ผู้เขียน หัวข้อ: DRBD replicate ข้อมูลดิสก์ที่อยู่คนละเครื่องกัน ระดับ block  (อ่าน 16134 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

doramon

  • บุคคลทั่วไป
DRBD (Distributed Replicated Block Device) เป็นโปรแกรมเพื่อใช้ในการ replicate ข้อมูลดิสก์ที่อยู่คนละเครื่องกัน ผ่านทางเน็ตเวิร์ก โดยจะทำในระดับ block ของดิสก์



ทดสอบกับ centos54  หรือสูงกว่า ใช้งานได้ดีเลยครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 30, 2015, 14:30:31 PM โดย admin »

doramon

  • บุคคลทั่วไป
0

Binary packages provided by LINBIT®

LINBIT® provides binary packages for Linux server distributions to its customers. You can have a look at the → package lists although they are not publically downloadable. → Support form LINBIT is available for the distributions listed there.
Binary packages provided by Distributors
Debian

DRBD 8 packages for 3.1 ("sarge") and 4.0 ("etch") are available from the Debian Backports package repository. Debian GNU/Linux 5.0 uses DRBD 8.0 in the → lenny repository and DRBD 8.3 in → lenny-backports repository. More information about the package can be found on the → Debian drbd8 package tracking system page.
Ubuntu

Ubuntu 8.04 LTS ("hardy") has drbd-8.0.11 included. Ubuntu 9.10 ("karmic") has drbd-8.3.3-0ubuntu1 included. See → Ubuntu launchpad drbd8 for current versions.
Novell Suse

In Novell's SLES10 the outdated DRBD-0.7 is included, SLES11 includes DRBD-8.3.x. Through the → search page on opensuse.org one can find various packages of DRBD for Suse and some other distributions.
RedHat

RedHat does not provide DRBD® packages for RHEL although such are available in the → CentOS extras repository. Since CentOS is a binary compatible clone of RedHat, you can use the CentOS packages on RedHat as well.
Source code

Starting with Linux 2.6.33, DRBD is officially integrated into the vanilla Linux kernel source.  Besides the kernel integration, DRBD continues to be developed out of tree.  If you want the latest DRBD sources, the .tgz files are available on the → oss.linbit.com site.

doramon

  • บุคคลทั่วไป
0
DRBD (Distributed Replicated Block Device) เป็นโปรแกรมเพื่อใช้ในการ replicate ข้อมูลดิสก์ที่อยู่คนละเครื่องกัน ผ่านทางเน็ตเวิร์ก โดยจะทำในระดับ block ของดิสก์

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยูในดิสก์เครื่องหนึ่ง (primary) การเปลี่ยนแปลงนั้นจะถูก replicate ไปยังอีกเครื่อง (secondary) โดยอัตโนมัติ

DRBD ประกอบด้วยสองส่วนคือ

1. Kernel module – DRBD ทำหน้าที่ใน kernel โดยจะสร้าง virtual block device คั่นกลางระหว่าง physical disk กับ filesystem ที่สร้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ext3, ext4, xfs
2. User space administration tools – เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการจัดการ DRBD ได้ง่ายขึ้น หลักๆ จะเป็น drbdadm

ในบทความนี้จะแสดงการติดตั้งโปรแกรม DRBD และคอนฟิกเป็นแบบ Single-primary mode คือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถ อ่าน เขียน ข้อมูลได้

คำเตือน ติดตั้งและคอนฟิก DRBD บนเครื่องทดสอบให้เข้าใจก่อน เพราะบางคำสั่งอาจกระทบข้อมูลดิสก์หรือ partition ที่มีอยู่ในเครื่องได้ ทำให้ข้อมูลเสียหายได้

ระบบสำหรับการทดสอบ

ในที่นี้จะติดตั้ง CentOS 5.4 พร้อมคอนฟิกให้สองเครื่องติดต่อ ping กันได้ และปิดคุณสมบัติ firewall ทั้งหมด

