แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - decha

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
51
นอกเรื่อง / Re: ผมขอลาบวช 1 เดือนนะครับ
« เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2012, 21:45:32 PM »
สาธุ..อนุโมทนาบุญด้วยครับ

52
ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ

53
Networking / Re: เรียนถามคุณ admin
« เมื่อ: มีนาคม 28, 2012, 06:12:01 AM »
ประมาณนี้พอได้ไหม๊ครับ..
http://im-hospital.blogspot.com/2012/03/6.html

54
ขอบคุณครับ แล้วยังไงต่อครับ  ห้องฟันลงรับผู้ป่วยหรือยังไงต่อครับ  ถ้าห้องฟันทำด้วยขั้นตอนปกติไปแล้วละจะทไงดีครับ   ;D

หลังจากที่คลิกขวาส่งในระบบงานผู้ป่วยใน ตามที่คุณ ict010 บอกแล้ว ห้องฟันให้คลิกเลือกตรง IPD ครับ จะมีรายชื่อแสดงให้ลงบันทึกข้อมูลตามปกติ

55
พี่เกื้อ  การลง 1 ครั้ง 2 ครั้ง จำเป็นอย่างไรคะ  

ตอบแทนพี่เกื้อนะครับ.. การวัดความดันโลหิตหากวัดครั้งที่ 1 แล้วมีค่าสูงผิดปกติ เจ้าหน้าที่เขาจะให้พักประมาณ 5 นาที และทำการวัดซ้ำครั้งที่ 2 โดยมีเหตุผลเพื่อยืนยันว่าค่าของความดันที่วัดครั้งแรกไม่ผิดพลาด เพราะค่าความดันที่สูงผิดปกติอาจเกิดจากภาวะของโรค หรือเกิดจากปัจจัยอื่นได้ด้วย ดังนั้นเขาจึงกำหนดไว้ว่าผู้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ควรละเว้นสิ่งต่อไปนี้ ก่อนวัดความดันโลหิต ประมาณ 1 ชั่วโมง ได้แก่
1. การออกกำลังกาย
2. การดื่มกาแฟ สุรา หรือเครื่องดื่มผสม คาเฟอีน
3. การสูบบุหรี่
4. ควรนั่งพักประมาณ 5 นาที และถ้าพบว่า มีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดซ้ำอีก 2-3 ครั้ง

ดังนั้นหากวัดครั้งที่ 1 มีค่าความดันโลหิตสูงผิดปกติ จำเป็นต้องมีการวัดซ้ำ และลงผลครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบกันครับ

ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกได้กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยความดันโลหิตสูงไว้ว่า
“ความดันโลหิตสูง” คือ สภาวะที่ค่าของความดันเลือดที่วัดอย่างถูกต้อง และมีการตรวจวัดหลายๆ ครั้ง ในต่างวาระกันแล้ว พบว่ามีระดับของความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท

56
เวอชัน  55.2.19 บันทึกการรับซ่อมเข้าไม่ได้ครับ จะต้องไปเพิ่มอะไรตรงไหนหรือเปล่าครับ

ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาครับ เวอร์ชั่นล่าสุดตอนนี้คือ 3.55.3.12 ซึ่งยังเน้นที่่การลงบันทึกข้อมูลพื้นฐานของครุภัณฑ์ทั้งหมดก่อนครับ
DS-ASSET_Full_Install_55.3.12
http://www.mediafire.com/?rcrcuj5u9qmcc15

57
คนที่มาฝากครรภ์ไม่ต้องบังคับส่งออกนะ  การบังคับส่งออกใช้เฉพาะเคสที่เป็นหลังคลอดแม่  กลับการดูแลทารกหลังคลอดเท่านั้นนะ  ลองไปดูที่ข้อมูลการฝากครรภ์น่าจะมีคนไปบังคับส่งออกเป็นแน่เลย

- แล้วเคสที่เป็นหลังคลอดแม่  กลับการดูแลทารกหลังคลอด ต้องบังคับส่งออกทุกเคสเลยหรือเปล่าครับ
- หญิงที่ฝากครรภ์แต่ยังไม่คลอดจะมีในแฟ้ม MCH หรือเปล่าครับ

กรณีการดูแลเคสหลังคลอดของแม่และทารก การที่จะบังคับส่งออกได้ จะต้องมีการเยี่ยมหลังคลอดอย่างน้อย 2 ครั้ง และมีวันเยี่ยมครั้งที่ 1 และ 2 ห่างกัน ตามเกณฑ์ข้อกำหนดของ สปสช. ดังนั้นถ้าเคสไหนเยี่ยมไม่ครบ 2 ครั้ง หริอมีข้อมูลผลการคลอด ไม่ครบถ้วน ไม่ใช่คนไทย ไม่ต้องบังคับส่งออกครับ

ส่วนหญิงตั้งครรภ์แต่ยังไม่คลอด เวลามารับบริการจะมีข้อมูลเฉพาะในแฟ้ม ANC ครับ
ส่วนแฟ้ม MCH จะมีได้ก็ต่อเมื่อ มีผลการคลอด เยี่ยมหลังคลอด 2 ครั้ง  + บังคับส่งออก

โดยสรุป ก็คือ การบังคับส่งออกจะใช้ก็ต่อเมื่อข้อมูลในบัญชี 2 และบัญชี 3 มีการลงบันทึกข้อมูลครบถ้วนและเยี่ยมหลังคลอด 2 ครั้ง ตามเกณฑ์ จึงจะบังคับส่งออกข้อมูลในแฟ้ม MCH และ PP ครับ

58
ใครไม่เคยเห็นเทพร้องเพลงบ้างครับ ดูได้ที่ post นี้  :D
ขาดไป 1 คนนะครับ เอามาให้สมาชิกดูเลยครับ ห้ามเบี้ยว.....
 ;D ;D ;D ;D

ผมน่ะขึ้นไป "บ่น" ให้ฟัง
วันหลังอย่าได้มีอีกเลยครับ 5555+++

พี่โก้..ร้องเพลง "กินตับ" แน่ๆเลย

59
แสดงว่า รพ.ที่ขึ้นระบบก่อนปี 2551 ไม่ถูกต้องใช่ไหม๊ครับ  ;D ;D
คงไม่ใช่อย่างนั้นครับ
น่าจะบอกว่าช่วงปี 51-53 ที่ผ่านมามีผลงานที่ไหนบ้าง
ใช่ครับ พี่โชค

แซวกันเล่นๆ นะครับ ผมว่ามันไม่ชัดเจนว่า จะบอกผลงานหรือต้องการบอกอะไร รพ.ที่ขึ้นก่อนปี 51 อาจจะงงๆ ได้ นะครับ

60
แสดงว่า รพ.ที่ขึ้นระบบก่อนปี 2551 ไม่ถูกต้องใช่ไหม๊ครับ  ;D ;D

61
??? ??? :-[ :-[ :-[  งง

มีคนเข้าไปช่วยแก้ไขแล้วละครับ อ.เกื้อ ปัญหาเกิดจาก ข้อมูลใน person ไม่มี house_id ครับ

62
ในหน้าจอทะเบียนซ่อม เวลาบันทึกข้อมูลหรือแก้ไขข้อมูลจะต้องปิดหน้าจอลงทะเบียนซ่อมถึงจะเห็นข้อมูลที่ถูกแก้ไขครับ ฝาก อ.อาร์ม ช่วยแก้ไขให้ที่ครับ 

แก้ไขให้แล้วในเวอร์ชั่นใหม่ครับ เดี๋ยวอาร์มคงเอาไปแจกที่ประชุมวิชาการ
ขอบคุณหลายๆ ครับ ครับ อ.เดชา ผมคงไม่ได้ไปติดภาระกิจ ผมขอผ่านทาง Email asawincyber@hotmail.com ขอบคุณ อ.ทั้งสอง มากๆ ครับ

โหลดได้ที่ลิงค์นี้ครั้บ
http://im-hospital.blogspot.com/2012/01/dansai-asset.html

63
ในหน้าจอทะเบียนซ่อม เวลาบันทึกข้อมูลหรือแก้ไขข้อมูลจะต้องปิดหน้าจอลงทะเบียนซ่อมถึงจะเห็นข้อมูลที่ถูกแก้ไขครับ ฝาก อ.อาร์ม ช่วยแก้ไขให้ที่ครับ 

