แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - witxp

หน้า: [1] 2 3 4
1
คุณตั๊ก ครับ

   กรุณาส่งใบเสนอราคาให้ทางรพ.กำแพงเพชรด้วยครับ ท่านผอ.อนุมัติ Package 1 แล้วครับ

ขอบคุณครับ

2
Report Exchange / Re: ฝากให้อ.อ๊อด Medication-reconcile มะการักษ์
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2010, 15:51:01 PM »
OPD ได้แล้วครับคุณหมอส่วน IPD ดึงจากหน้าจอไหนปุ่มไหนนะครับ

3
Report Exchange / Re: ฝากให้อ.อ๊อด Medication-reconcile มะการักษ์
« เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 14:19:41 PM »
ขอบคุณครับคุณหมอ

4
Report Exchange / Re: ฝากให้อ.อ๊อด Medication-reconcile มะการักษ์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 21:07:10 PM »
ยังรอความหวังอยู่ครับ

5
Development / Re: medication reconcillation
« เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 21:05:40 PM »
ยังรอความหวังเรื่อง Med Reconcile อยู่นะครับ ที่รพ. Reaccredit แล้วยังติดปัญหาเรื่อง Med Reconcile ทำให้ยังไม่ผ่าน การลอกรายการยาจากการค้นประวัติเองใน HOSxP ทีละหน้าเป็นภาระพยาบาล และเภสัชกรค่อนข้างมากเลยครับ ถ้าดึงรายการยาตามที่ทุกท่านเสนอมาได้ จะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย และลดภาระงานของทุกๆคน ได้มากเลยครับ

6
ปกติเราจะมีการเฝ้าระวังการแพ้ยารุนแรงของยาในบางรายการในช่วง 3-4 เดือนแรกที่มีการสั่งใช้ยารายการดังกล่าวกับผู้ป่วยที่เพิ่งใช้ยาดังกล่าวเป็นครั้งแรก ที่สำคัญคือเราไม่สามรถ Detect ได้ว่าใครบ้างใช้ยานี้ในครั้งแรกโดยไม่ต้องเข้าไปดูประวัติเองทุกๆครั้ง และจะเลิกติดตามเมื่อพ้นช่วงเวลาไปแล้วครับ เช่น Cotrimoxazole , Phenytoin, Carbamazepine เป็นต้น

7
นอกเรื่อง / Re: อาลัยกับการจากไปของ Admin HOSxP
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2010, 07:42:47 AM »
ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ

"อยู่เพื่อตัวเองอยู่แค่สิ้นใจ อยู่เพื่อคนทั่วไปอยู่ชั่วนิรันดร์"

ท่านอยู่ในใจของทุกๆคนนะครับ

8
HOSxP PCU / Re: การลงรหัสยา 24 หลัก
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 21:08:38 PM »
ให้เภสัชลงทีละตัวง่ายที่สุด ณ ขณะนี้ครับ confirm

9
Report Exchange / Re: drug monograh
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2010, 21:06:35 PM »
ทำเป็น Drug Monograph มันยากนะครับ 10 ปี ไม่รู้จะเสร็จรึเปล่า กว่าจะได้ข้อมูลวิชาการเชิงลึกขนาดนั้น
แต่ถ้าทำเป็นข้อมูลยาแต่ละตัวโดยไม่ยึดติดกับชื่อการค้าน่าจะได้ประโยชน์มากกว่า ผมมีข้อมูลยาอยู่หลายตัวแต่ไม่รู้จะใส่ข้อมูลเข้าไป และดึงออกมาให้แพทย์ เภสัช หรือพยาบาลใช้ได้อย่างไร น่าจะแค่คลิกขวาที่ชื่อยา ผู้มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลก็สามารถรู้ dose indication ADR Contraindication Lactation Drug Interaction Pregnancy การผสมยา สารละลายที่ใช้ ความคงตัวหลังผสม อุณหภูมิที่จัดเก็บ และอื่นๆ อีกหลายอย่าง ถ้ากรอกง่ายๆ ดึงออกมาใช้ประโยชน์ได้จริงๆ น่าจะเป็นประโยชน์กว่านี้เยอะ ขาย idea ไว้น่ะครับ

10
ตัวโปรแกรมตรวจสอบ ได้นำเข้าไฟล์ รหัสยา 24 หลัก รึป่าว
ดูหน้าดาวน์โหลด จะไฟล์ที่ต้องนำเข้าในตัวโปรแกรมหลายตัวอยู่
ขอโทษครับ นำเข้าจากตรงไหนครับ ไม่ทราบจริงๆ

11
ปัญหาจะตามมาอีกเรื่องคือกรณียาเตรียมเฉพาะราย (Extemporaneous) ที่แต่ละโรงพยาบาลผลิตเอง ตามที่ไปอบรมกับกระทรวง เขากำหนดให้เราสามารถสร้างรหัสยา 24 หลักเองได้ ซึ่งตรงนี้จะไม่มีในฐานของ สปสช.แน่นอน เวลาจะส่งข้อมูลก็จะ error ตลอดแล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไรดีครับ

อีกกรณีที่จะรบกวนถามคือกรณีเหล่านี้ที่ 24 หลักไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือไม่มี รพ.จะถูกตัด record นั้นไปเลยหรือเปล่าครับ ถ้าตัดไปเลย รพ.ก็ไม่ได้เงินใน record นั้นๆ

12
แปลว่าข้อมูล 24 หลักของ สปสช. ล้าสมัยกว่าของ HOSxP ใช่ไหมครับ
แล้วถ้ามันไม่มี 24 หลักใน OPPP - NHSO นี่ส่งข้อมูลไปก็ถูกตัดไม่ได้เงินใช่ไหมครับ มีวิธีแก้ไขอย่างไร
ใช่ความผิดของ รพ.หรือนี่

