น่าจะเสนอให้ อ.MN เพิ่ม field 'sks_drugcode' ในตาราง drugitems เพื่อสำหรับเตรียมรองรับการส่งออกให้สกส.
ไม่ต้องเพิ่มก็ได้ครับ เพราะตอนส่งข้อมูล claim สกส. ให้ส่ง local code เข้าไปครับ
local code หมายถึง code ยาของโรงพยาบลแต่ละแห่ง (ซึ่งไม่เหมือนกัน)
อธิบายเพิ่มเติม : ร.พ. ทำการ map รหัสยาของ ร.พ. เข้ากับรายการ drug catalog ของ สกส. เพียงแค่ครั้งเดียว (ผ่านโปรแรกมที่ สกส. จัดทำ) แล้วส่งข้อมูลนี้ให้ สกส. ดังนั้น สกส. จะมีรหัสยา
ของเราอยู่ในมือแล้ว คราวนี้พอเราส่ง claim ก็สามารถส่ง local code ไปได้ สกส.ก็จะไปจับคู่กับรหัสที่เราส่งไว้แล้ว สกส. ก็จะทราบบว่าในใบสั่งยานั้นมีรายการยาอะไรบ้าง
ลืมบอกไปว่าต้อง map ตามชื่อการค้าที่ ร.พ. จัดซื้อ (อันนี้ก็เท่ากับว่าใช้รหัส 24 หลักเลยที่เดียว...แต่ของ สกส. มีเพียง 6 หลัก) หากมีการเปลี่ยนแปลงบริษัท ร.พ. ต้องใช้โปรแกรมของ สกส. (ตัวเดิมที่ใช้ map รหัสทีแรก) ทำการจับคู่รหัสยา ส่งผ่านโปรแกรมนั้น (web service) เข้าไป สกส.
แล้วถ้าเป็นรายการยาใหม่ที่ยังไม่มีในบัญชีของ สกส. (drug catalog) ล่ะ ก็ให้ request ชื่อยาตาม trade name พร้อมบริษัทเข้าไปให้ สกส. ทราบ (คงผ่านทางโปรแกรม mapping นั่นแหละ) แล้ว สกส จะมีวิธีการรับทราบและกำหนดรหัสให้ภายใน 3 วันทำการ อ้อ...ร.พ.หลาย ๆ แห่ง คงไม่ต้องห่วงเรื่องนี้ครับ ร.พ. ใหญ่ ๆ ร.พ.มหาวิทยาลัย คงจะ request เข้าไปมากกว่าเราครับ เราก็คอย update drug catalog เท่านั้นก็พอ เราก็จะสามารถ mapping รหัสยาได้ โดย(อาจจะ)ไม่ต้อง request รายการยากับ สกส. เลย ยกเว้นว่าซื้อยากับบริษัท กขค. จำกัด ที่ no name 555555 หรือรายการยาที่ผลิตเองในโรงพยาบาลครับ...อันนี้ต้อง request เข้าไปแน่ ๆ แต่ก็คงครั้งเดียวที่เริ่มผลิต
หลาย ๆ คนคงไม่เห็นด้วยที่จะใช้ trade name เพราะต้องจัดการอะไรอีกหลายอย่าง ยุ่งยาก....ผมก็เห็นอย่างนั้นครับ แต่มันมีเหตุผลในการทำครั้งนี้ จนต้องยอมตาม สกส. ครับ (เอาไว้วันหน้าจะมาบอกอีกทีครับ)
ปัญหาจะอยู่ที่ว่าเราจะ setup ระบบที่ห้องจ่ายยาอย่างไร ถึงจะทราบได้ว่ารายการยาที่ถึงมือผู้ป่วยจริง ๆ น่ะคือยาชื่อการค้าอะไร (lot ไหน....ถ้าบอกได้ก็ดี...เวลา อย.เรียกยาคืน เราจะได้ตามเอาคืนจากผู้ป่วยได้ด้วย...แต่คงยาก เอาแค่รู้ว่าเป็นยาของบริษัทไหนก่อนยังยากเลย เพราะส่วนใหญ่เราคงแบ่งรหัสยาแค่ original กับ local made เท่านั้น สำหรับ generic หนึ่ง ๆ) วิธีการตรงนี้แล้วแต่ ร.พ.จะบริหารจัดการครับ ว่าใครมีแนวคิด/วิธีจัดการอย่างไร