แก้ไขให้แล้วในเวอร์ชั่นใหม่ครับ เดี๋ยวอาร์มคงเอาไปแจกที่ประชุมวิชาการ

64
คู่มือกำลังทำอยู่นะครับ อดใจรอนิดนึง... ;D ;D

65
สอบถามกรณี ผู้ป่วย Admit ที่เป็นเจ้าหน้าที่ หรือญาติสายตรงของเจ้าหน้าที่ของ รพ.
ทางรพ.ให้นอนห้องพิเศษได้โดยไม่ต้องชำระเงินค่าห้อง 600 บาท แต่ถ้าห้องพิเศษนั้นเกิน 600 ก็ต้องชำระเงินส่วนต่างเอง
ปัญหามีอยู่ว่า นอนด้วยสิทธิ ประกันสังคม อย่างนี้แล้วเราต้องพิมพ์ค่าห้องแล้วแก้ไขจาก 800 เป็น 600 แล้วพิมพ์ค่าใส่ต่างเองใช่หรือเปล่าครับ จะไปใช้ระบบที่ตั้งค่าเอาไว้ในระบบชำระเงินส่วนเกินไม่ได้
และขอสอบถามแนวทางปฏิบัติของที่อื่นด้วยครับ

ในการให้บริการผู้ป่วยแต่ละราย จะมีต้นทุนบริการตามฐานข้อมูลที่ตั้ง สมมุตว่ารวมๆ แล้วเป็น 100 บาท เมื่อมารับบริการก็จะแบ่งประเภทของการชำระเงินออกเป็น
1. ลูกหนี้สิทธิ
2. ชำระเงิน แบ่งออกเป็น
 - ชำระเต็ม
 - ชำระบางส่วน /ค้างชำระ
 - ไม่ชำระ (หนี้สูญ /อนุเคราะห์/ลดหย่อน)

หมายความว่าจะอยู่ในการชำระเงินประเภทไหน ต้นทุนโรงพยาบาลก็ยังรวมแล้วต้องเท่ากับ 100 บาท ซึ่งจะสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
กรณีคำถามที่ว่า เจ้าหน้าที่ของ รพ. ให้นอนห้องพิเศษ ไม่ต้องเก็บเงิน ในลักษณะนี้คือการทำเป็นสวัสดิการให้เจ้าหน้าที่ซึ่งแต่ รพ.อาจจะแตกต่างกันไป ตามนโยบาย แต่ในการเข้ารับบริการเหมือนกันครับ เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ที่เป็นสิทธิประกันสังคม ปกตินอนห้องพิเศษก็ต้องจ่ายส่วนที่เกินสิทธิของประกันสังคม เช่น ค่าห้อง 600 บาท สมมุติว่าประกันสังคมเบิกได้ 300 บาท คนไข้ต้องจ่ายเอง 300 บาท แต่ รพ.ไม่ให้จ่ายเนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่ การไม่ให้จ่าย การเงินต้องทำการโยกเงินส่วนนี้ไปอยู่ในช่องของการอนุเคราะห์ครับ เพื่อให้ยังคงต้นทุนของ โรงพยาบาลที่แท้จริง

ดังนั้นเมื่อประมวลผล ต้นทุนของ รพ.จะมาจาก ชำระเงิน+ลูกหนี้+อนุเคราะห์(ลดหย่อน)+ค้างชำระ ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขกลมๆ ก็คือต้องเท่ากับ 100 บาท ตามที่ได้ยกตัวอย่างไว้ครับ

ส่วนการเพิ่มสิทธิไม่แนะนำ และคิดว่าไม่ควรทำครับ..

66

...ผู้เชี่ยวชาญด้านเพศสัมพันธ์ มาตอบเองเลย สุดยอด ...  ;D  ;D  ;D ...

จ๊ากก..ตำแหน่งใหม่เหรอเนี่ย

67
STi ย่อมาจาก Sexually transmitted infection หมายถึง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากเมนูคัดกรองตามภาพที่แสดงน่าจะเป็นลงบันทึกคัดกรองในกลุ่มผู้มีโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (ซึ่งปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่าเดิมมากขึ้น เพราะยังมีความหมายครอบคลุมถึงผู้ป่วยอาจมีการติดเชื้อและมีความสามารถในการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้โดยไม่มีอาการแสดงของโรค หรือการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อาจติดต่อได้จากการใช้เข็มฉีดยาเสพติดเข้าหลอดเลือดดำต่อจากผู้ป่วย รวมถึงผ่านการคลอดหรือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้)

ส่วนที่จะใช้กรณีไหน คงต้องลองสอบถามเจ้าหน้าทีที่รับผิดชอบงานโรคเอดส์ หรือคลินิก NAP ดูนะครับ

68
เท่าที่คิดได้นะครับ..
ก่อนหน้าที่ HOSxP จะมีระบบ Gen CID การลงเลขประจำตัว 13 หลัก ในกรณีที่ไม่ทราบก็มักจะลงเป็น 0000000000001 หรือ 1111111111111 เพื่อให้โปรแกรมสามารถรันผ่านไปได้ ซึ่งในช่วงนั้น HOSxP PCU ยังไม่มี เมนูการลงข้อมูลบัญชี 1-8 ใน HOSxP ก็ยังไม่ได้พัฒนา การส่งข้อมูลให้ สปสช. ก็ยังไม่เข้มข้นเหมือนทุกวันนี้ เลขประจำตัวประชาชน  0000000000001 หรือ 1111111111111 กลายเป็นข้อมูลขยะที่ถูกเก็บซ่อนอยู่ในระบบอย่างเงียบๆ และเพิ่มมากขึ้น เอาง่ายๆ ครับไม่ต้องคิดถึงอะไรอื่นไกล แค่เด็กเกิดใหม่ในเขตรับผิดชอบ ตอนแจ้งเกิดที่ห้องบัตรออกเลขให้ 1111111111111 ออกจาก รพ.ไปแล้ว ไม่ได้มีระบบติดตามพอกลับมาอีกครั้ง แจ้งเกิดเปลี่ยนชื่อ นามสกุลเรียบร้อย ก็ได้เลข HN ใหม่แบบนี้ก็เจอกันบ่อยไปครับ

พอมาในช่วงหลังๆ การตรวจสอบเรื่องเลข 13 หลักเข้มข้นขึ้น หลาย รพ.เปลี่ยนวิธีการส่งตรวจด้วยการใช้เลข 13 หลัก บางแห่งที่ทันสมัยหน่อยก็ใช้ Smartcard อ่านบัตรกันเลยทีเดียว และมีการติดตามให้มีการแจ้งเกิดเพื่อให้ได้เลข 13 หลักเร็วขึ้นรวมถึงการทวนสอบให้ชัวร์ก่อนที่จะออกเลข HN ใหม่..

ทีนี้มาประเด็นสำคัญที่ถามว่าเหตุผลที่ควร Gen CID ที่ผมนึกได้และเป็นประเด็นสำคัญที่เคยเจอ อย่างเช่น กรณีเด็กแรกเกิด ซึ่งจะต้องมีการเพิ่มชื่อไปในบัญชี 1 ด้วย หากไม่ Gen CID และใช้ CID เป็น 1111111111111 สำหรับเด็กเกิดใหม่ทุกคน ปัญหาที่เจอคือ เวลาทำ patient link มันจะเกิดปัญหาการแสดงผลข้อมูลใน HOSxP เลยครับ เพราะไม่รู้ว่ามันไป link กับ cid ที่เป็น 1111111111111 ของผู้ป่วยรายไหน ซึ่งกรณีแบบนี้ก็พบในบัญชีอื่นๆ ในลักษณะคล้ายๆ กัน เช่น บัญชี 2 บัญชี 3 ฯลฯ  ซึ่งการ gen cid จะช่วยแก้ปัญหาที่ว่าได้ครับ โดยรวมกับมาตรการอื่นๆที่จะทำให้คนไทยมี cid ที่ถูกต้อง

เท่าที่ทำมา คิดว่าเหตุผลที่จะไปบอกห้องบัตร ไม่ใช่ "ควรจะทำ" แต่น่าจะเป็นคำว่า "ต้องทำ" มากกว่านะครับ