13
ของผมมีแต่ปัญหา remed มาเกิน เรื่องตรวจสอบน่ะแทบไม่ได้ตรวจอยู่แล้ว ไวเหนือเสียง remed มาทั้งยาฉีดคราวที่แล้ว remed ยาที่ไม่ใช่ยาโรคเรื้อรัง คนไข้ไม่ไอ ไม่ปวดแล้ว ก็ยังได้ยาอยู่ ถ้าห้องยาไม่ได้ถามคนไข้คงไม่รู้น่ะครับ

14
ถ้าตอนลงทะเบียนที่ห้องบัตรไม่เลือกเป็นภาษาอังกฤษ sticker ยาก็ไม่ออกเป็นภาษาอังกฤษใช่หรือไม่ครับ

15

ถ้าจะกำหนดกลุ่มของยา เพื่อที่จะใช้ในการกำหนดการแพ้ยาเป็นกลุ่ม ต้องกำหนดข้อมูลของยาตรง drug category ให้เหมือนกัน ตามรูปครับ

กำหนดแล้ว
ตอนแรกกำหนดตรง drug category  แต่ก็ยังดึงกลุ่มมาไม่ได้
ผมลองไปดู SQL Trace เห็นมีการดึง Phamacology ด้วยจึงไปกำหนดในนี้อีกทีปรากฏว่าได้  แต่ความหมายของ Major Phamacology , Sub Phamacology, minor Phamacology มันคืออะไร


แก้ไขนิดนึงครับ ไม่ใช่ตรง drug category ให้กำหนด major pharmacology group เป็นกลุ่มเดียวกันครับ ส่วน minor กับ sub pharmacology group อาจารย์คงเตรียมเผื่อไว้ครับ

ขอบคุณนะครับรอคำตอบกระทู้ข้างล่างมานาน ได้ความกระจ่างแล้ววันนี้

16
ยังรอคำตอบอยู่ครับอาจารย์ ผมไปต่อไม่ได้จริงๆ เกรงว่า set ไปแล้วผิดจะมีปัญหาเรื่องไม่เตือนคนไข้แพ้ยากลุ่มเดียวกัน

17
น้องเดียร์  :)


vote ให้คุณเดียร์ครับ

นี่ถ้าปล่อยผมละก็ vote เพิ่มอีกเท่าตัว  ;D


18
รูปแรก ผมใช้แบบนี้ครับ
อันนี้น่าจะหมายถึง drug cat. ที่ใช้ในหญิงตั้งครรภ์หรือเปล่าครับ
ผมไปใส่ใน Notify แล้ว หัวข้อ Pregnancy
ตรง Pregnancy Category ถ้าคลิกขวาที่ชื่อยาแล้วเลือกดูข้อมูลว่าเป็น  Cat ไหนได้ก็ดีซิครับ ตอนนี้ใส่ข้อมูลไปแล้วจะขึ้นเตือนเฉพาะที่มีการลงรายการว่าตั้งครรภ์เท่านั้น บางทีหมอโทรมาถามว่ายานี้ใช้กับหญิงตั้งครรภ์ได้หรือไม่ ต้องเข้าไปค้นในข้อมูลยาลึกๆ หลายขึ้นตอนเลยครับ ไม่ทันใจหมอ

19
ขอเรียนถามอาจารย์ชัยพรว่า Drug Category, Therapeutic Group และ Pharmacological Action ในโปรแกรมตามรูปที่แนบ มีที่ใช้ต่างกันอย่างไรครับ พอดีจะ set กลุ่ม แต่ไม่แน่ใจว่าในโปรแกรมดึงค่าต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ตรงไหนหรือไม่ เช่น ตั้งเตือนการแพ้ยาเป็นกลุ่ม สรุปรายงาน ฯลฯ จะได้ set รอบเดียวให้ถูกต้องไปเลยน่ะครับ ไม่อยากแก้หลายรอบ ชื่อกลุ่มพวกนี้เราใส่ไปเองได้โดยตรง หรือ ไปใส่ใน sql เอง (ตารางไหนบ้างครับ)

ขอบคุณครับ

20
กระทรวงสาธารณสุข ได้มีหนังสือ ที่ สธ 0205.03.5/ว.404 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2553 แจ้งเวียน ส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อ ทราบและแจ้งเวียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เรื่อง รหัสมาตรฐานยา เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล  โดยแจ้งผลการพัฒนารหัสมาตรฐานยา สำหรับใช้ในสถานพยาบาลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล เป็น รหัสมาตรฐานยา 24 หลัก (โดยความร่วมมือของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ รับผิดชอบเรื่อง การพัฒนามาตรฐานรหัสด้านสุขภาพต่าง ๆ กับ สำนักบริหารการสาธารณสุข ซึ่งเป็นแกนหลักในการพัฒนารหัสมาตรฐานยา) ว่า ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดาวน์โหลด ได้ที่เว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข (http://dmsic.moph.go.th) หรือที่เว็บไซต์ ศูนย์มาตรฐานรหัสด้านสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (www.thcc.or.th)

                 ทั้ง นี้ หากพบว่าฐานข้อมูลรหัสยาดังกล่าวมีรหัสไม่ครอบคลุมยาที่ใช้ในสถานพยาบาลของ ตนเอง ขอให้ส่งรายละเอียดรายการยาที่ไม่มี โดยกรอกแบบฟอร์ม ส่งไปที่ Email : dmsic@health3.moph.go.th หรือ thcc.health@hotmail.com และสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 2590 1757, 0 2590 1762 และ 0 2590 1492