เครื่องที่ 1

    * Hostname:   centos54-a.spalinux.com
    * IP Address: 10.3.3.51

เครื่องที่ 2

    * Hostname:   centos54-b.spalinux.com
    * IP Address: 10.3.3.52

แก้ไขไฟล์ /etc/hosts เพื่อให้ทั้งสองเครื่องอ้างอิงจากชื่อเครื่องได้

ตัวอย่างคอนฟิกของเครื่องที่ 1

[root@centos54-a ~]# hostname
centos54-a.spalinux.com

[root@centos54-a ~]# cat /etc/hosts
# Do not remove the following line, or various programs
# that require network functionality will fail.
127.0.0.1       localhost.localdomain localhost
::1             localhost6.localdomain6 localhost6

10.3.3.51       centos54-a centos54-a.spalinux.com
10.3.3.52       centos54-b centos54-b.spalinux.com

ตัวอย่างคอนฟิกของเครื่องที่ 2

[root@centos54-b ~]# hostname
centos54-b.spalinux.com

[root@centos54-b ~]# cat /etc/hosts
# Do not remove the following line, or various programs
# that require network functionality will fail.
127.0.0.1       localhost.localdomain localhost
::1             localhost6.localdomain6 localhost6

10.3.3.51       centos54-a centos54-a.spalinux.com
10.3.3.52       centos54-b centos54-b.spalinux.com

ทั้งสองเครื่อง ต้องสร้าง partition สำหรับใช้เป็นดิสก์ DRBD โดยไม่ต้องสร้าง filesystem ใดๆ ทั้งสิ้นบน partition นี้ สมมติว่าเป็น /dev/sda5 บนทั้งสองเครื่อง

หมายเหตุ

    * แนะนำให้สร้าง partition ทั้งสองเครื่องให้เหมือนกัน ขนาดเท่ากัน จะได้ง่ายต่อการคอนฟิก
    * สำหรับการทดสอบเริ่มต้น แนะนำให้สร้างขนาด partition เล็กๆ ก่อน จะได้ใช้เวลาในการ sync ข้อมูลไม่นานมากนัก ในบทความนี้สร้างประมาณ 1 GBytes

ติดตั้งโปรแกรม DRBD

ไฟล์ติดตั้ง DRBD ในรูปแบบ rpm ของ CentOS 5.4 นั้น ไม่อยู่ในแผ่นดีวีดีติดตั้ง แต่จะอยู่ในส่วนของ extras สำหรับในเมืองไทยสามารถดาวน์โหลดได้จาก http://www.mirror.in.th/osarchive/centos/5.4/extras/

ดาวน์โหล์ด และติดตั้งไฟล์ rpm สองไฟล์ บนเครื่องทั้งสอง

    * drbd83-8.3.2-6.el5_3.x86_64.rpm  – “User space administration tools”
    * kmod-drbd83-8.3.2-6.el5_3.x86_64.rpm  – “Kernel Module”

ใช้คำสั่ง rpm เพื่อติดตั้ง

[root@centos54-a ~]# rpm -ivh drbd83-8.3.2-6.el5_3.x86_64.rpm
Preparing...                ########################################### [100%]
   1:drbd83                 ########################################### [100%]
[root@centos54-a ~]# rpm -ivh kmod-drbd83-8.3.2-6.el5_3.x86_64.rpm
Preparing...                ########################################### [100%]
   1:kmod-drbd83            ########################################### [100%]

คอนฟิก DRBD บนเครื่องที่ 1 (primary)

ไฟล์คอนฟิกหลักของ DRBD คือไฟล์ /etc/drbd.conf ต้องมีการแก้ไขไฟล์นี้ก่อนถึงจะเริ่มใช้งานได้ โดยมีไฟล์ตัวอย่างคอนฟิกอยู่ใน /usr/share/doc/drbd83/drbd.conf

ไฟล์คอนฟิก /etc/drbd.conf จากการติดตั้ง

[root@centos54-a ~]# cat /etc/drbd.conf
#
# please have a a look at the example configuration file in
# /usr/share/doc/drbd83/drbd.conf
#