69
ขอสอบถามเพิ่มเติมครับ
ถ้าเป็นเช่นนั้น ในตาราง drugitems ต้องมีข้อมูลวันซีนแยกแต่ละเข็มใช่ไหมครับ เช่น DTP1,DTP2,OPV1,OPV2 เป็นต้น ครับ

ในตาราง drugitems มีรายการวัคซีนแค่ชื่อครับ เช่น  VACCINE DTP , VACCINE JE  ครับ
ส่วน DTP1,DTP2 ฯลฯ เป็นครั้งของการฉีดวัคซีน โดยที่วัคซีนก็ตัวเดียวกันนี่แหละ ดังนั้นในตาราง Drugitems จึงไม่ต้องแยกรายการตามเข็มครับ อาจจะไปทำรายการตรงวิธีการใช้แทนก็ได้  ถ้าทำการเชื่อมค่าใช้จ่ายไว้ที่ตารางวัคซีน เวลาลงรายการวัคซีน มันจะดึงรายการยา เช่น คุณลงรายการฉีด DTP1,DTP2 หรือ DTP3 ก็ตามมันจะดึงรายการ VACCINE DTP ในตาราง  drugitems  มาเพิ่มให้ใน medication อัตโนมัติ ซึ่งจะมีผลกับการส่งออกข้อมูลในแฟ้ม EPI และแฟ้ม Drugs

ส่วนการลงหัตถการ คือการฉีด IM (ใน ICD9 จะมีหัตถการเฉพาะวัคซีน) เมื่อลงการฉีดแล้วถ้าเชื่อมค่าใช้จ่ายถูกต้องมันจะดึงรายการมาลงใน medication เป็นการฉีดวัคซีน IM ครับ ซึ่งจะมีผลการกับส่งออกข้อมูลในแฟ้ม Proced ครับ

70
ไม่เกี่ยวกับคำถามโดยตรง แต่เป็นรายละเีอียดที่เกี่ยวกับการเี่ยี่ยมบ้าน ที่คิดว่าน่าสนใจ..

การดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home health care)

การดูแลสุขภาพที่บ้าน หมายถึง แบบแผนการดูแล, ให้บริการที่เป็นทางการ, สม่ำเสมอโดยบุคลากรทางด้านสุขภาพหลากหลายสาขาวิชาต่อผู้ป่วยโดยตรงในบ้านของผู้ป่วย

การเยี่ยมบ้าน (Home visit)
การเยี่ยมบ้าน หมายถึง วิธีการที่ใช้ในการดูแลสุขภาพที่บ้านซึ่งควรจะมีรูปแบบและวิธีการ เพื่อให้เกิดผลคุ้มค่ามากที่สุด แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวเป็นบุคลากรหนึ่งในทีมเยี่ยมบ้าน ควรที่จะต้องมีความรู้, ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเยี่ยมบ้านด้วย

ข้อบ่งชี้ในการเยี่ยมบ้าน  การที่จะเกิดการเยี่ยมบ้านได้ควรจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1.ผู้ป่วยและครอบครัว  มีความเต็มใจให้เยี่ยมบ้าน
2.ทีมบุคลากรสุขภาพ  มีความเต็มใจในการเยี่ยม

และควรอยู่บนพื้นฐานของระบบบริการปฐมภูมิอันได้แก่ ดูแลแต่แรกทุกเรื่อง, ต่อเนื่อง, เบ็ดเสร็จ, ผสมผสาน, บริการที่เข้าถึงสะดวก และมีระบบปรึกษาและส่งต่อ

ชนิดของการเยี่ยมบ้าน

ผู้ป่วยลักษณะไหนบ้างที่ควรเยี่ยมบ้าน ที่เหมาะสมที่สุดน่าจะเป็นผู้ป่วยที่ติดบ้าน (homebound) คือ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้หรือต้องใช้เครื่องช่วยเมื่อต้องการออกจากบ้าน แต่เราสามารถแบ่งประเภทของการดูแลสุขภาพโดยใช้วิธีการเยี่ยมบ้านได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

1. การเยี่ยมบ้านกรณีเจ็บป่วย การเจ็บป่วยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทได้แก่

กรณีฉุกเฉิน  การเยี่ยมบ้านประเภทนี้มักจะเป็นการช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินกับผู้ป่วยในครอบครัว เช่น หมดสติ, หอบมาก เป็นต้น  เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้มักต้องอาศัยการช่วยเหลือที่บ้านหรือที่เกิดเหตุทันที  ต้องมีระบบการติดต่อสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ให้การช่วยเหลือ  ทีมที่ช่วยเหลือควรจะมีความรู้และทักษะเป็นอย่างดีในการช่วยเหลือเบื้องต้นในที่เกิดเหตุ  ในประเทศไทยการช่วยเหลือลักษณะนี้มักจะพบในอุบัติเหตุตามท้องถนน  ผู้ช่วยเหลือควรจะมีความรู้ในการช่วยเหลือเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายมากขึ้นกว่าเดิม และช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยได้อย่างดี  ก่อนที่จะส่งต่อไปโรงพยาบาลเมื่อจำเป็น
โรคฉับพลัน  เช่น  โรคหวัด, ท้องร่วง เป็นต้น  การเยี่ยมบ้านจะช่วยประเมินและในการช่วยเหลือเบื้องต้น
โรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, อัมพาต เป็นต้น  การเยี่ยมบ้านทำเพื่อประเมินและวางแผนในการช่วยเหลือให้กับผู้ป่วย, ญาติ หรือหน่วยงานใดในการช่วยเหลือผู้ป่วย

2. การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต
ผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิตเช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย, โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เป็นต้น  จุดประสงค์ในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยประเภทนี้  ได้แก่

การดูแลระยะสุดท้าย ผู้ป่วยประเภทนี้มักจะทรมานจากอาการปวดมาก, บวม หรือหอบ การช่วยเหลือผู้ป่วย เช่นให้ยาลดอาการปวด, ลดอาการบวมให้ผู้ป่วย, เจาะดูดน้ำในช่องท้อง, ให้ออกซิเจน เป็นต้น
ประกาศการเสียชีวิต  เมื่อเกิดการเสียชีวิตในบ้านการบอกสาเหตุของการเสียชีวิตอาจจะผิดพลาดได้เนื่องจาก ผู้ประกาศการเสียชีวิตมักจะเป็นสมาชิกในครอบครัว  การเยี่ยมบ้านโดยแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวหรือทีมจะช่วยบอกสาเหตุการตายได้  และทำให้อัตราการตายที่รวบรวมไว้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น  เพื่อที่จะใช้บอกแนวโน้มการเสียชีวิตและวางแผนในการป้องกันโรคเหล่านั้น
ประคับประคองภาวะโศกเศร้า  แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวสามารถให้การประคับประคองทั้งร่างกายและจิตใจแก่สมาชิกในครอบครัว ตั้งแต่ระยะที่รู้ว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิตจนถึงผู้ป่วยเสียชีวิตลงไป  และประเมินความผิดปกติที่เกิดขึ้นแก่สมาชิกในครอบครัว  เมื่อภาวะโศกเศร้าไม่หายไปในระยะเวลาที่สมควร

3.การเยี่ยมบ้านเพื่อประเมิน
แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวใช้การเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย  ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพกายต้องประเมินการใช้ยาของผู้ป่วย ซึ่งมักจะมีการใช้ยามาก ประเมินการใช้แหล่งบริการทางสุขภาพมากผู้ป่วยบางคนอาจนิยมไปหาหมอ ตามที่ต่างประเมินความเสี่ยงของสมาชิกในบ้านที่อาจจะถูกละลายหรือถูกทำร้ายจากสมาชิกในครอบครัว เช่น ผู้สูงอายุหรือเด็ก เป็นต้น  ประเมินผู้ป่วยที่จำเป็นต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล  ประเมินร่วมกับสมาชิกในครอบครัวเมื่อเกินความสามารถของสมาชิกในครอบครัวจะดูแกผู้ป่วยได้

4.การเยี่ยมบ้านหลังจากออกจากโรงพยาบาล
ประเภทของการเยี่ยมบ้านหลังจากออกจากโรงพยาบาลจากการนอนโรงพยาบาลหรือมาตรวจที่แผนก ผู้ป่วยนอก ได้แก่