ที่มา http://dmsic.moph.go.th/news/detail.php?idnews=2208&PHPSESSID=2abe86f484f0f936e6e9e0dc86213d16

21
กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขโดยมุ่ง เน้นการพัฒนาฐานข้อมูลระดับบุคคลที่มีโครงสร้างมาตรฐาน ลดความซ้ำซ้อน และลดภาระการทำงาน สามารถเชื่อมโยงใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว ได้มีการกำหนดโครงสร้างฐานข้อมูลสถานบริการสุขภาพระดับต่าง ๆ ที่เป็นมาตรฐาน รวมทั้งการพัฒนามาตรฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อาทิ รหัสสถานบริการ รหัสโรค รหัสเครื่องมือแพทย์ รหัสยา ฯลฯ และได้เริ่มดำเนินการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันในระดับ จังหวัดและส่วนกลาง โดยตั้งเป้าหมายที่จะให้มีการจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานตาม ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดได้อย่างครบถ้วนครอบคลุมทั้งประเทศ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภาย นอกกระทรวงสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ

                 โดยที่ยา เป็นองค์ประกอบหลักของการให้บริการรักษาพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยและประชาชนมี คุณภาพชีวิตที่ดี ข้อมูลการบริการด้านยามีความจำเป็นต่อการกำหนดแผนและแนวทางการรักษาที่ต่อ เนื่องและเหมาะสม ไปจนถึงการกำหนดนโยบายด้านสุขภาพโดยรวม การพัฒนาฐานข้อมูลด้านยาของหน่วยงานต่างๆ ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถรองรับการเชื่อมโยงใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ มีความสำคัญยิ่งในการที่จะบรรลุจุดมุ่งหมาย ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมืออันดีของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดจัด การอบรม เรื่อง รหัสมาตรฐานยาและการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลบริการด้านยาในเครือข่ายโรง พยาบาล ให้แก่ เภสัชกร โรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป / โรงพยาบาลชุมชน / โรงพยาบาลสังกัดกรมอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุข / โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงอื่น / โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร ที่รับผิดชอบการจัดหายาและสนับสนุนยาของสถานบริการระดับรองในเครือข่าย (CUP) เภสัชกรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบสารสนเทศของจังหวัด และผู้แทนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำเขต แห่งละ 1 คน โดยแบ่งการอบรมเป็น 10 รุ่น ๆ ละประมาณ 120 คน ในช่วงระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2553 ณ จังหวัดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

รุ่นที่      วัน เดือน ปี          ผู้เข้าอบรมจากหน่วยงาน    สถานที่จัดอบรม
1      5 กรกฎาคม 2553    กทม หน่วยงานรัฐ/เอกชน   กรุงเทพ
2      9 กรกฎาคม 2553    เขต 15 และ 16                   เชียงใหม่
3    16 กรกฎาคม 2553    เขต 2, 17 และ 18           พิษณุโลก
4    23 กรกฎาคม 2553    เขต 1, 4 และ 5                   ประจวบคีรีขันธ์
5    30 กรกฎาคม 2553    เขต 10 และ 12                   อุดรธานี
6      6 สิงหาคม 2553      เขต 11 และ 13                   อุบลราชธานี
7    11 สิงหาคม 2553      เขต 3 และ 9                   ชลบุรี
8    17 สิงหาคม 2553      เขต 14                           นครราชสีมา
9    20 สิงหาคม 2553      เขต 8                                 พัทลุง และตรัง   สงขลา
10  31 สิงหาคม 2553      เขต 6 และ 7                       (ยกเว้นพัทลุง และตรัง)   สุราษฎร์ธานี

กระทรวงสาธารณสุขจึงขอเชิญหน่วยงานต่าง ๆ ส่งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมการอบรมดังกล่าว ในวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด และแจ้งตอบรับการเข้าร่วมอบรมในแบบตอบรับฯ ไปยัง ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรสาร 0 2590 1762 และ 0 2590 1757 ภายในวันที่กำหนดสำหรับแต่ละรุ่นอบรม และสำหรับผู้เข้าอบรมที่ประสงค์จะเข้าพัก ณ โรงแรมที่จัดอบรมซึ่งผู้จัด ฯ ได้ประสานไว้ กรุณาแจ้งความจำนงโดยจัดส่งแบบสำรองห้องพักไปยังโรงแรมโดยตรง รายละเอียดตามหนังสือ กระทรวงสาธารณสุข ด่วนที่สุด ที่ สธ 0228.07/ว 383 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2553

                 ติดต่อสอบถามราย ละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ ฯ โทร 0 2590 1758 และ 0 2590 1762 e-mail: dmsic@health3.moph.go.th

                 อนึ่ง ในการอบรมครั้งนี้ มีการฝึกปฏิบัติการจัดทำรหัสมาตรฐานยาสำหรับนำไปใช้ในฐานข้อมูลของหน่วยงาน ทั้งยาที่จัดซื้อและยาที่หน่วยงานผลิตเอง จึง ขอให้ผู้เข้าอบรมจัดเตรียมและนำอุปกรณ์และข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพาที่ติดตั้งโปรแกรม Microsoft Access (version 2003 ขึ้นไป) พร้อมใช้งาน ฐานข้อมูลรายการยาจัดซื้อของหน่วยงาน และฐานข้อมูลรายการยาที่หน่วยงานผลิตเอง ในรูปแบบ .xls ตามโครงสร้างที่กำหนด ไปในวันอบรมด้วย

ที่มา http://dmsic.moph.go.th/news/detail.php?idnews=2180&PHPSESSID=229c19ae47421a1c5a228e33fd7593fc