อาจจะต้องลงทุนมาก เช่น ใช้ bar code ช่วยตอนจ่ายยา เป็นต้น
แนวคิดของผมนะครับพอจะจ่ายยากับผู้ป่วยก็เอาตรวจสอบรายการยาที่หน้าจอกับรายการยาที่จ่ายว่าเป็น
trade name เดียวกันหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็ต้องแก้ไขรายการยาในคอมฯให้ตรงกับที่จ่ายจริง ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายไม่ต้องห่วง ว่างจะมีการเปลี่ยนแปลงไป เพราะเป็นเงินเชื่ออยู่แล้ว หากเราเปลี่ยนได้ตอนจ่ายยาเลย ยอดเงินที่ส่งเบิกก็จะตรงกับรายการยาที่ใช้จริง
คราวนี้ถ้าเป็นยาที่เป็น foil หรือ strip pack หรือเป็นกล่องก็คงไม่น่าจะมีปัญหา เพราะเราจะเห็นชื่อการค้าอยู่แล้ว (อาจจะต้องไปใส่ชื่อการค้าไว้ในชื่อยา...หากใครใช้ generic name...ให้พอมองเห็นได้ที่หน้าจอตอนจ่ายยา) เภสัชกรที่จ่ายยาก็คงแก้ไขได้ หากรายการยาที่ key มาโดยแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ห้องยา ไม่ตรงกับ trade name ที่กำลังจะจ่ายออกไป
แต่ถ้าเป็นยา pre-pack ล่ะ ไม่มีชื่อยา trade name อะไรก็ไม่รู้ (แล้วยังจะมาเอา lot no. อีก 55555) ผมก็มี idea ว่า คงต้องใช้ระบบบริหาร sticker ช่วยพิมพ์ pre-pack ของ HOSxP นี่แหละ...ใช้ให้เป็นประโยชน์ครับ ดังนั้นจะต้องมีการเพิ่มข้อมูลบางอย่างเข้าในในระบบข้อมูลยา (drugitems) ซึ่งก็คือรหัส bar code ของ trade name นั้น ๆ (ตามความคิดตอนนี้คือเอาไปเพิ่มใน drug note หรือคำค้นหาน่ะครับ...เดี๋ยวมาดูว่าจะใช้อย่างไร)
กรณียา pre-pack ก็พิมพ์ sticker pre-pack มาจาก HOSxP ให้มี bar code (อันเดียวกับที่กล่อง/ขวด ของ trade name นั้น ซึ่งเก็บข้อมูลนี้ไว้ใน drugitems ด้วยแล้ว) และชื่อการค้าของยานั้นลงใน sticker pre-pack ด้วยเลย
เวลาจ่ายยา pre-pack ก็ ใช้ bar code reader ช่วยครับ รูดปรื๊ด...รูดปรื๊ด...(หรืออาจจะใช้แบบยิงก็ได้) ก็รู้แล้วเป็นยาอะไร ดังนั้น ตอนจ่ายยาเราก็สอบทานกับข้อมูลที่หน้าจออีกครั้ง หากไม่ตรง (ไม่ใช่ trade name ที่เราจะจ่ายจริง) ก็ไม่ต้องเสียเวลามา key ชื่อยา ยิง bar code หรือ รูดปรื๊ด...รูดปรื๊ด...เลยครับ 5555555 แต่อาจเสียเวลาตรงที่ต้องมาลงจำนวนและวิธีใช้ใหม่