นอนโรงพยาบาลโดยโรคฉับพลัน, อุบัติเหตุ หรือการผ่าตัด  ผู้ป่วยที่มานอนโรงพยาบาลโดยโรคต่าง ๆ หลังจากที่ออกจากโรงพยาบาล  สามารถที่จะติดตามเยี่ยมบ้านต่อได้ เช่น ในผู้ป่วยโรคฉับพลันเมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น สามารถกลับบ้านได้แพทย์ประจำครอบครัวสามารถติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อดูอาการหรือปัจจัยบางอย่างที่มีผลต่อโรคผู้ป่วย  ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกการติดตามการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินอาการผู้ป่วย  ประเมินแหล่งที่จะเป็นที่วางไข่ของยุง เป็นต้น  กรณีผู้ป่วยอุบัติเหตุหรือผ่าตัด  การติดตามการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินบาดแผล, ทำแผลผู้ป่วย, ตัดไหม หรือประเมินสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ครอบครัวและบุตรที่เกิดใหม่  การเยี่ยมบ้านครอบครัวที่มีบุตรเกิดใหม่เพื่อช่วยเหลือพ่อ,แม่ที่มีบุตรใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ ในการดูแลลูก  รวมถึงการประเมินสิ่งแวดล้อมในครอบครัว  เพื่อให้เกิดการดูแลเกิดใหม่อย่างดี

ไม่มาตามนัด  ผู้ป่วยที่ขาดนัดหรือไม่มาตามนัด  การเยี่ยมบ้านจะช่วยประเมินสาเหตุหรือเหตุผลของผู้ป่วยที่ไม่มาตามนัด  หรือมีเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยไม่สามารถมาได้เพื่อทำให้การความต่อเนื่องของการรักษาได้ดียิ่งขึ้น

แนวทางการเยี่ยมบ้าน

การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยครั้งนี้เพื่ออธิบายสุขภาวะของผู้ป่วยและครอบครัวจากการเจ็บป่วย ที่สัมพันธ์กับปัจจัยสุขภาพ (health determinants) และระบบบริการสุขภาพ การเยี่ยมบ้านจะต้องเกิดจากความยินยอมของสองฝ่ายคือฝ่ายผู้เยี่ยมและฝ่ายผู้ถูกเยี่ยมมีความยินยอม พร้อมใจกัน เมื่อเลือกครอบครัวที่จะเยี่ยมแล้วแนวทางในการเยี่ยมแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่

1.ขั้นตอนก่อนการเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วย มีวัตถุประสงค์ในการเยี่ยม, ศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว,มีแผ่นที่การเดินทางและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ป่วย, โทรศัพท์หรือติดต่อนัดหมายเวลาเยี่ยม, มีพาหนะที่ใช้ในการเยี่ยม ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
2.ขั้นตอนขณะเยี่ยมบ้าน ประเมินทั้งด้านร่างกาย, จิตใจ และสิ่งแวดล้อม ของครอบครัว
3.ขั้นตอนหลังการเยี่ยมบ้าน สรุปปัญหาทางด้านร่างกาย, จิตใจและสังคม, แนวทางการเยี่ยมครั้งต่อไป, บันทึกข้อมูล

ก่อนการเยี่ยมบ้านทีมเยี่ยมบ้านควรจะมีความรู้หรือข้อมูลและเตรียมอุปกรณ์ในการเยี่ยมบ้าน

วัตถุประสงค์ของการเยี่ยม
1.  ศึกษาองค์ประกอบของสุขภาพ (health determinants) ที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
2.  ทำความเข้าใจถึงประสบการณ์ ปัญหาและสภาวะต่างๆ ในทุกมิติของสุขภาพ ที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยและครอบครัวรวมทั้งการดูแลตนเอง หลังจากมีอาการเจ็บป่วย
3.  อธิบายความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัวที่มีต่อการเจ็บป่วยและจากแพทย์ / ระบบบริการปฐมภูมิ

อุปกรณ์ในการเยี่ยมบ้าน
การไปเยี่ยมบ้านควรมีอุปกรณ์สำหรับเยี่ยมบ้าน ได้แก่
-แผนที่ในการเดินทาง, หมายเลขโทรศัพท์
-สมุดบันทึก
-กล้องถ่ายรูป / VDO
-แผนที่การเดินทางและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ป่วย

ก่อนการเยี่ยมบ้านควรจะทราบทางที่จะไปบ้านที่จะไปเยี่ยมหรือมีแผ่นที่เดินทางไปยังบ้าน  หรือมีแผ่นที่การเดินทางภายในเขตที่จะเยี่ยมทำให้สะดวกและประหยัดเวลาในการเยี่ยม  ควรจะทราบหมายเลขโทรศัพท์ของบ้านที่จะเยี่ยม  กรณีไม่มีอาจจะขอหมายเลขโทรศัพท์ของบ้านใกล้เคียงเพื่อใช้ในการติดต่อ

โทรศัพท์หรือติดต่อนัดหมายเวลาเยี่ยม
โทรศัพท์นัดหมายเวลาเยี่ยมครอบครัวหรือติดต่อกับครอบครัวที่จะเยี่ยมก่อน  เพื่อไม่ต้องเสียเวลาในการไปเยี่ยมเมื่อไม่มีสมาชิกในบ้านอยู่  หรือกรณีที่สมาชิกในบ้านหรือผู้ป่วยไม่สะดวกที่จะให้เยี่ยมบางเวลา  และครอบครัวควรต้องมีเบอร์ติดต่อของผู้เยี่ยมด้วยเพื่อใช้ในการติดต่อกลับ  กรณีที่สมาชิกของครอบครัวต้องการติดต่อกลับเพื่อปรึกษาหรือต้องการให้เยี่ยม  โดยมีข้อตกลงของการให้บริการทั้ง 2 ฝ่ายก่อน

ขั้นตอนขณะเยี่ยมบ้าน
การที่จะประเมินให้ได้ครบถ้วนอาจต้องใช้สิ่งช่วยจำ เช่น จำตัวย่อ INHOMESSS หรือจำเป็นระบบร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ (bio psycho social spiritual) สิ่งที่ควรทำ คือ การเริ่มจากทบทวนวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมร่วมกับสมาชิกครอบครัว 

ประเมินปัญหาเดิมของผู้ป่วยและปัญหาใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้น
การเคลื่อนไหว(immobility) ได้แก่ การประเมินกิจวัตรประจำวัน(Activities of daily living)ได้แก่การอาบน้ำ, การเคลื่อนย้าย, การแต่งตัว, การเข้าห้องน้ำ, การกินอาหาร และการปัสสาวะและอุจจาระหรือประเมินการใช้เครื่องมือในกิจวัตรประจำวัน(Instrumental activities of daily living)ได้แก่  การใช้โทรศัพท์, การรับประทานยา, การไปตลาด, ชำระบิล, เตรียมอาหาร และทำงานบ้าน  สามารถสอบถามหรือสังเกตจากกิจวัตรประจำวันได้

อาหาร(nutrition) ได้แก่ การประเมินลักษณะอาหาร, ชนิดของอาหาร ที่ผู้ป่วยและครอบครัวรับประทานว่าเหมาะสมกับโรคหรือภาวะที่เป็นหรือไม่  ประเมินการเก็บอาหาร เป็นต้น

สภาพบ้าน(housing) ได้แก่ การประเมินสภาพบ้านครอบครัวที่นิสิตดูแล  ว่าเหมาะสมกับโรคที่ผู้ป่วยเป็นหรือไม่ เช่น ผู้ป่วยเป็นวัณโรคควรอยู่ในห้องที่มีหน้าต่าง อากาศถ่ายเทได้สะดวก, ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมควรที่จะนอนอยู่ชั้น1ของบ้านไม่เดินขึ้นบันได เป็นต้น

เพื่อนบ้าน(other people) ได้แก่ การประเมินดูเพื่อนบ้านของครอบครัวที่นิสิตดูแล  ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อครอบครัวผู้ป่วยมีปัญหา เพื่อนบ้านสามารถให้การช่วยเหลือได้หรือไม่