22
ปัญหาคือ
1. หลายคนมักจะบอกว่า คนไข้เยอะไม่มีเวลา ยุ่งมาก ไม่สามารถลงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้
2. ลงข้อมูลไปโดยไม่รู้ว่าจะมีผลอะไรตามมา เช่น key ค่าทำแผลรวดเดียว 7 วัน เพราะคิดว่าสะดวกดี
3. เรามักไม่ค่อยตรวจสอบข้อมูลก่อนส่ง ข้อมูลดิบมาอย่างไรก็ส่งไปอย่างนั้น ไม่ได้ดูว่าคนไข้คนหนึ่งมาทำแผลอะไรหนอ ถึงคิดเงินได้เป็นหมื่นเป็นแสน
4. กฏระเบียบมากมาย ยุ่งยากซับซ้อน ต่างสิทธิ ต่างมาตรฐาน

อย่าเพียงแต่เห็นข้อมูล เห็นตัวเลข แล้วส่งๆไป ถ้าเห็นแล้วคิด วิเคราะห์ อธิบาย เหตุผล ที่มาที่ไปได้ นั่นแหละถึงจะเป็นโปร
Data --> Information --> Knowledge
คัดกรองทะเลข้อมูลให้ได้สิ่งที่เป็นสาระ (สารสนเทศ) วิเคราะห์รวบรวมสารสนเทศให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
ใครบ้างหนอจะทำได้เช่นนี้

23
Development / Re: ovst_presc_ned_reason เหตุผลที่ใช่บ่อยๆ
« เมื่อ: มิถุนายน 21, 2010, 00:01:10 AM »
รายการเหตุผลที่ใช่บ่อยๆ ของแพทย์แต่ละคนไว้ในตาราง ovst_presc_ned_reason

ขออนุญาต ยกประเด็น สำหรับความเห็นเกี่ยวกับ เหตุผลที่ใช้ยานอกบัญชี 

โดยตอนนี้ โปรแกรมให้กำหนดในตารางนี้ โดยขึ้นกับ doctor แต่ละคน

ผมคิดว่า อาจจะเกิดความไม่สะดวกในการทำงานนัก  เช่น
  • ต้องใส่เหตุผลสำหรับแพทย์ทีละคน คนละหลายเหตุผล  ในรพช.หรือรพ.ที่มีแพทย์ไม่มากนัก น่าจะไม่เป็นปัญหามากนัก  แค่ admin สอบถามแพทย์ทีละคนว่าอยากมีเหตุผลอะไรบ้าง  แล้วมาเพิ่มในตารางนี้  แต่สำหรับรพ.ที่มีแพทย์จำนวนมาก รพ.มะการักษ์อยู่กลางๆ ครับ แพทย์ประมาณ 30 คน  คนละ 10 เหตุผล  และแพทย์ Intern หมุนเวียนทุกปี ต้องมาเพิ่มในตารางนี้ทุกปี  ถ้ารพศ.ที่มีแพทย์เกินร้อย admin คงลำบากครับ
  • เป็นไปได้มั๊ยครับ ที่เหตุผลจะขึ้นกับ drugitem มากกว่า doctor  และให้เภสัชเพิ่มเหตุผลที่ตกลงกันในรพ.ว่ายานอกบัญชีตัวนี้ ควรมีเหตุผลใด จ่ายได้บ้าง 

ขอบคุณมากครับ
 :D
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ที่ รพ.ผมให้แพทย์แต่ละแผนกไปคุยกันว่ายาในแต่ละรายการมีเหตุผลอย่างไร
โดยใช้ร่วมกันทั้งโรงพยาบาล

24
ผมได้ลองเพิ่มระบบตรวจสอบยาคงเหลือก่อนจ่ายให้แล้วครับใน 3.53.6.20

อันดับแรกกำหนดค่าใน System Setting ก่อนครับ
ขอบคุณนะครับอาจารย์ ขอไปทดสอบก่อนแล้วจะมารายงานผลครับ  ;D

25
ที่โรงพยาบาลผม เคยพูดถึงเรื่องนี้ครับ มีคนเสนอให้ xxx แ  ...พ ....x... เป็นคนที่ช่วยตรวจสอบและแจ้งกับผู้ป่วย แต่ปรากฏว่าได้รับคำตอบ คือ ไม่มีเวลา........ โดยเฉพาะนอกเวลาราชการ (Pay per head for doctor....) ผอ..จึงสรุปว่า ให้เภสัชกรช่วยตรวจสอบ และเป็นผู้แจ้งกับผู้ป่วยว่า ท่านมารับยาก่อนกำหนด จึงไม่สามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงได้ ต้องให้เสียเงิน...... เน้นครับ....ห้องจ่ายยาโดยเภสัชกรเป็นผู้แจ้งกับผู้ป่วยครับ....ผลที่เกิดขึ้น ...อยู่ที่ห้องยาครับ รับไปเต็มๆ  ส่วนบุคลากรอื่นๆ..โดยเฉพาะ..XXXX.. ลอยตัว หากที่ใดมีมาตรการดีๆ รบกวนช่วยเสนอด้วยครับ... (ขอแลกเปลี่ยนกันครับ) จะได้นำเรียนผู้บริหารต่อไป ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ถ้ามัวตรวจสอบให้เดี๋ยวตรวจไม่ทันครับ ที่สำคัญ Pay per head คูณแล้วได้น้อยลง เพราะมัวแต่ตรวจสอบ ห้องยาเวลาตรวจก็ต้องมาเจรจา(เถียง) กับคนไข้แทน รับกรรมไปเต็มๆ อาจจะต้องบอกผอ.ครับ ว่าตรวจสอบยาก จ่ายยาแทบไม่ทันเหมือนกัน ถ้าถูกเรียกคืน รพ.ก็โดนเรียกคืนในนาม รพ.ครับ ผมเสนอว่าน่าจะเป็น pop-up เตือนที่ห้องตรวจนะครับว่า ผู้ป่วยมาก่อนกำหนด ต้องการสั่งยาใช่หรือไม่ ถ้าตอบใช่ก็ save ซิครับว่า รับทราบแล้ว ยืนยันว่าจะสั่งต่อโดยใคร เก็บ log ไว้ตอนกรมบัญชีกลางมาดูก็จะได้ confirm กับไปเลยว่ายืนยันแล้ว (อันนี้รุนแรงเกินไปไหมครับ)

