ผมขอ Share ประสบการณ์หน่อยครับ อยากจะทำ Paperless กับเขาเหมือนกัน
ผมสงสัยเรื่องช่องทางการสื่อสารครับ ว่าโรงพยาบาลที่ทำแล้วใช้ช่องทางไหนกัน
สมมุติว่า แพทย์ตรวจ OPD จะส่งคนไข้ไปทำแผลที่ ER เขียนลงไหนครับ
-NOTE
-PE
-แผนการรักษา
หรือ ส่งไปกายภาพ
หรือ ส่งไปทันตกรรม
ช่วยหน่อยนะครับ อาทิย์หน้าจะเริ่มแล้ว ตอนนี้กำลังดำน้ำอยู่
อีกประเด็น ถ้าแพทย์ตรวจลง PE ไปแล้ว ส่งไปหาหมอฟัน หมอฟันลงต่อเลยใช่ไหมครับ
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเขียน เมื่อดูย้อนหลังใน Visit ต่อไป
ลองเดินตามคนไข้แล้วสังเกตการทำงาน การลงบันทึกของเจ้าหน้าที่ดูครับ แล้วจะรู้ว่า Flow ของ รพ.เป็นแบบไหน บางทีมีหลายเรื่องที่ทำเอาเข็มขัดสั้นไปเลยก็มี
เล่าที่ รพ ให้ฟังได้ไหมครับ ว่าใช้ช่องทางไหนบ้าง
แลกเปลี่ยนกันดูนะครับ ถ้าดูจาก Flow ทั่วไปของการเข้ารับบริการในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่จะคล้ายๆกัน คือ
- ยืนบัตร รับบัตรคิว
- ห้องบัตรส่งตรวจ (พิมพ์ใบสั่งยา/พิมพ์บัตรคิว)
- จุดคัดกรองซักประวัติ
- ห้องตรวจโรค ลงข้อมูลการรักษา พิมพ์ OPD card /ใบสั่งยา
- ห้องยาพิมพ์สติกเกอร์ จ่ายยา
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าใน Flow ปกติเรามีการสื่อสารข้อมูลผู้ป่วย 2 ทาง คือ ข้อมูลในบัตรคิว /ใบนำทางหรือบางที่ก็ใช้ OPD card นั่นแหละ และอีกช่องทางหนึ่งคือ ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ที่นี้คำว่า paperless (ไร้กระดาษ) จะทำอย่างไร โดยทั่วไปที่เข้าใจและใช้กันคือ ไม่ค้น OPD card เพื่อลดเวลาที่เสียไปจากการค้นประวัติ ห้องบัตรส่งตรวจ พยาบาลซักประวัติในคอมพิวเตอร์ แพทย์ลงการตรวจรักษาในคอมพิวเตอร์ เสร็จแล้วพิมพ์ OPD card ออกจากห้องแพทย์เพื่อเซนต์ชื่อ แล้วนำ OPD card ไปเก็บในแฟ้มภายหลัง หรือบางที่พิมพ์ใบสั่งยาไปยื่นที่ห้องยา ก็จะเห็นว่ามันไม่ได้ไร้กระดาษซะทีเดียว เพียงแต่มาพิมพ์ในขั้นตอนท้ายๆ เท่านั้นเอง เพราะอย่างไร OPD card ก็ยังต้องพิมพ์เก็บประวัติไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐาน หรือเป็นข้อมูลสำรอง หากระบบล่ม
ถ้าเอาแบบ paperless ในฝันคือ ไม่ค้น OPD card พยาบาลซักประวัติลงคอม แพทย์ตรวจรักษาลงในคอม เภสัชจ่ายยาโดยดูจากหน้าคอม ถ้า รพ.ไหนทำได้แบบนี้ ก็มักจะมีใบนำทางไว้สื่อสารตลอดการเข้ารับการรักษา จะไปไหน ก็ติ๊กหรือเขียนลงในใบนำทางครับ แต่ถ้าจะเลือกวิธีนี้ระบบไอทีต้องเพียงพอและเจ๋งมากๆ เลยละครับ เพราะ paperless จะมีความเสี่ยงสูงมาก หากว่าระบบสำรอง หรือแผนการให้บริการฉุกเฉินรองรับไม่ดี
โดยสรุปความหมายที่เราเข้าใจกัน การทำ paperless คือ ลดใช้กระดาษในบางขั้นตอนเท่านั้นเอง
ส่วนประเด็นที่ว่าแพทย์ตรวจลง PE ไปแล้ว ส่งไปหาหมอฟัน ทำอย่างไรต่อ ตรงนี้มันขึ้นอยู่กับว่าการเจ็บป่วยครั้งนั้นเกี่ยวข้องกันไหม๊ เช่นมีปัญหาในช่องปาก แล้วแพทย์ส่งไปปรึกษาหมอฟัน แบบนี้ก็ลงต่อกันได้เลย แต่ถ้าเป็นโรคผิวหนังมาตรวจรักษา แล้วจะมาทำฟันต่อ แบบนี้ส่งคนละ visit ดีกว่าครับ