การใช้ยา(medication) ได้แก่ ประเมินวิธีการใช้ยา  ผู้ป่วยกินยาสม่ำเสมอและถูกต้องหรือไม่  ภาชนะที่บรรจุยาเหมาะสมกับโรคที่ผู้ป่วยเป็นหรือไม่หรือเหมาะสมกับยานั้นหรือไม่ เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคข้อการหยิบยาจากซองยาทำได้ยากต้องบรรจุยาไว้ในขวดยา  ยาบางอย่างไม่ให้ถูกแสง เป็นต้น

การตรวจร่างกาย(examination)  ได้แก่ ประเมินจากการสอบถามความผิดปกติของร่างกาย จากผู้ป่วย หรือญาติ

แหล่งให้บริการ(services) ได้แก่ การประเมินว่ามีแหล่งบริการอะไรบ้างที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วย ภายในครอบครัวหรือในชุมชนได้ เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข, บ้านประธานชุมชน, อสม. เป็นต้น

ความปลอดภัย(safety) ได้แก่ การประเมินสภาพบ้านของผู้ป่วยตัวบ้าน, เฟอร์นิเจอร์, อุปกรณ์อำนวยความสะดวก  เป็นต้น  ว่ามีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับครอบครัว ในการอยู่อาศัยเหลือไม่ เช่น สายไฟที่เดินในบ้านใช้มานานควรจะเปลี่ยนหรือไม่, พื้นห้องน้ำลื่นเกินไปหรือไม่, บันไดบ้านชันหรือมีราวให้จับหรือไม่ เป็นต้น

จิตวิญญาณ(spiritual) ได้แก่  การประเมินในเรื่องของการค้นหาความหมาย, วัตถุประสงค์และความจริงในชีวิต  ความเชื่อและคุณค่าในสิ่งที่แต่ละบุคคลอาศัยอยู่  เรื่องของความรู้สึก  สิ่งที่อยู่ในจิตใจ  รวมถึงสิ่งที่บุคคลแสดงออกมาจากความเชื่อ ทางจิตวิญญาณของแต่ละบุคคล ส่วนของจิตวิญญาณจะมีผลต่อสุขภาพได้ เช่น นิกายในศาสนาบางนิกายห้ามเติมเลือดจากผู้อื่น  เมื่อผู้ป่วยท่านนั้นจำเป็นต้องผ่าตัด อาจต้องเตรียมการใช้เลือดของผู้ป่วยเองเมื่อจำเป็น เป็นต้น

71
โชคดีไปที่ไม่มีผม..เลยไม่มีอะไรบัง  ฮิ้ววว

72
ประเด็นที่เราต้องพิจารณาให้ดีๆ คือ เราเก็บ"ประวัติการรักษา"นะครับ ไม่ใช่ "คำสั่ง" ในการรักษา ซึ่งคำสั่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ กรณีของการจ่ายยา คำสั่งคือ ให้จ่ายยาตัวนี้ แต่ประวัติการรักษาคือ จ่าย หรือไม่จ่ายตามคำสั่งหรือไม่  ดังนั้นถ้าเราเก็บคำสั่งการรักษา และไม่ได้ให้บริการจริง ก็จะทำให้ประวัติการรักษาผิดไปไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ในการบันทีกข้อมูลของเวชระเบียนครับ เพราะถ้าคนไข้ไม่รอรับยา ก็ควรลงเฉพาะประวัติการตรวจรักษาที่ได้ให้บริการไปครับ เช่น CC ข้อมูลการเจ็บป่วย ประวัติการตรวจร่างกาย ผลแล๊ป xray ที่ได้ให้บริการจริงๆ นะครับ.. แต่ก็คงเหมือนเกื้อว่า คงต้องคุยกันในทีมของ รพ.เองด้วยว่าจะเอาอย่างไร

73
         ขอสอบถามแนวทางของ  ห้องยา  หน่อยครับ  ว่าแต่ละที่มีแนวทางหรือวิธีการอย่างไรบ้างครับ

1. กรณีคนไข้มารับบริการ แล้วพอหมอตรวจเสร็จก็สั่งยา ชื่อก็จะมาที่ห้องยา พอเรียกชื่อแล้วไม่มารับยา
    พอตกเย็นก็ยังไม่มารับ เจ้าหน้าที่ห้องยาเลยคีย์จำนวนยาเป็น 0 แล้วส่งชื่อกลับบ้าน

2. กรณีคนไข้มารับบริการ แล้วหมอสั่งยา แต่คนไข้มียาเดิมเหลือ หรือครั้งนี้อาจไม่ได้สั่งยาตัวเดิมทุกตัว
    แต่ก็จะคีย์ยามาเหมือนเดิมกับครั้งที่แล้ว  ส่วนยาที่ไม่ได้จ่ายให้จริงๆ ในครั้งนี้ก็จะใส่จำนวนเป็น 0
    เพื่อที่หมอลืมสั่งยาในครั้งต่อไป

3. PCEC วัคซีนกันพิษสุนัขบ้า  สมมุติ เด็กชาย A   โดนหมานาย B กัด  แล้วพากันมาโรงพยาบาลในวันนั้น
    นาย B ก็จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด รวมทั้ง วัคซีนทั้ง 3 เข็ม ในครั้งนี้เลย เพราะเด็กชาย A เกรงว่า
    นาย B จะไม่จ่ายวัคซีนในเข็มต่อๆไป เลยให้จ่ายใว้เลย  แล้วในครั้งต่อไปที่เด็กชาย A มาฉีดวัคซีนเขาก็
    ลงจำนวนเป็น 0

ที่อื่นมีแนวทางยังไงบ้างครับ คือแฟ้ม DRUG  มัน  ERROR  จำนวนเป็น 0

1. กรณีคนไข้มารับบริการ แล้วพอหมอตรวจเสร็จก็สั่งยา ชื่อก็จะมาที่ห้องยา พอเรียกชื่อแล้วไม่มารับยา
    พอตกเย็นก็ยังไม่มารับ เจ้าหน้าที่ห้องยาเลยคีย์จำนวนยาเป็น 0 แล้วส่งชื่อกลับบ้าน
ตอบ กรณีคนไข้ไม่มารับยา ควรลบรายการยาทิ้งครับ ไม่ควรใส่จำนวนเป็น 0 เพราะประวัติการรับบริการครั้งต่อไปจะแสดงรายชื่อยาที่ได้รับ ซึ่งบางครั้งแพทย์ที่ตรวจอาจจะไม่ได้ดูตรงจำนวน เห็นแต่รายการยา ก็จะเป็นข้อมูลประวัติที่ผิดพลาดได้ครับว่าตกลงได้รับยาไปแล้ว แต่ จนท.ลงรายการเป็น 0  หรือไม่ได้รับยา ซึ่งจริงๆควรตรวจสอบและหากมีข้อมูลชี้ชัดว่าคนไข้ไม่รอตรวจก็ควรลบ visit หรือมีแนวทางจัดการข้อมูลในลักษณะนี้ให้เรียบร้อยครับ

2. กรณีคนไข้มารับบริการ แล้วหมอสั่งยา แต่คนไข้มียาเดิมเหลือ หรือครั้งนี้อาจไม่ได้สั่งยาตัวเดิมทุกตัว
    แต่ก็จะคีย์ยามาเหมือนเดิมกับครั้งที่แล้ว  ส่วนยาที่ไม่ได้จ่ายให้จริงๆ ในครั้งนี้ก็จะใส่จำนวนเป็น 0
    เพื่อที่หมอลืมสั่งยาในครั้งต่อไป
ตอบ โดยหลักการประวัติการรักษามีไว้เพือเป็นข้อมูลการเข้ารับบริการของผู้ป่วยเพื่อช่วยในการพิจารณาตรวจรักษาของแพทย์ การลงข้อมูลประวัติยา หรือข้อมูลอื่นๆ ควรเป็นไปตามที่ให้บริการจริงนะครับ ยาตัวไหนจ่ายก็ควรลงข้อมูลให้ครบ ตัวไหนไม่ได้จ่าย ก็ไม่ควรลงครับ เราลองนึกถึงระบบแมนนวลนะครับ ถ้าสมมุตว่าหมอไม่ได้คีย์ยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หมอก็คงไม่เขียนยาที่ไม่ได้จ่ายจริงเอาไว้เพื่อกันลืมสั่งยาในครั้งต่อไปใช่ไหม๊ครับ