ผู้ป่วยทุกคนเป็นผู้ป่วยของ รพ. เราต้องดูแลร่วมกันครับ รายได้ที่เข้า รพ.หรือเอามาจ่าย OT หรือ pay per head ก็มาจากทุกๆคน จะช่วยกันดูแล ก็หวังว่าเขาจะช่วยดูนะครับ

26
ผมว่าถ้าเป็นไปได้แพทย์ควรตรวจสอบให้ดีก่อนสั่งใช้ยา ส่วนระบบเตือนเห็นด้วยครับ แต่ก็ไม่ควรให้มา load ที่ห้องยาเนื่องจากภาระงานก็เยอะอยู่แล้วไหนยังต้องมานั่งคอยเก็บกวาดเรื่องนี้อีก ถึงห้องยาเข้าถึงข้อมูลประวัตินัดเดิมได้ก็ไม่ได้การันตีว่าจะไม่มีหลุดนะครับ  :'( :'(
ให้เขาตรวจก่อนจ่ายท่าจะยากครับ บางท่านเท่านั้นที่ดูให้และเข้าใจ ถ้าห้องยาเข้าดูได้บ้างก็น่าจะดีขึ้นบ้างนะครับ คิดซะว่าอย่างน้อย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศได้บ้าง อย่างน้อยประหยัดยาที่จ่ายซ้ำซ้อนไปได้ รพ.ละ 20% ครับ

27
พอดีตอนนี้งานเข้า กรมบัญชีกลางเข้ามาตรวจที่ รพ. โดนไปหลายกระทงเลยครับ  :'(
โคนข้อหาอะไรบ้างครับ  :( :( :( :(
ส่วนหนึ่งเท่าที่จดมาได้ เพื่อเป็นวิทยาทานให้ทุกท่านระมัดระวังและตรวจสอบก่อนโดนนะครับ

1. สั่งยามูลค่าสูง โดยไม่พบการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอะไร ถึงต้องใช้ยานี้ ใน IPD case

2. setหมวดค่ารักษาพยาบาลผิดในบางรายการ

3. นำค่ายากลับบ้านส่งเบิกรวมในหมวดค่ายาที่ใช้ใน รพ. (เจ้าหน้าที่เราไม่ได้ key ใน Home med)

4. เบิกค่าวัสดุพื้นฐาน ซ้ำซ้อนกับค่าหัตถการ

5. ไม่พบหลักฐานการสนับสนุนการวินิจฉัยอย่างเป็นรูปธรรม ในโรคเรื้อรังที่ต้องมีการสั่งจ่ายยาในระยะยาว เช่น ภาวะกระดูกพรุน (คือจ่ายยาเลย ไม่เห็นตรวจพบตรงไหน หรือทำตาม guidline ตรงไหนแล้วบอกว่าเป็นกระดูกพรุน)

6. ส่งเบิกค่ารักษาซ้ำซ้อน ใน HN เดียวกันอาจเกิดจาก key ซ้ำ หรือส่งตอนเป็น HN 7 หลัก กับ 9 หลักซ้ำซ้อนกัน หรือกรณีผู้ป่วยไตเทียมๆ key ส่งไปแล้ว งานประกันไม่ทราบส่งยอดเบิกไปซ้ำอีก

7. ส่งเบิกค่ายาไม่ตรงตามระเบียบกรมบัญชีกลาง เช่น
  7.1 สั่งยารักษาภาวะกระดูกพรุนโดยไม่พบหลักฐานการวินิจฉัยโรค บางครั้งพบว่าจ่ายยา 2 รายการ ร่วมกันด้วย
  7.2 สั่งยาลดไขมันที่อยู่นอกบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยไม่พบว่ามีการใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติมาก่อน เช่น จ่าย Atorvastatin เลย ไม่ได้ผ่านการใช้ Simvastatin มาก่อน คือจะระบุเหตุผลไม่ได้ว่าใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้วไม่ได้ผลดีจึงใช้ ยานอกบัญชีฯ เพราะดูตามประวัติแล้วไม่ผ่านการใช้ ED มาก่อน
  7.3 Calcitriol กับ Mecobalamine ถือเป็นวิตะมินที่เบิกไม่ได้ ตั้งแต่หลังประกาศวันที่ 1 กค 52 ไม่สนใจว่าจะใช้ข้อบ่งใช้อะไร หรือออกใบรับรองว่าเป็น NED จำเป็นต้องใช้ เบิกไม่ได้ทุกกรณี ให้ใช้ vitamin D3 กับ Vitamin B12 แทน

8. กรณีผู้ป่วยมารับยาก่อนกำหนด แล้ว รพ.จ่ายยาซ้ำซ้อนไป เช่น สั่งยา 2 เดือน 1 เดือนมารับยาแล้ว แพทย์ก็สั่งให้อีก กรณีนี้ส่วนที่จ่ายซ้ำซ้อนเกินไปอาจถูกเรียกเงินคืน จากกรมบัญชีกลาง