สร้างไฟล์คอนฟิก /etc/drbd.conf บนเครื่องที่ 1 “centos54-a.spalinux.com” ดังนี้

[root@centos54-a ~]# cat /etc/drbd.conf
global {
    usage-count no;
}

common {
    syncer { rate 10M; }
}

resource r0 {
    protocol C;

    net {
        cram-hmac-alg "sha1";
        shared-secret "test1234";
    }

    on centos54-a.spalinux.com {
        device /dev/drbd0;
        disk /dev/sda5;
        address 10.3.3.51:8888;
        meta-disk internal;
    }

    on centos54-b.spalinux.com {
        device /dev/drbd0;
        disk /dev/sda5;
        address 10.3.3.52:8888;
        meta-disk internal;
    }
}

คำอธิบายเบื้องต้น

    * shared-secret เป็นการกำหนดรหัสของเครื่องที่สามารถ replicate ข้อมูลกันได้
    * r0 เป็นชื่อ resource ของ DRBD สามารถตั้งเป็นชื่อใดๆ ก็ได้ เพื่อสื่อความหมาย
    * on ตามด้วยชื่อ hostname ที่ต้องการ replicate ข้อมูลกัน ส่วนในวงเล็บ { เป็นการกำหนดคอนฟิกของแต่ละเครื่อง
    * disk คือชื่อ partition ที่สร้างไว้สำหรับการทำ DRBD ในที่นี้คือ /dev/sda5

ใช้คำสั่ง drbadm create-md เพื่อสร้าง meta data บน partition ที่จะทำเป็น DRBD

[root@centos54-a ~]# drbdadm create-md all
Writing meta data...
initializing activity log
NOT initialized bitmap
New drbd meta data block successfully created.

หาก partition ที่คอนฟิกเป็น DRBD มี filesystem อยู่ก่อนแล้ว จะไม่สามารถสร้าง DRBD ได้

[root@centos54-a ~]# drbdadm create-md all
md_offset 1011671040
al_offset 1011638272
bm_offset 1011605504

Found ext3 filesystem which uses 987964 kB
current configuration leaves usable 987896 kB

Device size would be truncated, which
would corrupt data and result in
'access beyond end of device' errors.
You need to either
   * use external meta data (recommended)
   * shrink that filesystem first
   * zero out the device (destroy the filesystem)
Operation refused.

Command 'drbdmeta 0 v08 /dev/sda5 internal create-md' terminated with exit code 40
drbdadm create-md r0: exited with code 40

วิธีการแก้ไขคือต้องลบข้อมูลของ filesystem บน partition /dev/sda5 นี้ออก วิธีการง่ายสุดคือใช้คำสั่ง dd

คำเตือน คำสั่ง dd จะลบข้อมูลทั้งหมดบน partition ที่ระบุ

[root@centos54-a ~]# dd if=/dev/zero of=/dev/sda5
dd: writing to `/dev/sda5': No space left on device
1975933+0 records in
1975932+0 records out
1011677184 bytes (1.0 GB) copied, 87.2749 seconds, 11.6 MB/s

แล้วถึงสามารถสร้าง meta data ของ DRBD ได้

[root@centos54-a ~]# drbdadm create-md all
Writing meta data...
initializing activity log
NOT initialized bitmap
New drbd meta data block successfully created.

ใช้คำสั่ง service เพื่อรันเซอร์วิส DRBD

[root@centos54-a ~]# service drbd start
Starting DRBD resources: [ d(r0) s(r0) n(r0) ]..........
***************************************************************
 DRBD's startup script waits for the peer node(s) to appear.
 - In case this node was already a degraded cluster before the
   reboot the timeout is 0 seconds. [degr-wfc-timeout]
 - If the peer was available before the reboot the timeout will
   expire after 0 seconds. [wfc-timeout]
   (These values are for resource 'r0'; 0 sec -> wait forever)
 To abort waiting enter 'yes' [  20]:yes