3. PCEC วัคซีนกันพิษสุนัขบ้า  สมมุติ เด็กชาย A   โดนหมานาย B กัด  แล้วพากันมาโรงพยาบาลในวันนั้น
    นาย B ก็จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด รวมทั้ง วัคซีนทั้ง 3 เข็ม ในครั้งนี้เลย เพราะเด็กชาย A เกรงว่า
    นาย B จะไม่จ่ายวัคซีนในเข็มต่อๆไป เลยให้จ่ายใว้เลย  แล้วในครั้งต่อไปที่เด็กชาย A มาฉีดวัคซีนเขาก็
    ลงจำนวนเป็น 0

ตอบ ในทางปฏิบัติระบบการเงินจะต้องรับตามการที่ให้บริการจริงครับ  เช่น ฉีดยาค่าบริการครั้งนี้ 200 บาท แล้วไปเก็บ 600 บาท ล่วงหน้า ถามว่าเก็บจากค่าอะไรครับ ซึ่งมันจะตอบคำถามของระบบบัญชีไม่ได้ ทางออกที่พอเป็นไปได้คือ อย่างแรก ทำระบบค้างชำระไว้ครับ ,อย่างที่สอง ก็ให้เจ้าของหมานาย B จ่ายสดทั้งหมดให้กับเด็กชาย A ไว้เลย เพราะยังไงเด็กชาย A ก็ต้องมาฉีดยาอยู่แล้วค่อยนำมาจ่ายเป็นครั้งๆ หรืออีกวิธีคือ การรับฝากเงิน แต่ก็จะเพิ่มงานให้กับเจ้าหน้าที่ ต้องมาทำระบบรับฝาก ฯลฯ โดยสรุปแล้วถ้ากลัวเจ้าของหมาจะไม่จ่ายในครั้งต่อไป ก็ให้จ่ายครั้งแต่เดียว แต่จ่ายกับเด็กที่โดนกัด แล้วเวลาเด็กมาฉีดเราก็เก็บกับเด็กเป็นครั้งๆ ไป


74
การลงวัคซีนให้ได้ 100% ในบัญชี3 ??????
พอดีมีวัคซีนรวมเพิ่มมาคือ DTPHB1 ก็คือ DTP1+HBV2
คำถาม
1.ถ้าลงวันที่ฉีด DTPHB1 แล้วจำเป็นต้องลง วันที่ซีน DTP1  HBV2 หรือเปล่าเพื่อนำไปคิดเปอร์เซ็นต์
2.หรือว่าช่องเปอร์เซ็นต์ไม่จำเป็น ถ้าฉีดครบได้กี่เปอร์เซ็นต์ก็ไม่ต้องจนใจ

 ??? ???

ถ้าผมจำไม่ผิด การกำหนดค่าของวัคซีนรวม HOSxP ในปัจจุบัน ไม่ต้องไปกำหนดในฟิลด์ combine_vaccine แล้วนะครับ ที่มาที่ไป คือ แต่ก่อนเวลาให้บริการวัคซีน DTPHB มันคิดความครอบคลุมไม่ถูกต้อง เพราะว่าเกณฑ์การคิดเขาใช้ข้อมูลวัคซีน DTP และ HB  ทำให้จึงต้องมีการกำหนดวัคซีน DTPHB เป็นวัคซีนรวม และเมื่อลงบันทึกบริการจะทำให้ข้อมูลวันที่ฉีดของวัคซีน DTP และ HB แสดงวันที่ด้วย
แต่ในปัจจุบันสามารถกำหนดวัคซีนที่ใช้ในการคำนวณความครอบคลุมของวัคซีนได้เลยว่าจะใช้ตัวใดบ้าง ดังนั้นเมื่อฉีด DTPHB แล้วก็ไม่ต้องให้มีข้อมูลแสดงที่ DTP และ HB ซ้ำซ้อนกันอีกแล้วครับ ลองอ่านดูเพิ่มเติมตามลิงค์นี้ครับ http://loeihosxp.blogspot.com/2011/06/5-3.html

75
เป็นไปได้หลายสาเหตุนะครับ ตั้งแต่การตั้งค่าฐานข้อมูล,วิธีการส่งออก,ส่งซ้ำ,เวอร์ชั่นของโปรแกรมที่ส่งออก,โปรแกรมการตรวจสอบ OPPP  ลองดูตรง ERROR CODE ที่แจ้งครับ ว่ามีอะไรบ้าง  ที่ผมเคยเจอคือ ส่งออกเดือน กย. เข้าหน้าเวป สปสช. error เกือบหมดเลย ซึ่งสาเหตุเกิดจากเงื่อนไขการประมวลผลว่าต้องส่งข้อมูลภายในวันที่ 31 ตุลาคม แต่พอ สปสช.ปรับโปรแกรมการตรวจสอบใหม่ ข้อมูลที่หน้าเวปก็ผ่านหมดนะครับ

76
ยินดีกับ อ.อ๊อด อย่างแรง..

77
แนะนำเนื้อหาของ Blogs สำหรับเครือข่ายพัฒนาระบบสารสนเทศโรงพยาบาลชุมชนนะครับ อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับ HOSxP โดยตรง แต่คิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลครับ
http://im-hospital.blogspot.com
สุดยอดครับพี่โด้
อยากสมัครเข้าร่วมเป็นโรงพยาบาลเครือข่าย ต้องทำยังไงบ้างครับ

ไม่มีขั้นตอนอะไรเลยครับ รายชื่อรพ.เครือข่ายก็มาจากที่ไปร่วมประชุมกันนี่แหละครับ ทีนี้ถ้าจะเอาชื่อรพ.อื่นเข้าร่วมด้วยก็จะเป็นการทำโดยพละการ. เอาว่าแห่งไหนสนใจเข้าร่วมก็แจ้งความจำนงมาได้เลยครับ และอยากให้ไปช่วยเขียนแชร์เนื้อหาของงานที่ทำประสบการณ์การทำงานด้วยนะครับ

78
แนะนำเนื้อหาของ Blogs สำหรับเครือข่ายพัฒนาระบบสารสนเทศโรงพยาบาลชุมชนนะครับ อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับ HOSxP โดยตรง แต่คิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลครับ
http://im-hospital.blogspot.com

79
นอกเรื่อง / Re: Brazil ยังสนใจ HOSxP เลยครับ
« เมื่อ: ตุลาคม 10, 2011, 17:05:16 PM »
ติดต่อผมมาทาง skype ครับ
จะขอ source code
อย่าลืมแถมซีอิ้ว ไปด้วยนะครับจะได้อร่อยๆ ;D ;D ;D ;D

80
มันเป็นเรื่องของการรับรู้ที่ไม่ตรงกันนะครับ ไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่ต้องไปตั้งเป็นสิทธิในเขต และนอกเขต เพราะว่า ในขณะที่แยกสิทธิจะสร้างความสับสนให้มากกว่าด้วยซ้ำไป เช่น ให้สิทธิ 81 เด็ก 0-12 ปี นอกเขต ซึ่งสิทธินี้ไปกำหนดเป็น ชำระเงิน ยังไงเราก็เรียกเก็บกับคนไข้อยู่แล้ว ระบบบัญชีเขาสนใจแค่แยกให้ได้ว่าอะไรเป็น ลูกหนี้ ชำระเงิน ค้างชำระ อนุเคราะห์ครับ

ส่วนการให้สิทธิรักษา นอกเขต สถานะก็คือ เป็นลูกหนี้ครับ โดยเจ้าหนี้ที่ การเงินเขาจะเรียกเก็บก็คือ รพ.ต้นสังกัด หรือ สปสช. ซึ่งโดยหลักเขาก็ตรวจสอบจากเลข 13 หลักอยู่แล้ว

โดยหลักของการให้สิทธิส่งตรวจ เขาจะแบ่งออกเป็น
1. สิทธิประจำตัว เช่น สิทธิบัตรทอง สิทธิข้าราชการ ฯลฯ
2. สิทธิตามบริการที่มารับบริการ เช่น สิทธิประจำตัวเป็นสิทธิบัตรทอง แต่มาขอใบรับรองแพทย์ ซึ่งไม่อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ การให้สิทธิในการเข้ารับบริการจะเป็นชำระเงิน


