน้าจอ Queue แล้วสั่ง print sticker หรือ ใบสั่งยาที่หน้าจอนี้เลย ส่วนโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปที่มีขนาดใหญ่ มีคนไข้ต่อวันค่อนข้างมาก หลังจากแพทย์ตรวจเสร็จ ผู้ป่วยจะนำบัตรคิวที่มี HN / QN มายื่นที่ห้องยาๆ key HN หรือใช้ Barcode Reader ยิง Barcode HN เข้าไป จะปรากฏชื่อคนไข้ที่จะสั่ง print หลังจากตรวจสอบ dose และความถูกต้องของคำสั่งใช้ยา แล้วจึงสั่ง print sticker หรือ ใบสั่งยา

ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือ ก่อนจะยิง Barcode ทุกครั้ง ต้องนำ mouse มา click ในช่อง HN/QN ด้านล่างซ้าย เพื่อให้รอรับค่าที่จะยิง Barcode ซึ่งปัจจุบัน Mouse จะไป Active รอที่ชื่อผู้ป่วย บางคนเผลอยิง Barcode เข้าไปก่อนจะขยับ mouse ไป click ในช่อง HN ก็จะกลายเป็นคำสั่ง Print Stcker คนเดิมที่ Mouse Active อยู่เดิมทันที ทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานบ่อยมาก

ที่จะขอเสนอคือ หลังจากสั่งพิมพ์ sticker หรือ ใบสั่งยาแล้ว ขอให้ cursor มารอรับค่า HN คนต่อไปในช่อง HN/QN เลยได้ไหมครับ เพื่อความสะดวกในการทำงานและลดข้อผิดพลาด ไม่ต้องขยับ mouse มาคลิกในช่อง HN/QN ทุกครั้งก่อน ยิง Barcode ซึ่งจะคล้ายๆ กับระบบบันทึกจ่ายยาที่ทุกครั้งที่บันทึกจ่ายเสร็จ cursor จะรอรับค่า QN คนต่อไปได้เลยไม่ต้อง ไป click mouse ในช่อง QN ทุกครั้ง ทำให้สะดวกมากๆ ครับ  ;D


15
อาจารย์ชัยพรครับ มีข้อสอบถามและเสนอแนะเรื่องระบบบันทึกจ่ายยาที่ห้องยา เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูลที่บันทึกในระบบ สะดวกในการทำงานและ ลดความผิดพลาดดังนี้ครับ

1.ขอสอบถามว่าที่หน้าจอลงบันทึกจ่ายยาให้ผู้ป่วย ในช่อง ผู้จัด ผู้ตรวจ ผู้จ่ายยา เราจะแยกบันทึกอย่างไรครับ ถ้าระบบการทำงานที่ รพ.หลังจากเจ้าหน้าที่จัดยาเสร็จ มากรอกรหัสผู้จัดในช่องผู้จัด หลังจากนั้นส่งให้เภสัชกรผู้ตรวจสอบความถูกต้องรอบที่ 1 ตรวจแล้วลงรหัสผู้ตรวจ จากนั้นส่งต่อไปให้เภสัชกรผู้จ่าย จ่ายยาให้คนไข้แล้วลงบันทึกรหัสผู้จ่ายเป็นคนที่สาม ทุกวันนี้ลงบันทึกข้อมูลเฉพาะผู้จ่ายครับ ได้เคยทดลองลงรหัสผู้ตรวจ แล้วจะต่อด้วยการลงรหัสผู้จ่ายปรากฏว่า ระบบแจ้งว่าบันทึกจ่ายไปแล้วครับหลังจากลงรหัสผู้ตรวจ

2.ขอเสนอแนะเรื่องหน้าจอบันทึกจ่ายที่ tab แรก รายการเวชภัณฑ์
   2.1 ลำดับของการแสดงรายชื่อเวชภัณฑ์/ค่าใช้จ่าย จากบนลงล่าง ขอเรียงรายการยาไว้ลำดับแรกๆ ติดกัน แล้วต่อด้วยค่าบริการหมวดอื่นๆครับ ทุกวันนี้พอมีค่าบริการมาคั่นช่วงทำให้ตาลาย (ปีนี้อายุ42 สายตาเริ่มแย่) เวลาเช็คยาก่อนจ่ายมีโอกาสผิดมากได้ครับ พอดีที่ รพ.ใช้ระบบ paperless เลยไม่ได้ print ใบสั่งยามาตรวจกับยา

   2.2 ลำดับของข้อมูลที่แสดงจากซ้ายไปขวาขอเป็น ลำดับ ชื่อเวชภัณฑ์ จำนวน วิธีใช้ หมวดรายการ ...(ส่วนราคากับ รวมไม่ค่อยได้ใช้ครับ) จะทำให้ลดความผิดพลาดในการจ่าย และอธิบายคนไข้ได้ตามระบบการทำงานครับ หมวดรายการช่วยได้มากเวลาคนไข้มีเยอะๆ (คนไข้วันละ 1500 คน) เราจะรู้ได้เลยว่าคนไข้เคยใช้ยานี้แล้ว สอบถามทบทวน หรืออธิบายคร่าวๆ ได้เลย ถ้ายาใหม่อธิบายเยอะหน่อย ถ้าเปลี่ยนวิธีใช้ เราซักประวัติเพิ่มว่า อาการดีขึ้นหรือเป็นมากขึ้นหมอถึงเพิ่ม/ลด dose ยา ถ้ายาเดิมลดหรือเพิ่มจำนวนซักประวัติเพิ่มว่าอาการเป็นอย่างไร หมอถึงลด/เพิ่มจำนวนยา