ในครั้งแรกที่รันเซอร์วิส บนเครื่อง primary โปรแกรมจะรอให้เครื่อง peer (secondary) เข้ามาเชื่อมต่อ หากไม่ต้องการให้รอ ให้พิมพ์คำว่า “yes” แล้ว [Enter]

ใช้คำสั่ง service status เพื่อตรวจสอบสถานะของ DRBD

[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs            ro                 ds                     p  mounted  fstype
0:r0   WFConnection  Secondary/Unknown  Inconsistent/DUnknown  C

หรืออ่านจากไฟล์ /proc/drbd โดยตรง

[root@centos54-a ~]# cat /proc/drbd
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
 0: cs:WFConnection ro:Secondary/Unknown ds:Inconsistent/DUnknown C r----
    ns:0 nr:0 dw:0 dr:0 al:0 bm:0 lo:0 pe:0 ua:0 ap:0 ep:1 wo:b oos:987896

สร้างไดเรคทอรี /export สำหรับทดสอบ mount เพื่อใช้ดิสก์ drbd ที่สร้างขึ้น

[root@centos54-a ~]# mount /dev/drbd0 /export
mount: block device /dev/drbd0 is write-protected, mounting read-only
mount: Wrong medium type

ดิสก์นี้ยังไม่สามารถใช้ได้ ต้องใช้คำสั่ง drbdadm primary คอนฟิกให้ดิสก์ drbd บนเครื่องนี้ทำหน้าที่เป็น primary เพื่อให้สามารถ อ่าน เขียน ข้อมูลจากดิสก์ได้

[root@centos54-a ~]# drbdadm primary all
0: State change failed: (-2) Refusing to be Primary without at least one UpToDate disk
Command 'drbdsetup 0 primary' terminated with exit code 17

หากเป็นการเรียกใช้ครั้งแรก ต้องระบุออปชั่นดังนี้

[root@centos54-a ~]# drbdadm -- --overwrite-data-of-peer primary all
[root@centos54-a ~]#

ตรวจสอบสถานะ drbd อีกครั้ง สังเกตว่า ฟิลด์ ro จะเปลี่ยนจาก Seconday เป็น Primary และฟิลด์ ds จะเปลี่ยนจาก Inconsistent เป็น UpToDate

[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs            ro               ds                 p  mounted  fstype
0:r0   WFConnection  Primary/Unknown  UpToDate/DUnknown  C

ทดสอบการ mount ดิสก์อีกครั้ง

[root@centos54-a ~]# mount /dev/drbd0 /export
mount: you must specify the filesystem type

ก็ยังไม่สามารถ mount ได้ เพราะยังไม่มี filesystem บน /dev/drbd0

รันคำสั่ง mkfs.ext3 เพื่อสร้าง filesystem แบบ ext3

[root@centos54-a ~]# mkfs.ext3 /dev/drbd0
mke2fs 1.39 (29-May-2006)
Filesystem label=
OS type: Linux
Block size=4096 (log=2)
Fragment size=4096 (log=2)
123648 inodes, 246974 blocks
12348 blocks (5.00%) reserved for the super user
First data block=0
Maximum filesystem blocks=255852544
8 block groups
32768 blocks per group, 32768 fragments per group
15456 inodes per group
Superblock backups stored on blocks:
        32768, 98304, 163840, 229376

Writing inode tables: done
Creating journal (4096 blocks): done
Writing superblocks and filesystem accounting information: done

This filesystem will be automatically checked every 36 mounts or
180 days, whichever comes first.  Use tune2fs -c or -i to override.