81
มันผิดตั้งแต่ตั้งสิทธิครับ โดยปกติงานประกันถ้าไม่เข้าใจระบบโปรแกรมก็มักจะให้ตั้งสิทธิเด็ก 0-12 ปี เป็นในเขต และนอกเขต เพื่อความง่ายสำหรับเวลาทำรายงาน ซึ่งจริงๆแล้วในการตั้งค่าสิทธิสามารถกำหนดให้เป็นในเขตหรือนอกได้โดยอิงจากรหัสสถานบริการได้อยู่แล้ว
ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องความเข้าใจในวิธีการให้สิทธิครับ ดังนี้ครับ
1.กรณีในเขต ให้สิทธิเป็น 71 เด็ก 0-12 ปี
2.กรณีนอกเขต ถ้าให้ใช้สิทธิรักษาฟรี ก็ต้องให้สิทธิ 71 เด็ก 0-12 ปี เช่นเดียวกันส่วนเวลาทำรายงานก็จะแยกในเขต นอกเขตโดยใช้รหัสสถานพยาบาล แต่ถ้าไม่ให้ใช้สิทธิรักษาฟรีเนื่องจากเป็นข้อตกลงหรือนโยบายของทางโรงพยาบาลว่า นอกเขตไม่ใช่กรณีฉุกเฉินใช้สิทธิไม่ได้ กรณีแบบนี้ควรให้สิทธิเป็นชำระเงินครับ.. ไม่ใช่ให้สิทธิ 71

82
วันนี้ (28 ก.ย. 54)รพ.โพธาราม และ คปสอ.โพธารามได้รับเกียรติ จาก อ.ชัยพร มาบรรยาย HOSxP Datacenter ที่ รพ.โพธาราม   โดย คปสอ.ได้เชิญทีมงาน BMS มาจัดอบรม HOSxP_PCU ที่ รพ.โพธารามนำทีม โดย คุณหัทยา(คุณเดีย) ในโอกาส  ทาง รพ. และ คปสอ.โพธาราม ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ครับ
อยากมีโอกาสไปเยี่ยมชม รพ.โพธาราม บ้างจังเลยครับ เพราะถือเป็นโรงพยาบาลประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของ HOSxP ทีเดียว ปี 2547 ผมได้รับหนังสือที่เชิญชวนให้ใช้ HOSxP ที่ส่งไปยัง รพ.ทั่วประเทศ ทำให้ผมและหลายๆท่านได้รู้จัก HOSxP และพี่สุชัยก็เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาที่มาช่วยแนะนำและขึ้นระบบให้ที่ รพร.ด่านซ้ายด้วยครับ


83
ผมเข้าใจว่าข่าวส่วนหนึ่งมาจากบริการ UPGRADE VERSION ที่เป็น PACKAGE VERSION ของ BMS แล้วข้อความถูกสื่อออกไปนั้น ถูกเปลี่ยนไปประมาณว่าถ้าจะต้องอัพเวอร์ชั่นเพื่อให้ส่งออก 21 แฟ้มจะต้องเสียค่าบริการเพิ่ม ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งครับว่าหลาย รพ.ไม่ได้ติดตามสถานการณ์แล้วก็มีการพูดกันต่อๆไป ซึ่งบางทีก็พูดกันในวงผู้บริหารระดับสูงของจังหวัดที่ไม่ได้เข้าใจหรือติดตามข้อมูลตรงนี้ ฟังๆกันมาแล้วพูดต่อ สุดท้ายก็นำเข้าสู่ทัศนะคติเดิมๆของตนเองว่าใช้ HOSxP มีแต่เสียเงินสู้ใช้ของ XXX ไม่ได้  แต่ก็ดีนะครับที่พี่โก้เปิดกระทู้นี้ขึ้นและ อ.ชัยพรมาช่วยยืนยันทำให้หลายคนคงกระจ่างและชัดเจนมากขึ้นในเรื่องนี้

84
ยินดีด้วยครับ  :) :) :)

85


คุณเคยสงสัยเหมือนผมไหม๊ว่าทำไมวงออเคสตร้าต้องมี ไอ้บ้าคนหนึ่งมีหน้าที่เปิดโน๊ตและถือไม้โบกไปโบกมา ทำไมต้องมี ไม่มีได้ไหม๊ เป็นสิ่งที่ค้างคาใจผมมานานพอสมควร จนวันหนึ่งมีเปิดไปเจอคลิปรายการดิ ไอดอล ซึ่งสัมภาษณ์คุณบัณฑิต อึ้งรังษี ว่าทำไมวงออเคสตร้าต้องมีวาทยกรด้วย ทั้งๆที่นักดนตรีแต่ละคนก็เก่งๆ ทั้งนั้น แต่ละคนก็มีโน๊ตเป็นของตนเอง..
คุณบัณฑิตตอบได้อย่างน่าฟังว่า เพราะสปีดของนักดนตรีแต่ละคนไม่เท่ากัน นักดนตรีแต่ละคนต่างคนต่างดูโน๊ตและจิตนาการบทเพลงและเล่นตามสปีดของตนเอง ถ้าเล่นคนเดียวคงไม่มีปัญหา แต่ถ้าเล่นรวมกันด้วยเพลงเดียวกัน ถ้าปล่อยให้เล่นกันเอง.."เละ"  ดังนั้นหน้าที่ของวาทยกรที่สำคัญคือการนำ และการศึกษาข้อมูลเพลงที่จะเล่นของโน๊ตและเครื่่องดนตรีทุกชิ้น ที่ต้องเข้าใจและเข้าถึง เพื่อให้ถ่ายทอดอารมณ์เพลงของทั้งวงให้ออกมาอย่างที่ต้องการ..
และวาทยกรแต่ละคน..คุมวงเดียวกัน โน๊ตเพลงเดียวกัน แต่ก็บรรเลงออกมาไม่เหมือนกัน




ถ้าคุณเคยดูการวิ่งแข่งขันแบบตัวต่อตัวอย่างวิ่ง 100 เมตร 200 เมตร หรือระยะไกลอย่าง 1500 เมตร ก็คงมีความรู้สึกของการชมอย่างหนึ่ง และคงแอบชื่นชมสุดยอดนักกีฬาที่สามารถวิ่งเข้าเส้นชัยได้เป็นคนแรกว่าเป็นสุดยอดคนจริงๆ กล้ามเนื้อเป็นมัดๆ และต้องผ่านการฝึกซ้อมมาอย่างหนัก..

แต่หากคุณได้ลองชมการวิ่ง 20 คน 30 สิบขา คุณแทบจะมองหาสุดยอดนักกีฬาแบบที่ว่าไม่มีเลย..
เป็นการวิ่งที่ต้องอาศัยทีมเวิร์กล้วนๆ ซึ่งต้องผ่านการฝึกซ้อมจังหวัดการวิ่ง เรียนรู้ ให้กำลังใจ ปลอบใจให้กันและกันของคนในทีม ที่ยังคงต้องกอดคอกัน วิ่งไปยังเส้นชัย..หากล้มก็ต้องพยุงกันลุกขึ้นมาใหม่

ผมเชื่อว่า..การวิ่งแบบนี้หกล้ม เจ็บตัวกันหลายครั้ง และเสียน้ำตากันหลายหน..

ถ้าคนที่วิ่งแต่ละคนเปรียบเสมือนหน่วยงาน..ในโรงพยาบาล
ผ้าที่มัดเท้า..เปรียบเสมือนสายแลนในระบบที่เชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากัน..
ในฐานะ admin จะพาทีมวิ่งอย่างไรที่จะไปถึงเส้นชัย...