9. key ค่ารักษาพยาบาลเกิน (ไม่ได้ตรวจสอบก่อนส่งเบิก key 0 เกินไป 1 ตัว)

คร่าวๆ นะครับ มีอีกเพียบ

28
เรียนอาจารย์ MN เมื่อวันที่ 17-18 มิย 53 ที่ผ่านมา ทีมตรวจจากกรมบัญชีกลางได้เข้ามาตรวจที่ รพ.ใน 3 ประเด็น คือ คุณภาพเวชระเบียน การเบิกจ่าย และการรักษาพยาบาลของ รพ. หลังจากเดินสายผ่านมาหลายจังหวัด มีประเด็นหนึ่งที่คิดไม่ตกและไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไรคือ กรณีผู้ป่วยสิทธิเบิกได้ หากผู้ป่วยมารับยาก่อนกำหนด แล้วแพทย์จ่ายไปซ้ำซ้อนกับครั้งที่แล้ว ทั้งๆ ที่ยาผู้ป่วยยังไม่หมด รพ.อาจจะถูกเรียกเงินคืน ในส่วนที่จ่ายยาเกินไปให้กับผู้ป่วย เช่นได้รับยาลดไขมันในเลือด 60 เม็ด เพื่อให้กินได้ 2 เดือน แต่ผ่านไป 1 เดือนผู้ป่วยกลับมารับยาแล้ว แพทย์สั่งจ่ายให้ผู้ป่วยไปโดย อาจจะไม่มีเวลาตรวจสอบว่าครบกำหนดหรือยัง ยาหมดหรือยัง เนื่องจากผู้ป่วยที่ต้องตรวจมีจำนวนมาก หรือบางครั้ง RM มาเลย โดยไม่ได้ดูก่อนว่าเพิ่งได้รับยาไป คณะที่มาตรวจสอบได้ขอข้อมูลเหล่านี้ไปเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง เท่าที่ผมดูข้อมูลขั้นต้นแค่ตรวจรายชื่อผู้ป่วยที่มารับยารายการนี้ไปแค่ 5 หน้า พบว่าประมาณ 20-25% ผู้ป่วยมาก่อนนัด และได้รับยาเกินไป ถ้า รพ.ถูกเรียกเงินคืน คงเหงื่อตก!!

เรียนปรึกษาว่า เราจะมีระบบตรวจสอบหรือแจ้งเตือน ทั้งแพทย์ เภสัช หรือผู้เกี่ยวข้อง อย่างไรได้ไหมครับ ว่าผู้ป่วยรายนี้เพิ่งมารับยาครั้งหลังสุดเมื่อไร ครบกำหนดหรือยัง ระบบของผม ณ ขณะนี้ตอนจ่ายยา ถ้ามีเวลามากพอคนไข้ไม่มาก จะเข้าไปดูประวัติเดิมของผู้ป่วยว่าได้รับยาไปเมื่อไร แต่กว่าจะเข้าไปดูได้ค่อนข้างซับซ้อน และไม่เห็นข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบมากนัก ถ้าเห็นข้อมูลเป็นลักษณะคล้ายๆ Drug profile หรือมีระบบเตือนวันที่มาหลังสุด (กี่วันผ่านมาแล้ว)น่าจะง่ายขึ้นครับ

29
ขอเสนอ อาจารย์ MN ว่า ที่ผ่านมาเรามักระบุเหตุผลรวมๆ เช่น ใช้ยาในบัญชียาหลักแล้วผลการรักษาไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยแพ้ยา เกิดผลข้างเคียง ฯลฯ ทีนี้ถ้าเราจะทำเป็นเหตุผลของยานอกบัญชียาหลักแต่ละตัวแล้ว พิมพ์ออกมาคู่กันในใบรับรองเลยจะได้ไหมครับ เช่น ยาA เหตุผลการใช้คือB,  ยาC เหตุผลการใช้คือ D, ยาE เหตุผลการใช้คือ F โดยเหตุผลแต่ละตัวอาจจะมีแตกต่างหลากหลายกันออกไป ไม่ใช่เหตุผลรวมๆ ซึ่งมีแนวโน้มว่าเหตุผลรวมๆ ของการใช้ยานอกบัญชีจะเริ่มใช้ไม่ได้ กรมบัญชีกลางไม่ยอมรับฟังเหตุผลโหลๆ แบบเดิมของเราอีกต่อไปแล้ว

โดยเหตุผลเราใส่ไว้ในข้อมูลยาแต่ละตัวเลยน่าจะ work กว่าไหมครับ
คุณหมออนุกูล ก็ให้ความเห็นเช่นเดียวกันนี้ไว้แล้วครับ
ขอบคุณครับอาจารย์ ผมคงรีบเกินไปหากระทู้เก่าไม่เจอ
พอดีตอนนี้งานเข้า กรมบัญชีกลางเข้ามาตรวจที่ รพ. โดนไปหลายกระทงเลยครับ  :'(

30
ขอเสนอ อาจารย์ MN ว่า ที่ผ่านมาเรามักระบุเหตุผลรวมๆ เช่น ใช้ยาในบัญชียาหลักแล้วผลการรักษาไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยแพ้ยา เกิดผลข้างเคียง ฯลฯ ทีนี้ถ้าเราจะทำเป็นเหตุผลของยานอกบัญชียาหลักแต่ละตัวแล้ว พิมพ์ออกมาคู่กันในใบรับรองเลยจะได้ไหมครับ เช่น ยาA เหตุผลการใช้คือB,  ยาC เหตุผลการใช้คือ D, ยาE เหตุผลการใช้คือ F โดยเหตุผลแต่ละตัวอาจจะมีแตกต่างหลากหลายกันออกไป ไม่ใช่เหตุผลรวมๆ ซึ่งมีแนวโน้มว่าเหตุผลรวมๆ ของการใช้ยานอกบัญชีจะเริ่มใช้ไม่ได้ กรมบัญชีกลางไม่ยอมรับฟังเหตุผลโหลๆ แบบเดิมของเราอีกต่อไปแล้ว