ทดสอบการ mount อีกครั้ง จะสามารถใช้งานได้แล้ว

[root@centos54-a ~]# mount /dev/drbd0 /export

ตรวจสอบสถานะ DRBD

[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs            ro               ds                 p  mounted  fstype
0:r0   WFConnection  Primary/Unknown  UpToDate/DUnknown  C  /export  ext3

คอนฟิก DRBD บนเครื่องที่ 2 (secondary)

สร้างไฟล์คอนฟิก /etc/drbd.conf บนเครื่องที่ 2 เหมือนกับไฟล์ในเครื่องที่ 1

[root@centos54-b ~]# cat /etc/drbd.conf
global {
    usage-count no;
}

common {
    syncer { rate 10M; }
}

resource r0 {
    protocol C;

    net {
        cram-hmac-alg "sha1";
        shared-secret "test1234";
    }

    on centos54-a.spalinux.com {
        device /dev/drbd0;
        disk /dev/sda5;
        address 10.3.3.51:8888;
        meta-disk internal;
    }

    on centos54-b.spalinux.com {
        device /dev/drbd0;
        disk /dev/sda5;
        address 10.3.3.52:8888;
        meta-disk internal;
    }
}

ใช้คำสั่ง drbadm create-md เพื่อสร้าง meta data บน partition ที่จะทำเป็น DRBD

[root@centos54-b ~]# drbdadm create-md all
Writing meta data...
initializing activity log
NOT initialized bitmap
New drbd meta data block successfully created.

เช่นเดียวกัน หากมี filesystem อยู่บน partition ก่อนแล้ว ต้องใช้คำสั่ง dd เพื่อลบข้อมูลออก

ใช้คำสั่ง service เพื่อรันเซอร์วิส DRBD

[root@centos54-b ~]# service drbd start
Starting DRBD resources: [ d(r0) s(r0) n(r0) ].

เมื่อเริ่มต้นรันเซอร์วิส DRBD บนเครื่องที่ 2 จะเป็นการเริ่ม replicate ข้อมูลจากเครื่องที่ 1

ตรวจสอบสถานะ DRBD บนเครื่องที่ 2

[root@centos54-b ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs          ro                 ds                     p  mounted  fstype
...    sync'ed:    42.2%              (576248/987896)K
0:r0   SyncTarget  Secondary/Primary  Inconsistent/UpToDate  C

ตรวจสอบสถานะ DRBD บนเครื่องที่ 1

[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs          ro                 ds                     p  mounted  fstype
...    sync'ed:    43.0%              (567032/987896)K
0:r0   SyncSource  Primary/Secondary  UpToDate/Inconsistent  C  /export  ext3

เมื่อ replicate ข้อมูลเรียบร้อย (synced) ข้อมูลแล้ว สถานะจะเป็นดังนี้

ตรวจสอบสถานะ DRBD บนเครื่องที่ 2 เมื่อ synced ข้อมูลเรียบร้อย

[root@centos54-b ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs         ro                 ds                 p  mounted  fstype
0:r0   Connected  Secondary/Primary  UpToDate/UpToDate  C

ตรวจสอบสถานะ DRBD บนเครื่องที่ 1 เมื่อ synced ข้อมูลเรียบร้อย

[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs         ro                 ds                 p  mounted  fstype
0:r0   Connected  Primary/Secondary  UpToDate/UpToDate  C  /export  ext3

หลังจาก synced ข้อมูลระหว่างเครื่องเรียบร้อย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในดิสก์บนเครื่องที่ 1 (primary) การเปลี่ยนแปลงนั้นจะถูก replicate ไปยังเครื่องที่ 2 (secondary) โดยอัตโนมัติ

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง tcpdump  ตรวจสอบ packet ที่ส่งระหว่างเครื่องเพื่อการ replicate ข้อมูลของ DRBD