กรณีที่รายการยาที่ ร.พ. ไม่มีใน drug catalog ของ สกส. ให้แจ้งไปทาง สกส. โดยด่วน แล้วเขาจะปรับให้ภายใน 3 วันทำการครับ แต่ถ้าเราเริ่มทีหลังน่าจะไม่มีปัญหาเหล่านี้มากครับ เพราะโรงพยาบาลใหญ่ ๆ เขาจะแจ้งข้อมูลเข้าไปอยู่แล้ว ไม่ต้องห่วงครับ
ถามว่า...แล้วทำไม สกส. ไม่ใช้รหัสยา 24 หลักล่ะ
ก็ตอบว่าการ update รหัสยา 24 หลัก เป็นไปได้อย่างช้าาาาาาาาาาา ๆ ทำให้ไม่ทันต่อการใช้งาน สกส. จึงต้องกำหนดรหัสยาเอง
ทีนี่รายการยาที่รอรหัส สกส. อยู่ล่ะ จะเบิกได้หรือไม่
ก็ตอบว่า สกส. จะแขวนรายการยานั้นไว้ก่อน จะกว่า ร.พ. จะส่งข้อมูลแจ้งรายการยาใหม่นี้เข้าไป ดังนั้นการเบิกจ่าบรายการนี้จะถูกแขวนไว้ไม่เกิน 3 วัน หลังจาก ร.พ. แจ้ง สกส. ครับ
โก้ครับ พี่ถามนิดนึงว่าทำไมสกส.ต้องกำหนดรหัสยาเอง ในเมื่อกระทรวงได้ทำไว้แล้วทำไว้เกือบหมดแล้วยกเว้นยาที่ออกใหม่ในท้องตลาด โดยทำร่วมกันระหว่าง สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
อย. องค์การเภสัชกรรม ถ้าทำแบบนี้ เราต้องทำงานซ้ำซ้อนอีกนะครับ เพราะรายงานรหัสมาตรฐานด้านยา 24 หลัก เข้ากระทรวงก็อีกแบบ สกส.ก็อีกแบบ คนรายงานก็แย่เลยซิครับ พี่ว่า สกส.เขา
รู้สึกไม่คล่องตัวมากกว่า ที่จะต้องมารอรหัส ที่จริงถ้าทาง สกส.ประสานกับ กระทรวงโดย พี่ ภก.ประทิน หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.พระนั่งเกล้า นนทบุรี ที่เป็นคนพัฒนาและทราบรายละเอียด
เรื่องนี้ดีที่สุด ก็น่าจะมีทางออกที่ดีกว่านี้นะครับ
เรื่องการกำหนดรหัสยาใหม่ ตามวิธีของ สกส. ไม่ใช้ 24 หลักที่กระทรวงทำ ตอนแรกผมก็ไม่เห็นด้วยครับ ทำให้เราต้องมากำหนดรหัสอีกมากมาย แต่เหตุผลที่ต้องยอมรับอันหนึ่งคือความทันสมัยของข้อมูลครับ ตามที่พี่ quote คำอธิบายของผมมาข้างต้นแหละครับ
ดูใน file pdf ที่โก้แนบมาแล้วอยากรู้ว่า SigCode รหัสวิธีใช้ยา เขาจะกำหนดอย่างไร เพราะมันมีเยอะมาก ตอน mapping กับ HOSxP ก็ยิ่งสนุกกว่าอีกนะครับ
ผมว่าบางที สกส.ก็ทำอะไรแปลกๆ อย่างเรื่องไม่ให้เบิกค่ายาสมุนไพร กับค่ายาวิตามิน ก็ได้คำแนะนำมาจาก สวรส.ด้วยครับ ทำให้ข้าราชการลำบาก ค่ารถ refer ก็ต้องออกเงินเอง ได้สิทธิน้อยกว่า
บัตรทองในทุกวันนี้ สุดท้ายเชื่อไหมครับ พอสกส.ถังแตก เขาจะเปลี่ยนมาเป็นระบบเหมาจ่ายรายโรค คราวนี้รพ.แย่แน่