บางทีวิธีเดิมๆที่มันทำได้ยาก..อาจจะต้องลองหาหนทางใหม่ๆ

ที่ถามว่าเป็นความผิดของ"คุณ"ไหม๊ ผมว่าผิดนะ..
ผิดตรงที่คุณคิด..ว่าตัวเองผิดนี่แหละ








86
จริงๆ แล้วมันสามรถทำรายงาน ที่รูปแบบที่กำหนดเงื่อนใข และสร้างรูปแบบข้อมูลได้มากกว่านี้ แต่ผมเองเขียนบทความ ที่ทำแบบง่ายๆ ก็เพื่อให้ทุกๆ คนสามารถเข้าใจได้ และฝึกปฎิบัติตามได้ และที่สำคัญก็คือมันสามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลของ MySQL ได้จริงๆ ซึ่งปัจจุบันนี้โรงพยาบาลหลายๆ แห่งใช้โปรแกรมที่ต้องใช้ MySQL ไม่ว่าจะเป็น HosXP หรือว่า JHSIS
และคิดว่าในอนาคต จะมีโปรแกรมอื่นๆ ที่พัฒนาออกมาโดยใช้ฐานข้อมูล MySQL
 ;D ;D ;D ;D ;D ;D
ขอบคุณครับ ที่ รพ.ใช้ Libre office 95 เปอร์เซนต์แล้วครับมีบทความดีๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานช่วยได้เยอะทีเดียว

87
ผมจะให้อาร์มส่งให้ทางเมล์นะครับ

88
HOSxP PCU / Re: ERROR HOSXP PCU V.3.54.8.30
« เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 10:05:19 AM »
ทาง รพ.สต. ที่เพิ่งอัพเวอร์ชั่นนี้ แจ้งว่ามีปัญหาเหมือนกันครับ ผมลองรีโมทเข้าไปดูจะเป็นกับ visit ของเมื่อวานที่เพิ่งอัพ

89
ขอบคุณครับ
ถามผู้รู้เกี่ยวกับ  Livre Office  Cale 
กรณีใช้  window xp ถ้าส่งข้อมูลออกเป็น excel  จาก HOSxP  แล้วตัวอักษรอ่านไม่ได้  แต่ถ้าใช้ window 7  ไม่มีปัญหาครับ ท่าน ouychai มีคำแนะนำไหมครับ  หรือ window xp แปลงค่าไม่ได้หรือเปล่าครับ  ขอบคุณครับ
ส่งเป็น wks ครับ
Lotus file แล้วกำหนด encoding ได้ครับ
ขอบคุณครับพี่โก้จะลองทำดูครับ ตอนนี้ใช้ libre office ทั้ง. รพ. ยังต้องเรียนรู้อีกเยอะเลย

90
มองได้หลายมุมนะครับ โดยเจตนาของรพ.สต.เองก็พยายามคีย์ข้อมูล และเจอช่องที่คิดว่าคีย์แล้วมันได้ ซึ่งส่งไปแล้วมันก็ผ่านเสียด้วยนี่สิย่อมทำให้มีการบอกต่อว่าน่าจะได้ กิจกรรมในรพ.สต.ก็มีหลายอย่างโดยเฉพาะงานเชิงรุก ซึ่งก็ไม่มีใครฟันธงได้ชัดๆว่ามันควรคีย์หรือไม่ควรเช่นการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ลงไปแล้วมันก็ได้ประโยชน์หลายอย่างเป็นต้นว่าอาจจะมีการสอนและให้ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองไปด้วย. ถามว่ามันเป็นกิจกรรมไหมมันก็เป็น เพราะวันดีคืนดีจะมีหน่วยงานบางหน่วยสอบถามข้อมูลแบบนี้มา หรือการออกไปเยี่ยมบ้านแล้วคนไข้ปวดหัว ขอพารากินสักสองเม็ด ถามว่าจ่ายยาจริงไหมก็จ่ายจริง หรือการไปตรวจสุขภาพนักเรียนแล้วจ่ายยาให้ในลักษณะเป็นยาป้องกัน ต่างอะไรกับเด็กที่มาตรวจฟันแล้วเคลือบฟูลออไรด์ให้ ผมว่าเกณฑ์มันก็ยังไม่ชัดเลย โดยเฉพาะ รพ.สต. ที่คนไข้นอกไม่ตรงไปตรงมาเหมือนโรงพยาบาล และยิ่งจะไปตรวจสอบข้อมูลในแฟ้มให้ตรงกันกับในคอมหมายถึงต้องให้เขียนและคีย์ยิ่งเลอะเทอะไปใหญ่ ใครจะมานั่งทำข้อมูลซ้ำซ้อนให้แบบนั้น

แต่ถ้ามองในมุมของ สปสช.หรือผู้พัฒนาโปรแกรมเอง ผมว่าเขาก็พยายามทำให้ระบบไอทีเป็นเรื่องที่ง่ายและนำข้อมูลมาใช้ในการจัดสรรงบประมาณได้อย่างพอเพียงและเป็นธรรม การตรวจสอบและปรับปรุงกติกา. การชี้แจง ทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องที่ยังต้องทำกันต่อไป ปี 55 คงจะมีการปรับปรุงกติกามารยาทให้รัดกุมมากขึ้นนะครับ

91
Development / การลงบันทึกตรวจหลังคลอด
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2011, 13:29:52 PM »
:: ฝากอาจารย์ชัยพรพิจารณาด้วยครับ..
มีความต้องการของผู้ใช้ในเรื่องการลงบันทึกข้อมูลตรวจหลังคลอดครับ อยาก อ.ชัยพร ให้พัฒนาเพิ่มดังนี้ครับ
1. หลังจากเพิ่มข้อมูลการตรวจหลังคลอด โดยใช้ Visit ของวันเดือนปีที่มาตรวจ โปรแกรมไม่ดึงข้อมูลเวลา ,ความดัน ,ชีพจร ,อุณหภูมิ ซึ่งลงในหน้าจอซักประวัติเรียบร้อยแล้วมาให้ ซึ่งทำให้ต้องมาลงบันทึกใหม่อีกครั้ง
2.ข้อมูลระดับมดลูก ,น้ำคาวปลา,หัวนม,Albumin, Sugar และฝีเย็บ ส่วนใหญ่เป็นบันทึกเป็นปกติต้องให้กำหนดค่าอัตโนมัติเป็น"ปกติ" การลงข้อมูลในส่วนนี้จนถึงกดปุ่มบันทึก ต้องคลิกถึง 16 ครั้งครับ

92
นอกเรื่อง / Re: Goodbye HOSxP
« เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2011, 17:28:31 PM »
หวังว่าคงไม่ลืมชุมชน HOSxP นะครับ..

93
คงต้องรอความชัดเจนกันอีกสัำกนิดครับ ก่อนปี 2555 น่าจะมีความชัดเจนและประชุมชี้แจงเรื่องการปรับเปลี่ยนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ อาจารย์ทุกท่านในบอร์ดก็คงไม่นิ่งนอนใจครับ คงมีรายละเอียด วิธีการเซตต่างๆ ให้แน่ๆครับ

94
สำเนาถูกต้อง..   ;D ;D
ยินดีด้วยครับ..

95
ขอแก้ข่าวครับ..

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายครับ  แฮะๆ (เดี๋ยวจะนึกว่า รพ.พี่โด้ เป็น โรงพยาบาลเปิดใหม่) ;D

96
เมื่อเภสัชฯ ศิลปากร พาพี่โก้ ไปให้นักศึกษารู้จัก
ผลจะเป็นอย่างไร ยังไม่รู้...

ว้าว.... ;D ;D

97
สุดท้ายนี้ อยากเห็น อนาคตของ  hoxp สามารถใช้งานบน linux และ hosxp และเป็นระบบระดับชาติไปเลยครับ ขอให้รัฐบาลนี้ช่วยสนับสนุนทีมงาน BMS ให้ถึงฝันด้วยครับ ..ผมว่าตอนนี้ก็น่าจะเป็นแล้วนะครับ เพราะใช้กันมากขึ้นครับ ..อิอิ

เท่าที่ผมทราบ รัฐบวมชุดใหม่น่าจะถนัด"เผา"มากกว่านะครับ

แหมทำหน้าซีเรียสกันเชียว ล้อเล่นน่า..

98
ยินดี ที่กำลังจะรู้จัก..ครับ

99
;D ;D ;D ฮิ้ววววววว....แต่ผมแวะเข้าไปบ่อยนะป๋าเดชาบล๊อกนี้ อยากทำบล๊อกของตัวเองเหมือนกันรอว่าง ๆ ก่อน ฮิ ฮิ ;D ;D ;D
ทำเลยครับป๋า...จะรีบติดตามไปอ่านทันทีครับ

100
ดีครับ แบ่งปันความรู้กัน ลิงค์บล๊อกด้านล่างเนื้อหาสาระไม่ดี แต่ก็อยากแบ่งครับ..ฮิ้วววว
http://loeihosxp.blogspot.com/

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9