[root@centos54-b ~]# tcpdump -i eth0 -l -nn | grep 8888
tcpdump: verbose output suppressed, use -v or -vv for full protocol decode
listening on eth0, link-type EN10MB (Ethernet), capture size 96 bytes
15:51:39.815802 IP 10.3.3.52.8888 > 10.3.3.51.42180: P 2834377596:2834377604(8) ack 2893184807 win 46 <nop,nop,timestamp 1772852 1818781>
15:51:39.816356 IP 10.3.3.51.42180 > 10.3.3.52.8888: P 1:9(8) ack 8 win 3216 <nop,nop,timestamp 1828655 1772852>
15:51:39.816394 IP 10.3.3.52.8888 > 10.3.3.51.42180: . ack 9 win 46 <nop,nop,timestamp 1772852 1828655>
15:51:44.888876 IP 10.3.3.1.4117 > 10.3.3.51.22: P 1560:1612(52) ack 1629 win 64271
15:51:49.815252 IP 10.3.3.51.42180 > 10.3.3.52.8888: P 9:17(8) ack 8 win 3216 <nop,nop,timestamp 1838655 1772852>
15:51:49.815330 IP 10.3.3.52.8888 > 10.3.3.51.42180: . ack 17 win 46 <nop,nop,timestamp 1782853 1838655>
15:51:49.815666 IP 10.3.3.52.8888 > 10.3.3.51.42180: P 8:16(8) ack 17 win 46 <nop,nop,timestamp 1782853 1838655>
15:51:49.847300 IP 10.3.3.51.42180 > 10.3.3.52.8888: . ack 16 win 3216 <nop,nop,timestamp 1838696 1782853>
15:51:50.937877 IP 10.3.3.51.8888 > 10.3.3.52.40284: . 3903780263:3903781711(1448) ack 2834246899 win 501 <nop,nop,timestamp 1839875 1683335>
...

doramon

  • บุคคลทั่วไป
0
ถ้าได้ไป ประชุมวิชาการ hosxp  เดือนธันวาคมนี้ จะไปสอนให้ครับ 

ทดสอบใช้งานกับ hosxp แล้ว  แต่ รพ ผมเล็กเลยไม่แน่ใจว่ามันจะทำงานได้ในระดับ รพ ขนาดสูงขึ้นหรือเปล่า

มีใครสนใจ remote ไปลงให้ได้นะครับ แต่ว่าต้องมี linux สองเครื่องนะครับ  spec ไม่ใกล้กันก็ได้นะครับ

แต่ว่าขนาด Harddisk ต้องใกล้ๆๆ กันนิดหนึ่ง



ออฟไลน์ tangkeaw

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 266
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • โรงพยาบาลเพชรบูรณ์
0
สนใจครับ
 คือผมเป็นโรงพยาบาลทั่วไปครับ มีคนไข้ต่อวัน 1800-2000/วัน สเป็คเครื่องซื่อมาใหม่ได้ 5 เืดือนแล้วคือ server IBM Blade Center (สามารใส่่เครื่องได้ 12 ตัว)
IBM BladeCenter HS22 (มี 2 ตัว ตัวหลัก และตัวสำรอง)
 ram 32 GB
 HDD 2 ร่วมกัน 1024 GB

OS- Linux centos-5.4 64 bit
mysql 5.1
ตอนนี้ผมทำระบบสำรองเต็ม ไว้ที่ตึกอื่นไว้ เพราะเวลามีปัญหาจะได้เรียกข้อมูลมาใ้ช้ได้ แต่ก็มีปัญหาเวลานำข้อมูลเข้าเครื่อง ก็นานพอควรเป็นวัน ผมรองทดสอบทำเครื่องแล้วดูแล้วคงไม่ไว้ หน้าจะมีเครื่อง Replicated อยู่อีกตึกหนึ่งไปเลยเวลาระบบมีปัญหาจริงๆ จะได้สามารถนำกลับมาใช้ได้เลยไม่เกิน 15 นาที

ถ้าผมจะทำระบบที่อาจารย์ doraemon ว่า ถ้าเครื่องที่สองของผมสเป็คต่ำกล่าตัวหลัก จะรับไหวไม่ครับ และที่สำคัญจะหน่วงระบบไหมครับ
itpbh
โรงพยาบาลเพชรบูรณ์  ขึ้นระบบ ปี 2551
**server IBM Blade Center E
IBM BladeCenter HS22
 ram 72 GB  OS- Linux centos-5.4 64 bit  Mysql  5.5.30
เครื่องสำรอง
server IBM Blade Center IBM BladeCenter HS22
  ram 16 GB   OS- Linux centos-64 bit  mysql 5.5.30
รพ.ขนาด 509 เตียง
คนไข้ต่อวันประมาณ 1,400คน/วัน
เครื่องใช้งาน HOsxp ประมาณ 190 เครื่อง ใช้งานทั้ง IPD และ OPD
ระบบ datacenter ทีม BMS ใช้งาน วันที่ 31 มิย 55
Endian Firewall 2.1.2

ออฟไลน์ มดตานอย ครับ..