   2.3 ขอเพิ่มช่อง Diagnosis ไว้ด้านหน้า บรรทัดเดียวกับ สิทธิ์การรักษาครับ เพื่อดูโรคกับยา และประกอบกับ CC PE ในการจ่ายยา ทำให้อธิบายยาได้ตรงกับโรค ทำงานง่ายขึ้นครับ ไม่ต้องถามว่าเป็นอะไรมา มีอาการอย่างไรมา รพ. เพราะยาบางตัวมีหลายข้อบ่งใช้ครับ

ขอบคุณครับ

16
ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่มาตรวจวันละหลายๆ คนครับที่มาตรวจ แพทย์สั่งยาให้แล้วแต่ ไม่มารับยา ไม่ทราบว่าแต่ละท่านมีวิธีจัดการกับข้อมูลเหล่านี้อย่างไรบ้างครับ เพราะถ้าบันทึกข้อมูลไปก็จะติดเป็นประวัติไปว่ารับยาไปเมื่อวันที่มาแล้ว อาจทำให้แพทย์ผู้ตรวจเข้าใจผิดได้ หรือแม้แต่ข้อมูลข้าราชการสิทธิ์จ่ายตรงกรมบัญชีกลางอาจจะส่งเบิกผิดได้ทั้งๆที่ ไม่ได้รับยาไป

17
ตามที่มีกระทรวงการคลังได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เรื่องการเบิกจ่ายค่ายาสมุนไพรนั้น กรมบัญชีกลางได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ค่ายาสมุนไพร ที่กระทรวงการคลังปรับปรุงแก้ไขใหม่ ตาม Link ด้านล่างนี้ครับ
http://www.cgd.go.th/uploadfile/doc/9672_doc.PDF

ข้อความโดยสรุป คือ สมุนไพรที่เบิกได้ประกอบด้วย
1.ยาสมุนไพรที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับปัจจุบัน
2.รายการยาสมุนไพรที่เป็นเภสัชตำรับของโรงพยาบาล(รายการยาสมุนไพรที่แต่ละสถานพยาบาลผลิตเอง)
3.รายการยาสมุนไพรที่อยู่ในบัญชียาของสถานพยาบาลแต่ละแห่ง โดยให้คณะกรรมการแพทย์ออกหนังสือรับรองยานอกบัญชียาหลักเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย

รายละเอียดอื่นๆ อ่านในเอกสารตาม Link เลยนะครับ

18
ท่าน Admin ทั้งหลายครับ กรมบัญชีกลางแจ้งเวียนหนังสือลงวันที่ 11 มิย 52 กำหนดเกณฑ์การเบิกที่อาจกระทบต่อข้าราชการ และ Admin แต่ละท่านอาจต้องปรึกษาผู้บริหาร เรื่องการตีความการกำหนดค่าต่างๆ ของระบบ
หากท่านอ่านหนังสือฉบับนี้ ไม่ทราบว่าตีความได้เช่นเดียวกับผมไหมครับว่า

1. จากข้อ 2.1 ข้าราชการจะไม่สามารถเบิกค่ายาวิตามินและเกลือแร่ ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลักได้เลย
เช่น ยาสูตรวิตามินรวมผสมแคลเซียม ยาสูตรวิตามินรวมผสมธาตุเหล็ก ยาที่อาจจะเข้าข่าย ได้แก่ FBC , FBC Plus , Obimin AF , Obimin AZ ที่ใช้ในข้าราชการที่ฝากท้องแล้วอาจจะเบิกไม่ได้หรือไม่  ยาสูตรแคลเซียมผสมวิตามินรวม ได้แก่ Calvin Plus

2. จากข้อ 2.2 ยาสมุนไพรที่ไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ หรือเภสัชตำรับโรงพยาบาล ข้าราชการจะไม่สามารถเบิกได้

ทั้ง 2 กรณีห้ามออกหนังสือรับรองความจำเป็นในการใช้ยานอกบัญชีด้วย ท่านใดอ่านแล้วตีความเป็นอย่างอื่นรบกวนช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยครับ

ที่มา
http://www.cgd.go.th/uploadfile/doc/9395_doc.pdf

19
อาจารย์ MN post แจ้งไว้ในกระทู้ http://hosxp.net/index.php?option=com_smf&Itemid=28&topic=9539.msg59117#new แต่ผมเห็นว่ากระทู้ถูกดันลงไปเรื่อยๆครับ เกรงว่าพวกเราที่เข้าอบรมจะไม่ได้เข้าไปอ่านเลยขอมาตั้งหัวข้อไว้อีกที่ตรงนี้นะครับ

อาจารย์แจ้งว่ารวมคำถามคำตอบในช่วงอบรมนำมาไว้ที่ http://hosxp.net/mybb/

หน้า: [1]