SigCode ก็คงทำนองเดียวกับรายการยาตาม trade name ครับ เดี่ยวจะมีโปรแกรม (คงจะรวมอยู่ใน mapper นั่นแหละครับ) มาให้เรา map ให้ รวมทั้ง dfscode ด้วยครับ
ส่วนเรื่องที่ว่า "สกส.ก็ทำอะไรแปลกๆ อย่างเรื่องไม่ให้เบิกค่ายาสมุนไพร กับค่ายาวิตามิน" อันนี้ขอแก้ไขหน่อยครับ สกส. ไม่เกี่ยวครับ เป็นเรื่องของ กบก. ครับ ซึ่งก็คงอย่างที่พี่บอกครับ "ก็ได้คำแนะนำมาจาก สวรส." อันนี้ผมก็เพิ่งรู้มาไม่นาน และวันนี้บังเอิญไปประชุมต่อเนื่องมาจากเรื่องนี้่ด้วย ได้ฟัง สวสร. บอกว่าเป็นจำเลยในเรื่องนี้ไปโดยปริยาย
ต่อมา "พอสกส.ถังแตก เขาจะเปลี่ยนมาเป็นระบบเหมาจ่ายรายโรค" สกส. ถังไม่แตกครับ เพราะไม่เกี่ยวกับการจ่ายยาเงิน แต่ที่ถังแตกคือประเทศชาติครับ (กระทรวงการคลัง ...กรมบัญชีกลาง ผู้คุมเงินสวสัดิการข้าราชการ) อันนี้ใกล้เคียงครับ มีข่าวแว่ว ๆ มาว่าอาจกเกิดหลายมาตรการเพื่อความคุมค่าใช้จ่ายของ CSBMS ครับ เช่น capitation, drug cost sharing, negative list, reference price เอาเป็นว่าแต่ละตัวคืออะไร จะเกิดขึ้นเมื่อไร เดี๋ยวผมจะเอาโครงร่างวิจัยชิ้นหนึ่งมาให้ดูครับ พอดีได้รับเชิญให้ไปช่วยงานนี้ด้วย (จริง ๆ แล้วเขาอยากให้ไปทำเต็มเวลาเลย...สกส.ก็มาจีบ ให้ไปช่วยที่ สกส.อีก ...โอ๊ย รักพี่เสียดายน้อง ไม่รู้จะไปอยู่ตรงไหนดี เอาเป็นว่าอยู่ที่เดิมไปก่อน 5555555555)
สถานการณ์ตอนนี้เริ่มบานปลาย บานตรงปลายจริง ๆ ครับ งบฯผู้ป่วยนอกตอนนี้บานไปเกือบ 60,000 ล้านบาทแล้วครับ สำหรับปี 52 เนี่ย และแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้ยินมาว่าปีงบ 53 จะจำกัดไว้ที่ 70,000 ล้านบาทครับ (อันนี้อาจจะได้ capitation ครับ หากจำนวนผู้ป่วยสิทธิ 4.5 ล้านคน แล้วเหลือคนละหมื่นกว่าบาท/ปี 55555555...แต่ยังครับ...ยังไม่เกิด เพราะต้องรอศึกษาผลกระทบอีกหลายอย่าง)
ทำไมต้องห่วงเรื่องงบประมาณล่ะ??? คำตอบคือ คลังไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้มากมายขนาดนี้ตลอดครับ การปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการจะต้องเกิดขึ้นแน่ ๆ แต่เมื่อไร อย่างไร ต้องรอดูครับ
เฮ้อ...แค่นี้ก่อนละกัน เดี๋ยวมีโอกาสแล้วจะเล่าให้ฟังอีกเยอะครับ ที่ผมได้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่เดือน ก.ค 52 ที่ผ่านมา คิดแล้วเหนื่อย........
ตัวย่อเหล่านี้ดูให้ดี ๆ นะครับ 5555555
สกส.
สวรส.
กบก.
สวปก.