โดยเหตุผลเราใส่ไว้ในข้อมูลยาแต่ละตัวเลยน่าจะ work กว่าไหมครับ

31
เมื่อก่อน ที่ รพ.ผม ก็แบบนั้น
ตอนนี้เปลี่ยนเป็น ถือกันคนละตะกร้าเลย
 ;D :D บ่นกันใหญ่  ;D :D ;)
ตอนนี้ของผมยืนอยู่ประจำชั้นใครชั้นมัน จัดไวดี แต่เวลาผิดไม่รู้ใครจัดผิด เก็บผลงานไม่ได้
อยากเปลี่ยนเป็นแบบท่านกิจเหมือนกัน เก็บผลงานง่าย ใครจัดผิดก็แนะนำได้ถูกคน
แต่เด็กที่ห้องบอก ถ้าจะน่องโต ขาใหญ่ เพราะเดินกันขวักไขว่ไปมา 1 คน 1 ตะกร้า
One Man One Basket (OMOB) เอาไว้แข่งกับ OTOP อย่างนี้ผมชอบ  ;D

32
ชัดเจนครับ ท่านสุชัย ท่านกิจ เห็นด้วยอย่างยิ่ง อีก 1 เสียง ;D

33
นอกเรื่อง / Re: วิธีใส่ key Kaspersky 2010
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2010, 11:39:49 AM »
กระทู้นี้เสี่ยงเรื่องลิขสิทธิ์โปรแกรมมากเลยครับพี่น้อง Kaspersky เข้ามาอ่านจะรู้สึกอย่างไรบ้างหนอ
ผมเองซื้อแบบ 3 license ครับ ใช้ที่บ้าน notebook ที่ทำงาน เฉลี่ยแล้ววันละไม่กี่บาท

34
ที่รพ.ท่านประธานฯ เคยบังคับให้หมอต้องลง diag แต่สุดท้าย Boss ใหญ่ก็ต้องปล่อยครับ ไม่งั้นหมอจะประท้วงไม่ใช้โปรแกรมต้องเข้าใจว่าบางครั้งคนไข้เยอะๆ ภาระงานมาก และหมอไม่ถนัดการลง diag ที่ซับซ้อนเท่าเวชสถิติ ยิ่ง รพ.มีขนาดใหญ่ คนไข้เยอะๆ diag ที่ซับซ้อน หายากทำให้เป็นอุปสรรคเหมือนกัน ก็ดูตามบริบทของแต่ละโรงพยาบาลครับ ถ้าลงได้มันก็ดีที่สุด สำหรับผมตอนนี้แค่หมอทุกคนยอม key สั่งยาก็ ok แล้วนะครับ ก็ค่อยๆ ขยับขยายไปทีละนิด

35
เห็นด้วยอีก 1 เสียงครับ ถ้าจำไม่ผิดเราเคยมีกระทู้แบบนี้เสนอไปแล้วรอบนึงครับ

36
ปกติ DID มันเป็น 24 หลัก ทำไม สนย.ถึงปรับเป็น 30 ซะล่ะครับ 6 หลักที่เหลือจะเอาอะไรมาใส่  ???

37
พบปัญหานี้เหมือนกันครับ ก็เลือก Theme ที่เหมาะสมเอา

38
นอกเรื่อง / Re: ฤๅษี กับ เศรษฐี
« เมื่อ: มกราคม 05, 2010, 22:48:47 PM »
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อสหรัฐอเมริกาส่งนักบินอวกาศขึ้นไปกับยานอวกาศ ในสภาพไร้น้ำหนัก
พบปัญหาที่น่าปวดหัวว่าปากกาที่เตรียมไปไม่สามารถจดบันทึกข้อมูลใดๆได้เลย
เมื่อลงมาบนพื้นโลก อเมริกาก็คิดค้นเป็นการใหญ่ว่าจะแก้ปัญหายังไง
เวลาผ่านไปหลายปี อเมริกาหมดเงินไปหลายร้อยล้านก็ประสบความสำเร็จ
สร้างปากกาที่เขียนได้ในทุกสถานที่ทุกสภาวะทั้งบนบก ในน้ำ หรือในอวกาศ
สร้างความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อมีคนนำปัญหานี้ไปสอบถามและเล่าให้โซเวียตรัสเซียฟัง
โซเวียตตอบว่าอันนี้เราไม่มีปัญหา เพราะเราใช้ดินสอ !!!!!!!  ;D ;D

How to simplicity บางอย่างมันก็เป็นปัญหาหญ้าปากคอก
ลองคิดกันแบบง่ายๆ แต่ไม่มักง่ายกันดูบ้างเป็นไร

39
เครื่องหมาย ฟันหนู "" เป็นเครื่องหมายที่น่ากลัวมาก สำหรับคุณผู้หญิงทั้งหลาย
+5555555+  ;D :o

40
กรณียาที่ค้นหาแล้วไม่มีในฐานข้อมูล ผมได้สอบถามไปที่ ภก.ประทิน รพ.พระนั่งเกล้า และ ภญ.ไพทิพย์ ที่กระทรวง ผู้รับผิดชอบการจัดทำรหัสมาตรฐานด้านยาของกระทรวง ได้รับคำตอบว่า ให้ส่งชื่อการค้า่่่และเลขทะเบียนยา ที่หาไม่พบมาให้ด้วย ส่วนยาที่ผลิตเองของโรงพยาบาล ให้ส่งข้อมูลโดยมีรายละเอียดดังนี้ ชื่อยา, ส่วนประกอบ(Active ingredient), ความแรง, dosage form อย่าลืมชื่อโรงพยาบาลด้วยครับ