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,137
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สนใจครับ
 คือผมเป็นโรงพยาบาลทั่วไปครับ มีคนไข้ต่อวัน 1800-2000/วัน สเป็คเครื่องซื่อมาใหม่ได้ 5 เืดือนแล้วคือ server IBM Blade Center (สามารใส่่เครื่องได้ 12 ตัว)
IBM BladeCenter HS22 (มี 2 ตัว ตัวหลัก และตัวสำรอง)
 ram 32 GB
 HDD 2 ร่วมกัน 1024 GB

OS- Linux centos-5.4 64 bit
mysql 5.1
ตอนนี้ผมทำระบบสำรองเต็ม ไว้ที่ตึกอื่นไว้ เพราะเวลามีปัญหาจะได้เรียกข้อมูลมาใ้ช้ได้ แต่ก็มีปัญหาเวลานำข้อมูลเข้าเครื่อง ก็นานพอควรเป็นวัน ผมรองทดสอบทำเครื่องแล้วดูแล้วคงไม่ไว้ หน้าจะมีเครื่อง Replicated อยู่อีกตึกหนึ่งไปเลยเวลาระบบมีปัญหาจริงๆ จะได้สามารถนำกลับมาใช้ได้เลยไม่เกิน 15 นาที

ถ้าผมจะทำระบบที่อาจารย์ doraemon ว่า ถ้าเครื่องที่สองของผมสเป็คต่ำกล่าตัวหลัก จะรับไหวไม่ครับ และที่สำคัญจะหน่วงระบบไหมครับ
itpbh
server spec สดยอด

Nakhonphanom Hospital

MR.Tanoy999 ผู้ใช้งานทั่วไป
tanoy999-at-gmail-dot-com
เริ่ม  1 ตุลาคม 2549  โดย  BMS

ออฟไลน์ มดตานอย ครับ..

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,137
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อันนี้ก็ replicateอีกวิธีหนึ่ง   เขียนไว้นานแล้ว

 ;D ;D ;D ;D ;D

http://hosxp.net/index.php?option=com_smf&Itemid=28&topic=9679.0

Nakhonphanom Hospital

MR.Tanoy999 ผู้ใช้งานทั่วไป
tanoy999-at-gmail-dot-com
เริ่ม  1 ตุลาคม 2549  โดย  BMS

ออฟไลน์ chk

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,949
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
0
 8)  สุดยอด อ.อ๊อด  เยียมไปเลย   8)
8) ........ {O.*} ............   8)
8) ...KUMPANGSEAN  HOSXP  SYSTEM...   8) Office  Station ::  Kumpangsan Hospital  Nakhon Pathom
 System  Running :: 01/01/2010

ออฟไลน์ dotAtainer

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,256
  • กระบี่กรียุค
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.nondindeang.com
0
 ;D ;D ;D อยากทำได้มั่งครับอาจารย์ ผมคงต้องเรียนรู้อีกนานโขเลยครับ
สวัสดีครับ ผม Admin จากโรงพยาบาลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ยินดีที่ได้รู้จักทุกท่านและขอบคุณสำหรับคำแนะนำจากผู้รู้ทุกท่านในอนาคตอันใกล้ครับ T_T
server>>>> IBM  Cpu  Xeon  Ram 12 GB   SCSI  136 GB For Marter&slav
Hosxp  เวอร์ชั่นพิมพ์นิยม
<>Server Master : OS freebsd 8.1 : Mysql5.5.8
<>Server slav: OS freebsd 8.1 : Mysql 5.5.8
ขึ้นระบบ:ขึ้นระบบเอง:จากคำแนะนำของทีมงาน BMS
ตอนนี้ใช้ Unix เป็นชีวิตจิตใจครับ
:ปัญหาคือที่มาของประสบการณ์:พรแสวงไม่ทำให้ใครเสียแรงเปล่า
dotatainer@hotmail.com
http://www.nondindeang.com
http://www.facebook.com/dotatainer
ความใฝ่ฝันที่ทำได้แค่ฝันใฝ่
http://www.musicatm.com/indy/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88-14296.html

http://www.musicatm.com/indy/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2-11276.html

doramon

  • บุคคลทั่วไป
0
;D ;D ;D อยากทำได้มั่งครับอาจารย์ ผมคงต้องเรียนรู้อีกนานโขเลยครับ