ผมจะประสานงานและส่งต่อให้พี่ทั้งสองท่านอีกทีนึงครับ จะ post ใน webboard นี้หรือส่งมาทาง mail ก็ได้ครับที่ teerawit007@hotmail.com

วิธีที่ท่าน niwat ช่วยแนะนำเป็นวิธีที่หาได้รวดเร็วและแม่นยำกว่าการหาด้วยวิธีอื่นครับ แต่ต้องยอมเสียเวลาจดเลขทะเบียน (Reg No.) ของยาทั้งหมดนิดนึง และเวลาค้นหาอย่าลืมเว้นวรรคให้ถูกต้องด้วยนะครับ เช่น 2A 23/33  ;D

41
ถ้าซื้อยาคนละยี่ห้อ (Trade name) จะใช้ด้วยกันไม่ได้ครับ เพราะรหัส 24 หลักสำหรับยาแต่ละยี่ห้อ รหัสไม่เหมือนกันนะครับ เช่น Paracetamol ขององค์การเภสัชกรรม ของ Central ของ V&V ของ MasaLab ก็จะมีรหัส 24 หลักต่างกันครับ เพราะฉนั้นถ้า แต่ละ รพ.ซื้อยาต่างกัน จะเอารหัสไปใช้ด้วยกันไม่ได้ครับ

รหัส24หลักให้เภสัชช่วยทำให้ง่ายสุดครับ เพราะเขาจะทราบดีว่ายาตัวไหนซื้อจากใครรหัสอะไร

ตามกระทู้นี้เลยครับ http://hosxp.net/index.php?option=com_smf&Itemid=28&topic=10914.0
ดูจากนี่เพิ่มเติมก็ได้ครับ http://dmsic.moph.go.th/download.php

42
อ้างจาก: witxp link=topic=12989.msg93078#msg93078
ลองเปลี่ยน Theme ดูครับ มีบาง Theme ที่มีปัญหานี้
[/quote

HOSxP PCU ยังไม่มีการเปลี่ยน theme นะครับ พี่ธีรวิทย์ แต่ถ้าสามารถเปลี่ยน theme ได้การแสดงผลการแพ้ยาก็น่าจะแสดงผลให้เห็นได้อย่างสะดวก และชัดเจนทุก ๆ theme ฝากอาจารย์ MN ด้วยครับ
อ้อ!! ครับ ตอบเร็วเหนือเสียงเกินไปหน่อย ไม่ทันดูว่าเป็น HOSxP PCU  :'(
ขออภัยด้วยครับ

43
เวลามี pop up แพ้ยาเกิดขึ้น ตัวหนังสือจะเป็นสีดำตาม background ของ pop up window form ต้องเอา mouse ลากแถบดำ ถึงจะรู้ว่าแพ้ยาตัวไหน ฝากอาจารย์ MN ด้วยครับ
ลองเปลี่ยน Theme ดูครับ มีบาง Theme ที่มีปัญหานี้

44
รูปเทพครับ     ฝาก ให้ อ.นาจ ดูด้วยอิอิ
ขอบคุณคร้าบท่านกิจ ท่านasawincyber ว่าแต่ว่านางฟ้าเสื้อดำขลิบเขียวนี่ใครเอ่ย  :o

45
อยากเห็นบรรยากาศการประชุมในห้องประชุม และภาพเหล่าทวยเทพทั้งหลายบ้างครับ please!!  :o

46
อยากไปเหมือนกันครับ แต่ทราบกระทันหันว่า ประธานเพิ่งอนุมัติให้ไปได้ล่วงหน้าแค่ 2 วันเอง
ต้องขอบคุณ HOSxP Maintenance Team ด้วยครับ ที่ช่วย Defense กับผู้บริหารจนได้ไป
ปีนี้ส่งคุณ SornKung ไปเป็นตัวแทนนะครับ ปีหน้าจะไม่พลาดแน่นอน  ;D

47
table opdscreen field cc และ found_allergy
โก้ครับ พี่ลองไปดูตารางนี้ของที่ รพ. found_allergy มีค่า Y,N,U และค่าว่าง ค่าเหล่านี้ต่างกันอย่างไรครับ
field cc กับ symptom แทบจะเหมือนกันเกือบ 100% เลย
ส่วนชื่อยาที่แพ้พยาบาลจะกรอกไปอยู่ใน field ไหนครับ หรือใส่ใน cc กับ symptom เองเลย
ถ้าตอบ Y แล้ว ไม่ใส่ชื่อยาตรงนี้ก็ไม่รู้ว่าแพ้ยาอะไรใช่หรือไม่ครับ

48
BMS หน้าตาดีทุกคนเลยครับ ถ้ามีชื่อเล่นด้วยก็แจ๋วเลย  ;D
เคยแต่รับส่งเมล์ติดต่อกันได้เห็นหน้าตาใสๆ ก็วันนี้แหละครับ  :o

49
ขอบคุณครับ หามานาน แจ๋วเลย

50
เห็นด้วยครับ หลายๆ หน้าจอ อย่างเรื่อง note เรื้องการลงประวัติแพ้ยา เวลา popup เตือนเป็นชื่อ Login Name นะครับ เลยไม่รู้ว่าเภสัชคนไหนลงประวัติไว้ ตอนหลังผมเลยต้องให้ใช้ Login เป็นชื่อตรงกับชื่อจริง แล้วลงท้ายด้วย .Rx ครับ เช่น Teerawit.Rx

หน้า: [1] 2 3 4