ทำได้ทุกคนครับ 

แต่ว่าทำเครื่องสำรองก่อนนะครับ


ออฟไลน์ patum

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 176
  • deamie
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.wangwisethospital.com
0
ขอบคุณ ครับ
จุดประกาย ไฟแรงสูงกันอีกแล้ว  :D
................................................................................
HOSxP 3.56.X++ On FreeBSD Server 8++ 64bit
................................................................................
เริ่มใช้งาน ระบบ 10 ต.ค. 2552 ขึ้นระบบเอง
................................................................................
รพ.วังวิเศษ จ.ตรัง

doramon

  • บุคคลทั่วไป
0
สนใจครับ
 คือผมเป็นโรงพยาบาลทั่วไปครับ มีคนไข้ต่อวัน 1800-2000/วัน สเป็คเครื่องซื่อมาใหม่ได้ 5 เืดือนแล้วคือ server IBM Blade Center (สามารใส่่เครื่องได้ 12 ตัว)
IBM BladeCenter HS22 (มี 2 ตัว ตัวหลัก และตัวสำรอง)
 ram 32 GB
 HDD 2 ร่วมกัน 1024 GB

OS- Linux centos-5.4 64 bit
mysql 5.1
ตอนนี้ผมทำระบบสำรองเต็ม ไว้ที่ตึกอื่นไว้ เพราะเวลามีปัญหาจะได้เรียกข้อมูลมาใ้ช้ได้ แต่ก็มีปัญหาเวลานำข้อมูลเข้าเครื่อง ก็นานพอควรเป็นวัน ผมรองทดสอบทำเครื่องแล้วดูแล้วคงไม่ไว้ หน้าจะมีเครื่อง Replicated อยู่อีกตึกหนึ่งไปเลยเวลาระบบมีปัญหาจริงๆ จะได้สามารถนำกลับมาใช้ได้เลยไม่เกิน 15 นาที

ถ้าผมจะทำระบบที่อาจารย์ doraemon ว่า ถ้าเครื่องที่สองของผมสเป็คต่ำกล่าตัวหลัก จะรับไหวไม่ครับ และที่สำคัญจะหน่วงระบบไหมครับ
itpbh

ทำได้ครับ

แต่ว่ถ้าตัวลูกมันช้ากว่าตัวแม่ 

แล้วมันยังส่งไม่สำเร็จ  แล้วมันจะมันใจได้หรือครับว่าข้อมูลเท่ากัน

ผมทดสอบกับ ram 3G    สองเครือง  มันก็ ok  อยู่ครับ 
แต่ว่าคนไข้ผมน้อยครับ

แล้วผมแอบทำใน PC ธรรมดา

แล้วก็ลบทิ้งไปเพราะว่าไม่มีเครื่องพอ ครับ


doramon

  • บุคคลทั่วไป
0
ผมลืมบอกไปว่าทำไมต้องทำแบบนี้

1. HOSxP  database   
2. DATACENTER ระดับอำเภอ
3. งานไฟล์เอกสาร ห้องต่างๆๆ  samba
4. web รพ   apache
5. โปรแกรมอื่นๆๆ


เคยทำไว้หลายตัวมากใน server  แต่ลืม สำรองไปอีกเครือง  แล้วลบ เครื่องลงใหม่  หายไปหมด เหลือแต่ Hosxp database

ต่อไปนี้ก็ไม่ต้องกลัวลืมแล้ว

สำรองไปทุกเครื่องเลย
 ;D ;D ;D ;D